รัฐบาลเตรียมเข็นมาตรการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ ใช้ภาษีเป็นตัวหนุนการส่งออกภาคบริการ-ท่องเที่ยว "กิตติรัตน์" ลั่นต่อไปไม่เน้นอัดฉีดเงินหวังผลกระตุ้นช่วงสั้นเหมือนที่ผ่านมาอีก พร้อมมั่นใจเศรษฐกิจโตไดที่ระดับ 4.5% ด้านกระทรวงพาณิชย์เล็งชงเพิ่มความถี่จัดธงฟ้า พร้อมแนะกระตุ้นใช้จ่ายในประเทศ ธปท.ยอมรับเฟดกลับลำทำตลาดเงินตลาดทุนป่วน ยันเศรษฐกิจไทยไม่น่ากังวล หนี้ในระบบอยู่ในระดับปกติ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังพิจารณามาตรการส่งเสริมธุรกิจบริการ และการส่งออกภาคบริการ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เห็นว่ายังมีมาตรการทางภาษีที่ดำเนินการได้ โดยจะหารือรายละเอียดกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสภาอุตสาหกรรมและสมาคมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยด้วย โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีการหารือกันในวันนี้ (12 ก.ค.) จะไม่เน้นอัดฉีดเงินออกสู่ระบบเพิ่มเติม เพราะช่วงปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินนโยบายกระตุ้นการอุปโภคบริโภคไปมากแล้ว แต่จะเน้นมาตรการที่ปรับสมดุลทางเศรษฐกิจผ่านการดูแลทางด้านอื่นๆ เช่น ด้านการลงทุนและสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว เพราะมีการเชื่อมโยงมาถึงการอุปโภคบริโภค รวมถึงทำให้มีการสร้างงานและการกระจายรายได้ตามมา
“มาตรการภาษีที่จำนำมาใช้ หมือนกับการให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนอุตสาหกรรมอื่นๆ ของบีโอไอ มากกว่าจะเป็นการให้สิทธิลดหย่อนเมื่อมีการเดินทางท่องเที่ยวเหมือนที่เคยใช้ในอดีต เพราะยังไม่ชัดเจนว่าช่วยให้เกิดผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจริง” นายกิตติรัตน์กล่าวและย้ำว่า เป็นแผนปรับสมดุลทางเศรษฐกิจมากกว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังไปได้ การขยายตัวในระดับ 4.5-5% ถ้าเทียบกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
โดยตามหลักแล้วการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะดำเนินการผ่านกลไกสำคัญ 4 ด้าน คือ การส่งออก การใช้จ่ายของรัฐบาล การลงทุนภาคเอกชน และการบริโภคของประชาชน ซึ่งการส่งออกก็ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ไม่เหมือนเดิมและโลกเปลี่ยนแปลงไปแล้วการส่งออกจึงอาจลดลงตามกระแสโลก
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนขณะนี้ก็เริ่มเห็นผลทางปฎิบัติแล้ว นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเร่งรัดให้เกิดขึ้นผ่านโครงการลงทุนป้องกันน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เพราะจะส่งผลดีในระยะยาวต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ดี การสร้างความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด จึงไม่อยากเห็นมีความขัดแย้งกันทางการเมือง
"หากประเมินโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งของรัฐบาลก่อนที่มีการใช้เงินไป 3.5 แสนล้านบาท จากเงินกู้ทั้งหมด 4 แสนล้านบาท โดยเงินที่เหลือ 5 หมื่นล้านบาทจะพับแผนไปไม่นำมาใช้ในโครงการใหม่เพราะถือเป็นคนละวัตถุประสงค์กัน โดยพบว่ากว่า 80% หรือ 3.5 หมื่นโครงการจากทั้งหมด 4 หมื่นกว่าโครงการ เป็นโครงการขนาดเล็กมูลค่าต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งอาจส่งผลทางเศรษฐกิจน้อยเพราะกระจัดกระจายออกไป เช่น ขุดลอกคูคลอง ถนนปลอดฝุ่น เป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่าหรือส่อไปทางใช้เงินไม่เหมาะสม" นายกิตติรัตน์กล่าว.
