สนข.เล็งเสนอทางเลือกขยายเส้นทางรถไฟความเร็วกรุงเทพ-หัวหินถึงชุมพร แก้ปัญหาไม่คุ้มค่าลงทุน เหตุประเมินผู้โดยสารพบมีเพียง 6,600 คน/วัน ฉุด EIRR ไม่ถึง12% แต่หากต่อเส้นทางออกไปจะเพิ่มผู้โดยสารมากขึ้นได้ ชี้อยู่ที่นโยบายตัดสินใจ เปิดจุดพัฒนาเมืองใหม่สายเหนือที่ สถานีพิษณุโลกและนครสวรรค์ส่วนสายอีสาน ปากช่องและโคราช ใช้ที่ราชพัสดุเป็นหลัก
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางระยะแรก พบว่าเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ต่ำกว่า 12% ซึ่งไม่คุ้มค่าในการลงทุนโดยคาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 6,600 คนต่อวัน แตกต่างจากอีก 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพ-พิษณุโลก ที่มีผู้โดยสารประมาณ20,000คนต่อวัน ,กรุงเทพ-โคราช คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 18,000 คนต่อวัน โดยมี EIRR มากกว่า 12% ทั้ง 2 เส้นทางทำให้มีคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า
ทั้งนี้ สนข. จะรวบรวมข้อมูลรายงานต่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้รับทราบ เพื่อเลือกแนวทางที่จะทำให้การลงทุนโครงการมีความคุ้มค่ามากที่สุด โดยเบื้องต้นมี 3 ทางเลือก 1. ชะลอเส้นทางกรุงเทพ-หัวหินและนำเงินลงทุนไปใช้ในการต่อขยายเส้นทางกรุงเทพ-โคราชให้ไปถึงขอนแก่นหรืออุดรธานี 2. ดำเนินการตามเดิมเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางลงใต้และยอมรับการขาดทุนในช่วงแรก หรือ 3. ขยายเส้นทางจากหัวหินออกไปถึงชุมพรเป็นอย่างน้อย ซึ่งจะต้องเพิ่มเงินลงทุนอีกเกือบแสนล้านบาท
"หลักการคือทำอย่างไรถึงจะเพิ่ม EIRR สายใต่ให้มากกว่า 12% ซึ่งแนวทางที่3 ค่อนข้างสอดคล้องกับหลักคิดและเป็นไปได้ เพราะสามารถจะใช้เงินส่วนที่เหลือจากการประหยัดค่าก่อสร้างในเส้นทางอื่นๆ ในพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้ายล้านบาทลงได้ รวมถึงการเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนระบบและรถไฟฟ้าซึ่งจะลดต้นทุนโครงการลงและนำมาใช้ในงานโยธาเพื่อต่อขยายเส้นทางได้เร็วขึ้นได้โดยต้องยอมรับว่า สายใต้หากสร้างไปแค่หัวหินจะไม่จูงใจในการใช้บริการ แต่หากก่อสร้างได้ถึง ปาดังเบซาร์ จะเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด เพราะเป็นเส้นทางหลักของประเทศโดยจะเสนอรายละเอียดผลศึกษาและทางเลือกประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป"
สำหรับความคืบหน้าการศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูงนั้น ภายในเดือนสิงหาคม จะสรุปตำแหน่งที่ตั้งสถานีและรูปแบบการพัฒนาสถานีแต่ละแห่งได้ และจะเริ่มทยอยเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวด
ล้อม (EIA) ต่อ สผ.ได้ โดยคาดว่าในเดือนกันยายนนี้ การออกแบบเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลกจะแล้วเสร็จและจะเสนอรายงาน EIA ได้ทันที คาดว่าประมาณเดือนมีนาคม 2557 จะเสนอขออนุมัติโครงการต่อ
ครม.ได้ส่วนเส้นทางกรุงเทพ-หัวหินคาดว่าจะเสนอ EIA ได้ในเดือมกราคม 2557
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สนข.อยู่ระหว่างกำหนดจุดตำแหน่งสถานีที่เหมาะสมในแต่ละแห่ง โดยหลักการสถานีที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ จะไม่พัฒนาเป็นเมืองใหม่เพราะใกล้เมืองเกินไป โดยเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก คาดว่าจะมีเมืองใหม่ 2 แห่งคือ พิษณุโลกและนครสวรรค์ เส้นทางกรุงเทพ-โคราช มี 2 แห่งคือ สถานีปากช่องและโคราช(นครราชสีมา)แม้จะมีระยะทางห่างกันเพียง70กิโลเมตร แต่ถือว่ามีศักยภาพทั้ง 2 แห่ง และเส้นทาง กรุงเทพ-หัวหิน จะย้ายสถานีอยู่บริเวณบ่่อฝ้ายและ สายกรุงเทพ-ระยอง ไม่มีจุดเหมาะสมในการพัฒนาเมืองใหม่ โดยจะใช้พื้นที่ ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุเพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืน
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางระยะแรก พบว่าเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ต่ำกว่า 12% ซึ่งไม่คุ้มค่าในการลงทุนโดยคาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 6,600 คนต่อวัน แตกต่างจากอีก 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพ-พิษณุโลก ที่มีผู้โดยสารประมาณ20,000คนต่อวัน ,กรุงเทพ-โคราช คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 18,000 คนต่อวัน โดยมี EIRR มากกว่า 12% ทั้ง 2 เส้นทางทำให้มีคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า
ทั้งนี้ สนข. จะรวบรวมข้อมูลรายงานต่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้รับทราบ เพื่อเลือกแนวทางที่จะทำให้การลงทุนโครงการมีความคุ้มค่ามากที่สุด โดยเบื้องต้นมี 3 ทางเลือก 1. ชะลอเส้นทางกรุงเทพ-หัวหินและนำเงินลงทุนไปใช้ในการต่อขยายเส้นทางกรุงเทพ-โคราชให้ไปถึงขอนแก่นหรืออุดรธานี 2. ดำเนินการตามเดิมเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางลงใต้และยอมรับการขาดทุนในช่วงแรก หรือ 3. ขยายเส้นทางจากหัวหินออกไปถึงชุมพรเป็นอย่างน้อย ซึ่งจะต้องเพิ่มเงินลงทุนอีกเกือบแสนล้านบาท
"หลักการคือทำอย่างไรถึงจะเพิ่ม EIRR สายใต่ให้มากกว่า 12% ซึ่งแนวทางที่3 ค่อนข้างสอดคล้องกับหลักคิดและเป็นไปได้ เพราะสามารถจะใช้เงินส่วนที่เหลือจากการประหยัดค่าก่อสร้างในเส้นทางอื่นๆ ในพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้ายล้านบาทลงได้ รวมถึงการเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนระบบและรถไฟฟ้าซึ่งจะลดต้นทุนโครงการลงและนำมาใช้ในงานโยธาเพื่อต่อขยายเส้นทางได้เร็วขึ้นได้โดยต้องยอมรับว่า สายใต้หากสร้างไปแค่หัวหินจะไม่จูงใจในการใช้บริการ แต่หากก่อสร้างได้ถึง ปาดังเบซาร์ จะเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด เพราะเป็นเส้นทางหลักของประเทศโดยจะเสนอรายละเอียดผลศึกษาและทางเลือกประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป"
สำหรับความคืบหน้าการศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูงนั้น ภายในเดือนสิงหาคม จะสรุปตำแหน่งที่ตั้งสถานีและรูปแบบการพัฒนาสถานีแต่ละแห่งได้ และจะเริ่มทยอยเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวด
ล้อม (EIA) ต่อ สผ.ได้ โดยคาดว่าในเดือนกันยายนนี้ การออกแบบเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลกจะแล้วเสร็จและจะเสนอรายงาน EIA ได้ทันที คาดว่าประมาณเดือนมีนาคม 2557 จะเสนอขออนุมัติโครงการต่อ
ครม.ได้ส่วนเส้นทางกรุงเทพ-หัวหินคาดว่าจะเสนอ EIA ได้ในเดือมกราคม 2557
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สนข.อยู่ระหว่างกำหนดจุดตำแหน่งสถานีที่เหมาะสมในแต่ละแห่ง โดยหลักการสถานีที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ จะไม่พัฒนาเป็นเมืองใหม่เพราะใกล้เมืองเกินไป โดยเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก คาดว่าจะมีเมืองใหม่ 2 แห่งคือ พิษณุโลกและนครสวรรค์ เส้นทางกรุงเทพ-โคราช มี 2 แห่งคือ สถานีปากช่องและโคราช(นครราชสีมา)แม้จะมีระยะทางห่างกันเพียง70กิโลเมตร แต่ถือว่ามีศักยภาพทั้ง 2 แห่ง และเส้นทาง กรุงเทพ-หัวหิน จะย้ายสถานีอยู่บริเวณบ่่อฝ้ายและ สายกรุงเทพ-ระยอง ไม่มีจุดเหมาะสมในการพัฒนาเมืองใหม่ โดยจะใช้พื้นที่ ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุเพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืน