ASTVผู้จัดการรายวัน - “อังคาร จันทาทิพย์” เข้ารับพระราชทานรางวัล “ซีไรต์” คนที่ 35 จากผลงาน “หัวใจห้องที่5” เจ้าตัวภูมิใจตั้งมั่น จะเขียนหนังสือต่อไปเรื่อยๆ
ถือเป็นรางวัลที่จัดขึ้นมาเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียนให้มีแรงใจในการสร้างสรรค์งานเขียนอันละเมียดจารึกไว้ในบรรณภิภพต่อไป สำหรับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) หลังจากที่คณะกรรมการต้องทำงานอย่างหนักในการคัดสรรผู้สมควรจะได้รับรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ในที่สุดปีนี้นักเขียนทั้ง 10 คนในกลุ่มประเทศอาเซียนก็ได้รับรางวัลซีไรต์ไปครอบครอง
โอกาสนี้ในวันพระราชทานรางวัลอันทรงคุณค่าแห่งวงการวรรณกรรมนี้ เมื่อเวลา10.30 น. (วันที่ 14 ต.ค.) ที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ในการพระราชทานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)
สำหรับปีนี้นักเขียนที่เข้ารับพระราชทานรางวัลซีไรต์มีทั้งหมด 10 คนจาก 10 ประเทศด้วยกันซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 35 ปีแห่งวงการซีไรต์ที่มีนักเขียนในประเทศอาเซียนส่งผลงานเข้าประกวดครบทั้ง 10 ประเทศ และมารับพระราชทานรางวัลอย่างพร้อมเพรียงกันที่ประเทศไทย ซึ่งนักเขียนทั้งหมดที่ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลประกอบด้วย 1.ฮาจิ มัสรี บิน ฮาจิ ไอริส จากประเทศบรูไน,2.โซ้ก จันพัล ประเทศกัมพูชา,3.ลินดา คริสตันตี ประเทศอินโดนีเซีย,4.สุขี นรศิลป์ ประเทศลาว,5.โมฮัมเหม็ด คอซาลี อับดุล ราชิด ประเทศมาเลเซีย,6.หม่อง เสี่ยน วิน ประเทศพม่า,7.รีเบคกา ที อานูนุยโว คิวนาดา ประเทศฟิลิปปินส์,8.เย้ง เผว หง่อน ประเทศสิงคโปร์,9.ไท บา ลอย ประเทศเวียดนาม และ 10 อังคาร จันทาทิพย์ นักเขียนจากประเทศไทย
โดยนายอังคาร จันทาทิพย์ เจ้าของผลงานเขียน “หัวใจห้องที่ 5” ซึ่งสามารถเอาชนะใจกรรมการแบบไร้คู่แข่งจนได้รับรางวัลซีไรต์ได้กล่าวสุนทรพจน์หลังจากที่ได้รับพระราชทานรางวัลเสร็จแล้ว มีใจความตอนหนึ่งว่า ในวัยใกล้ 40 ปี ของข้าพเจ้าพยายามเรียนรู้ เพื่อตระหนักถึงความผิดพลาดหลายๆ อย่างเกี่ยวกับการสร้างบาดแผลต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิต ในฐานะคนเขียนกวี ข้าพเจ้าพยายามเรียนรู้อยู่เสมอ หากบทกวีหมายถึง ทัศนียภาพของความรู้สึกนึกคิด กวี จะต้องเป็นผู้มีทัศนียภาพกว้างไกลแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งด้วย ท้ายที่สุด เมื่อบทกวี คือสิ่งที่รัก การเขียนบทกวี คือการนำส่งข้อความรัก หน้าที่หลักของบทกวี อย่างข้าพเจ้าก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากการทำความรัก และทำสิ่งที่ตนเองรักให้ดีที่สุด
นอกจากนี้เจ้าของรางวัลซีไรต์คนล่าสุดยังเผยความภูมิใจที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลนี้จากนี้ไปเราก็จะเขียนหนังสือต่อไปเรื่อยๆ ดังคำที่ว่าหนังสือเล่มที่ดีที่สุดอาจจะยังไม่ถูกเขียนขึ้นมาก็เป็นได้ ส่วนเรื่องรางวัลจะมากดดันต่อเรื่องการทำงานหรือไม่นั้น คิดว่าไม่น่าจะมี เพราะว่าเรามีมาตรฐานในการทำงานของเราอยู่แล้ว ว่าจะไม่ทำงานให้ต่ำว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน ตอนนี้เราคิดถึงการเขียนกวีที่ดีที่สุดของเรามากกว่ารางวัล
