โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
เป็นกระแสเกาะติดสถานการณ์ทางสังคมและอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคประชาชน สำหรับแนวคิดการทำร้านค้า โชวห่วย เป็นร้านโชว์สวย ที่มี MV โชว์สวย ออกมาสู่สังคมออนไลน์ โดยรมช. พาณิชย์ ได้ให้เกียรติร่วมแสดง MV ดังกล่าว และด้วยความสนใจใฝ่รู้ ว่าเหตุใด จึงมีแนวคิดจะปรับเปลี่ยนร้าน โชวห่วย เป็น โชว์สวย จึงทำให้ผู้เขียนต้องหาความรู้เกี่ยวกับที่มาของโชวห่วย
อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สันนิษฐานว่า โชวห่วย คำนี้น่าจะเป็นการผสมคำระหว่างคำว่า “Show” ในภาษาอังกฤษ กับคำว่า “ห่วย” ซึ่งหมายถึง แย่, เลว, ไม่ดี ในทางภาษาไทย แล้วเผอิญเสียงไปพ้องกับภาษาฮกเกี้ยน (อ้างอิงจากสารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย) จากการสืบค้นความหมายและที่มาของคำว่า โชวห่วย พบว่า เป็นคำที่มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน สำหรับเรียกร้านขายของชำ สะดวกซื้อ สารพัดสิ่งที่มีลักษณะอยู่ในตึกแถวหนึ่งห้องโดยมากเป็นกิจการในความหมายของ คนไทย โชวห่วย คือร้านขายของชำ (แบบร้านจีฉ่อย) สันนิษฐานว่ามาจากภาษาจีนเขียนว่า 粗货 ออกเสียงจีนกลางว่า “ชู ฮั่ว” ( ชู - 粗 หมายถึงใหญ่ๆ หรือหยาบ, ฮั่ว - 货 หมายถึง สินค้า, แปลรวมความ หมายถึงว่า มีของขายเยอะแยะมากมาย) ส่วนสำเนียงจีนฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นชาวจีนที่มาค้าขายในยุคบุกเบิกรุ่นแรกในไทยแถบปีนัง มาเลย์และภูเก็ต ออกเสียงว่า โชวฮ่วย หรือ ชุกห่วย จึงสรุปได้ว่าโชวห่วย เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน หมายถึงร้านขายของชำ มีสินค้าหลายแบบโดยทำเป็นกิจการในครอบครัว
ผู้เขียน มีความคิดเห็นต่อแนวคิดการใช้ภาษากับแนวคิดนโยบายทางการเมือง สองสิ่งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน แต่ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารที่ชัดเจนควรสื่อความหมายให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร การสื่อสารที่ดีจะต้องไม่เป็นนัยหรือสื่อความไปไม่ตรงวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นด้วยในหลักคิดเพื่อช่วยเหลือร้านโชวห่วยให้สามารถประคับประคองกิจกรรมได้ แต่ลักษณะของการใช้ภาษา ไม่ควรเปลี่ยนหรือเลียนแบบคำศัพท์หนึ่งเพื่อไปใช้แทนคำศัพท์หนึ่ง ซึ่งมีความหมายต่างกัน โดยเฉพาะการศึกษาจากรากศัพท์หรือความเป็นมาของคำนั้นๆ ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดในการสื่อสาร โดยเฉพาะจะมีผลกระทบกับคนรุ่นใหม่รุ่นต่อไปที่ไม่ได้ศึกษาที่มาหรือประวัติของคำศัพท์นั้นๆ ด้วยดี
