เอเยนซี - เนวิน ชิดชอบ ประธาน “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แห่งศึก โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก หมดความอดทนตำหนิ วรวีร์ มะกูดี และสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ชนิดไม่มีชิ้นดีผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสโมสร ถึงเจตนาทุจริตไม่ยอมดำเนินการเลือกตั้งใหม่นายกสมาคมฯภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากกลัวความพ่ายแพ้จึงเลือกที่จะบิดพลิ้วนำ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟา) มาอ้างเพื่ออยู่เหนือกฎหมาย โดยส่วนตัวแล้วจะไม่ยอมให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในวงการอย่างแน่นอน พร้อมไขข้อข้องใจต่างๆ ที่ทุกคนสงสัย
วรวีร์ มะกูดี นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ไม่ยอมจัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งที่หมดวาระไปแล้วเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2556 โดยอ้างว่าต้องดำเนินตามธรรมนูญใหม่ที่ผ่านการรับรองจาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟา) ที่ให้ลดคะแนนเสียงสโมสรสมาชิกที่มีทั้งหมดประมาณ 179 เสียงเหลือเพียง 72 เสียง เรื่องจึงคาราคาซังยังไม่มีทีท่าว่าจบลง ร้อนถึง เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โจมตีการกระทำครั้งนี้ผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสโมสรทั้งหมด 26 ข้อ เริ่มด้วยข้อความดังต่อไปนี้
“นายวรวีร์ กับ สมาคมฟุตบอล จะอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้
พันธะผูกพัน สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย กับ กฎหมายไทย ที่ ฟีฟ่า ไม่เกี่ยว
เมื่อ วรวีร์ มะกูดี จงใจฉีกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 96
ผลที่จะตามมาคือ สมาคมฟุตบอล สิ้นสภาพ”แห่งประเทศไทย”
ส่วนกรณีที่ วรวีร์ อ้างว่ายังมีอำนาจรักษาการ เนวิน ไขข้อข้องใจว่า “โดยหลักปฏิบัติทั่วไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาการจะไม่ดำเนินการใดๆ ทั้งในเชิงนโยบาย และ การออกกฎ ข้อบังคับ หรือ ประกาศใดๆ ที่เป็นภาระผูกพันต่อเนื่อง จะรอให้ผู้บริหารที่จะเกิดขึ้นใหม่ หลังการเลือกตั้ง เป็นผู้ตัดสินใจ กำหนดนโยบาย และดำเนินการ”
พร้อมชี้ว่า “บังคับของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย พ.ศ.2546 (ฉบับปัจจุบัน) ข้อ 17.3 กำหนดไว้ เมื่อสภากรรมการ จะพ้นตำแหน่ง ให้นายกสมาคม จัดให้มีการประชุมใหญ่พิเศษ เพื่อเลือกตั้งนายกสมาคมฯ และแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ย่อมแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของข้อบังคับอยู่แล้วว่า รักษาการนายกสมาคม ควรจะปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ไม่เกิน 30 วัน ไม่ใช่มาอ้างกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 ว่ายังอยู่ไปได้เรื่อยๆ เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง กรณีนี้นายวรวีร์ ไม่ได้ทำตามข้อบังคับ ข้อ 17.3 คือไม่จัดให้มีการประชุมใหญ่พิเศษ เพื่อเลือกตั้งนายกสมาคมฯ และแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นตำแหน่ง คือ 16 มิถุนายน จึงสรุปได้เลยว่านายวรวีร์ จงใจละเว้นที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับ โดยมีเจตนาทุจริต เพื่อประโยชน์ของตัวเอง เพราะหากปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 17.3 แล้ว ปัญหาทั้งหมด ก็จะไม่เกิดขึ้น”
