ASTVผู้จัดการรายวัน - บิ๊กซี.พี.เชื่อเศรษฐกิจไทยยังโตได้ แต่จับตาปัญหาซีเรียดันราคาน้ำมันพุ่งแตะ 140 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล แนะรัฐดุแลเศรษฐกิจเติบโตระยะยาว ดูแลปัญหาการเมืองภายในหนุนท่องเที่ยว ด้านการลงทุนอสังหาฯเครือซี.พี.ลุยตลาดต่างจังหวัดรับกำลังซื้อภาคเกษตร นักวิชาการเตือนรัฐเร่งดูแลเสถียภาพเศรษฐกิจในประเทศมากกว่าการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังประเมินปัจจัยความเสี่ยงในต่างประเทศมีสูง แนะทำใจ จีดีพีไตรมาส 4/56 วูบต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่พุ่งถึง19.1%จากนโยบายรถคันแรก เหตุหนี้ครัวเรือนพุ่งฉุดการบริโภคหดตัวลง
นายสุนทร อรุณานนท์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี กล่าววิเคราะห์เศรษฐกิจ ในหัวข้อ “มองเศรษฐกิจไทย” ว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะยังเติบโตได้ เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจยังมีความแข็งแกร่ง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่สูงถึง 168,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแม้การเติบโตจะไม่ร้อนแรงเท่า 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ในปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.8-4 ได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีความรุนแรงใด ๆ เกิดขึ้น เพราะหากมีความรุนแรง โดยเฉพาะการเกิดสงครามหากสหรัฐโจมตีซีเรีย อาจทำให้การส่งน้ำมันผ่านคลองสุเอจใช้การไม่ได้และอาจทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ซึ่งอาจเห็นราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นถึง 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ซีพีลุยอสังหาฯตจว.รับกำลังซื้อภาคเกษตรบูม
นายสุนทร กล่าวว่า สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจของประเทศอย่างหนึ่ง โดยประเทศไทยภาคอสังหาฯคิดเป็น 7% ของจีดีพีประเทศ ซึ่งหากรวมกับภาควัสดุก่อสร้าง และภาครับเหมาแล้วจะถือเป็นกว่า 12% ของจีดีพี ซึ่งที่ผ่านมาภาคอสังหาฯมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าหลังจากนี้จะยังคงเติบโตตามปกติ หากรัฐบาลใช้จ่ายเม็ดเงินในงบประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ก็จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เกิดการจับจ่ายใช้สอย ภาคเศรษฐกิจ รวมไปถึงภาคการก่อสร้างก็จะเติบโตขึ้น
นอกจากเม็ดเงินจากรัฐบาลที่ใส่เข้ามาในภาคเศรษฐกิจแล้ว ผลผลิตภาคการเกษตรยังมีราคาสูงขึ้นทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการเปิด AEC ก็จะช่วยให้ มีการไหลเวียนของประชากรในภูมิภาคนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจและภาคอสังหาฯ เติบโตขึ้นอีกมาก จากแนวโน้วดังกล่าว ทำให้การลงทุนภาคอสังหาฯของกลุ่มซีพี ให้น้ำหนักไปที่ต่างจังหวัดเกินกว่า 50% ขณะที่ยังไม่ทิ้งการลงทุนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล หากมีที่ดินแปลงที่มีศักยภาพและโอกาสในการลงทุนก็พร้อมที่จะลงทุนทันที
รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของไทยในไตรมาส 3 นี้คาดว่าจะอยู่ที่ 3-4% ไม่ต่างจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ จีดีพีในไตรมาส 4 นี้ที่คาดจะต่ำมาก เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการขยายตัวสูงถึง19.1%เนื่องจากช่วงนั้นรัฐบาลมีนโยบายรถคันแรก ส่งผลให้ครึ่งปีหลังนี้คาดว่าจีดีพีคาดว่าจะขยายตัว 3 % ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ ขยายตัวถึง 11% ทำให้ทั้งปี 2556 จีดีพีไทยน่าจะอยู่ที่ 3.5-4 % ซึ่งคนไทยต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการตื่นตระหนกเกินไป เพราะสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญนับจากนี้คือการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งการเติบโตเหมือนในอดีต
เนื่องจากในช่วง1- 2ปีข้างหน้าจะเกิดความไม่แน่นอนมากขึ้นถึง 3 จังหวะ ทั้งเรื่องการถอนเงินทุนจากต่างประเทศหลังสหรัฐฯจ่อเลิก QE ปัญหาอียูยังไม่พื้นตัว และความขัดแย้งจากนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของหลายประเทศ เช่นสหรัฐฯและญี่ปุ่นกลัวปัญหาเงินฝืดและค่าเงินแข็งจึงเร่งพิมพ์ธนบัตรกระตุ้นการใช้จ่าย แต่ประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทย กลับกังวลปัญหาเงินเฟ้อและค่าเงินอ่อน เป็นต้น การเมืองที่ไม่แน่นอนในหลายประเทศ และความไม่แน่นอนด้านเสถียภาพ จากกรณีที่สหรัฐฯเตรียมทำสงครามกับซีเรีย คงต้องมองว่าปัญหานี้จะลามไปยังประเทศอื่นอย่างอิหร่าน และอิสราเอลหรือไม่ และจะมีผลต่อราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกเหล่านี้เป็นสิ่งที่ภาครัฐ และเอกชนจะต้องเตรียมตัวรับมือขณะที่ในประเทศเองก็มีปัจจัยความไม่แน่นอนทั้งด้านการเมือง