***พาณิชย์ชงธงฟ้าหนุนกระตุ้นใช้จ่าย**
ด้าน นายยรรยง พวงราช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังตรวจสอบภาวะราคาสินค้าในห้างแมคโคร สาขาแจ้งวัฒนา เมื่อวันที่ 11 ก.ค.25556 ว่า ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) วันที่ 12 ก.ค.2556 ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมร่วมกับกระทรวงด้านเศรษฐกิจ กระทรวงพาณิชย์จะเสนอมาตรการในการดูแลค่าครองชีพโดยขอให้รัฐบาลเร่งกระตุ้นการบริโภคในประเทศ เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัวลง และระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย
ทั้งนี้ จะเสนอให้เพิ่มความถี่ในการจัดมหกรรมธงฟ้า เพื่อจำหน่ายสินค้าราคาพิเศษทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อภาคประชาชน และช่วยให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว
“ปัจจุบันภาวะราคาสินค้า ไม่น่ากังวล ไม่น่าจะมีการขยับราคาในช่วงนี้ เพราะคนระวังเรื่องการใช้จ่าย หลังวิตกภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง สินค้าถ้าจะขึ้นราคาก็เสี่ยงที่ผู้บริโภคจะหันไปซื้อยี่ห้ออื่นแทน โดยเชื่อว่า เงินเฟ้อทั้งปีจะขยายตัวประมาณ 2.7% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 2.8-3.4%”นายยรรยงกล่าว
***ธปท.ชี้เฟดป่วนไม่กระทบ ศก.ไทย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กลับลำส่งสัญญาณไม่หยุดการอัดฉีดปริมาณเงิน (คิวอี) ทำให้ตลาดเงินตลาดทุนโลกผันผวน แต่ไม่ถึงกับกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพรราะข้อมูลล่าสุดที่ ธปท.ได้จากการสำรวจคุณภาพหนี้ รวมถึงการค้างชำระหนี้ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอในปัจจุบันนั้น ประชาชนระมัดระวังหนี้ที่ต้องชำระ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เองก็ระวังการปล่อยสินเชื่อ ทำให้คุณภาพหนี้ไม่ได้มีปัญหาเพิ่มขึ้นมาก
“ตามจริงเฟดก็ส่งสัญญาณเช่นนี้มาตลอดว่าถ้าเศรษฐกิจเขาดีขึ้นจะค่อยๆ ลดการทำคิวอีอยู่แล้ว แต่วันนี้ (11 ก.ค.) ไม่รู้ว่าค่าเงินบาทที่ปรับแข็งค่าขึ้น หรือตลาดหุ้นปรับขึ้นนั้นมาจากสาเหตุจากเฟดหรือไม่ ธปท.คงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป” นายประสารกล่าว.
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังพิจารณามาตรการส่งเสริมธุรกิจบริการ และการส่งออกภาคบริการ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เห็นว่ายังมีมาตรการทางภาษีที่ดำเนินการได้ โดยจะหารือรายละเอียดกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสภาอุตสาหกรรมและสมาคมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยด้วย โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีการหารือกันในวันนี้ (12 ก.ค.) จะไม่เน้นอัดฉีดเงินออกสู่ระบบเพิ่มเติม เพราะช่วงปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินนโยบายกระตุ้นการอุปโภคบริโภคไปมากแล้ว แต่จะเน้นมาตรการที่ปรับสมดุลทางเศรษฐกิจผ่านการดูแลทางด้านอื่นๆ เช่น ด้านการลงทุนและสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว เพราะมีการเชื่อมโยงมาถึงการอุปโภคบริโภค รวมถึงทำให้มีการสร้างงานและการกระจายรายได้ตามมา
“มาตรการภาษีที่จำนำมาใช้ หมือนกับการให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนอุตสาหกรรมอื่นๆ ของบีโอไอ มากกว่าจะเป็นการให้สิทธิลดหย่อนเมื่อมีการเดินทางท่องเที่ยวเหมือนที่เคยใช้ในอดีต เพราะยังไม่ชัดเจนว่าช่วยให้เกิดผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจริง” นายกิตติรัตน์กล่าวและย้ำว่า เป็นแผนปรับสมดุลทางเศรษฐกิจมากกว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังไปได้ การขยายตัวในระดับ 4.5-5% ถ้าเทียบกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
