ASTVผู้จัดการรายวัน-กรรมการสอบสวนอุบัติเหตุเครื่องบินการบินไทยไถลตกรันเวย์ ตั้ง 2 ประเด็น เหตุฐานล้อหลักหัก การซ่อมบำรุงและประกายไฟที่ลามไปไหม้เครื่องยนต์ ด้านบวท.จัดเครื่องเล็กใช้รันเวย์ตะวันออก 2,000 เมตรบินขึ้นวันละ100 ลำ ลดแออัด ข้ามวันที่ 2 ถึงบ่าย 3 โมง ดีเลย์อีก 329 ลำ ชี้ถึงเวลาตัดสินใจสร้างรันเวย์สำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
เมื่อวันที่ 10 กันยายน คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักร ที่มีพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานได้มีการสอบสวนถึงเหตุเครื่องบิน แอร์บัส 330 -300 เที่ยวบินที่ ทีจี 679 (กวางโจว-กรุงเทพ) ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถลออกจากแนวกึ่งกลางทางวิ่ง (รันเวย์) ฝั่งตะวันออกขณะทำการลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเมื่อคืน วันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมาโดยพล.ต.อ.วิเชียรเปิดเผยว่า อนุกรรมการฯได้เข้าไปสอบสวน โดยจะมุ่งสอบสวน 2 ประเด็นหลัก คือกรณีฐานล้อหลักด้านหลังใต้ปีกขวา (Bogie Beam) หักมาจากสาเหตุอายุการใช้งานหรือการตรวจซ่อมบำรุง และกรณีประกายไฟเกิดขึ้นจากอะไร
นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) กล่าวว่า กรณีประกายไฟหรือไฟไหม้ต้องสอบสวนอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเนื่องจากมีข้อมูลไม่ตรงกัน โดยข้อมูลจากหอบังคับการบินของวิทยุการบินเห็นประกายไฟและมีไฟไหม้ที่ตัวเครื่องยนต์ลามไปที่ปีก ส่วนการบินไทยแจ้งว่ามีเพียงประกายไฟไม่ได้เกิดไฟไหม้แต่อย่างใด เนื่องจากอายุของแอร์บัส 300 ลำที่เกิดมีอายุ 8 ปีแล้วอีก 2 ปีจะปลดประจำการแล้ว
ด้านผู้เชี่ยวชาญภาคอากาศยาน บพ. ในฐานะกรรมการคณะกรรมการสอบสวนฯ ให้ข้อมูลว่า การสอบสวนจะมีหน่วยงานของรัฐผู้ผลิตอากาศยาน(แอร์บัส) คือ หน่วยงานสอบสวนอุบัติเหตุทางอากาศของ ยุโรป หรือ BEA และรัฐผู้ผลิตเครื่องยนต์ (แพรทท์แอนด์วิทนีย์ ) คือ หน่วยงานสอบสวนอุบัติเหตุทางอากาศของอเมริกาหรือ NESB เข้าร่วมการสอบสวน โดยประเด็นหลักในการสอบสวนหลังจากที่กล่องดำทั้งบันทึกข้อมูลด้านการบิน ( Digital Flight Data Recorder : DFDR ) และอุปกรณ์ สำหรับบันทึกเสียงในห้องนักบิน (Cockpit Voice Recorder : CVR) ได้มาอยู่ในความดูแลของกรรมการสอบสวนฯแล้ว จะเป็นเรื่องฐานล้อหลักเกิดปัญหาขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งทาง BEA จะเข้าตรวจสอบ ส่วนกรณีไฟไหม้ตัวเครื่องยนต์เกิดขึ้นได้อย่างไร ทาง NESB เข้ามาร่วมตรวจสอบ ส่วนการอ่านผลกล่องดำนั้น ตามปกติจะใช้ระยะเวลาอ่านประมาณ 1 สัปดาห์
****ข้ามวันที่ 2 ดีเลย์อีก 329 ลำ
น.ต.ประจักษ์ สัจจะโสภณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.)กล่าวว่า การบริหารจัดการเที่ยวบินขณะนี้จะจัดลำดับให้เครื่องบินภาคอากาศได้ลงก่อนในอัตรา 5 ลำต่อเครื่องภาคพื้น 1 ลำ โดยในวันที่ 9 กันยายนตั้งแต่เวลา 07.00 น.19.00น. มีเที่ยวบินดีเลย์รวม 415 ลำ โดย HOLD รอบนอากาศ 201 ลำเฉลี่ยลำละ 15 นาที สูงสุด 39 นาที Hold รอบนภาคพื้น 214 ลำ เฉลี่ยลำละ 25 นาที สูงสุด 42 นาที และตั้งแต่เวลา 19.00 น.