ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา ครอบงำประเทศไทยยาวนา 81 ปี นี่เหตุแห่งความหายนะของชาติที่แท้จริง เมื่อเหตุเลว ส่งผลเลวคือทุกรัฐบาลโกงกินชาติบ้านเมือง และต่างก็โกหกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่เป็นเผด็จการรัฐธรรมนูญ สองลักษณะคือ รัฐประหารกับเลือกตั้ง นี่คือเหตุจัญไรที่แท้จริงของชาติ ส่วนระบอบทักษิณ เป็นแค่ปรากฏการณ์หรือเป็นผลอันเกิดจากระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญพวกจะต้องเราไล่ระบอบเผด็จการทุกชนิดเพื่อสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย เพื่อให้การเมืองเป็นของประชาชนจริงๆ หากไล่ระบอบทักษิณแต่ยังคงระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญไว้ อย่างนี้ก็เท่ากับว่าประชาชนไม่ได้อะไรเลย การต่อสู้ก็ต้องต่อสู้ด้วยสันติและปัญญา
อนึ่ง ระบอบทักษิณ ระบอบมาร์ค ฯลฯ มันเป็นเพียงเงาของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา นี่คือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ของคำว่า “อัปรีย์ไป จัญไรมา” และวงจรอุบาทว์ยึดอำนาจร่างรัฐธรรมนูญ มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ พวกลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญมันคิดกันได้แค่นี้เท่านั้น
ระบอบเผด็จการ (Dictatorship Regime) หมายถึง ระบอบการเมืองที่ปราศจากหลักการปกครอง หรือปราศจากเนื้อหา แก่นสารของหลักการปกครอง
ระบอบเผด็จการคือระบอบการเมืองที่มีแต่รัฐธรรมนูญ หรือระบอบที่เริ่มต้นด้วยการร่างรัฐธรรมนูญ โดยเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย และนี่คือลักษณะสัมพันธภาพของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญไทย 18 ฉบับ
ส่วนแนวทางที่ถูกต้อง คือ พิจารณาสัมพันธภาพที่หนึ่ง หลักการปกครองหรือระบอบ ย่อมเหตุปัจจัยต่อประชาชน เมื่อประชาชนเข้าใจถึงหลักการปกครองดีแล้ว ต่อไปก็สร้างสัมพันธภาพที่สอง หลักการปกครองเป็นเหตุปัจจัยต่อรัฐธรรมนูญ หรือหลักการปกครองต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็นปัจจัยผลของหลักการปกครอง นี่คือสัมพันธภาพที่ถูกต้อง ดังรูป
พวกเราเหล่าพสกนิกรผู้จงรักภักดีทั้งหลาย พวกเราควรจะจงรักภักดี ด้วยปัญญาหรือพุทธจริต จงอย่าเป็นผู้จงรักภักดีแบบศรัทธาจริต เพราะนั่นไม่ใช่เป็นการจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง
ด้านจิตใจ ควรรู้ตามความเป็นจริงว่า “สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง มันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะ สังขารทั้งปวงเป็นทุกขะ ธรรมะทั้งปวงเป็นอนัตตา”
รูป หรือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม แสดงให้เห็นลักษณะความแตกต่างหลากหลาย
นาม 4 หรือจิต ประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีความแตกต่างหลากหลาย
จิตตสังขารปรุงแต่งเป็นอกุศล เช่น กลัว โลภ โกรธ หลง นับแต่ทำลายตนเอง จนถึงทำลายระดับชาติ ระดับโลก ก็มีความแตกต่างหลากหลาย
จิตตสังขารปรุงแต่งเป็นกุศล ก็มีความแตกต่างหลากหลาย นับแต่การสร้างกุศลแก่ตนเอง ไปจนถึงการทำกุศลสร้างสรรค์ประเทศชาติ และโลกก็มีความแตกต่างหลากหลาย
ทั้งรูปสังขารและจิตตสังขาร ล้วนตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ยึดมั่นถือมันอะไรไม่ได้เลย หาความเป็นเอกภาพไม่ได้ เพราะมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากใครรู้แจ้งอิสระจากสังขารทั้งปวงได้ จะเจอสภาวะนิพพาน
