นำสาธุชนย้อนหลังไปก่อนพุทธศักราช 45 ปีว่ามีเหตุการณ์สำคัญยิ่งอย่างไร ชวนติดตาม พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในวันวิสาขปุณณมี วันเพ็ญเดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และต่อมาอีก 2 เดือนเต็ม ถึงวันอาสาฬหปุณณมี ดิถีวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงพระมหากรุณาประกาศสัจธรรม ทรงแสดงพระปัญญาคุณพระบริสุทธิคุณให้ประจักษ์แก่ชาวโลกยาวนานกว่า 2,601 ปี
อาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในเดือน 8 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งเป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกได้เกิดขึ้นในโลกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะและท่านได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา จากพระพุทธเจ้า
เป็นวันแรกที่บังเกิดพระสังฆรัตนะพระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก สมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระภัททิยะ, พระมหานามะ, พระอัสสชิ มีใจความสำคัญว่า บรรพชิตไม่ควรเสพที่สุด 2 อย่าง คือ
1. กามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันอยู่ในกามสุขซึ่งหย่อนเกินไปไม่เป็นทางให้ตรัสรู้ได้
2. อัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบตนให้ลำบาก หรือการทรมานร่างกายตนเองซึ่งตึงเกินไป ก็ไม่เป็นทางเพื่อตรัสรู้ได้อีกเช่นกัน
พระพุทธองค์ทรงนำแนวทางใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนและนักแสวงหาสัจธรรมก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางเป็นตามเหตุปัจจัย ซึ่งได้แก่มรรคมีองค์ 8 คือสัมมาทิฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, และสัมมาสมาธิ อันเป็นหนทางปฏิบัติแล้วจะสามารถให้บรรลุพระนิพพานได้
สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ หรือความเห็นถูก เห็นถูกในอริยสัจ 4 ได้แก่ทุกข์ (ทุกข์สภาวะ, ทุกขเวทนา, ทุกข์อุปาทาน)
ทุกข์สภาวะคือสังขารทั้งปวงทั้งนามธรรมและรูปธรรมทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตเป็นทุกข์ที่อยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขังอนัตตา) เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้
ทุกขเวทนา คือทุกข์ทางกาย เช่น ป่วย, หิว, ปวดเบา, ปวดหนัก, มีดบาด โดนทำร้าย เป็นต้น ทุกข์ชนิดนี้แก้ไขได้ชั่วคราวด้วยการเสพ ด้วยการบรรเทาดับทุกข์เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
ทุกข์อุปาทาน คือความทุกข์ที่เกิดจากการยึดมั่น ถือมั่นในความเป็นอัตตาตัวตนทุกข์ชนิดนี้เกิดจากความเห็นผิด (อวิชชา) แต่ก็สามารถแก้ไขให้หมดไปได้อย่างเด็ดขาด เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ทั้งหลาย แต่ไม่สามารถพ้นจากทุกข์สภาวะไปได้ คือท่านต้องละสังขารเหมือนคนทั่วไปคนบาปใจร้ายเอาดาบมาฟันคอท่าน ท่านก็ได้รับทุกขเวทนา แต่ท่านไม่รู้สึกโกรธเพราะท่านได้ละอุปาทาน ได้สิ้นแล้ว ท่านจึงไม่เป็นทุกข์จากอุปาทานทุกข์จึงเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ เช่น ความเกิด, แก่, ความโศก, ความร่ำไรรำพัน, ความทุกข์โทมนัส, ความคับแค้นใจ, ความไม่ประสบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักทั้งหลาย, ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักทั้งหลาย, ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้ในสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ว่าโดยย่ออุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ในขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์
สมุทัย คือเหตุแห่งทุกข์ หรือเหตุอันทำให้เกิดทุกข์ คืออวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจ 4, ความไม่รู้แจ้งในกฎไตรลักษณ์, ความไม่รู้แจ้งในขันธ์ 5 จึงก่อให้เกิดตัณหา 3 กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา
