โดย...วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน
1. ข้อสังเกตการก่อหนี้สาธารณะในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ประการแรก ประเทศไทยมีการก่อหนี้สาธารณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่างๆ และได้วางแบบแผนการกู้ยืมปฏิบัติสืบเนื่องกันมา โครงการเงินกู้ต่างๆ ต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและสังคม มีการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างชัดเจนสมบูรณ์ครบถ้วน ต่อมาเพิ่มการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ง่ายต่อการตรวจสอบและติดตามผลในภายหลัง
แต่ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการฉวยโอกาสความเดือดร้อนของประชาชนจากน้ำท่วมปี 2554 เป็นข้ออ้างในการออก พ.ร.ก. 3.5 แสนล้านบาท เพื่อวางระบบป้องกันน้ำท่วมอย่างเร่งด่วนในลักษณะนอกงบประมาณแบบเหมาจ่าย โดยไม่มีรายละเอียดการก่อสร้างใดๆ ทั้งสิ้น
ส่วนการออก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ก็อาศัยความล้าหลังนับ 100 ปีของระบบขนส่งทางรางและความโหยหาของผู้ประกอบการเป็นข้ออ้างในการออก พ.ร.บ.กู้เงินนอกงบประมาณเช่นกัน ทั้งๆ ที่ร้อยละ 70 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดยังไม่พร้อมหรือขาดการศึกษาความเป็นไปได้
ประการที่สอง มีการประเมินว่าปัจจุบันอัตราการโกงกินเงินแผ่นดินในโครงการก่อสร้างสูงถึงร้อยละ 30 นั่นหมายถึงว่าเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทจะมีการรั่วไหลไปอยู่ในกระเป๋านักการเมืองและบริวารไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนล้านบาท เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทจะมีเงินรั่วไหลถึง 6 แสนล้านบาท ช่างเป็นผลประโยชน์ที่หอมหวานยวนยั่วกิเลสเป็นนักหนา!
ประการที่สาม การกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทก้อนนี้มีปมเงื่อนที่ผูกมัดเศรษฐกิจให้เดินไปสู่วิกฤต คือกำหนดว่าต้องกู้หนี้ก้อนนี้ให้แล้วเสร็จใน 7 ปี มีมติ ครม.กำหนดใช้คืนภายใน 50 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีตลอด 50 ปี จะมีภาระเฉพาะดอกเบี้ยสูงถึง 3 ล้านล้านบาท ยอดรวมภาระหนี้ที่แท้จริงทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจะสูงถึง 5 ล้านล้านบาท และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุก 1% ภาระหนี้จะเพิ่มขึ้น 6 แสนล้านบาท นั่นหมายความว่าภาระหนี้ของไทยอาจเพิ่มเป็น 6 หรือ 7 ล้านล้านบาท เมื่ออัตราดอกเบี้ยขยับสูงกว่าร้อยละ 5
ประการที่สี่ ข้อสมมติต่างๆ ที่รัฐบาลใช้ประมาณการความสามารถในการชำระหนี้ดูจะมองโลกในแง่ดีมาก เช่น อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกจะอยู่ในระดับต่ำตลอดไป อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปีตลอดช่วง 50 ปีข้างหน้า