นิพพาน คือ สภาวะพ้นจากการปรุงแต่ง สิ้นอุปาทานจากขันธ์ 5 เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งปวงแล้ว เมื่อจะคิด พูด ทำความดี แต่ไม่ติดยึดในความดีที่ตนทำ จึงเป็นสภาวะจิตอิสระ พ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) นิพพานจึงเป็นลักษณะเอกภาพ ดังกล่าวนี้เพื่อที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าขันธ์ 5 นั้นดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างเอกภาพกับความแตกต่างหลากหลายนั่นเอง
จะเห็นได้จากสัมพันธภาพของดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ หรือชาติกับปวงชน หรือพระรัตนตรัยกับชาวพุทธ หรือพระมหากษัตริย์กับพสกนิกร เป็นต้น เหล่านี้คือลักษณะสัมพันธภาพของเอกภาพกับความแตกต่างหลากหลายทั้งสิ้น
จิตที่มีปัญญารู้แจ้งอิสระหลุดพ้นการปรุงแต่ง เป็นจิตที่มีคุณธรรม มีลักษณะแผ่คุณธรรมออกไปอย่างไม่มีประมาณ ส่วนจิตปุถุชนเป็นจิตปรุงแต่งด้วยตัณหา คิดจะเอาก่อน หรืออยากได้ก่อน (รวมศูนย์ที่ตนคือความเห็นผิด) แล้วจะให้ทีหลัง ลักษณะนี้จะเป็นทุกข์ เพราะวิถีมันตรงกันข้ามกับกฎธรรมชาติ นั่นเอง
พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะแผ่เมตตาโปรดสัตว์สอนธรรมก่อน แล้วรับการถวายปัจจัย 4 ทีหลังตามแต่จะได้รับการถวาย และใช้ไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทำแต่กุศลแต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกุศลที่ตนทำ ฉะนั้นจิตของผู้รู้แจ้งแล้ว จะดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ จึงสามารถนำกฎธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแห่งมนุษยชาติได้นำลักษณะกฎธรรมชาติมาใช้เป็นปัญญาทางการเมือง เพื่อความยิ่งใหญ่ของชนชาติไทยเราในสถานการณ์วิกฤตของชาติ ดังนี้
พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ทรงเป็นแบบอย่างผู้นำการปฏิวัติทางจิตใจและการปฏิวัติทางสังคมอย่างสันติ แท้จริงตัวเรา (ขันธ์ 5) เป็นสิ่งเดียวกันเป็นหนึ่งเดียวกันกับสภาวะกฎธรรมชาติใน 3 มิติ 5 ลักษณะ ได้แก่
1. เอกภาพ คือสัมพันธภาพระหว่างด้านเอกภาพ (General) กับด้านความแตกต่างหลายหลาย (Individual) หรือจะเรียกว่าเป็นความสัมพันธภาพในลักษณะเอกภาพของความแตกต่างหลากหลาย (Unity of diversity)
นิพพาน เป็นด้านเอกภาพ ส่วนกายสังขาร และจิตตสังขาร เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
2. ด้านเอกภาพ มีลักษณะแผ่กระจาย ครอบคลุมส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด ขณะเดียวกันด้านแตกต่างหลากหลาย ต่างขึ้นตรงต่อองค์เอกภาพ จึงก่อเกิดให้ดุลยภาพดำรงอยู่อย่างมั่นคง
นิพพาน พระพุทธเจ้าทรงแผ่กระจายความเมตตาสู่มวลมนุษยชาติ สาวกตรัสรู้ รู้แจ้งตาม เคารพเชื่อฟังมีพระพุทธเจ้า (พระรัตนตรัย) เป็นสรณะ
3. ดุลยภาพ คือปัจจัยทั้ง 2 ข้างต้นก่อให้เกิดลักษณะดุลยภาพ ทรงไว้อันเป็นที่มาของการดำรงอยู่ของกฎธรรมชาติ ในลักษณะพระธรรมจักรนั่นเอง
ปัญญาอันยิ่งใหญ่สู่การปฏิวัติประเทศ ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาสัมพันธภาพอื่นๆ ดังต่อไปนี้ อันเป็นหนึ่งเดียวกันกับสภาวะกฎธรรมชาติ ในลักษณะ 3 มิติ 5 ลักษณะ
- สัมพันธภาพระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์
- สัมพันธภาพระหว่างนิวเครียสกับโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน
- สัมพันธภาพระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชาวพุทธทั้งมวล
- สัมพันธภาพระหว่างนิพพานกับ 84,000 พระธรรมขันธ์
- สัมพันธภาพระหว่างชาติกับประชาชน - พระรัตนตรัยกับพุทธบริษัท 4
- สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับปวงพสกนิกร- พระมหากษัตริย์กับหลักการปกครอง (ระบอบ)
- สัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครอง (ระบอบ) กับประชาชน (ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด) ดังรูป
- สัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครอง (ระบอบ) กับวิธีการปกครอง (รัฐธรรมนูญ)
- สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับองค์กรอำนาจอธิปไตย (นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ)
- สัมพันธภาพระหว่างนายกรัฐมนตรีกับคณะรัฐมนตรี
- สัมพันธภาพระหว่างรัฐมนตรีกับข้าราชการในกระทรวง
- สัมพันธภาพระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับนายอำเภอ
- สัมพันธภาพระหว่างอธิการบดี กับครู-อาจารย์-เจ้าหน้าที่ นักศึกษา
- ฯลฯ
ประเทศเอกราชการปฏิวัติ (Revolution) โดยธรรม เป็นพระราชภารกิจอันใหญ่ยิ่งเพื่อการแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ทรงสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 คือทรงนำการปฏิวัติทางการเมืองโดยธรรมอย่างสันติยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดิน
การปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนเนื้อหาจากไม่มีหลักการปกครองโดยธรรม เป็นการสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม (หลักการปกครอง (ระบอบ) ธรรมาธิปไตย 9) ดุจดังสร้างวัดพระแก้วก่อนสร้างวิธีการไปวัดพระแก้ว (กฎหมายรัฐธรรมนูญ) เปลี่ยนการเมืองของคณะบุคคลของนักการเมือง นายทุนเพียงหยิบมือเดียว มาเป็นการเมืองของปวงชนไทย
นี่คือสาระสำคัญโดยย่นย่อที่สุดของการปฏิวัติสันติอันเป็นพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่จะทรงร่วมมือกับประชาชน แต่นักการเมืองเป็นอุปสรรคดุจกำแพงขวางกัน
เป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องตามแนวทางสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7
ขอให้พิจารณากันอย่างตั้งใจเถิดไล่รัฐบาลหุ่นเชิดเสียก่อน...แล้วกวาดบ้านที่แท้จริงคือกวาดล้างระบอบเผด็จการมันเกิดจากลัทธิรัฐธรรมนูญของฝ่ายคณะราษฎร ที่สอนว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงต่อชาติที่เห็นผิด พูดผิด ทำผิดสืบๆ ต่อกันมาอย่างขาดการไตร่ตรอง ได้ทำลายบ้านเมืองของเรา มันเป็นขยะที่ทับถมจิตใจประชาชนและทับถมประเทศชาติของเรามายาวนานกว่า 81 ปีแล้ว แล้วจะยังรักษามันต่อไปอีกหรือ
อนึ่ง ระบอบทักษิณ ระบอบมาร์ค ฯลฯ มันเป็นเพียงเงาของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา นี่คือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ของคำว่า “อัปรีย์ไป จัญไรมา” และวงจรอุบาทว์ยึดอำนาจร่างรัฐธรรมนูญ มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ พวกลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญมันคิดกันได้แค่นี้เท่านั้น
ระบอบเผด็จการ (Dictatorship Regime) หมายถึง ระบอบการเมืองที่ปราศจากหลักการปกครอง หรือปราศจากเนื้อหา แก่นสารของหลักการปกครอง
ระบอบเผด็จการคือระบอบการเมืองที่มีแต่รัฐธรรมนูญ หรือระบอบที่เริ่มต้นด้วยการร่างรัฐธรรมนูญ โดยเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย และนี่คือลักษณะสัมพันธภาพของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญไทย 18 ฉบับ
ส่วนแนวทางที่ถูกต้อง คือ พิจารณาสัมพันธภาพที่หนึ่ง หลักการปกครองหรือระบอบ ย่อมเหตุปัจจัยต่อประชาชน เมื่อประชาชนเข้าใจถึงหลักการปกครองดีแล้ว ต่อไปก็สร้างสัมพันธภาพที่สอง หลักการปกครองเป็นเหตุปัจจัยต่อรัฐธรรมนูญ หรือหลักการปกครองต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็นปัจจัยผลของหลักการปกครอง นี่คือสัมพันธภาพที่ถูกต้อง ดังรูป
