สังคมไทยลืมชื่อนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ไปแล้วมั้ง เพราะสังคมไทยเราลืมคนดีๆ ง่าย จำได้แต่คนที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
นายวสันต์ เป็นอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ลาออกไปแล้ว เพื่อเปิดทางให้คนอื่นเขาได้เป็นประธานบ้าง แล้วก็หายไปเลย มาเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อวานซืนนี้เอง
เมื่อวันที่ 8 กันยายนนี้ ที่ศูนย์ประชุมสถาบันจุฬาภรณ์ สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำการปกครองส่วนท้องถิ่น (สพท) ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง “ระบบนิติรัฐกับทางออกของประเทศไทย” โดยมีนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ มาเป็นองค์ปาฐก
นายวสันต์กล่าวว่า นิติรัฐหมายถึงรัฐที่มีการปกครองโดยยึดหลักกฎหมาย การชนะการเลือกตั้งไม่ได้แปลว่าให้มาบริหารประเทศอย่างเดียว รัฐบาลจะต้องบริหารตามกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจำเป็นต้องมีมือกฎหมายที่เก่ง มีความรู้ และแก้ปัญหาได้ดีไว้ใกล้ตัว นักกฎหมายที่เก่งควรรู้กฎหมายและผูกโยงกฎหมายหลายฉบับที่เชื่อมโยงกันเพื่อให้บริหารถูกต้อง และเพื่อใช้กฎหมายให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารประเทศ ไม่ใช่เอาช่องโหว่กฎหมายมาหาประโยชน์ใส่ตัวและพวกพ้อง และต้องบริหารตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่บริหารตามอำเภอใจ
นายวสันต์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลนี้ก็มีมือกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่ที่ออกมามักจะมาคุยโม้โอ้อวดหนักไปทางคุยมากกว่า พูดเก่ง โม้เก่ง แต่พอเอาจริงเอาจังแล้วไม่ค่อยได้เรื่อง ไม่ว่าจบจากต่างประเทศ หรือเป็นด็อกเตอร์ซึ่งยิ่งออกมาพูดมากย่อมแสดงความไม่รู้ของตัวเอง
นายวสันต์ กล่าวฟันธงว่า ตอนนี้รัฐบาลทำขัดรัฐธรรมนูญแล้ว 2 เรื่อง แต่ไม่มีกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงไปวินิจฉัย คือ กรณีไม่แถลงผลงานปีละ 1 ครั้งต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 75 วรรคสองที่กำหนดไว้ ตรงนี้ศาลรัฐรรมนูญของเราไม่เหมือนศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีที่มีอำนาจจะเข้าไปตรวจสอบ เรียกไต่สวน หรือออกคำสั่งห้ามได้ โดยที่ไม่ต้องมีคนร้องหากเห็นว่า รัฐบาลหรือรัฐสภากำลังทำผิด
นอกจากนี้ ที่น่าหงุดหงิดคือ โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เมื่อครั้งขอออกเป็น พ.ร.ก.ถือว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ วันนี้ พ.ร.ก.ดังกล่าวออกเป็น พ.ร.บ.แล้ว โดยมาตรา 3 เขียนให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และในวรรคหนึ่งกำหนดให้การกู้ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 แต่จนถึงขณะนี้มีคำยืนยันจากรองปลัดกระทรวงการคลังว่าไปเซ็นสัญญากับ 4 ธนาคารแล้ว มีคำถามว่าการกู้เงินตาม พ.ร.บ.กำหนดต้องทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2556 การเซ็นสัญญากับธนาคารแล้วถือว่าเป็นกู้หรือยัง ซึ่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เขียนไว้ว่าสัญญานี้จะบริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม แต่ตอนนี้ถ้าเป็นไปตามที่รองปลัดกระทรวงการคลังบอกว่ายังไม่มีการส่งมอบเงิน จึงเท่ากับว่ายังไม่มีการกู้เงินเกิดขึ้น ปัญหาคือ ถ้าหลังจากเดือนมิถุนายนแล้วธนาคารจะเสี่ยงกล้าให้เงินกับรัฐหรือไม่ เพราะถ้ายึดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การเสี่ยงให้เงินของธนาคารก็อาจนำมาสู่การไม่ได้รับเงินต้นคืนและดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน รัฐจะเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำอะไรต่อมิอะไรผิดอีกหลายอย่าง รวมทั้งการรับจำนำข้าวราคาสูงกว่าท้องตลาด แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้อง รับเรื่องพิจารณาอย่างที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ กล่าวไว้
จำได้ว่า นักวิชาการได้นำเรื่องที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์รับจำนำข้าวสูงกว่าราคาท้องตลาด และเห็นว่าจะสร้างความเสียหายให้กับตลาดข้าวไทย และเล็งเห็นว่านโยบายดังกล่าวนี้จะเกิดความเสียหาย รัฐบาลจะประสบการขาดทุน กระทบต่องบประมาณแผ่นดิน กระทบต่อเงินภาษีของประชาชน
ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับเรื่องนี้ไว้พิจารณา เพราะรู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจ นักวิชาการที่ยื่นฟ้องก็ไม่ค่อยจะพอใจต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ความเป็นจริงก็เป็นอย่างที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญพูด นั่นก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีอำนาจหน้าที่มากมายอย่างที่บางคนเข้าใจ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำหน้าที่ในมาตรา 211, 212, 213 และ 214 พิจารณาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญจะตกเป็นโมฆะเสียเปล่าทันที ใช้บังคับไม่ได้ทันที อีกเรื่องก็เป็นส่วนประกอบคือ ตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี
เรื่องเด่นๆ ดังๆ ก็เป็นเรื่องการตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมืองเสียมากกว่า เพราะมีกองเชียร์เยอะ และกองเชียร์ทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องยาก
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาไปแล้วก็จบ จบเท่าที่รัฐธรรมนูญให้ตัดสิน เป็นต้นว่า พิจารณาแล้วว่านายคนนี้ เป็นต้น นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี พ้นจากนายกรัฐมนตรี วันรุ่งขึ้นถ้าสภาฯ ลงมติเลือกนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี นายสมัคร ก็เป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก
แต่ที่นายสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้เป็นก็เพราะเกิดการทรยศหักหลังกันเอง
นายไชยา สะสมทรัพย์ พ้นจากรัฐมนตรีเพราะศาลรัฐธรรมนูญ อีกไม่กี่วันกี่เดือน รัฐบาลก็แต่งตั้งนายไชยาให้เป็นรัฐมนตรีอีก กระทรวงใหญ่กว่าเดิม ใครจะทำไม
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เป็นรัฐบาลมาแล้ว 2 ปี ยังไม่แถลงผลงาน ทั้งที่รัฐธรรมนูญให้รัฐบาลแถลงผลงานเมื่อบริหารครบ 1 ปี
กูมีเสียงข้างมากในสภาฯ เสียงข้างมากเลือกกูมาเป็นรัฐบาล กูไม่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญใครจะทำไมกู
ศาลมันสองมาตรฐาน ศาลมันสิ้นสุดความยุติธรรม ศาลมันจ้องเล่นงานกู (โว้ย...)
เคยได้ยินมิใช่หรือประโยคอย่างนี้ คำพูดอย่างนี้
นายวสันต์ เป็นอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ลาออกไปแล้ว เพื่อเปิดทางให้คนอื่นเขาได้เป็นประธานบ้าง แล้วก็หายไปเลย มาเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อวานซืนนี้เอง
เมื่อวันที่ 8 กันยายนนี้ ที่ศูนย์ประชุมสถาบันจุฬาภรณ์ สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำการปกครองส่วนท้องถิ่น (สพท) ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง “ระบบนิติรัฐกับทางออกของประเทศไทย” โดยมีนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ มาเป็นองค์ปาฐก
นายวสันต์กล่าวว่า นิติรัฐหมายถึงรัฐที่มีการปกครองโดยยึดหลักกฎหมาย การชนะการเลือกตั้งไม่ได้แปลว่าให้มาบริหารประเทศอย่างเดียว รัฐบาลจะต้องบริหารตามกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจำเป็นต้องมีมือกฎหมายที่เก่ง มีความรู้ และแก้ปัญหาได้ดีไว้ใกล้ตัว นักกฎหมายที่เก่งควรรู้กฎหมายและผูกโยงกฎหมายหลายฉบับที่เชื่อมโยงกันเพื่อให้บริหารถูกต้อง และเพื่อใช้กฎหมายให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารประเทศ ไม่ใช่เอาช่องโหว่กฎหมายมาหาประโยชน์ใส่ตัวและพวกพ้อง และต้องบริหารตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่บริหารตามอำเภอใจ
นายวสันต์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลนี้ก็มีมือกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่ที่ออกมามักจะมาคุยโม้โอ้อวดหนักไปทางคุยมากกว่า พูดเก่ง โม้เก่ง แต่พอเอาจริงเอาจังแล้วไม่ค่อยได้เรื่อง ไม่ว่าจบจากต่างประเทศ หรือเป็นด็อกเตอร์ซึ่งยิ่งออกมาพูดมากย่อมแสดงความไม่รู้ของตัวเอง
นายวสันต์ กล่าวฟันธงว่า ตอนนี้รัฐบาลทำขัดรัฐธรรมนูญแล้ว 2 เรื่อง แต่ไม่มีกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงไปวินิจฉัย คือ กรณีไม่แถลงผลงานปีละ 1 ครั้งต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 75 วรรคสองที่กำหนดไว้ ตรงนี้ศาลรัฐรรมนูญของเราไม่เหมือนศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีที่มีอำนาจจะเข้าไปตรวจสอบ เรียกไต่สวน หรือออกคำสั่งห้ามได้ โดยที่ไม่ต้องมีคนร้องหากเห็นว่า รัฐบาลหรือรัฐสภากำลังทำผิด