กามตัณหา คือความทะยานอยาก (คิดอยากได้ก่อน) ในกามคุณทั้ง 5 ได้แก่ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัสเสพอย่างยึดมั่นเพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงว่ากามคุณ 5 ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา กามคุณ 5 นี้ แม้พระอรหันต์ก็ต้องใช้ประโยชน์จากกามคุณทั้ง 5 แต่ท่านต้องพิจารณาต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างสำรวมระวัง ไม่ติดยึดและรู้เท่าทันรู้แจ้งตามความเป็นจริง จึงสัมพันธ์กับกามคุณทั้ง 5 อย่างรู้เท่าทันและอิสระจากกามคุณทั้ง 5 ดุจหยดน้ำบนใบบัว
ภวตัณหา คือความทะยานอยาก อยากเป็นโน่นเป็นนี่สารพัดอย่างโดยไม่รู้แจ้งในความสัมพันธ์ของเหตุ และผลตามความเป็นจริง เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี แต่สร้างเหตุปัจจัยไม่เพียงพอ ผลก็ไม่เกิดขึ้นความอยากตรงนี้จึงก่อให้เกิดทุกข์ หรืออยากเป็นคนมั่งมี แต่ขี้เกียจ อยากได้เงินแต่ไม่ทำงาน อย่างนี้ก็จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจ ส่วนพระอรหันต์ไม่ติดในภวตัณหา เพราะท่านเป็นผู้รู้กฎแห่งกรรม หรือกฎของเหตุและผล (กฎอิทัปปัจจยตา “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี”) เมื่อทำอย่างนี้ก็จะรับผลอย่างนี้ท่านจึงมีปัญญารู้ว่าเป็นธรรมดาของสังขารทั้งปวง เป็นเช่นนั้นเอง (ภว หรือ ภพแปลว่า ความเป็น ความมี)
วิภวตัณหา คือความทะยานอยากที่จะไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่สารพัดอย่าง ยกตัวอย่างคนเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ก็อยากจะเสพอยู่ในตำแหน่งนี้นานๆ เมื่อมีเหตุปัจจัยให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่เขาไม่อยากพ้นจากตำแหน่งเพราะไม่ต้องการไปเป็นอย่างอื่น อย่างนี้ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (วิภาวะ หรือ วิภพแปลว่า ความไม่เป็น ความไม่มี) ความเป็นหรือไม่เป็น ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยคิดเอาเองตามจิตกิเลสปรุงแต่ง ไม่ตรงตามเป็นจริงย่อมเป็นทุกข์ และก่อเวรเป็นกิเลสกรรม วิบาก ไม่สิ้นสุด
ปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลสไม่รู้เหตุปัจจัยดังกล่าวก็จะเกิดทุกข์พระอรหันต์ย่อมอยู่เหนือหรือพ้นสภาวะ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหาเพราะท่านทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมไปตามเหตุปัจจัย สภาวะจิตอยู่เหนือความมีและความไม่มีอยู่เหนือความเป็นและความไม่เป็น ท่านดำรงอยู่ในทางสายกลางอย่างแท้จริง
นิโรธ คือความดับทุกข์ ความดับทุกข์ คือสภาวะอิสระ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวงในทางจริยธรรม ท่านอยู่กับสังขาร (สิ่งปรุงแต่ง) แต่ท่านไม่ยึดติดในสังขารทั้งปวง“ดุจหยดน้ำบนใบบัว”
มรรคปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ (มรรคมีองค์ 8) นับแต่สัมมาทิฐิ เป็นต้นไปดังได้กล่าวแล้วในเบื้องต้นกล่าวโดยสรุป ทุกข์คือสิ่งที่จะต้องกำหนดรู้ สมุทัยคือสิ่งที่ต้องละ นิโรธคือสิ่งที่ต้องทำให้แจ้ง และมรรคคือสิ่งที่ควรเจริญ
ผู้ใดมีเจตนาอันสูงส่งดับทุกข์โดยไม่เหลือจะต้องละอวิชชา (ความไม่รู้) ดับสิ้นความกำหนัดโดยไม่เหลือแห่งตัณหา จาโคความสละตัณหานั้นปฏินิสสัคโคความวางตัณหานั้นมุตโตความปล่อยตัณหานั้น อนาลโยความไม่อาลัยคือความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น
เมื่อพระพุทธองค์แสดงพระธรรมเทศนาจบลง ธรรมจักษุคือดวงตาเห็นธรรมก็ได้บังเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะ ว่า“ยังกิญจิ สมุทะยะธัมมัง สัพพันตังนิโรธธัมมันติ” แปลความว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งทั้งปวงนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