พวกเราเหล่าพสกนิกรผู้จงรักภักดีทั้งหลาย พวกเราควรจะจงรักภักดี ด้วยปัญญาหรือพุทธจริต จงอย่าเป็นผู้จงรักภักดีแบบศรัทธาจริต เพราะนั่นไม่ใช่เป็นการจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง
ด้านจิตใจ ควรรู้ตามความเป็นจริงว่า “สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง มันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะ สังขารทั้งปวงเป็นทุกขะ ธรรมะทั้งปวงเป็นอนัตตา”
รูป หรือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม แสดงให้เห็นลักษณะความแตกต่างหลากหลาย
นาม 4 หรือจิต ประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีความแตกต่างหลากหลาย
จิตตสังขารปรุงแต่งเป็นอกุศล เช่น กลัว โลภ โกรธ หลง นับแต่ทำลายตนเอง จนถึงทำลายระดับชาติ ระดับโลก ก็มีความแตกต่างหลากหลาย
จิตตสังขารปรุงแต่งเป็นกุศล ก็มีความแตกต่างหลากหลาย นับแต่การสร้างกุศลแก่ตนเอง ไปจนถึงการทำกุศลสร้างสรรค์ประเทศชาติ และโลกก็มีความแตกต่างหลากหลาย
ทั้งรูปสังขารและจิตตสังขาร ล้วนตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ยึดมั่นถือมันอะไรไม่ได้เลย หาความเป็นเอกภาพไม่ได้ เพราะมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากใครรู้แจ้งอิสระจากสังขารทั้งปวงได้ จะเจอสภาวะนิพพาน
นิพพาน คือ สภาวะพ้นจากการปรุงแต่ง สิ้นอุปาทานจากขันธ์ 5 เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งปวงแล้ว เมื่อจะคิด พูด ทำความดี แต่ไม่ติดยึดในความดีที่ตนทำ จึงเป็นสภาวะจิตอิสระ พ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) นิพพานจึงเป็นลักษณะเอกภาพ ดังกล่าวนี้เพื่อที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าขันธ์ 5 นั้นดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างเอกภาพกับความแตกต่างหลากหลายนั่นเอง
จะเห็นได้จากสัมพันธภาพของดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ หรือชาติกับปวงชน หรือพระรัตนตรัยกับชาวพุทธ หรือพระมหากษัตริย์กับพสกนิกร เป็นต้น เหล่านี้คือลักษณะสัมพันธภาพของเอกภาพกับความแตกต่างหลากหลายทั้งสิ้น
จิตที่มีปัญญารู้แจ้งอิสระหลุดพ้นการปรุงแต่ง เป็นจิตที่มีคุณธรรม มีลักษณะแผ่คุณธรรมออกไปอย่างไม่มีประมาณ ส่วนจิตปุถุชนเป็นจิตปรุงแต่งด้วยตัณหา คิดจะเอาก่อน หรืออยากได้ก่อน (รวมศูนย์ที่ตนคือความเห็นผิด) แล้วจะให้ทีหลัง ลักษณะนี้จะเป็นทุกข์ เพราะวิถีมันตรงกันข้ามกับกฎธรรมชาติ นั่นเอง
พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะแผ่เมตตาโปรดสัตว์สอนธรรมก่อน แล้วรับการถวายปัจจัย 4 ทีหลังตามแต่จะได้รับการถวาย และใช้ไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทำแต่กุศลแต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกุศลที่ตนทำ ฉะนั้นจิตของผู้รู้แจ้งแล้ว จะดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ จึงสามารถนำกฎธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแห่งมนุษยชาติได้นำลักษณะกฎธรรมชาติมาใช้เป็นปัญญาทางการเมือง เพื่อความยิ่งใหญ่ของชนชาติไทยเราในสถานการณ์วิกฤตของชาติ ดังนี้
พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ทรงเป็นแบบอย่างผู้นำการปฏิวัติทางจิตใจและการปฏิวัติทางสังคมอย่างสันติ แท้จริงตัวเรา (ขันธ์ 5) เป็นสิ่งเดียวกันเป็นหนึ่งเดียวกันกับสภาวะกฎธรรมชาติใน 3 มิติ 5 ลักษณะ ได้แก่
1. เอกภาพ คือสัมพันธภาพระหว่างด้านเอกภาพ (General) กับด้านความแตกต่างหลายหลาย (Individual) หรือจะเรียกว่าเป็นความสัมพันธภาพในลักษณะเอกภาพของความแตกต่างหลากหลาย (Unity of diversity)
นิพพาน เป็นด้านเอกภาพ ส่วนกายสังขาร และจิตตสังขาร เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