ของวันที่ 9 กันยายน ถึง เวลา 07.00น. ของวันที่ 10 กันยายน มีเที่ยวบินดีเลย์รวม 157 ลำโดยเป็นเที่ยวบินขาเข้า HOLD รอบนอากาศ จำนวน 95 ลำๆละ 16 นาที Hold รอบนภาคพื้น จำนวน 62 ลำ ๆ ลำ 30 นาที และช่วงเวลา 07.00-15.00น.ของวันที่ 10 กันยายน เที่ยวบินดีเลย์อีก 172 ลำ โดยเป็นเที่ยวบินขาเข้า HOLD รอบนอากาศ จำนวน 42 ลำๆละ 10 นาที Hold รอบนภาคพื้น จำนวน 130 ลำ ๆ ละ 20 นาที ซึ่งบวท.ได้ประสานกับทางสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจการบิน (AOC) และแจ้งให้สายการบินเตรียมการสำรองน้ำมัน เพื่อรองรับการล่าช้าของเที่ยวบิน
ทั้งนี้ หลังจากบวท.ได้ประสานกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.ในการใช้รันเวย์ฝั่งตะวันออก (19L) ในส่วนที่เหลือประมาณ 2,000 เมตรเพื่อให้เครื่องบินขนาดเล็กเช่น แอร์บัส 320,โบอิ้ง 737 และ ATR ทำการบินขึ้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ และสายการบินจะได้ไม่ต้อง HOLD รอนานเกินไปซึ่งช่วยผ่อนคลายความแออัดของรันเวย์ฝั่งตะวันตกได้มาก โดยเครื่องบิน แอร์บัส 320 ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ทำการบินขึ้นเป็นลำแรกช่วงก่อนเที่ยงของวันที่ 9 กันยายนโดยเฉลี่ยมีเครื่องบินขนาดเล็กบินประมาณ 100 เที่ยวบินต่อวันเป็นของบางกอกแอร์เวย์ส 60 เที่ยวบิน การบินไทย 30 เที่ยวบิน และสายการบินอื่นๆ 10 เที่ยวบินซึ่งจะจัดให้บินขึ้นที่รันเวย์ฝั่งตะวันออก (19L) ทั้งหมด
น.ต.ประจักษ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความจำเป็นต้องมีรันเวย์สำรอง อีก 1 เส้นเพื่อไว้ในในในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการหารือกันแล้ว โดยทอท.จะดำเนินการก่อสร้างรันเวย์สำรองความยาว 2,800-2,900 เมตร แต่ยังไม่มีความคืบหน้าซึ่งถึงเวลาที่ผู้รับผิดชอบจะต้องเร่งตัดสินใจดำเนินการ เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุบนรันเวย์ จะมีผลกระทบหลายด้านรวมถึงภาพพจน์ของประเทศด้วย
ส่วนการเคลื่อนย้ายเครื่องบินของการบินไทยออกนั้น จะต้องรอเครื่องมือขนย้ายซึ่งการบินไทยได้ประสานเพื่อนำรถเครนขนาดใหญ่จากท่าเรือแหลมฉบังมายกเครื่องบิน แอร์บัส A 3 20 คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ในช่วงค่ำของวันนี้ (10 ก.ย.) จากนั้น ทอท.จะเร่งซ่อมผิวรันเวย์และสนามบินหญ้าด้านข้างที่ได้รับความเสียหาย ให้แล้วเสร็จเพื่อเปิดใช้รันเวย์ตามปกติในวันพุธที่ 11 กันยายน
**“อำพน”ป้องกัปตัน -ลูกเรือ
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ บอร์ดการบินไทย กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย คงต้องรอผลการตรวจสอบด้านเทคนิคก่อน แต่ยืนยันว่า การตัดสินใจและการดำเนินการทั้งหมดของกัปตัน และลูกเรือถูกต้องแล้ว สิ่งที่กัปตันตัดสินใจ ถือว่าทำถูกต้องแล้ว เพราะหากตัดสินใจไม่ถูกต้อง อาจจะเกิดโศกนาฎกรรมอื่นก็ได้
***บินไทย แจงความช่วยเหลือ
ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯได้นำกระเป๋าสัมภาระและสิ่งของต่างๆของผู้โดยสาร ทั้งที่อยู่ในห้องโดยสารและใต้ท้องเครื่องบิน ลำเลียงออกจากเครื่องบินลำดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และได้ทยอยจัดส่งกระเป๋าสัมภาระและสิ่งของให้แก่ผู้โดยสารแล้วประมาณ 90% และส่วนที่เหลือผู้โดยสารแจ้งว่าจะรับสัมภาระด้วยตนเอง