“ต้องเข้าใจว่าประเทศไทยกำลังหลุดจากเศรษฐกิจที่ใช้สารสเตอรอยด์เร่งทั้งในระดับโลก ผ่านQEของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่วนนโยบายในประเทศได้แก่ โครงการรถยนต์คันแรก และค่าแรง 300 บาท ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศลดลง เนื่องจากหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น”
นายสุนทร อรุณานนท์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี กล่าววิเคราะห์เศรษฐกิจ ในหัวข้อ “มองเศรษฐกิจไทย” ว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะยังเติบโตได้ เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจยังมีความแข็งแกร่ง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่สูงถึง 168,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแม้การเติบโตจะไม่ร้อนแรงเท่า 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ในปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.8-4 ได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีความรุนแรงใด ๆ เกิดขึ้น เพราะหากมีความรุนแรง โดยเฉพาะการเกิดสงครามหากสหรัฐโจมตีซีเรีย อาจทำให้การส่งน้ำมันผ่านคลองสุเอจใช้การไม่ได้และอาจทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ซึ่งอาจเห็นราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นถึง 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ซีพีลุยอสังหาฯตจว.รับกำลังซื้อภาคเกษตรบูม
นายสุนทร กล่าวว่า สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจของประเทศอย่างหนึ่ง โดยประเทศไทยภาคอสังหาฯคิดเป็น 7% ของจีดีพีประเทศ ซึ่งหากรวมกับภาควัสดุก่อสร้าง และภาครับเหมาแล้วจะถือเป็นกว่า 12% ของจีดีพี ซึ่งที่ผ่านมาภาคอสังหาฯมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าหลังจากนี้จะยังคงเติบโตตามปกติ หากรัฐบาลใช้จ่ายเม็ดเงินในงบประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ก็จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เกิดการจับจ่ายใช้สอย ภาคเศรษฐกิจ รวมไปถึงภาคการก่อสร้างก็จะเติบโตขึ้น
นอกจากเม็ดเงินจากรัฐบาลที่ใส่เข้ามาในภาคเศรษฐกิจแล้ว ผลผลิตภาคการเกษตรยังมีราคาสูงขึ้นทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการเปิด AEC ก็จะช่วยให้ มีการไหลเวียนของประชากรในภูมิภาคนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจและภาคอสังหาฯ เติบโตขึ้นอีกมาก จากแนวโน้วดังกล่าว ทำให้การลงทุนภาคอสังหาฯของกลุ่มซีพี ให้น้ำหนักไปที่ต่างจังหวัดเกินกว่า 50% ขณะที่ยังไม่ทิ้งการลงทุนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล หากมีที่ดินแปลงที่มีศักยภาพและโอกาสในการลงทุนก็พร้อมที่จะลงทุนทันที
รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของไทยในไตรมาส 3 นี้คาดว่าจะอยู่ที่ 3-4% ไม่ต่างจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ จีดีพีในไตรมาส 4 นี้ที่คาดจะต่ำมาก เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการขยายตัวสูงถึง19.1%เนื่องจากช่วงนั้นรัฐบาลมีนโยบายรถคันแรก ส่งผลให้ครึ่งปีหลังนี้คาดว่าจีดีพีคาดว่าจะขยายตัว 3 % ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ ขยายตัวถึง 11% ทำให้ทั้งปี 2556 จีดีพีไทยน่าจะอยู่ที่ 3.5-4 % ซึ่งคนไทยต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการตื่นตระหนกเกินไป เพราะสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญนับจากนี้คือการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งการเติบโตเหมือนในอดีต
เนื่องจากในช่วง1- 2ปีข้างหน้าจะเกิดความไม่แน่นอนมากขึ้นถึง 3 จังหวะ ทั้งเรื่องการถอนเงินทุนจากต่างประเทศหลังสหรัฐฯจ่อเลิก QE ปัญหาอียูยังไม่พื้นตัว และความขัดแย้งจากนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของหลายประเทศ เช่นสหรัฐฯและญี่ปุ่นกลัวปัญหาเงินฝืดและค่าเงินแข็งจึงเร่งพิมพ์ธนบัตรกระตุ้นการใช้จ่าย แต่ประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทย กลับกังวลปัญหาเงินเฟ้อและค่าเงินอ่อน เป็นต้น การเมืองที่ไม่แน่นอนในหลายประเทศ และความไม่แน่นอนด้านเสถียภาพ จากกรณีที่สหรัฐฯเตรียมทำสงครามกับซีเรีย คงต้องมองว่าปัญหานี้จะลามไปยังประเทศอื่นอย่างอิหร่าน และอิสราเอลหรือไม่ และจะมีผลต่อราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกเหล่านี้เป็นสิ่งที่ภาครัฐ และเอกชนจะต้องเตรียมตัวรับมือขณะที่ในประเทศเองก็มีปัจจัยความไม่แน่นอนทั้งด้านการเมือง
“ต้องเข้าใจว่าประเทศไทยกำลังหลุดจากเศรษฐกิจที่ใช้สารสเตอรอยด์เร่งทั้งในระดับโลก ผ่านQEของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่วนนโยบายในประเทศได้แก่ โครงการรถยนต์คันแรก และค่าแรง 300 บาท ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศลดลง เนื่องจากหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น”