2. ด้านเอกภาพ มีลักษณะแผ่กระจาย ครอบคลุมส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด ขณะเดียวกันด้านแตกต่างหลากหลาย ต่างขึ้นตรงต่อองค์เอกภาพ จึงก่อเกิดให้ดุลยภาพดำรงอยู่อย่างมั่นคง
นิพพาน พระพุทธเจ้าทรงแผ่กระจายความเมตตาสู่มวลมนุษยชาติ สาวกตรัสรู้ รู้แจ้งตาม เคารพเชื่อฟังมีพระพุทธเจ้า (พระรัตนตรัย) เป็นสรณะ
3. ดุลยภาพ คือปัจจัยทั้ง 2 ข้างต้นก่อให้เกิดลักษณะดุลยภาพ ทรงไว้อันเป็นที่มาของการดำรงอยู่ของกฎธรรมชาติ ในลักษณะพระธรรมจักรนั่นเอง
ปัญญาอันยิ่งใหญ่สู่การปฏิวัติประเทศ ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาสัมพันธภาพอื่นๆ ดังต่อไปนี้ อันเป็นหนึ่งเดียวกันกับสภาวะกฎธรรมชาติ ในลักษณะ 3 มิติ 5 ลักษณะ
- สัมพันธภาพระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์
- สัมพันธภาพระหว่างนิวเครียสกับโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน
- สัมพันธภาพระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชาวพุทธทั้งมวล
- สัมพันธภาพระหว่างนิพพานกับ 84,000 พระธรรมขันธ์
- สัมพันธภาพระหว่างชาติกับประชาชน - พระรัตนตรัยกับพุทธบริษัท 4
- สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับปวงพสกนิกร- พระมหากษัตริย์กับหลักการปกครอง (ระบอบ)
- สัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครอง (ระบอบ) กับประชาชน (ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด) ดังรูป
- สัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครอง (ระบอบ) กับวิธีการปกครอง (รัฐธรรมนูญ)
- สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับองค์กรอำนาจอธิปไตย (นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ)
- สัมพันธภาพระหว่างนายกรัฐมนตรีกับคณะรัฐมนตรี
- สัมพันธภาพระหว่างรัฐมนตรีกับข้าราชการในกระทรวง
- สัมพันธภาพระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับนายอำเภอ
- สัมพันธภาพระหว่างอธิการบดี กับครู-อาจารย์-เจ้าหน้าที่ นักศึกษา
- ฯลฯ
ประเทศเอกราชการปฏิวัติ (Revolution) โดยธรรม เป็นพระราชภารกิจอันใหญ่ยิ่งเพื่อการแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ทรงสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 คือทรงนำการปฏิวัติทางการเมืองโดยธรรมอย่างสันติยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดิน
การปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนเนื้อหาจากไม่มีหลักการปกครองโดยธรรม เป็นการสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม (หลักการปกครอง (ระบอบ) ธรรมาธิปไตย 9) ดุจดังสร้างวัดพระแก้วก่อนสร้างวิธีการไปวัดพระแก้ว (กฎหมายรัฐธรรมนูญ) เปลี่ยนการเมืองของคณะบุคคลของนักการเมือง นายทุนเพียงหยิบมือเดียว มาเป็นการเมืองของปวงชนไทย
นี่คือสาระสำคัญโดยย่นย่อที่สุดของการปฏิวัติสันติอันเป็นพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่จะทรงร่วมมือกับประชาชน แต่นักการเมืองเป็นอุปสรรคดุจกำแพงขวางกัน
เป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องตามแนวทางสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7
ขอให้พิจารณากันอย่างตั้งใจเถิดไล่รัฐบาลหุ่นเชิดเสียก่อน...แล้วกวาดบ้านที่แท้จริงคือกวาดล้างระบอบเผด็จการมันเกิดจากลัทธิรัฐธรรมนูญของฝ่ายคณะราษฎร ที่สอนว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงต่อชาติที่เห็นผิด พูดผิด ทำผิดสืบๆ ต่อกันมาอย่างขาดการไตร่ตรอง ได้ทำลายบ้านเมืองของเรา มันเป็นขยะที่ทับถมจิตใจประชาชนและทับถมประเทศชาติของเรามายาวนานกว่า 81 ปีแล้ว แล้วจะยังรักษามันต่อไปอีกหรือ