สำหรับผู้โดยสารที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 17 คน ขณะนี้แพทย์ได้อนุญาตให้ผู้โดยสารออกจากโรงพยาบาลแล้ว จำนวน 14 คน เหลืออีกเพียง 3 คน ที่ยังพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
ส่วนการเคลื่อนย้ายเครื่องบิน แอร์บัส เอ 330 - 300 ลำดังกล่าวนั้น บริษัทฯ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเช้าของเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 หลังจากคณะกรรมการสอบสวนหาสาเหตุ ซึ่งมีนายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน เป็นประธาน ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลและอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเครื่องบินได้
****อีก1เดือนรู้ผลกล่องดำ
ด้านนายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) กล่าวว่า การสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น คณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักร ที่มีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยขณะนี้ บพ.ในฐานะเลขาฯคณะกรรมการจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นทั้งในสถานที่เกิดเหตุ ตัวเครื่องบิน ซึ่งพบว่าเครื่องบินได้เข้าซ่อมใหญ่ระดับ C-Check เมื่อช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งโดยปกติจะใช้งานไปอีก 2-3 ปี จึงจะซ่อมใหญ่อีกรอบ โดยระหว่างนั้นเป็นการซ่อมระดับ A-Check และ C -Check ตามโปรแกรม รวมถึงสัมภาษณ์นักบิน จากนั้นจะรอผลกล่องดำมาประกอบการพิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าผลกล่องดำ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์
เมื่อวันที่ 10 กันยายน คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักร ที่มีพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานได้มีการสอบสวนถึงเหตุเครื่องบิน แอร์บัส 330 -300 เที่ยวบินที่ ทีจี 679 (กวางโจว-กรุงเทพ) ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถลออกจากแนวกึ่งกลางทางวิ่ง (รันเวย์) ฝั่งตะวันออกขณะทำการลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเมื่อคืน วันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมาโดยพล.ต.อ.วิเชียรเปิดเผยว่า อนุกรรมการฯได้เข้าไปสอบสวน โดยจะมุ่งสอบสวน 2 ประเด็นหลัก คือกรณีฐานล้อหลักด้านหลังใต้ปีกขวา (Bogie Beam) หักมาจากสาเหตุอายุการใช้งานหรือการตรวจซ่อมบำรุง และกรณีประกายไฟเกิดขึ้นจากอะไร
นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) กล่าวว่า กรณีประกายไฟหรือไฟไหม้ต้องสอบสวนอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเนื่องจากมีข้อมูลไม่ตรงกัน โดยข้อมูลจากหอบังคับการบินของวิทยุการบินเห็นประกายไฟและมีไฟไหม้ที่ตัวเครื่องยนต์ลามไปที่ปีก ส่วนการบินไทยแจ้งว่ามีเพียงประกายไฟไม่ได้เกิดไฟไหม้แต่อย่างใด เนื่องจากอายุของแอร์บัส 300 ลำที่เกิดมีอายุ 8 ปีแล้วอีก 2 ปีจะปลดประจำการแล้ว