ส่วนเรื่องการเลือกตั้งที่หลายคนกำลังใจจดจ่อว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น ได้มีการยกข้อบังคับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ.2546 (ฉบับปัจจุบัน) ข้อ 21.1 เขียนไว้ว่า สภากรรมการจะจัดให้มีการประชุมใหญ่พิเศษตามความจำเป็นเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ในกรณีที่สมาชิกสามัญมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด มีหนังสือร้องขอ จะต้องให้มีการประชุมใหญ่พิเศษ ภายใน 21 วัน นับตั้งแต่วันที่สภากรรมการได้รับหนังสือร้องขอ คำร้องขอนี้สมาชิกสามัญจะต้องแจ้งญัตติที่จะเสนอต่อที่ประชุมให้สถากรรมการ ด้วย ในกรณีนี้ ปรากฎแล้วว่านายกสมาคม ไม่ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 17.3 ไม่เรียกประชุมใหญ่พิเศษ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งต้องทำก่อนพ้นวาระ คือวันที่ 16 มิถุนายน 2556 สมาชิกได้สอบถามแล้วก็เงียบ
การเลือกตั้งใดๆ ก็ตาม จะต้องยึดถือรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ประกาศ กติกา ข้อบังคับที่มีอยู่ ณ เวลานั้น ไม่เคยมีการเลือกตั้งครั้งใด ระดับใด ที่จะใช้กฎ กติกา ในอนาคต ที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากเสียงส่วนใหญ่จากที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกขององค์กรนั้นๆ โดยปกติ ก่อนการลงมติใดๆ ของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก จะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และอิสระ ปราศจากการชี้นำ แทรกแซงจากบุคคลใด หรือ องค์กรใด และที่ประชุมจะต้องรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นจะต้องไม่มีคำข่มขู่เกี่ยวกับการห้ามร่วมสังฆกรรมกับเวทีโลกไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้นอย่างที่ วรวีร์ พยายามกระทำอยู่ตอนนี้
สุดท้ายทางออกคือ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามในฐานะที่เป็นนิติบุคคลภายใต้กฎหมายไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าพนักงานรักษากฎหมาย จะต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะเข้าข่ายละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่ง เนวิน บอกจะดำเนินการตามกฎหมายกับเจ้าพนักงานเหล่านี้ พร้อมขอย้ำว่าจะต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายไทย เช่นเดียวกับที่ ฟีฟา ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่ตั้งของ ฟีฟา และ เอเอฟซี ต้องปฏิบัติตามกฎหมายมาเลเซีย ประเทศที่ตั้งของ เอเอฟซี
วรวีร์ มะกูดี นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ไม่ยอมจัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งที่หมดวาระไปแล้วเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2556 โดยอ้างว่าต้องดำเนินตามธรรมนูญใหม่ที่ผ่านการรับรองจาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟา) ที่ให้ลดคะแนนเสียงสโมสรสมาชิกที่มีทั้งหมดประมาณ 179 เสียงเหลือเพียง 72 เสียง เรื่องจึงคาราคาซังยังไม่มีทีท่าว่าจบลง ร้อนถึง เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โจมตีการกระทำครั้งนี้ผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสโมสรทั้งหมด 26 ข้อ เริ่มด้วยข้อความดังต่อไปนี้
“นายวรวีร์ กับ สมาคมฟุตบอล จะอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้
พันธะผูกพัน สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย กับ กฎหมายไทย ที่ ฟีฟ่า ไม่เกี่ยว
เมื่อ วรวีร์ มะกูดี จงใจฉีกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 96
ผลที่จะตามมาคือ สมาคมฟุตบอล สิ้นสภาพ”แห่งประเทศไทย”
ส่วนกรณีที่ วรวีร์ อ้างว่ายังมีอำนาจรักษาการ เนวิน ไขข้อข้องใจว่า “โดยหลักปฏิบัติทั่วไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาการจะไม่ดำเนินการใดๆ ทั้งในเชิงนโยบาย และ การออกกฎ ข้อบังคับ หรือ ประกาศใดๆ ที่เป็นภาระผูกพันต่อเนื่อง จะรอให้ผู้บริหารที่จะเกิดขึ้นใหม่ หลังการเลือกตั้ง เป็นผู้ตัดสินใจ กำหนดนโยบาย และดำเนินการ”
