ASTVผู้จัดการรายวัน/ศนย์ข่าวศรีราชา-พบคราบน้ำมันยังลอยไปยังเกาะต่างๆ แม้จะมีปริมาณไม่มาก ด้านจังหวัดระยองตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วแล้ว เผย "ปู" เตรียมลงพื้นที่ 4 ส.ค.นี้ "เพ้ง" สั่ง พีทีทีจีซี จ่ายเงินชดเชยทันที ไม่ต้องรอเคลมประกัน ด้านประมง-ท่องเที่ยว คาดเจ๊งยับ เล็งชงรัฐสั่งปิดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด 1 เดือน ชาวเน็ตรุมสวด "สรยุทธ" เลือกฉากหาดสวย น้ำใส บิดเบือนข่าวน้ำมันรั่ว
หลังจากเกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้วรั่วที่บริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบ (Single Point Mooring) ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ขณะกำลังมีการส่งน้ำมันมายังโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือพีทีทีจีซี เมื่อเวลา 06.50 น. ของวันที่ 27 ก.ค.2556 ที่ผ่านมา โดยมีน้ำมันดิบรั่วออกมาประมาณ 50,000 ลิตร และน้ำมันได้กระจายไปยังเกาะต่างๆ และได้มีการตามเก็บน้ำมันตามที่เสนอข่าวมาต่อเนื่องนั้น
ล่าสุด เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (31 ก.ค.) คณะสื่อมวลชน พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ได้เดินทางโดยเรือเร็วไปยังบริเวณอ่าวปลาต้มห่าง ซึ่งอยู่ห่างจากอ่าวพร้าว ออกไปประมาณ 300 เมตร โดยพบว่าทางด้านทิศใต้มีคราบน้ำมันดิบลักษณะเป็นแผ่นหนา กว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 200 เมตร โดยที่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปเก็บคราบน้ำมัน
ทั้งนี้ จากการสำรวจพื้นที่รอบเกาะกุฎี และเกาะปลายตีน ยังพบคราบฟิล์มน้ำมันแผ่นบางๆ ลอยกระจายทั่วเหนือน้ำอีกด้วย
ขณะที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้ยืนยันว่า ภาพจากดาวเทียมระบบเรดาร์ COSMO-SkyMed-2 เมื่อเวลา 06.09 น. ของวันที่ 31 ก.ค.2556 แสดงให้เห็นอาณาบริเวณของคราบน้ำมันที่เป็นฟิล์มบางๆ ที่ยังมีอยู่ทางด้านเหนือของเกาะเสม็ด ซึ่งมีขนาดลดลงจากเมื่อวันที่ 30 ก.ค.2556 เล็กน้อย (ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร) และมีการกระจายตัวของฟิล์มน้ำมันบางส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเสม็ด
**ผู้ว่าฯตั้งศูนย์เยียวยาเหยื่อคราบน้ำมัน
เวลา 10.00 น. นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้เรียกประชุมนายอำเภอ นายตำรวจ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และได้รับความเดือดร้อนจากเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเล โดยได้ร่วมกันหาแนวทางและวางแผนช่วยเหลือ เยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ
นายวิชิตกล่าวว่า นอกจากพื้นที่ชายทะเลจะได้ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลแล้ว การท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบรองลงมา เพราะมีผู้ที่เกี่ยวเนื่องได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการด้านที่พัก ร้านอาหาร เรือโดยสาร รวมไปถึงกลุ่มการประมง และผู้เลี้ยงปลาในกระชัง พ่อค้า แม่ค้าที่ขายของไม่ได้ ซึ่งทางจังหวัดจะเร่งให้การช่วยเหลือต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ยังได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง เร่งประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้เข้าพักและท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวและที่พักบนเกาะเสม็ดที่เหลือกว่า 95% ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมัน โดยเฉพาะชายหาดทางทิศตะวันออกของเกาะที่สามารถลงเล่นน้ำได้ เพราะไม่มีกลิ่นเหม็นจากคราบน้ำมันรบกวน
**นายกฯปู ลงพื้นที่วันอาทิตย์นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มว่า ในวันอาทิตย์ที่ 4 ส.ค.นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา และการกู้วิกฤตคราบน้ำมันในอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ด้วยตนเอง
เวลา 14.30 น.นายสรวงค์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข และคณะ ได้เดินทางมายังท่าเรือศูนย์อนุรักษ์ทรัพย์กรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ต.เพ อ.เมืองระยอง เพื่อนำหน้ากากอนามัยจำนวน 20,000 ชิ้นมอบให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ในการจัดเก็บคราบน้ำมัน บริเวณอ่าวพร้าว หลังได้รับรายงานว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีหน้ากากอนามัยใช้ระหว่างทำงาน จึงหวั่นว่าอาจได้รับผลกระทบจากสารปนเปื้อน รวมทั้งยังได้จัดให้มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน และพนักงานในรีสอร์ท และได้ให้กรมอนามัยเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำ อาหารทะเลไปตรวจสอบสารปนเปื้อน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษ ได้ส่งทีมฉุกเฉินมาตรวจคุณภาพอากาศในบริเวณอ่าวพร้าวแล้ว ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในระยะห่างจากชายฝั่งประมาณ 200-500 เมตร หรือในบริเวณที่อยู่อาศัยต่างๆ คุณภาพอากาศยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก คือ ปริมาณสารปนเปื้อนในอากาศสูงกว่าปกติเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย
**ก.ทรัพย์ฯเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจ
ที่อ่าวพร้าว จ.ระยอง นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสุวรรณ นันทศรุต ผอ.สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) พร้อมคณะ เดินทางมาดูพื้นที่จริงในการแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลเข้าบริเวณอ่าวพร้าว บนเกาะเสม็ด โดยได้ขอให้มีการจัดวางรูปแบบการจัดเก็บคราบน้ำมันใหม่ให้เป็นระบบ เพราะขณะนี้มีหลายหน่วยงาน และมีคนมาก และยังได้เก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบด้วย โดยเก็บจาก 1.แหลมน้อยหน่า 2.อ่าวพร้าว 3.ท่าเรือหน้าด่าน 4.อ่าวหวาย 5.หาดทรายแก้ว 6.อ่าววงเดือน และ 7.ร่องน้ำกลางทะเล ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ 5- 7 วัน ถึงจะทราบว่าสารที่ตกค้างมีอะไรบ้าง
***สั่ง "พีทีทีจีซี" จ่ายเงินชดเชยทันที
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวว่า ได้สั่งการให้บมจ. พีทีทีจีซี เร่งฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมอ่าวพร้าวให้กลับสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด และให้เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยไม่ต้องรอวงเงินประกัน โดยให้จ่ายทันที และขอร้องให้ผู้ที่จะเดินทางไปอ่าวพร้าว ทั้งที่จะไปช่วยเหลือและไปดูสถานการณ์ ลดการเดินทางลงพื้นที่ เนื่องจากพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เพียงพอและการเข้าไปอาจสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น เพราะพื้นที่จำกัด
ส่วนการป้องกันน้ำมันขาดแคลน ได้มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ติดตามสถานการณ์การจัดหาและสำรองน้ำมันดิบและสำเร็จรูปอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้น้ำมันขาดแคลน ซึ่งเหตุการณ์น้ำมันรั่วทุ่นรับจ่ายน้ำมันห่างจากชายฝั่งจ.ระยอง ประมาณ 20 กิโลเมตรเมื่อ 27ก.ค. ทำให้โรงกลั่นไม่สามารถใช้งานทุ่นรับน้ำมันดิบในการรับน้ำมันเข้าสู่โรงกลั่นได้ ซึ่งมีโรงกลั่น 2 แห่งที่ได้รับผลกระทบ คือ พีทีทีจีซี กับโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม (SPRC) ซึ่งมีกำลังการกลั่นรวมกัน 2.95 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งธพ.จะผ่อนผันให้โรงกลั่นนำน้ำมันสำรองตามกฏหมายที่มีแห่งละ 18 วันออกมาใช้ได้ก่อน
***ยันแผ่นฟิล์มน้ำมันเจอแดดจะระเหยไปเอง
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ.ปตท. กล่าวว่า แนวทางแก้ไขปัญหาการกลั่นของ 2 โรงกลั่นที่ได้รับผลกระทบคือ 1.การนำน้ำมันตามกฏหมายมาใช้หรือมีการสวิทสำรองกับโรงกลั่นอื่น 2. การนำเรือเล็กขนน้ำมันดิบมาลอยลำ และ 3.ขั้นสุดท้ายหากไม่พอจริง 2 โรงกลั่นคงลดกำลังการกลั่นลง ซึ่งการกลับมาส่งน้ำมันได้อีกครั้งนั้น จะต้องรอผลการตรวจสอบคณะทำงานตรวจสอบหาสาเหตุการรั่วของน้ำมันดิบที่มีคุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต เป็นประธาน หาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร รวมถึงปริมาณที่รั่วไหลออกมาสู่ทะเล โดยคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 7 วัน
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีทีจีซี กล่าวว่า ปัญหาคราบน้ำมันเป็นแผ่นฟิล์มกระจายไปยังพื้นที่อื่น เมื่อเจอแสงอาทิตย์ ก็จะระเหยไปเอง ไม่มีปัญหาอะไร
**"ชัชชาติ"ถกทบทวนหามาตรการระงับเหตุ
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สัปดาห์หน้าคณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.) จะประชุมเพื่อทบทวนแผนปฎิบัติการ และขั้นตอนการเผชิญเหตุในการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันดิบ ซึ่งไม่ได้มีการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 2547 โดยจะนำข้อบกพร่องจากเหตุการณ์ท่อรับน้ำมันดิบของบริษัท พีทีทีจีซี รั่วกลางทะเลมาปรับปรุง เช่น กรณีเกิดเหตุจะต้องสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้เร็วที่สุด อุปกรณ์เครื่องมือเพียงพอหรือไม่ ซึ่งกปน.จะตั้งกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียม พลังงาน ประกันภัย สิ่งแวดล้อม เพิ่มเติมอีก 6 คน
**เบิกเงินหลวงใช้ขจัดคราบน้ำมัน
ที่กระทรวงกลาโหม พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สั่งการให้กระทรวงกลาโหมส่งทหารเข้าไปให้ความช่วยเหลือจนกว่าจะเสร็จสิ้น และการเบิกจ่ายงบประมาณ จะเบิกจาก กปน.