ด้านผู้เชี่ยวชาญภาคอากาศยาน บพ. ในฐานะกรรมการคณะกรรมการสอบสวนฯ ให้ข้อมูลว่า การสอบสวนจะมีหน่วยงานของรัฐผู้ผลิตอากาศยาน(แอร์บัส) คือ หน่วยงานสอบสวนอุบัติเหตุทางอากาศของ ยุโรป หรือ BEA และรัฐผู้ผลิตเครื่องยนต์ (แพรทท์แอนด์วิทนีย์ ) คือ หน่วยงานสอบสวนอุบัติเหตุทางอากาศของอเมริกาหรือ NESB เข้าร่วมการสอบสวน โดยประเด็นหลักในการสอบสวนหลังจากที่กล่องดำทั้งบันทึกข้อมูลด้านการบิน ( Digital Flight Data Recorder : DFDR ) และอุปกรณ์ สำหรับบันทึกเสียงในห้องนักบิน (Cockpit Voice Recorder : CVR) ได้มาอยู่ในความดูแลของกรรมการสอบสวนฯแล้ว จะเป็นเรื่องฐานล้อหลักเกิดปัญหาขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งทาง BEA จะเข้าตรวจสอบ ส่วนกรณีไฟไหม้ตัวเครื่องยนต์เกิดขึ้นได้อย่างไร ทาง NESB เข้ามาร่วมตรวจสอบ ส่วนการอ่านผลกล่องดำนั้น ตามปกติจะใช้ระยะเวลาอ่านประมาณ 1 สัปดาห์
****ข้ามวันที่ 2 ดีเลย์อีก 329 ลำ
น.ต.ประจักษ์ สัจจะโสภณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.)กล่าวว่า การบริหารจัดการเที่ยวบินขณะนี้จะจัดลำดับให้เครื่องบินภาคอากาศได้ลงก่อนในอัตรา 5 ลำต่อเครื่องภาคพื้น 1 ลำ โดยในวันที่ 9 กันยายนตั้งแต่เวลา 07.00 น.19.00น. มีเที่ยวบินดีเลย์รวม 415 ลำ โดย HOLD รอบนอากาศ 201 ลำเฉลี่ยลำละ 15 นาที สูงสุด 39 นาที Hold รอบนภาคพื้น 214 ลำ เฉลี่ยลำละ 25 นาที สูงสุด 42 นาที และตั้งแต่เวลา 19.00 น.ของวันที่ 9 กันยายน ถึง เวลา 07.00น. ของวันที่ 10 กันยายน มีเที่ยวบินดีเลย์รวม 157 ลำโดยเป็นเที่ยวบินขาเข้า HOLD รอบนอากาศ จำนวน 95 ลำๆละ 16 นาที Hold รอบนภาคพื้น จำนวน 62 ลำ ๆ ลำ 30 นาที และช่วงเวลา 07.00-15.00น.ของวันที่ 10 กันยายน เที่ยวบินดีเลย์อีก 172 ลำ โดยเป็นเที่ยวบินขาเข้า HOLD รอบนอากาศ จำนวน 42 ลำๆละ 10 นาที Hold รอบนภาคพื้น จำนวน 130 ลำ ๆ ละ 20 นาที ซึ่งบวท.ได้ประสานกับทางสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจการบิน (AOC) และแจ้งให้สายการบินเตรียมการสำรองน้ำมัน เพื่อรองรับการล่าช้าของเที่ยวบิน
ทั้งนี้ หลังจากบวท.ได้ประสานกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.ในการใช้รันเวย์ฝั่งตะวันออก (19L) ในส่วนที่เหลือประมาณ 2,000 เมตรเพื่อให้เครื่องบินขนาดเล็กเช่น แอร์บัส 320,โบอิ้ง 737 และ ATR ทำการบินขึ้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ และสายการบินจะได้ไม่ต้อง HOLD รอนานเกินไปซึ่งช่วยผ่อนคลายความแออัดของรันเวย์ฝั่งตะวันตกได้มาก โดยเครื่องบิน แอร์บัส 320 ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ทำการบินขึ้นเป็นลำแรกช่วงก่อนเที่ยงของวันที่ 9 กันยายนโดยเฉลี่ยมีเครื่องบินขนาดเล็กบินประมาณ 100 เที่ยวบินต่อวันเป็นของบางกอกแอร์เวย์ส 60 เที่ยวบิน การบินไทย 30 เที่ยวบิน และสายการบินอื่นๆ 10 เที่ยวบินซึ่งจะจัดให้บินขึ้นที่รันเวย์ฝั่งตะวันออก (19L) ทั้งหมด
น.ต.ประจักษ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความจำเป็นต้องมีรันเวย์สำรอง อีก 1 เส้นเพื่อไว้ในในในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการหารือกันแล้ว โดยทอท.จะดำเนินการก่อสร้างรันเวย์สำรองความยาว 2,800-2,900 เมตร แต่ยังไม่มีความคืบหน้าซึ่งถึงเวลาที่ผู้รับผิดชอบจะต้องเร่งตัดสินใจดำเนินการ เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุบนรันเวย์ จะมีผลกระทบหลายด้านรวมถึงภาพพจน์ของประเทศด้วย