อีกประการหนึ่ง หากจะพิจารณาจากแนวคิดการเปลี่ยนร้านโชวห่วย เป็นร้านโชว์สวย เพื่อช่วยเหลือร้านโชวห่วยที่กำลังประสบปัญหาพ่ายแพ้ต่อระบบทุนนิยมข้ามชาติและร้านสะดวกซื้อที่ระบาดทุกพื้นที่ มีเกือบทุกอย่างในชีวิตประจำวันของผู้คน คือระบบกลไกตลาด โดยเฉพาะระบบการตลาดส่วนใหญ่ที่ให้โอกาสนายทุน มุ่งหวังผลกำไรมากกว่าคิดถึงคุณภาพชีวิตและเงินในกระเป๋าของเพื่อนร่วมชาติ และหากจะทำการพิจารณาแผนการตลาด ผู้เขียนคิดเห็นว่า ร้านโชวห่วย ส่วนใหญ่ทราบโดยหลักการว่า หลักการตลาดที่ดี ควรใช้กลยุทธ์พื้นฐาน 4 P คือ Product Price Place Promotion ต่างแต่เงินทุนสำหรับการแข่งขันของร้านโชวห่วย ต่างจากห้างร้านขนาดใหญ่และมีพื้นที่จำกัด รวมทั้งกิจการของโชวห่วยที่เป็นอยู่ มุ่งหวังแค่ประกอบการค้าภาคครัวเรือน มีกำไรพอเลี้ยงตัวและมีความสุขในตรอกซอกซอย
โชวห่วย ในความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน ว่าโชวห่วยมีเสน่ห์ตรงที่การมีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและเป็นมิตรระหว่างเจ้าของร้านกับผู้คนในชุมชน ซึ่งสามารถหยิบยืมหรือแปะโป้ง (ติดหนี้) ได้บ้าง กรณีเร่งด่วนหรือไม่มีเงินสด แล้วค่อยชำระภายหลัง บรรยากาศของโชวห่วยเหล่านี้ จึงเป็นมิติความสัมพันธ์ทางสังคมระดับบุคคลอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจหาได้น้อยในสังคมยุคเศรษฐกิจวัตถุนิยมนำหน้า จึงต้องเลือกชั่งน้ำหนักระหว่างความเจริญหรือความร่ำรวยทางวัตถุกับความสุขแห่งความสัมพันธ์ของบุคคลในชุมชน เพราะโชวห่วยที่เห็นและเป็นอยู่เพียงปรับตัวสักนิดคิดนอกกรอบสักหน่อย ไม่ต้องกลายเป็นโชว์สวยก็ได้ เพราะจุดเด่นของโชวห่วยมีอยู่แล้ว
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
เป็นกระแสเกาะติดสถานการณ์ทางสังคมและอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคประชาชน สำหรับแนวคิดการทำร้านค้า โชวห่วย เป็นร้านโชว์สวย ที่มี MV โชว์สวย ออกมาสู่สังคมออนไลน์ โดยรมช. พาณิชย์ ได้ให้เกียรติร่วมแสดง MV ดังกล่าว และด้วยความสนใจใฝ่รู้ ว่าเหตุใด จึงมีแนวคิดจะปรับเปลี่ยนร้าน โชวห่วย เป็น โชว์สวย จึงทำให้ผู้เขียนต้องหาความรู้เกี่ยวกับที่มาของโชวห่วย
อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สันนิษฐานว่า โชวห่วย คำนี้น่าจะเป็นการผสมคำระหว่างคำว่า “Show” ในภาษาอังกฤษ กับคำว่า “ห่วย” ซึ่งหมายถึง แย่, เลว, ไม่ดี ในทางภาษาไทย แล้วเผอิญเสียงไปพ้องกับภาษาฮกเกี้ยน (อ้างอิงจากสารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย) จากการสืบค้นความหมายและที่มาของคำว่า โชวห่วย พบว่า เป็นคำที่มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน สำหรับเรียกร้านขายของชำ สะดวกซื้อ สารพัดสิ่งที่มีลักษณะอยู่ในตึกแถวหนึ่งห้องโดยมากเป็นกิจการในความหมายของ คนไทย โชวห่วย คือร้านขายของชำ (แบบร้านจีฉ่อย) สันนิษฐานว่ามาจากภาษาจีนเขียนว่า 粗货 ออกเสียงจีนกลางว่า “ชู ฮั่ว” ( ชู - 粗 หมายถึงใหญ่ๆ หรือหยาบ, ฮั่ว - 货 หมายถึง สินค้า, แปลรวมความ หมายถึงว่า มีของขายเยอะแยะมากมาย) ส่วนสำเนียงจีนฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นชาวจีนที่มาค้าขายในยุคบุกเบิกรุ่นแรกในไทยแถบปีนัง มาเลย์และภูเก็ต ออกเสียงว่า โชวฮ่วย หรือ ชุกห่วย จึงสรุปได้ว่าโชวห่วย เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน หมายถึงร้านขายของชำ มีสินค้าหลายแบบโดยทำเป็นกิจการในครอบครัว