***สมาคมประมงประชุมสรุปค่าเสียหาย
นายฉัตรชัย ใจดี รองนายกสมาคมการประมงจังหวัดระยอง กล่าวว่า สมาคมฯ จะประชุมหารือกับสมาชิกซึ่งเป็นผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์กว่า 400 ราย เพื่อสำรวจถึงความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นและเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง บริษัท ปตท. กระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม ให้พิจารณาออกมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เบื้องต้นเท่าที่พูดคุยกับกรรมการสมาคมฯ อยากให้มีการจ้างนักวิชาการ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาศึกษาถึงคุณภาพน้ำและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะพื้นที่อ่าวระยองเป็นพื้นที่ในการวางไข่และอนุบาลปลา
ส่วนจะมีการฟ้องร้องบริษัทปตท. หรือไม่นั้น ยังบอกอะไรไม่ได้ เพราะยังไม่มีสมาชิกร้องเรียนและขอให้สมาคมฯ ช่วยยื่นฟ้อง รวมทั้งจะต้องประชุมหารือกับสมาชิกสมาคมก่อนเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันว่าควรดำเนินการอย่างไรต่อไป
***ชงปิดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด 1 เดือน
มีรายงานว่า สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัด เตรียมเสนอรัฐบาลให้ปิดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน โดยให้มีผลทันทีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อเร่งขจัดคราบน้ำมันดิบในทะเลและชายหาดให้กลับสู่ภาวะปกติ
****ท่องเที่ยวพังคาดเสียหายพันล้าน
นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง กล่าวว่า ล่าสุดนักท่องเที่ยวยกเลิกการจองห้องพักแล้ว 20% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากยุโรป สแกนดิเนเวีย และเกาหลี มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 100-200 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าความเสียทั้งหมดหากบริษัท พีทีทีจีซี ยังไม่สามารถกู้คราบน้ำมันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด 15วัน คาดสร้างความเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่นำชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในไทย กล่าวว่า ยังไม่มีกรุ๊ปทัวร์ที่เสนอยกเลิกไปเที่ยวเกาะเสม็ด เนื่องจากยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่กี่วัน ในต่างประเทศที่ทราบข่าวมีไม่มากนัก จึงอยู่ที่การแก้ไขหากในสัปดาห์เดียวเสร็จก็ไม่มีปัญหา แต่หากแก้กันเป็นเดือนแล้วไม่จบ เกาะเสม็ดเจ๊งแน่
***"โต้ง"เล็งออกมาตรการอุ้มท่องเที่ยว
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลเตรียมออกมาตรการในการช่วยเหลือภาคธุรกิจท่องเที่ยว โดยจะใช้มาตรการลดหย่อนภาษีที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในการปรับปรุงภูมิทัศน์ ห้องพัก โรงแรม เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยว และมาตรการลดภาษีสินค้าบางรายการที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของการช็อปปิ้ง รวมทั้งจะขยายความร่วมมือกับหลายประเทศในการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยว รวมทั้งยืดระยะเวลาในการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้นานขึ้น
ทั้งนี้ ล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ลดค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมลง 50% จากค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมปีละ 80 บาทต่อห้องพัก เหลือปีละ 40 บาทต่อห้องพัก เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบ จากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2556 ถึงวันที่ 30 มิ.ย.2559
**"วิเชษฐ์"สั่งตั้งทีมประเมินผลกระทบ
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สถานการณ์ล่าสุด ได้เก็บกวาดน้ำมันขึ้นมาจากทะเลประมาณ 70% แล้ว และได้ได้สั่งการให้ตั้งคณะทำงานติดตามประเมินสถานการณ์ การแก้ไขปัญหา และการฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ทะเล จ.ระยองกลับมามีสภาพเหมือนเดิมให้เร็วที่สุด พร้อมกับขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามทิศทางการเคลื่อนที่ของคราบและฟิล์มน้ำมันอย่างใกล้ชิด และให้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจวัดการปนเปื้อนของสารเคมี และสารอินทรีย์ระเหยง่ายในน้ำทะเลและในอากาศ พื้นที่บริเวณหน้าหาดอ่าวพร้าว และชุมชนใกล้เคียงมาวิเคราะห์โดยด่วนว่าอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายกับประชาชนหรือไม่
*** “มาร์ค” จวกปตท.ไม่มีความพร้อม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่สบายใจกับการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่รั่ว เพราะหลายฝ่ายได้เห็นข้อเท็จจริงจากภาพถ่ายทางอากาศ แม้ว่า บริษัท ปตท. จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีเงินหมุนเวียนหาศาล แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้น กลับถูกตั้งคำถามเรื่องความพร้อม และอุปกรณ์ในการแก้ปัญหา จึงต้องมีการทบทวนปรับปรุงครั้งใหญ่ เพราะเชื่อว่ายังมีปัญหาต่อเนื่อง เช่น คนในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง จึงต้องมีการชดเชยเยียวยากัน แม้ว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะสั่งการในการแก้ปัญหาโดยตรงมาจากต่างประเทศ แต่ในช่วงวันแรกที่เกิดเหตุกลับไม่เห็นบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่เป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบ
**รุมสับ"สรยุทธ"บิดเบือนเสนอข่าว"เสม็ด"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะเพจเฟซบุ๊ค ต่อกรณีการนำเสนอข่าวทางรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่รายงานข่าวน้ำมันดิบรั่วในทะเลจนทำให้คราบน้ำมันดิบพัดเข้าสู่ชายหาดเกาะเสม็ด บริเวณอ่าวพร้าว โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า สถานที่รายงานข่าวนั้น ไม่ใช่อ่าวพร้าวที่ได้รับผลกระทบชายหาดเป็นสีดำ
ทั้งนี้ ยังมีชาวเน็ตบางรายนำภาพของนายสรยุทธไปเปรียบเทียบกับการรายงานข่าวน้ำมันรั่วไหลของเนชั่นทีวี ซึ่งปรากฏภาพที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด โดยภาพที่เนชั่นทีวีนำเสนอ ยังพบว่ามีคราบน้ำมันสีดำลอยอยู่เหนื้อพื้นน้ำทะเล ทำให้ชาวเน็ตพากันตั้งคำถามถึงจรรยาบรรณในการรายงานความจริงในฐานะสื่อมวลชนของนายสรยุทธ และตั้งข้อสังเกตว่าตั้งใจที่จะช่วย ปตท.กลบเกลื่อนความจริง แทนที่จะยืนอยู่บนหลักการรักษาผลประโยชน์ให้กับประชาชนหรือไม่
นอกจากนี้ โลกออนไลน์ยังได้นำข้อมูลจากสำนักข่าวอิศราที่เคยทำการสำรวจงบประมาณประชาสัมพันธ์ของบริษัท ปตท. พบว่า เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2555 ได้ทำสัญญาจ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางโทรทัศน์ในรายการ "เรื่องเล่าเช้านี้" และรายการ "เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์" กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด 16,560,000 บาท เพื่อเชื่อมโยงข้อสังเกตในการรายงานข่าวที่เกี่ยวเนื่องกับ ปตท. ซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดนี้
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า สถานที่ถ่ายทำรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ที่ออกอากาศเมื่อเช้าวันพุธที่ 31 ก.ค.นั้น นายสรยุทธ พร้อมพิธีกรคนอื่นๆ ได้ตั้งจุดรายงานจากเกาะเสม็ด อยู่ที่อ่าววงเดือน ซึ่งอยู่คนละฟากกับอ่าวพร้าว
** "สรยุทธ-โก๊ะตี๋" พ้อชาวเน็ตรุมสวด
ด้านนายสรยุทธ์ และโก๊ะตี๋ อารามบอย จากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ได้เปิดใจถึงเรื่องที่ชาวเน็ตเกิดข้อกังขาและวิพากษ์วิจารณ์ว่าทางรายการ เสนอข่าวท่อรับ-ส่งน้ำมันของบริษัท พีทีทีจีซี รั่วไหลเป็นการเอาใจ ปตท. เพราะลงพื้นที่เกาะเสม็ด บริเวณอ่าววงเดือน หาดทรายแก้ว ซึ่งเป็นหาดทรายที่สวยงามและไม่ได้รับผลกระทบ
โดยนายสรยุทธ์กล่าวว่า การที่ชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวใจร้ายมาก และยืนยันว่า ตลอดทั้งรายการ ภาพที่นำเสนอส่วนใหญ่ คือ ภาพการเก็บคราบน้ำมัน
ขณะที่โก๊ะตี๋ ชี้แจงว่า สาเหตุที่ลงพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพราะอยากช่วยเหลือสนับสนุนให้คนมาท่องเที่ยว เพราะอ่าววงเดือนยังมีสภาพดีอยู่ เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าเกาะเสม็ดยังมีที่ให้เที่ยวได้ เนื่องจากคนทำงานเยอะมาก แต่นักท่องเที่ยวร่อยหรอ ซึ่งน่าเห็นใจพวกเขามาก
หลังจากเกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้วรั่วที่บริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบ (Single Point Mooring) ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ขณะกำลังมีการส่งน้ำมันมายังโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือพีทีทีจีซี เมื่อเวลา 06.50 น. ของวันที่ 27 ก.ค.2556 ที่ผ่านมา โดยมีน้ำมันดิบรั่วออกมาประมาณ 50,000 ลิตร และน้ำมันได้กระจายไปยังเกาะต่างๆ และได้มีการตามเก็บน้ำมันตามที่เสนอข่าวมาต่อเนื่องนั้น