พระพุทธเจ้าทรงทราบเช่นนั้น จึงทรงเปล่งอุทานว่า “อัญญาสิ วตโภ โกณฑัญโญอัญญาสิ วตโภ โกณฑัญโญ” ซึ่งแปลว่า “โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ” ธรรมจักษุนี้ ได้แก่โสดาปัตติมรรค เรียกบุคคลผู้ได้บรรลุว่า พระโสดาบัน
พระธรรมเทศนานี้ เรียกชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” คือพระสูตรว่าด้วยการหมุนล้อแห่งธรรม ได้ชื่อว่าปฐมเทศนา (first sermon) เพราะเป็นการแสดงธรรมครั้งแรกของพระองค์ หรืออาจจะพูดได้ว่าเป็นการเริ่มต้น“ภารกิจแห่งการปฏิวัติสันติอย่างยิ่งใหญ่ทางจิตใจการแก้ไจสังคมอันหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้”
เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมหมดความสงสัย จึงทูลขออุปสมบทพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยพระวาจาว่า “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิดธรรมอันเรา กล่าวดีแล้วท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด”
เพียงเท่านี้ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ก็ได้ชื่อว่าอุปสมบทเป็นภิกษุโดยชอบเป็นปฐมสาวกคือสาวกรูปแรกและเป็นภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา นับว่าพระรัตนตรัยได้อุบัติครบพร้อมบริบูรณ์ขึ้นในโลก ณ กาลบัดนั้นเป็นต้นมาการอุปสมบทด้วยวิธีนี้ เรียกว่า“เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
เมื่อพระภิกษุทั้ง 5 มีอินทรีย์แก่กล้าควรแก่การเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุตติได้แล้ว พระองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันมีชื่อเรียกว่า อนัตตลักขณสูตรซึ่งมีใจความย่อว่า
ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็น อนัตตา มิใช่ตน ถ้าหากขันธ์ 5 เป็นอัตตาคือตัวตนแล้ว ก็ไม่เป็นไปเพื่อความลำบาก และพึงปรารถนาในขันธ์ 5 ได้ตามที่ต้องการแต่เพราะขันธ์ 5 เป็นอนัตตาจึงปรารถนาให้เป็นไปตามที่ใจหวังและต้องการไม่ได้
เมื่อพระภิกษุทั้ง 5 พิจารณาไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนานั้น ดวงจิตก็พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ นับแต่นั้นมาก็ได้สืบสายพระอรหันต์โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ เพื่อสร้างสรรค์ปัญญาอันยิ่งความสงบสุข สวัสดีต่อมวลมนุษยชาติอย่างมิได้ขาดสายจนถึงบัดนี้ผู้นำชาวพุทธในอดีตนำธรรมะนำชีวิตและสังคมให้สงบสันติสุขแต่น่าเสียดายที่ผู้นำในยุคนี้หลายคนสนใจธรรมะน้อยเกินไปไม่รู้เรื่องลุ่มหลงแต่เดรัจฉานวิชา
ปฐมเทศนาอันยิ่งใหญ่ ข้ามพ้นทักษิณ-สมีคำ สู่ธรรมาธิปไตยของปวงชนผู้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ยิ่งชีวิต ควรรู้ความจริงว่าสภาพการณ์ที่แท้จริงของไทยยังไม่เปลี่ยนคือมิจฉาทิฐิโค่น มิจฉาทิฐิเผด็จการ โค่นเผด็จการ เผด็จการ 2 รูปแบบผลัดเปลี่ยนกันโค่นยังคงหมุนเวียนวงจรโคตรอุบาทว์ เสี่ยงภัยและเสียเวลานับนานกว่า 81 ปีตราบใดที่ผู้ปกครองหลงผิด ก็ยากที่จะแก้ไขคือเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยความจริงคือรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ รวมทั้ง ปี 40 และ 50 ล้วนเป็นมิจฉาทิฐิ เช่นเดิมขอเชิญสาธุชน ปัญญาชนทั้งหลายได้ศึกษาวิปัสสนาธรรมให้ถึงแก่นแท้ แก่นไทเถิด
ก็จะบังเกิดปัญญามองข้ามปัญหาทักษิณและสมีคำ กระทั่งรู้ว่าอะไรคือเหตุที่แท้จริงแห่งความจัญไรของชาติในทุกด้าน ทั้งปัญหาเล็กปัญหาใหญ่เพื่อไปสู่การแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ คือ การสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย อันเป็นหลักการปกครองโดยธรรม อันเป็นระบอบที่ถูกต้องของชาวไทยทุกคน เป็นจุดหมายร่วมของปวงชน เป็นกฎหมายสูงสุดคือเป็นกฎหมายความมั่นคงสูงสุดของปวงชนไทย (Supreme Law) เป็นหลักนิติธรรม (Rule of law) ของปวงชนไทย เป็นแก่นไทยแท้อันมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง เป็นเอกภาพของชาติ ขอให้ทุกคนได้ดวงตาเห็นธรรมกันในพรรษานี้
อาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในเดือน 8 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งเป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกได้เกิดขึ้นในโลกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะและท่านได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา จากพระพุทธเจ้า
เป็นวันแรกที่บังเกิดพระสังฆรัตนะพระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก สมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระภัททิยะ, พระมหานามะ, พระอัสสชิ มีใจความสำคัญว่า บรรพชิตไม่ควรเสพที่สุด 2 อย่าง คือ
1. กามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันอยู่ในกามสุขซึ่งหย่อนเกินไปไม่เป็นทางให้ตรัสรู้ได้
2. อัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบตนให้ลำบาก หรือการทรมานร่างกายตนเองซึ่งตึงเกินไป ก็ไม่เป็นทางเพื่อตรัสรู้ได้อีกเช่นกัน
พระพุทธองค์ทรงนำแนวทางใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนและนักแสวงหาสัจธรรมก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางเป็นตามเหตุปัจจัย ซึ่งได้แก่มรรคมีองค์ 8 คือสัมมาทิฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, และสัมมาสมาธิ อันเป็นหนทางปฏิบัติแล้วจะสามารถให้บรรลุพระนิพพานได้
สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ หรือความเห็นถูก เห็นถูกในอริยสัจ 4 ได้แก่ทุกข์ (ทุกข์สภาวะ, ทุกขเวทนา, ทุกข์อุปาทาน)
ทุกข์สภาวะคือสังขารทั้งปวงทั้งนามธรรมและรูปธรรมทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตเป็นทุกข์ที่อยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขังอนัตตา) เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้
ทุกขเวทนา คือทุกข์ทางกาย เช่น ป่วย, หิว, ปวดเบา, ปวดหนัก, มีดบาด โดนทำร้าย เป็นต้น ทุกข์ชนิดนี้แก้ไขได้ชั่วคราวด้วยการเสพ ด้วยการบรรเทาดับทุกข์เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
ทุกข์อุปาทาน คือความทุกข์ที่เกิดจากการยึดมั่น ถือมั่นในความเป็นอัตตาตัวตนทุกข์ชนิดนี้เกิดจากความเห็นผิด (อวิชชา) แต่ก็สามารถแก้ไขให้หมดไปได้อย่างเด็ดขาด เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ทั้งหลาย แต่ไม่สามารถพ้นจากทุกข์สภาวะไปได้ คือท่านต้องละสังขารเหมือนคนทั่วไปคนบาปใจร้ายเอาดาบมาฟันคอท่าน ท่านก็ได้รับทุกขเวทนา แต่ท่านไม่รู้สึกโกรธเพราะท่านได้ละอุปาทาน ได้สิ้นแล้ว ท่านจึงไม่เป็นทุกข์จากอุปาทานทุกข์จึงเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ เช่น ความเกิด, แก่, ความโศก, ความร่ำไรรำพัน, ความทุกข์โทมนัส, ความคับแค้นใจ, ความไม่ประสบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักทั้งหลาย, ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักทั้งหลาย, ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้ในสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ว่าโดยย่ออุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ในขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์
สมุทัย คือเหตุแห่งทุกข์ หรือเหตุอันทำให้เกิดทุกข์ คืออวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจ 4, ความไม่รู้แจ้งในกฎไตรลักษณ์, ความไม่รู้แจ้งในขันธ์ 5 จึงก่อให้เกิดตัณหา 3 กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา
กามตัณหา คือความทะยานอยาก (คิดอยากได้ก่อน) ในกามคุณทั้ง 5 ได้แก่ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัสเสพอย่างยึดมั่นเพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงว่ากามคุณ 5 ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา กามคุณ 5 นี้ แม้พระอรหันต์ก็ต้องใช้ประโยชน์จากกามคุณทั้ง 5 แต่ท่านต้องพิจารณาต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างสำรวมระวัง ไม่ติดยึดและรู้เท่าทันรู้แจ้งตามความเป็นจริง จึงสัมพันธ์กับกามคุณทั้ง 5 อย่างรู้เท่าทันและอิสระจากกามคุณทั้ง 5 ดุจหยดน้ำบนใบบัว
ภวตัณหา คือความทะยานอยาก อยากเป็นโน่นเป็นนี่สารพัดอย่างโดยไม่รู้แจ้งในความสัมพันธ์ของเหตุ และผลตามความเป็นจริง เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี แต่สร้างเหตุปัจจัยไม่เพียงพอ ผลก็ไม่เกิดขึ้นความอยากตรงนี้จึงก่อให้เกิดทุกข์ หรืออยากเป็นคนมั่งมี แต่ขี้เกียจ อยากได้เงินแต่ไม่ทำงาน อย่างนี้ก็จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจ ส่วนพระอรหันต์ไม่ติดในภวตัณหา เพราะท่านเป็นผู้รู้กฎแห่งกรรม หรือกฎของเหตุและผล (กฎอิทัปปัจจยตา “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี”) เมื่อทำอย่างนี้ก็จะรับผลอย่างนี้ท่านจึงมีปัญญารู้ว่าเป็นธรรมดาของสังขารทั้งปวง เป็นเช่นนั้นเอง (ภว หรือ ภพแปลว่า ความเป็น ความมี)
วิภวตัณหา คือความทะยานอยากที่จะไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่สารพัดอย่าง ยกตัวอย่างคนเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ก็อยากจะเสพอยู่ในตำแหน่งนี้นานๆ เมื่อมีเหตุปัจจัยให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่เขาไม่อยากพ้นจากตำแหน่งเพราะไม่ต้องการไปเป็นอย่างอื่น อย่างนี้ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (วิภาวะ หรือ วิภพแปลว่า ความไม่เป็น ความไม่มี) ความเป็นหรือไม่เป็น ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยคิดเอาเองตามจิตกิเลสปรุงแต่ง ไม่ตรงตามเป็นจริงย่อมเป็นทุกข์ และก่อเวรเป็นกิเลสกรรม วิบาก ไม่สิ้นสุด
ปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลสไม่รู้เหตุปัจจัยดังกล่าวก็จะเกิดทุกข์พระอรหันต์ย่อมอยู่เหนือหรือพ้นสภาวะ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหาเพราะท่านทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมไปตามเหตุปัจจัย สภาวะจิตอยู่เหนือความมีและความไม่มีอยู่เหนือความเป็นและความไม่เป็น ท่านดำรงอยู่ในทางสายกลางอย่างแท้จริง
นิโรธ คือความดับทุกข์ ความดับทุกข์ คือสภาวะอิสระ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวงในทางจริยธรรม ท่านอยู่กับสังขาร (สิ่งปรุงแต่ง) แต่ท่านไม่ยึดติดในสังขารทั้งปวง“ดุจหยดน้ำบนใบบัว”
มรรคปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ (มรรคมีองค์ 8) นับแต่สัมมาทิฐิ เป็นต้นไปดังได้กล่าวแล้วในเบื้องต้นกล่าวโดยสรุป ทุกข์คือสิ่งที่จะต้องกำหนดรู้ สมุทัยคือสิ่งที่ต้องละ นิโรธคือสิ่งที่ต้องทำให้แจ้ง และมรรคคือสิ่งที่ควรเจริญ
ผู้ใดมีเจตนาอันสูงส่งดับทุกข์โดยไม่เหลือจะต้องละอวิชชา (ความไม่รู้) ดับสิ้นความกำหนัดโดยไม่เหลือแห่งตัณหา จาโคความสละตัณหานั้นปฏินิสสัคโคความวางตัณหานั้นมุตโตความปล่อยตัณหานั้น อนาลโยความไม่อาลัยคือความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น
เมื่อพระพุทธองค์แสดงพระธรรมเทศนาจบลง ธรรมจักษุคือดวงตาเห็นธรรมก็ได้บังเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะ ว่า“ยังกิญจิ สมุทะยะธัมมัง สัพพันตังนิโรธธัมมันติ” แปลความว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งทั้งปวงนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
พระพุทธเจ้าทรงทราบเช่นนั้น จึงทรงเปล่งอุทานว่า “อัญญาสิ วตโภ โกณฑัญโญอัญญาสิ วตโภ โกณฑัญโญ” ซึ่งแปลว่า “โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ” ธรรมจักษุนี้ ได้แก่โสดาปัตติมรรค เรียกบุคคลผู้ได้บรรลุว่า พระโสดาบัน