โดยตามหลักแล้วการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะดำเนินการผ่านกลไกสำคัญ 4 ด้าน คือ การส่งออก การใช้จ่ายของรัฐบาล การลงทุนภาคเอกชน และการบริโภคของประชาชน ซึ่งการส่งออกก็ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ไม่เหมือนเดิมและโลกเปลี่ยนแปลงไปแล้วการส่งออกจึงอาจลดลงตามกระแสโลก
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนขณะนี้ก็เริ่มเห็นผลทางปฎิบัติแล้ว นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเร่งรัดให้เกิดขึ้นผ่านโครงการลงทุนป้องกันน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เพราะจะส่งผลดีในระยะยาวต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ดี การสร้างความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด จึงไม่อยากเห็นมีความขัดแย้งกันทางการเมือง
"หากประเมินโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งของรัฐบาลก่อนที่มีการใช้เงินไป 3.5 แสนล้านบาท จากเงินกู้ทั้งหมด 4 แสนล้านบาท โดยเงินที่เหลือ 5 หมื่นล้านบาทจะพับแผนไปไม่นำมาใช้ในโครงการใหม่เพราะถือเป็นคนละวัตถุประสงค์กัน โดยพบว่ากว่า 80% หรือ 3.5 หมื่นโครงการจากทั้งหมด 4 หมื่นกว่าโครงการ เป็นโครงการขนาดเล็กมูลค่าต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งอาจส่งผลทางเศรษฐกิจน้อยเพราะกระจัดกระจายออกไป เช่น ขุดลอกคูคลอง ถนนปลอดฝุ่น เป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่าหรือส่อไปทางใช้เงินไม่เหมาะสม" นายกิตติรัตน์กล่าว.
***พาณิชย์ชงธงฟ้าหนุนกระตุ้นใช้จ่าย**
ด้าน นายยรรยง พวงราช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังตรวจสอบภาวะราคาสินค้าในห้างแมคโคร สาขาแจ้งวัฒนา เมื่อวันที่ 11 ก.ค.25556 ว่า ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) วันที่ 12 ก.ค.2556 ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมร่วมกับกระทรวงด้านเศรษฐกิจ กระทรวงพาณิชย์จะเสนอมาตรการในการดูแลค่าครองชีพโดยขอให้รัฐบาลเร่งกระตุ้นการบริโภคในประเทศ เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัวลง และระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย
ทั้งนี้ จะเสนอให้เพิ่มความถี่ในการจัดมหกรรมธงฟ้า เพื่อจำหน่ายสินค้าราคาพิเศษทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อภาคประชาชน และช่วยให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว
“ปัจจุบันภาวะราคาสินค้า ไม่น่ากังวล ไม่น่าจะมีการขยับราคาในช่วงนี้ เพราะคนระวังเรื่องการใช้จ่าย หลังวิตกภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง สินค้าถ้าจะขึ้นราคาก็เสี่ยงที่ผู้บริโภคจะหันไปซื้อยี่ห้ออื่นแทน โดยเชื่อว่า เงินเฟ้อทั้งปีจะขยายตัวประมาณ 2.7% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 2.8-3.4%”นายยรรยงกล่าว
***ธปท.ชี้เฟดป่วนไม่กระทบ ศก.ไทย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กลับลำส่งสัญญาณไม่หยุดการอัดฉีดปริมาณเงิน (คิวอี) ทำให้ตลาดเงินตลาดทุนโลกผันผวน แต่ไม่ถึงกับกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพรราะข้อมูลล่าสุดที่ ธปท.ได้จากการสำรวจคุณภาพหนี้ รวมถึงการค้างชำระหนี้ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอในปัจจุบันนั้น ประชาชนระมัดระวังหนี้ที่ต้องชำระ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เองก็ระวังการปล่อยสินเชื่อ ทำให้คุณภาพหนี้ไม่ได้มีปัญหาเพิ่มขึ้นมาก
“ตามจริงเฟดก็ส่งสัญญาณเช่นนี้มาตลอดว่าถ้าเศรษฐกิจเขาดีขึ้นจะค่อยๆ ลดการทำคิวอีอยู่แล้ว แต่วันนี้ (11 ก.ค.) ไม่รู้ว่าค่าเงินบาทที่ปรับแข็งค่าขึ้น หรือตลาดหุ้นปรับขึ้นนั้นมาจากสาเหตุจากเฟดหรือไม่ ธปท.คงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป” นายประสารกล่าว.