ล่าสุด เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (31 ก.ค.) คณะสื่อมวลชน พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ได้เดินทางโดยเรือเร็วไปยังบริเวณอ่าวปลาต้มห่าง ซึ่งอยู่ห่างจากอ่าวพร้าว ออกไปประมาณ 300 เมตร โดยพบว่าทางด้านทิศใต้มีคราบน้ำมันดิบลักษณะเป็นแผ่นหนา กว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 200 เมตร โดยที่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปเก็บคราบน้ำมัน
ทั้งนี้ จากการสำรวจพื้นที่รอบเกาะกุฎี และเกาะปลายตีน ยังพบคราบฟิล์มน้ำมันแผ่นบางๆ ลอยกระจายทั่วเหนือน้ำอีกด้วย
ขณะที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้ยืนยันว่า ภาพจากดาวเทียมระบบเรดาร์ COSMO-SkyMed-2 เมื่อเวลา 06.09 น. ของวันที่ 31 ก.ค.2556 แสดงให้เห็นอาณาบริเวณของคราบน้ำมันที่เป็นฟิล์มบางๆ ที่ยังมีอยู่ทางด้านเหนือของเกาะเสม็ด ซึ่งมีขนาดลดลงจากเมื่อวันที่ 30 ก.ค.2556 เล็กน้อย (ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร) และมีการกระจายตัวของฟิล์มน้ำมันบางส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเสม็ด
**ผู้ว่าฯตั้งศูนย์เยียวยาเหยื่อคราบน้ำมัน
เวลา 10.00 น. นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้เรียกประชุมนายอำเภอ นายตำรวจ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และได้รับความเดือดร้อนจากเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเล โดยได้ร่วมกันหาแนวทางและวางแผนช่วยเหลือ เยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ
นายวิชิตกล่าวว่า นอกจากพื้นที่ชายทะเลจะได้ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลแล้ว การท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบรองลงมา เพราะมีผู้ที่เกี่ยวเนื่องได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการด้านที่พัก ร้านอาหาร เรือโดยสาร รวมไปถึงกลุ่มการประมง และผู้เลี้ยงปลาในกระชัง พ่อค้า แม่ค้าที่ขายของไม่ได้ ซึ่งทางจังหวัดจะเร่งให้การช่วยเหลือต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ยังได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง เร่งประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้เข้าพักและท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวและที่พักบนเกาะเสม็ดที่เหลือกว่า 95% ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมัน โดยเฉพาะชายหาดทางทิศตะวันออกของเกาะที่สามารถลงเล่นน้ำได้ เพราะไม่มีกลิ่นเหม็นจากคราบน้ำมันรบกวน
**นายกฯปู ลงพื้นที่วันอาทิตย์นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มว่า ในวันอาทิตย์ที่ 4 ส.ค.นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา และการกู้วิกฤตคราบน้ำมันในอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ด้วยตนเอง
เวลา 14.30 น.นายสรวงค์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข และคณะ ได้เดินทางมายังท่าเรือศูนย์อนุรักษ์ทรัพย์กรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ต.เพ อ.เมืองระยอง เพื่อนำหน้ากากอนามัยจำนวน 20,000 ชิ้นมอบให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ในการจัดเก็บคราบน้ำมัน บริเวณอ่าวพร้าว หลังได้รับรายงานว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีหน้ากากอนามัยใช้ระหว่างทำงาน จึงหวั่นว่าอาจได้รับผลกระทบจากสารปนเปื้อน รวมทั้งยังได้จัดให้มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน และพนักงานในรีสอร์ท และได้ให้กรมอนามัยเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำ อาหารทะเลไปตรวจสอบสารปนเปื้อน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษ ได้ส่งทีมฉุกเฉินมาตรวจคุณภาพอากาศในบริเวณอ่าวพร้าวแล้ว ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในระยะห่างจากชายฝั่งประมาณ 200-500 เมตร หรือในบริเวณที่อยู่อาศัยต่างๆ คุณภาพอากาศยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก คือ ปริมาณสารปนเปื้อนในอากาศสูงกว่าปกติเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย
**ก.ทรัพย์ฯเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจ
ที่อ่าวพร้าว จ.ระยอง นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสุวรรณ นันทศรุต ผอ.สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) พร้อมคณะ เดินทางมาดูพื้นที่จริงในการแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลเข้าบริเวณอ่าวพร้าว บนเกาะเสม็ด โดยได้ขอให้มีการจัดวางรูปแบบการจัดเก็บคราบน้ำมันใหม่ให้เป็นระบบ เพราะขณะนี้มีหลายหน่วยงาน และมีคนมาก และยังได้เก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบด้วย โดยเก็บจาก 1.แหลมน้อยหน่า 2.อ่าวพร้าว 3.ท่าเรือหน้าด่าน 4.อ่าวหวาย 5.หาดทรายแก้ว 6.อ่าววงเดือน และ 7.ร่องน้ำกลางทะเล ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ 5- 7 วัน ถึงจะทราบว่าสารที่ตกค้างมีอะไรบ้าง
***สั่ง "พีทีทีจีซี" จ่ายเงินชดเชยทันที
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวว่า ได้สั่งการให้บมจ. พีทีทีจีซี เร่งฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมอ่าวพร้าวให้กลับสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด และให้เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยไม่ต้องรอวงเงินประกัน โดยให้จ่ายทันที และขอร้องให้ผู้ที่จะเดินทางไปอ่าวพร้าว ทั้งที่จะไปช่วยเหลือและไปดูสถานการณ์ ลดการเดินทางลงพื้นที่ เนื่องจากพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เพียงพอและการเข้าไปอาจสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น เพราะพื้นที่จำกัด
ส่วนการป้องกันน้ำมันขาดแคลน ได้มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ติดตามสถานการณ์การจัดหาและสำรองน้ำมันดิบและสำเร็จรูปอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้น้ำมันขาดแคลน ซึ่งเหตุการณ์น้ำมันรั่วทุ่นรับจ่ายน้ำมันห่างจากชายฝั่งจ.ระยอง ประมาณ 20 กิโลเมตรเมื่อ 27ก.ค. ทำให้โรงกลั่นไม่สามารถใช้งานทุ่นรับน้ำมันดิบในการรับน้ำมันเข้าสู่โรงกลั่นได้ ซึ่งมีโรงกลั่น 2 แห่งที่ได้รับผลกระทบ คือ พีทีทีจีซี กับโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม (SPRC) ซึ่งมีกำลังการกลั่นรวมกัน 2.95 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งธพ.จะผ่อนผันให้โรงกลั่นนำน้ำมันสำรองตามกฏหมายที่มีแห่งละ 18 วันออกมาใช้ได้ก่อน
***ยันแผ่นฟิล์มน้ำมันเจอแดดจะระเหยไปเอง
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ.ปตท. กล่าวว่า แนวทางแก้ไขปัญหาการกลั่นของ 2 โรงกลั่นที่ได้รับผลกระทบคือ 1.การนำน้ำมันตามกฏหมายมาใช้หรือมีการสวิทสำรองกับโรงกลั่นอื่น 2. การนำเรือเล็กขนน้ำมันดิบมาลอยลำ และ 3.ขั้นสุดท้ายหากไม่พอจริง 2 โรงกลั่นคงลดกำลังการกลั่นลง ซึ่งการกลับมาส่งน้ำมันได้อีกครั้งนั้น จะต้องรอผลการตรวจสอบคณะทำงานตรวจสอบหาสาเหตุการรั่วของน้ำมันดิบที่มีคุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต เป็นประธาน หาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร รวมถึงปริมาณที่รั่วไหลออกมาสู่ทะเล โดยคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 7 วัน
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีทีจีซี กล่าวว่า ปัญหาคราบน้ำมันเป็นแผ่นฟิล์มกระจายไปยังพื้นที่อื่น เมื่อเจอแสงอาทิตย์ ก็จะระเหยไปเอง ไม่มีปัญหาอะไร
**"ชัชชาติ"ถกทบทวนหามาตรการระงับเหตุ
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สัปดาห์หน้าคณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.) จะประชุมเพื่อทบทวนแผนปฎิบัติการ และขั้นตอนการเผชิญเหตุในการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันดิบ ซึ่งไม่ได้มีการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 2547 โดยจะนำข้อบกพร่องจากเหตุการณ์ท่อรับน้ำมันดิบของบริษัท พีทีทีจีซี รั่วกลางทะเลมาปรับปรุง เช่น กรณีเกิดเหตุจะต้องสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้เร็วที่สุด อุปกรณ์เครื่องมือเพียงพอหรือไม่ ซึ่งกปน.จะตั้งกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียม พลังงาน ประกันภัย สิ่งแวดล้อม เพิ่มเติมอีก 6 คน
**เบิกเงินหลวงใช้ขจัดคราบน้ำมัน
ที่กระทรวงกลาโหม พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สั่งการให้กระทรวงกลาโหมส่งทหารเข้าไปให้ความช่วยเหลือจนกว่าจะเสร็จสิ้น และการเบิกจ่ายงบประมาณ จะเบิกจาก กปน.