นอกจากนี้ ที่น่าหงุดหงิดคือ โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เมื่อครั้งขอออกเป็น พ.ร.ก.ถือว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ วันนี้ พ.ร.ก.ดังกล่าวออกเป็น พ.ร.บ.แล้ว โดยมาตรา 3 เขียนให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และในวรรคหนึ่งกำหนดให้การกู้ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 แต่จนถึงขณะนี้มีคำยืนยันจากรองปลัดกระทรวงการคลังว่าไปเซ็นสัญญากับ 4 ธนาคารแล้ว มีคำถามว่าการกู้เงินตาม พ.ร.บ.กำหนดต้องทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2556 การเซ็นสัญญากับธนาคารแล้วถือว่าเป็นกู้หรือยัง ซึ่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เขียนไว้ว่าสัญญานี้จะบริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม แต่ตอนนี้ถ้าเป็นไปตามที่รองปลัดกระทรวงการคลังบอกว่ายังไม่มีการส่งมอบเงิน จึงเท่ากับว่ายังไม่มีการกู้เงินเกิดขึ้น ปัญหาคือ ถ้าหลังจากเดือนมิถุนายนแล้วธนาคารจะเสี่ยงกล้าให้เงินกับรัฐหรือไม่ เพราะถ้ายึดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การเสี่ยงให้เงินของธนาคารก็อาจนำมาสู่การไม่ได้รับเงินต้นคืนและดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน รัฐจะเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำอะไรต่อมิอะไรผิดอีกหลายอย่าง รวมทั้งการรับจำนำข้าวราคาสูงกว่าท้องตลาด แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้อง รับเรื่องพิจารณาอย่างที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ กล่าวไว้
จำได้ว่า นักวิชาการได้นำเรื่องที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์รับจำนำข้าวสูงกว่าราคาท้องตลาด และเห็นว่าจะสร้างความเสียหายให้กับตลาดข้าวไทย และเล็งเห็นว่านโยบายดังกล่าวนี้จะเกิดความเสียหาย รัฐบาลจะประสบการขาดทุน กระทบต่องบประมาณแผ่นดิน กระทบต่อเงินภาษีของประชาชน
ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับเรื่องนี้ไว้พิจารณา เพราะรู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจ นักวิชาการที่ยื่นฟ้องก็ไม่ค่อยจะพอใจต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ความเป็นจริงก็เป็นอย่างที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญพูด นั่นก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีอำนาจหน้าที่มากมายอย่างที่บางคนเข้าใจ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำหน้าที่ในมาตรา 211, 212, 213 และ 214 พิจารณาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญจะตกเป็นโมฆะเสียเปล่าทันที ใช้บังคับไม่ได้ทันที อีกเรื่องก็เป็นส่วนประกอบคือ ตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี
เรื่องเด่นๆ ดังๆ ก็เป็นเรื่องการตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมืองเสียมากกว่า เพราะมีกองเชียร์เยอะ และกองเชียร์ทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องยาก
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาไปแล้วก็จบ จบเท่าที่รัฐธรรมนูญให้ตัดสิน เป็นต้นว่า พิจารณาแล้วว่านายคนนี้ เป็นต้น นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี พ้นจากนายกรัฐมนตรี วันรุ่งขึ้นถ้าสภาฯ ลงมติเลือกนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี นายสมัคร ก็เป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก
แต่ที่นายสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้เป็นก็เพราะเกิดการทรยศหักหลังกันเอง
นายไชยา สะสมทรัพย์ พ้นจากรัฐมนตรีเพราะศาลรัฐธรรมนูญ อีกไม่กี่วันกี่เดือน รัฐบาลก็แต่งตั้งนายไชยาให้เป็นรัฐมนตรีอีก กระทรวงใหญ่กว่าเดิม ใครจะทำไม
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เป็นรัฐบาลมาแล้ว 2 ปี ยังไม่แถลงผลงาน ทั้งที่รัฐธรรมนูญให้รัฐบาลแถลงผลงานเมื่อบริหารครบ 1 ปี
กูมีเสียงข้างมากในสภาฯ เสียงข้างมากเลือกกูมาเป็นรัฐบาล กูไม่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญใครจะทำไมกู
ศาลมันสองมาตรฐาน ศาลมันสิ้นสุดความยุติธรรม ศาลมันจ้องเล่นงานกู (โว้ย...)
เคยได้ยินมิใช่หรือประโยคอย่างนี้ คำพูดอย่างนี้