หน่วยงานภาครัฐและเอกชนกำลังทยอยปรับประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2556 กันเป็นระลอก จากเดิมที่คาดกันว่า จะขยายตัวระหว่าง 5-6 เปอร์เซ็นต์ลดลงเหลือประมาณ 4% หรือไม่เกิน 4.2%
ตัวเลขจีดีพีที่ถูกหั่นทอน แม้ไม่ได้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเกิดความถดถอย แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจปีนี้ไม่ได้สดใสอย่างที่คาดหวังไว้
ถ้าดูกันที่ตัวเลข ถือว่าเศรษฐกิจยังโตอยู่ แต่ถ้าสัมผัสกับสภาพความเป็นจริง จะรู้ว่าภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันซบเซาอย่างหนัก และมีแนวโน้มทรุดลงต่อเนื่อง
สัญญาณลบด้านเศรษฐกิจผุดขึ้นในจุดต่างๆ ยอดการส่งออก 5 เดือนแรกขยายตัวเพียงประมาณ 2% การลงทุนภาคเอกชนชะงัก ยอดขายสินค้าตกวูบ ไม่เว้นบะหมี่สำเร็จรูป ธุรกิจได้รับผลกระทบจนมีการทยอยปิดกิจการ ส่วนที่เหลือต่างพยายามประคับประคองตัว
เงินในระบบเหือดแห้ง กำลังซื้อผู้บริโภคตกต่ำอย่างหนัก ห้างสรรพสินค้าคนยังบางตาลงอย่างชัดเจน และแม้แต่แม่ค้าข้าวแกงก็แทบเอาตัวไม่รอด
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพูดจริง ถ้าโครงการเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทไม่ผ่าน ถ้าโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทสะดุด ภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัวรุนแรง
รัฐบาลตั้งความหวังไว้มากกับเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทและโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่การทุจริตที่โจ๋งครึ่มทำให้ทั้งสองโครงการถูกต่อต้านอย่างหนัก จนไม่อาจผลักดันออกมาง่ายๆ
ความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐมีอยู่จริง แต่ถ้าการกู้เงินจำนวน 2.55 ล้านล้านบาท ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในโครงการทุกบาททุกสตางค์จริง ถูกนักการเมืองร่วมกันปล้น ใครจะยอมได้
การสร้างภาระหนี้สินให้ประเทศมหาศาล โดยอ้างความอยู่รอดของประเทศ ขณะที่นักการเมืองมุ่งตักตวงความมั่งคั่ง ประชาชนจึงเคลื่อนไหวต่อต้านกันทั่วสารทิศ
เครื่องยนต์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4 ตัว ขัดข้องไปแล้ว 3 ตัว โดยการส่งออกชะลอตัวหนัก การลงทุนภาคเอกชนหยุดชะงัก การบริโภคภายในตกต่ำสุดขีด จึงเหลือเพียงการลงทุนภาครัฐเท่านั้น
ถ้าไม่มีมาตรการเร่งด่วนออกมากระตุ้น เศรษฐกิจจะเดินเข้าสู่ความเสี่ยงมากขึ้น เสี่ยงเกิดวิกฤตครั้งใหญ่ และประเมินกันแล้วว่า คงไม่เกินปีหน้า โดยจะเห็นความซบเซาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ตั้งแต่ครึ่งหลังของปีนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยเหลือเพียงหน่วยงานเดียวที่คอยออกมาส่งสัญญาณเตือนปัจจัยเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจ เตือนปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่พุ่งขึ้น เตือนการใช้จ่ายภาครัฐ และเตือนอย่างเกรงอกเกรงใจนายกิตติรัตน์มากที่สุดแล้ว
ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า ฐานะทางการคลังของรัฐบาลเป็นอย่างไร ปัญหาหนี้สาธารณะรุนแรงขนาดไหน สถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเปราะบางเพียงใด เพราะข้อมูลดูเหมือนจะมีความพยายามอำพรางไว้
เช่นเดียวกับระบบสถาบันการเงิน ซึ่งประเมินจากภายนอกแล้วมีความแข็งแกร่ง แต่ภายในไม่รู้ว่าฐานะมีความอ่อนไหวขนาดไหน โดยเฉพาะปัญหาหนี้เสียที่ส่อเค้าจะเติบโตเพิ่มขึ้น
การปิดโรงงานของสหฟาร์มที่จังหวัดเพชรบูรณ์ แม้จะเป็นหนี้เสียก้อนหนึ่งซึ่งธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อสามารถแบกรับได้ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจ จะมีเพียงสหฟาร์มเท่านั้นหรือที่ก่อปัญหาหนี้เสีย
สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่ออุตสาหกรรมต่างๆ หรือแม้แต่สินเชื่อบริษัทรับเหมาขนาดใหญ่ที่รอความหวังจากงานประมูลโครงการน้ำหรือโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมจะก่อปัญหาหนี้เสียก้อนมหึมา ถ้ากำลังซื้อตกต่ำสุดขีดและเศรษฐกิจซบเซาอย่างหนัก
แม้แต่ธนาคารซึ่งมีบทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 พยายามปล่อยสินเชื่ออย่างรัดกุม เพื่อรักษาฐานะความแข็งแกร่ง แต่เมื่อเศรษฐกิจทรุด ใครจะรับประกันได้ว่า ธนาคารจะไม่เกิดปัญหาซ้ำรอยปี 2540
การผลักดันกฎหมายเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ที่จะเปิดในสิงหาคมนี้ จึงเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะถ้าคลอดกฎหมายได้ หรือคลอดช้าเกินไป ไม่เพียงกลุ่มนักการเมืองจะชวดการสวาปามผลประโยชน์ก้อนโตที่สุดเท่าที่เคยมีมาเท่านั้น
แต่อาจสายเกินรอสำหรับเศรษฐกิจที่ใกล้ล่มสลาย
รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาจจะเก่งกาจในการบริหารจัดการทางการเมือง สามารถสะกดการลุกฮือของกลุ่มต่อต้าน ดื้อด้านต่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ยึดระบบพวกมากลากไปคุมอำนาจเบ็ดเสร็จในระบบรัฐสภา
แต่ห่วยมากกับการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอาจเป็นผลพวงจากการให้น้ำหนักความสำคัญกับการรักษาอำนาจทางการเมืองเพียงด้านเดียว เศรษฐกิจจึงเดินมาสู่ปากหลุม และมองไม่เห็นว่า จะกระตุ้นให้ฟื้นคืนชีพได้อย่างไร
แนวโน้มเศรษฐกิจมีแต่ย่ำแย่ลง ประชาชนจะเดือดร้อนจากปัญหาค่าครองชีพรุนแรงขึ้น
บางทีไม่ต้องเสียแรงออกมาไล่รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ เพราะผลกระทบปัญหาเศรษฐกิจกำลังเป็นเชื้อฟืนอย่างดีที่เผา “ยิ่งลักษณ์” จริงๆ เสียที
ตัวเลขจีดีพีที่ถูกหั่นทอน แม้ไม่ได้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเกิดความถดถอย แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจปีนี้ไม่ได้สดใสอย่างที่คาดหวังไว้
ถ้าดูกันที่ตัวเลข ถือว่าเศรษฐกิจยังโตอยู่ แต่ถ้าสัมผัสกับสภาพความเป็นจริง จะรู้ว่าภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันซบเซาอย่างหนัก และมีแนวโน้มทรุดลงต่อเนื่อง
สัญญาณลบด้านเศรษฐกิจผุดขึ้นในจุดต่างๆ ยอดการส่งออก 5 เดือนแรกขยายตัวเพียงประมาณ 2% การลงทุนภาคเอกชนชะงัก ยอดขายสินค้าตกวูบ ไม่เว้นบะหมี่สำเร็จรูป ธุรกิจได้รับผลกระทบจนมีการทยอยปิดกิจการ ส่วนที่เหลือต่างพยายามประคับประคองตัว
เงินในระบบเหือดแห้ง กำลังซื้อผู้บริโภคตกต่ำอย่างหนัก ห้างสรรพสินค้าคนยังบางตาลงอย่างชัดเจน และแม้แต่แม่ค้าข้าวแกงก็แทบเอาตัวไม่รอด
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพูดจริง ถ้าโครงการเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทไม่ผ่าน ถ้าโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทสะดุด ภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัวรุนแรง
รัฐบาลตั้งความหวังไว้มากกับเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทและโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่การทุจริตที่โจ๋งครึ่มทำให้ทั้งสองโครงการถูกต่อต้านอย่างหนัก จนไม่อาจผลักดันออกมาง่ายๆ
ความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐมีอยู่จริง แต่ถ้าการกู้เงินจำนวน 2.55 ล้านล้านบาท ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในโครงการทุกบาททุกสตางค์จริง ถูกนักการเมืองร่วมกันปล้น ใครจะยอมได้