***สมาคมประมงประชุมสรุปค่าเสียหาย
นายฉัตรชัย ใจดี รองนายกสมาคมการประมงจังหวัดระยอง กล่าวว่า สมาคมฯ จะประชุมหารือกับสมาชิกซึ่งเป็นผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์กว่า 400 ราย เพื่อสำรวจถึงความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นและเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง บริษัท ปตท. กระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม ให้พิจารณาออกมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เบื้องต้นเท่าที่พูดคุยกับกรรมการสมาคมฯ อยากให้มีการจ้างนักวิชาการ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาศึกษาถึงคุณภาพน้ำและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะพื้นที่อ่าวระยองเป็นพื้นที่ในการวางไข่และอนุบาลปลา
ส่วนจะมีการฟ้องร้องบริษัทปตท. หรือไม่นั้น ยังบอกอะไรไม่ได้ เพราะยังไม่มีสมาชิกร้องเรียนและขอให้สมาคมฯ ช่วยยื่นฟ้อง รวมทั้งจะต้องประชุมหารือกับสมาชิกสมาคมก่อนเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันว่าควรดำเนินการอย่างไรต่อไป
***ชงปิดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด 1 เดือน
มีรายงานว่า สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัด เตรียมเสนอรัฐบาลให้ปิดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน โดยให้มีผลทันทีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อเร่งขจัดคราบน้ำมันดิบในทะเลและชายหาดให้กลับสู่ภาวะปกติ
****ท่องเที่ยวพังคาดเสียหายพันล้าน
นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง กล่าวว่า ล่าสุดนักท่องเที่ยวยกเลิกการจองห้องพักแล้ว 20% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากยุโรป สแกนดิเนเวีย และเกาหลี มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 100-200 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าความเสียทั้งหมดหากบริษัท พีทีทีจีซี ยังไม่สามารถกู้คราบน้ำมันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด 15วัน คาดสร้างความเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่นำชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในไทย กล่าวว่า ยังไม่มีกรุ๊ปทัวร์ที่เสนอยกเลิกไปเที่ยวเกาะเสม็ด เนื่องจากยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่กี่วัน ในต่างประเทศที่ทราบข่าวมีไม่มากนัก จึงอยู่ที่การแก้ไขหากในสัปดาห์เดียวเสร็จก็ไม่มีปัญหา แต่หากแก้กันเป็นเดือนแล้วไม่จบ เกาะเสม็ดเจ๊งแน่
***"โต้ง"เล็งออกมาตรการอุ้มท่องเที่ยว
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลเตรียมออกมาตรการในการช่วยเหลือภาคธุรกิจท่องเที่ยว โดยจะใช้มาตรการลดหย่อนภาษีที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในการปรับปรุงภูมิทัศน์ ห้องพัก โรงแรม เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยว และมาตรการลดภาษีสินค้าบางรายการที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของการช็อปปิ้ง รวมทั้งจะขยายความร่วมมือกับหลายประเทศในการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยว รวมทั้งยืดระยะเวลาในการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้นานขึ้น
ทั้งนี้ ล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ลดค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมลง 50% จากค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมปีละ 80 บาทต่อห้องพัก เหลือปีละ 40 บาทต่อห้องพัก เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบ จากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2556 ถึงวันที่ 30 มิ.ย.2559
**"วิเชษฐ์"สั่งตั้งทีมประเมินผลกระทบ
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สถานการณ์ล่าสุด ได้เก็บกวาดน้ำมันขึ้นมาจากทะเลประมาณ 70% แล้ว และได้ได้สั่งการให้ตั้งคณะทำงานติดตามประเมินสถานการณ์ การแก้ไขปัญหา และการฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ทะเล จ.ระยองกลับมามีสภาพเหมือนเดิมให้เร็วที่สุด พร้อมกับขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามทิศทางการเคลื่อนที่ของคราบและฟิล์มน้ำมันอย่างใกล้ชิด และให้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจวัดการปนเปื้อนของสารเคมี และสารอินทรีย์ระเหยง่ายในน้ำทะเลและในอากาศ พื้นที่บริเวณหน้าหาดอ่าวพร้าว และชุมชนใกล้เคียงมาวิเคราะห์โดยด่วนว่าอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายกับประชาชนหรือไม่
*** “มาร์ค” จวกปตท.ไม่มีความพร้อม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่สบายใจกับการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่รั่ว เพราะหลายฝ่ายได้เห็นข้อเท็จจริงจากภาพถ่ายทางอากาศ แม้ว่า บริษัท ปตท. จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีเงินหมุนเวียนหาศาล แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้น กลับถูกตั้งคำถามเรื่องความพร้อม และอุปกรณ์ในการแก้ปัญหา จึงต้องมีการทบทวนปรับปรุงครั้งใหญ่ เพราะเชื่อว่ายังมีปัญหาต่อเนื่อง เช่น คนในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง จึงต้องมีการชดเชยเยียวยากัน แม้ว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะสั่งการในการแก้ปัญหาโดยตรงมาจากต่างประเทศ แต่ในช่วงวันแรกที่เกิดเหตุกลับไม่เห็นบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่เป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบ
**รุมสับ"สรยุทธ"บิดเบือนเสนอข่าว"เสม็ด"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะเพจเฟซบุ๊ค ต่อกรณีการนำเสนอข่าวทางรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่รายงานข่าวน้ำมันดิบรั่วในทะเลจนทำให้คราบน้ำมันดิบพัดเข้าสู่ชายหาดเกาะเสม็ด บริเวณอ่าวพร้าว โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า สถานที่รายงานข่าวนั้น ไม่ใช่อ่าวพร้าวที่ได้รับผลกระทบชายหาดเป็นสีดำ
ทั้งนี้ ยังมีชาวเน็ตบางรายนำภาพของนายสรยุทธไปเปรียบเทียบกับการรายงานข่าวน้ำมันรั่วไหลของเนชั่นทีวี ซึ่งปรากฏภาพที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด โดยภาพที่เนชั่นทีวีนำเสนอ ยังพบว่ามีคราบน้ำมันสีดำลอยอยู่เหนื้อพื้นน้ำทะเล ทำให้ชาวเน็ตพากันตั้งคำถามถึงจรรยาบรรณในการรายงานความจริงในฐานะสื่อมวลชนของนายสรยุทธ และตั้งข้อสังเกตว่าตั้งใจที่จะช่วย ปตท.กลบเกลื่อนความจริง แทนที่จะยืนอยู่บนหลักการรักษาผลประโยชน์ให้กับประชาชนหรือไม่
นอกจากนี้ โลกออนไลน์ยังได้นำข้อมูลจากสำนักข่าวอิศราที่เคยทำการสำรวจงบประมาณประชาสัมพันธ์ของบริษัท ปตท. พบว่า เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2555 ได้ทำสัญญาจ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางโทรทัศน์ในรายการ "เรื่องเล่าเช้านี้" และรายการ "เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์" กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด 16,560,000 บาท เพื่อเชื่อมโยงข้อสังเกตในการรายงานข่าวที่เกี่ยวเนื่องกับ ปตท. ซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดนี้
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า สถานที่ถ่ายทำรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ที่ออกอากาศเมื่อเช้าวันพุธที่ 31 ก.ค.นั้น นายสรยุทธ พร้อมพิธีกรคนอื่นๆ ได้ตั้งจุดรายงานจากเกาะเสม็ด อยู่ที่อ่าววงเดือน ซึ่งอยู่คนละฟากกับอ่าวพร้าว
** "สรยุทธ-โก๊ะตี๋" พ้อชาวเน็ตรุมสวด
ด้านนายสรยุทธ์ และโก๊ะตี๋ อารามบอย จากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ได้เปิดใจถึงเรื่องที่ชาวเน็ตเกิดข้อกังขาและวิพากษ์วิจารณ์ว่าทางรายการ เสนอข่าวท่อรับ-ส่งน้ำมันของบริษัท พีทีทีจีซี รั่วไหลเป็นการเอาใจ ปตท. เพราะลงพื้นที่เกาะเสม็ด บริเวณอ่าววงเดือน หาดทรายแก้ว ซึ่งเป็นหาดทรายที่สวยงามและไม่ได้รับผลกระทบ
โดยนายสรยุทธ์กล่าวว่า การที่ชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวใจร้ายมาก และยืนยันว่า ตลอดทั้งรายการ ภาพที่นำเสนอส่วนใหญ่ คือ ภาพการเก็บคราบน้ำมัน
ขณะที่โก๊ะตี๋ ชี้แจงว่า สาเหตุที่ลงพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพราะอยากช่วยเหลือสนับสนุนให้คนมาท่องเที่ยว เพราะอ่าววงเดือนยังมีสภาพดีอยู่ เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าเกาะเสม็ดยังมีที่ให้เที่ยวได้ เนื่องจากคนทำงานเยอะมาก แต่นักท่องเที่ยวร่อยหรอ ซึ่งน่าเห็นใจพวกเขามาก