พร้อมชี้ว่า “บังคับของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย พ.ศ.2546 (ฉบับปัจจุบัน) ข้อ 17.3 กำหนดไว้ เมื่อสภากรรมการ จะพ้นตำแหน่ง ให้นายกสมาคม จัดให้มีการประชุมใหญ่พิเศษ เพื่อเลือกตั้งนายกสมาคมฯ และแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ย่อมแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของข้อบังคับอยู่แล้วว่า รักษาการนายกสมาคม ควรจะปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ไม่เกิน 30 วัน ไม่ใช่มาอ้างกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 ว่ายังอยู่ไปได้เรื่อยๆ เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง กรณีนี้นายวรวีร์ ไม่ได้ทำตามข้อบังคับ ข้อ 17.3 คือไม่จัดให้มีการประชุมใหญ่พิเศษ เพื่อเลือกตั้งนายกสมาคมฯ และแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นตำแหน่ง คือ 16 มิถุนายน จึงสรุปได้เลยว่านายวรวีร์ จงใจละเว้นที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับ โดยมีเจตนาทุจริต เพื่อประโยชน์ของตัวเอง เพราะหากปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 17.3 แล้ว ปัญหาทั้งหมด ก็จะไม่เกิดขึ้น”
ส่วนเรื่องการเลือกตั้งที่หลายคนกำลังใจจดจ่อว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น ได้มีการยกข้อบังคับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ.2546 (ฉบับปัจจุบัน) ข้อ 21.1 เขียนไว้ว่า สภากรรมการจะจัดให้มีการประชุมใหญ่พิเศษตามความจำเป็นเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ในกรณีที่สมาชิกสามัญมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด มีหนังสือร้องขอ จะต้องให้มีการประชุมใหญ่พิเศษ ภายใน 21 วัน นับตั้งแต่วันที่สภากรรมการได้รับหนังสือร้องขอ คำร้องขอนี้สมาชิกสามัญจะต้องแจ้งญัตติที่จะเสนอต่อที่ประชุมให้สถากรรมการ ด้วย ในกรณีนี้ ปรากฎแล้วว่านายกสมาคม ไม่ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 17.3 ไม่เรียกประชุมใหญ่พิเศษ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งต้องทำก่อนพ้นวาระ คือวันที่ 16 มิถุนายน 2556 สมาชิกได้สอบถามแล้วก็เงียบ
การเลือกตั้งใดๆ ก็ตาม จะต้องยึดถือรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ประกาศ กติกา ข้อบังคับที่มีอยู่ ณ เวลานั้น ไม่เคยมีการเลือกตั้งครั้งใด ระดับใด ที่จะใช้กฎ กติกา ในอนาคต ที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากเสียงส่วนใหญ่จากที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกขององค์กรนั้นๆ โดยปกติ ก่อนการลงมติใดๆ ของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก จะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และอิสระ ปราศจากการชี้นำ แทรกแซงจากบุคคลใด หรือ องค์กรใด และที่ประชุมจะต้องรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นจะต้องไม่มีคำข่มขู่เกี่ยวกับการห้ามร่วมสังฆกรรมกับเวทีโลกไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้นอย่างที่ วรวีร์ พยายามกระทำอยู่ตอนนี้
สุดท้ายทางออกคือ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามในฐานะที่เป็นนิติบุคคลภายใต้กฎหมายไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าพนักงานรักษากฎหมาย จะต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะเข้าข่ายละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่ง เนวิน บอกจะดำเนินการตามกฎหมายกับเจ้าพนักงานเหล่านี้ พร้อมขอย้ำว่าจะต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายไทย เช่นเดียวกับที่ ฟีฟา ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่ตั้งของ ฟีฟา และ เอเอฟซี ต้องปฏิบัติตามกฎหมายมาเลเซีย ประเทศที่ตั้งของ เอเอฟซี