ถือเป็นรางวัลที่จัดขึ้นมาเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียนให้มีแรงใจในการสร้างสรรค์งานเขียนอันละเมียดจารึกไว้ในบรรณภิภพต่อไป สำหรับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) หลังจากที่คณะกรรมการต้องทำงานอย่างหนักในการคัดสรรผู้สมควรจะได้รับรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ในที่สุดปีนี้นักเขียนทั้ง 10 คนในกลุ่มประเทศอาเซียนก็ได้รับรางวัลซีไรต์ไปครอบครอง
โอกาสนี้ในวันพระราชทานรางวัลอันทรงคุณค่าแห่งวงการวรรณกรรมนี้ เมื่อเวลา10.30 น. (วันที่ 14 ต.ค.) ที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ในการพระราชทานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)
สำหรับปีนี้นักเขียนที่เข้ารับพระราชทานรางวัลซีไรต์มีทั้งหมด 10 คนจาก 10 ประเทศด้วยกันซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 35 ปีแห่งวงการซีไรต์ที่มีนักเขียนในประเทศอาเซียนส่งผลงานเข้าประกวดครบทั้ง 10 ประเทศ และมารับพระราชทานรางวัลอย่างพร้อมเพรียงกันที่ประเทศไทย ซึ่งนักเขียนทั้งหมดที่ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลประกอบด้วย 1.ฮาจิ มัสรี บิน ฮาจิ ไอริส จากประเทศบรูไน,2.โซ้ก จันพัล ประเทศกัมพูชา,3.ลินดา คริสตันตี ประเทศอินโดนีเซีย,4.สุขี นรศิลป์ ประเทศลาว,5.โมฮัมเหม็ด คอซาลี อับดุล ราชิด ประเทศมาเลเซีย,6.หม่อง เสี่ยน วิน ประเทศพม่า,7.รีเบคกา ที อานูนุยโว คิวนาดา ประเทศฟิลิปปินส์,8.เย้ง เผว หง่อน ประเทศสิงคโปร์,9.ไท บา ลอย ประเทศเวียดนาม และ 10 อังคาร จันทาทิพย์ นักเขียนจากประเทศไทย
โดยนายอังคาร จันทาทิพย์ เจ้าของผลงานเขียน “หัวใจห้องที่ 5” ซึ่งสามารถเอาชนะใจกรรมการแบบไร้คู่แข่งจนได้รับรางวัลซีไรต์ได้กล่าวสุนทรพจน์หลังจากที่ได้รับพระราชทานรางวัลเสร็จแล้ว มีใจความตอนหนึ่งว่า ในวัยใกล้ 40 ปี ของข้าพเจ้าพยายามเรียนรู้ เพื่อตระหนักถึงความผิดพลาดหลายๆ อย่างเกี่ยวกับการสร้างบาดแผลต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิต ในฐานะคนเขียนกวี ข้าพเจ้าพยายามเรียนรู้อยู่เสมอ หากบทกวีหมายถึง ทัศนียภาพของความรู้สึกนึกคิด กวี จะต้องเป็นผู้มีทัศนียภาพกว้างไกลแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งด้วย ท้ายที่สุด เมื่อบทกวี คือสิ่งที่รัก การเขียนบทกวี คือการนำส่งข้อความรัก หน้าที่หลักของบทกวี อย่างข้าพเจ้าก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากการทำความรัก และทำสิ่งที่ตนเองรักให้ดีที่สุด
นอกจากนี้เจ้าของรางวัลซีไรต์คนล่าสุดยังเผยความภูมิใจที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลนี้จากนี้ไปเราก็จะเขียนหนังสือต่อไปเรื่อยๆ ดังคำที่ว่าหนังสือเล่มที่ดีที่สุดอาจจะยังไม่ถูกเขียนขึ้นมาก็เป็นได้ ส่วนเรื่องรางวัลจะมากดดันต่อเรื่องการทำงานหรือไม่นั้น คิดว่าไม่น่าจะมี เพราะว่าเรามีมาตรฐานในการทำงานของเราอยู่แล้ว ว่าจะไม่ทำงานให้ต่ำว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน ตอนนี้เราคิดถึงการเขียนกวีที่ดีที่สุดของเรามากกว่ารางวัล