พระธรรมเทศนานี้ เรียกชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” คือพระสูตรว่าด้วยการหมุนล้อแห่งธรรม ได้ชื่อว่าปฐมเทศนา (first sermon) เพราะเป็นการแสดงธรรมครั้งแรกของพระองค์ หรืออาจจะพูดได้ว่าเป็นการเริ่มต้น“ภารกิจแห่งการปฏิวัติสันติอย่างยิ่งใหญ่ทางจิตใจการแก้ไจสังคมอันหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้”
เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมหมดความสงสัย จึงทูลขออุปสมบทพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยพระวาจาว่า “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิดธรรมอันเรา กล่าวดีแล้วท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด”
เพียงเท่านี้ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ก็ได้ชื่อว่าอุปสมบทเป็นภิกษุโดยชอบเป็นปฐมสาวกคือสาวกรูปแรกและเป็นภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา นับว่าพระรัตนตรัยได้อุบัติครบพร้อมบริบูรณ์ขึ้นในโลก ณ กาลบัดนั้นเป็นต้นมาการอุปสมบทด้วยวิธีนี้ เรียกว่า“เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
เมื่อพระภิกษุทั้ง 5 มีอินทรีย์แก่กล้าควรแก่การเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุตติได้แล้ว พระองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันมีชื่อเรียกว่า อนัตตลักขณสูตรซึ่งมีใจความย่อว่า
ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็น อนัตตา มิใช่ตน ถ้าหากขันธ์ 5 เป็นอัตตาคือตัวตนแล้ว ก็ไม่เป็นไปเพื่อความลำบาก และพึงปรารถนาในขันธ์ 5 ได้ตามที่ต้องการแต่เพราะขันธ์ 5 เป็นอนัตตาจึงปรารถนาให้เป็นไปตามที่ใจหวังและต้องการไม่ได้
เมื่อพระภิกษุทั้ง 5 พิจารณาไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนานั้น ดวงจิตก็พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ นับแต่นั้นมาก็ได้สืบสายพระอรหันต์โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ เพื่อสร้างสรรค์ปัญญาอันยิ่งความสงบสุข สวัสดีต่อมวลมนุษยชาติอย่างมิได้ขาดสายจนถึงบัดนี้ผู้นำชาวพุทธในอดีตนำธรรมะนำชีวิตและสังคมให้สงบสันติสุขแต่น่าเสียดายที่ผู้นำในยุคนี้หลายคนสนใจธรรมะน้อยเกินไปไม่รู้เรื่องลุ่มหลงแต่เดรัจฉานวิชา
ปฐมเทศนาอันยิ่งใหญ่ ข้ามพ้นทักษิณ-สมีคำ สู่ธรรมาธิปไตยของปวงชนผู้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ยิ่งชีวิต ควรรู้ความจริงว่าสภาพการณ์ที่แท้จริงของไทยยังไม่เปลี่ยนคือมิจฉาทิฐิโค่น มิจฉาทิฐิเผด็จการ โค่นเผด็จการ เผด็จการ 2 รูปแบบผลัดเปลี่ยนกันโค่นยังคงหมุนเวียนวงจรโคตรอุบาทว์ เสี่ยงภัยและเสียเวลานับนานกว่า 81 ปีตราบใดที่ผู้ปกครองหลงผิด ก็ยากที่จะแก้ไขคือเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยความจริงคือรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ รวมทั้ง ปี 40 และ 50 ล้วนเป็นมิจฉาทิฐิ เช่นเดิมขอเชิญสาธุชน ปัญญาชนทั้งหลายได้ศึกษาวิปัสสนาธรรมให้ถึงแก่นแท้ แก่นไทเถิด
ก็จะบังเกิดปัญญามองข้ามปัญหาทักษิณและสมีคำ กระทั่งรู้ว่าอะไรคือเหตุที่แท้จริงแห่งความจัญไรของชาติในทุกด้าน ทั้งปัญหาเล็กปัญหาใหญ่เพื่อไปสู่การแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ คือ การสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย อันเป็นหลักการปกครองโดยธรรม อันเป็นระบอบที่ถูกต้องของชาวไทยทุกคน เป็นจุดหมายร่วมของปวงชน เป็นกฎหมายสูงสุดคือเป็นกฎหมายความมั่นคงสูงสุดของปวงชนไทย (Supreme Law) เป็นหลักนิติธรรม (Rule of law) ของปวงชนไทย เป็นแก่นไทยแท้อันมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง เป็นเอกภาพของชาติ ขอให้ทุกคนได้ดวงตาเห็นธรรมกันในพรรษานี้