ส่วนการเคลื่อนย้ายเครื่องบินของการบินไทยออกนั้น จะต้องรอเครื่องมือขนย้ายซึ่งการบินไทยได้ประสานเพื่อนำรถเครนขนาดใหญ่จากท่าเรือแหลมฉบังมายกเครื่องบิน แอร์บัส A 3 20 คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ในช่วงค่ำของวันนี้ (10 ก.ย.) จากนั้น ทอท.จะเร่งซ่อมผิวรันเวย์และสนามบินหญ้าด้านข้างที่ได้รับความเสียหาย ให้แล้วเสร็จเพื่อเปิดใช้รันเวย์ตามปกติในวันพุธที่ 11 กันยายน
**“อำพน”ป้องกัปตัน -ลูกเรือ
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ บอร์ดการบินไทย กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย คงต้องรอผลการตรวจสอบด้านเทคนิคก่อน แต่ยืนยันว่า การตัดสินใจและการดำเนินการทั้งหมดของกัปตัน และลูกเรือถูกต้องแล้ว สิ่งที่กัปตันตัดสินใจ ถือว่าทำถูกต้องแล้ว เพราะหากตัดสินใจไม่ถูกต้อง อาจจะเกิดโศกนาฎกรรมอื่นก็ได้
***บินไทย แจงความช่วยเหลือ
ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯได้นำกระเป๋าสัมภาระและสิ่งของต่างๆของผู้โดยสาร ทั้งที่อยู่ในห้องโดยสารและใต้ท้องเครื่องบิน ลำเลียงออกจากเครื่องบินลำดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และได้ทยอยจัดส่งกระเป๋าสัมภาระและสิ่งของให้แก่ผู้โดยสารแล้วประมาณ 90% และส่วนที่เหลือผู้โดยสารแจ้งว่าจะรับสัมภาระด้วยตนเอง
สำหรับผู้โดยสารที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 17 คน ขณะนี้แพทย์ได้อนุญาตให้ผู้โดยสารออกจากโรงพยาบาลแล้ว จำนวน 14 คน เหลืออีกเพียง 3 คน ที่ยังพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
ส่วนการเคลื่อนย้ายเครื่องบิน แอร์บัส เอ 330 - 300 ลำดังกล่าวนั้น บริษัทฯ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเช้าของเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 หลังจากคณะกรรมการสอบสวนหาสาเหตุ ซึ่งมีนายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน เป็นประธาน ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลและอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเครื่องบินได้
****อีก1เดือนรู้ผลกล่องดำ
ด้านนายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) กล่าวว่า การสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น คณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักร ที่มีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยขณะนี้ บพ.ในฐานะเลขาฯคณะกรรมการจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นทั้งในสถานที่เกิดเหตุ ตัวเครื่องบิน ซึ่งพบว่าเครื่องบินได้เข้าซ่อมใหญ่ระดับ C-Check เมื่อช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งโดยปกติจะใช้งานไปอีก 2-3 ปี จึงจะซ่อมใหญ่อีกรอบ โดยระหว่างนั้นเป็นการซ่อมระดับ A-Check และ C -Check ตามโปรแกรม รวมถึงสัมภาษณ์นักบิน จากนั้นจะรอผลกล่องดำมาประกอบการพิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าผลกล่องดำ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์