ผู้เขียน มีความคิดเห็นต่อแนวคิดการใช้ภาษากับแนวคิดนโยบายทางการเมือง สองสิ่งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน แต่ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารที่ชัดเจนควรสื่อความหมายให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร การสื่อสารที่ดีจะต้องไม่เป็นนัยหรือสื่อความไปไม่ตรงวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นด้วยในหลักคิดเพื่อช่วยเหลือร้านโชวห่วยให้สามารถประคับประคองกิจกรรมได้ แต่ลักษณะของการใช้ภาษา ไม่ควรเปลี่ยนหรือเลียนแบบคำศัพท์หนึ่งเพื่อไปใช้แทนคำศัพท์หนึ่ง ซึ่งมีความหมายต่างกัน โดยเฉพาะการศึกษาจากรากศัพท์หรือความเป็นมาของคำนั้นๆ ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดในการสื่อสาร โดยเฉพาะจะมีผลกระทบกับคนรุ่นใหม่รุ่นต่อไปที่ไม่ได้ศึกษาที่มาหรือประวัติของคำศัพท์นั้นๆ ด้วยดี
อีกประการหนึ่ง หากจะพิจารณาจากแนวคิดการเปลี่ยนร้านโชวห่วย เป็นร้านโชว์สวย เพื่อช่วยเหลือร้านโชวห่วยที่กำลังประสบปัญหาพ่ายแพ้ต่อระบบทุนนิยมข้ามชาติและร้านสะดวกซื้อที่ระบาดทุกพื้นที่ มีเกือบทุกอย่างในชีวิตประจำวันของผู้คน คือระบบกลไกตลาด โดยเฉพาะระบบการตลาดส่วนใหญ่ที่ให้โอกาสนายทุน มุ่งหวังผลกำไรมากกว่าคิดถึงคุณภาพชีวิตและเงินในกระเป๋าของเพื่อนร่วมชาติ และหากจะทำการพิจารณาแผนการตลาด ผู้เขียนคิดเห็นว่า ร้านโชวห่วย ส่วนใหญ่ทราบโดยหลักการว่า หลักการตลาดที่ดี ควรใช้กลยุทธ์พื้นฐาน 4 P คือ Product Price Place Promotion ต่างแต่เงินทุนสำหรับการแข่งขันของร้านโชวห่วย ต่างจากห้างร้านขนาดใหญ่และมีพื้นที่จำกัด รวมทั้งกิจการของโชวห่วยที่เป็นอยู่ มุ่งหวังแค่ประกอบการค้าภาคครัวเรือน มีกำไรพอเลี้ยงตัวและมีความสุขในตรอกซอกซอย
โชวห่วย ในความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน ว่าโชวห่วยมีเสน่ห์ตรงที่การมีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและเป็นมิตรระหว่างเจ้าของร้านกับผู้คนในชุมชน ซึ่งสามารถหยิบยืมหรือแปะโป้ง (ติดหนี้) ได้บ้าง กรณีเร่งด่วนหรือไม่มีเงินสด แล้วค่อยชำระภายหลัง บรรยากาศของโชวห่วยเหล่านี้ จึงเป็นมิติความสัมพันธ์ทางสังคมระดับบุคคลอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจหาได้น้อยในสังคมยุคเศรษฐกิจวัตถุนิยมนำหน้า จึงต้องเลือกชั่งน้ำหนักระหว่างความเจริญหรือความร่ำรวยทางวัตถุกับความสุขแห่งความสัมพันธ์ของบุคคลในชุมชน เพราะโชวห่วยที่เห็นและเป็นอยู่เพียงปรับตัวสักนิดคิดนอกกรอบสักหน่อย ไม่ต้องกลายเป็นโชว์สวยก็ได้ เพราะจุดเด่นของโชวห่วยมีอยู่แล้ว