การสร้างภาระหนี้สินให้ประเทศมหาศาล โดยอ้างความอยู่รอดของประเทศ ขณะที่นักการเมืองมุ่งตักตวงความมั่งคั่ง ประชาชนจึงเคลื่อนไหวต่อต้านกันทั่วสารทิศ
เครื่องยนต์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4 ตัว ขัดข้องไปแล้ว 3 ตัว โดยการส่งออกชะลอตัวหนัก การลงทุนภาคเอกชนหยุดชะงัก การบริโภคภายในตกต่ำสุดขีด จึงเหลือเพียงการลงทุนภาครัฐเท่านั้น
ถ้าไม่มีมาตรการเร่งด่วนออกมากระตุ้น เศรษฐกิจจะเดินเข้าสู่ความเสี่ยงมากขึ้น เสี่ยงเกิดวิกฤตครั้งใหญ่ และประเมินกันแล้วว่า คงไม่เกินปีหน้า โดยจะเห็นความซบเซาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ตั้งแต่ครึ่งหลังของปีนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยเหลือเพียงหน่วยงานเดียวที่คอยออกมาส่งสัญญาณเตือนปัจจัยเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจ เตือนปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่พุ่งขึ้น เตือนการใช้จ่ายภาครัฐ และเตือนอย่างเกรงอกเกรงใจนายกิตติรัตน์มากที่สุดแล้ว
ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า ฐานะทางการคลังของรัฐบาลเป็นอย่างไร ปัญหาหนี้สาธารณะรุนแรงขนาดไหน สถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเปราะบางเพียงใด เพราะข้อมูลดูเหมือนจะมีความพยายามอำพรางไว้
เช่นเดียวกับระบบสถาบันการเงิน ซึ่งประเมินจากภายนอกแล้วมีความแข็งแกร่ง แต่ภายในไม่รู้ว่าฐานะมีความอ่อนไหวขนาดไหน โดยเฉพาะปัญหาหนี้เสียที่ส่อเค้าจะเติบโตเพิ่มขึ้น
การปิดโรงงานของสหฟาร์มที่จังหวัดเพชรบูรณ์ แม้จะเป็นหนี้เสียก้อนหนึ่งซึ่งธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อสามารถแบกรับได้ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจ จะมีเพียงสหฟาร์มเท่านั้นหรือที่ก่อปัญหาหนี้เสีย
สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่ออุตสาหกรรมต่างๆ หรือแม้แต่สินเชื่อบริษัทรับเหมาขนาดใหญ่ที่รอความหวังจากงานประมูลโครงการน้ำหรือโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมจะก่อปัญหาหนี้เสียก้อนมหึมา ถ้ากำลังซื้อตกต่ำสุดขีดและเศรษฐกิจซบเซาอย่างหนัก
แม้แต่ธนาคารซึ่งมีบทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 พยายามปล่อยสินเชื่ออย่างรัดกุม เพื่อรักษาฐานะความแข็งแกร่ง แต่เมื่อเศรษฐกิจทรุด ใครจะรับประกันได้ว่า ธนาคารจะไม่เกิดปัญหาซ้ำรอยปี 2540
การผลักดันกฎหมายเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ที่จะเปิดในสิงหาคมนี้ จึงเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะถ้าคลอดกฎหมายได้ หรือคลอดช้าเกินไป ไม่เพียงกลุ่มนักการเมืองจะชวดการสวาปามผลประโยชน์ก้อนโตที่สุดเท่าที่เคยมีมาเท่านั้น
แต่อาจสายเกินรอสำหรับเศรษฐกิจที่ใกล้ล่มสลาย
รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาจจะเก่งกาจในการบริหารจัดการทางการเมือง สามารถสะกดการลุกฮือของกลุ่มต่อต้าน ดื้อด้านต่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ยึดระบบพวกมากลากไปคุมอำนาจเบ็ดเสร็จในระบบรัฐสภา
แต่ห่วยมากกับการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอาจเป็นผลพวงจากการให้น้ำหนักความสำคัญกับการรักษาอำนาจทางการเมืองเพียงด้านเดียว เศรษฐกิจจึงเดินมาสู่ปากหลุม และมองไม่เห็นว่า จะกระตุ้นให้ฟื้นคืนชีพได้อย่างไร
แนวโน้มเศรษฐกิจมีแต่ย่ำแย่ลง ประชาชนจะเดือดร้อนจากปัญหาค่าครองชีพรุนแรงขึ้น
บางทีไม่ต้องเสียแรงออกมาไล่รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ เพราะผลกระทบปัญหาเศรษฐกิจกำลังเป็นเชื้อฟืนอย่างดีที่เผา “ยิ่งลักษณ์” จริงๆ เสียที