แท้จริงแล้วเศรษฐกิจในช่วง 50 ปีข้างหน้าสุดปัญญาที่ผู้ใดจะหยั่งรู้ได้ มองย้อนอดีตที่ผ่านไปไม่นานแน่นอนกว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2551-2555) เศรษฐกิจไทยและโลกเกิดวิกฤตอย่างน้อย 4 รอบ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจไทย อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงดังกล่าวเฉลี่ยไม่ถึง 4.5 ทั้งๆ ที่ใช้เงินจำนวนมากอัดฉีดโครงการประชานิยมกระตุ้นเศรษฐกิจ วิกฤตเหล่านี้ได้แก่ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกา การก่อม็อบเผาบ้านเผาเมืองของไทยในปี 2553 น้ำท่วมในปี 2554 และวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปในปี 2554 ดังนั้นในวันข้างหน้าถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ภาระหนี้จะพุ่งสูงขึ้นทันที จนเกิดวิกฤตได้
ประการที่ห้า แม้ว่าการขนส่งทางรางจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในภูมิภาคก็ตาม แต่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงซึ่งใช้ต้นทุนสูง ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจว่าคุ้มกับการลงทุนจำนวนมหาศาลหรือไม่ หากไม่คุ้มทุนก็ไม่ควรสร้าง การสร้างหนี้สาธารณะแบบไม่ลืมหูลืมตา วันหนึ่งข้างหน้าประเทศแบกรับภาระขาดทุนไม่ไหว นำประเทศเข้าสู่ภาวะล้มละลายทางการคลัง แล้วจะต้องนำระบบรถไฟความเร็วสูงออกขายเลหลังให้นายทุนต่างชาติ ดังเช่นกรณีประเทศกรีซที่กำลังเตรียมการอยู่ คนไทยมีแต่เสียไม่มีได้
ประการที่หก หน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจไทยยังขาดความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจขนาดใหญ่ เราเห็นโครงการขนาดใหญ่ที่ล้มเหลวมากมาย ตั้งแต่ Hopewell, Airport Link, โครงการรับจำนำข้าว การลงทุนขนาดใหญ่ถึง 2 ล้านล้านบาทจะประสบความสำเร็จได้ หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบจะต้องมีความสามารถอย่างสูงในการบริหารโครงการ
วิธีการที่ดีกว่าคือเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเข้ามาร่วมลงทุนร่วมบริหารจัดการ ร่วมรับความเสี่ย ตามความเหมาะสมเป็นรายโครงการ อย่างเช่นกลไกแบบ Public-Private sector Partnership (PPP) ความคุ้มค่าของการลงทุนเฉพาะโครงการเชิงพาณิชย์จะขึ้นอยู่กับรายได้ที่แต่ละโครงการจะสร้างขึ้นมา ซึ่งภาคธุรกิจเอกชนมีประสบการณ์มากกว่า หรือการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) ซึ่งเป็นกลไกที่จะลดภาระหนี้ของรัฐบาล ส่วนภาครัฐควรรับบทบาทการวางแผน การตัดสินใจลงทุน และการบริหารเงินกู้รายโครงการ โดยต้องประเมินความสามารถในการรับภาระหนี้สาธารณะของประเทศอย่างใกล้ชิด
ประการที่เจ็ด สังคมไทยมิใช่มีแต่ปัญหาความล้าหลังด้านระบบการขนส่งและคมนาคมเท่านั้น เรายังมีความล้าหลังด้านการศึกษา การสาธารณสุข ระบบสวัสดิการสังคม และการป้องกันประเทศ การใช้จ่ายภาครัฐจึงต้องดูแลบริการสาธารณะด้านต่างๆ ให้สมดุลอย่างสม่ำเสมอ
การสร้างภาระหนี้สาธารณะรวดเดียวนับ 5-6 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาระบบขนส่งและคมนาคมเพียงด้านเดียว จะไม่มีงบประมาณเหลือ (หลังหักงบใช้หนี้รายปี) สำหรับการใช้จ่ายพัฒนาในด้านอื่น นับเป็นการกระทำของรัฐบาลที่คับแคบ ในอนาคตแม้แต่การกู้ตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ก็ไม่อาจกระทำได้ ปิดโอกาสรัฐบาลในอนาคตในการกู้เงิน (ยกเว้นการกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้) เพราะระบบเศรษฐกิจไทยมิได้มีขนาดใหญ่โตพอที่จะแบกรับภาระหนี้ที่เกินตัวเช่นนี้ หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ตาม พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก.ฉบับไหนก็ตาม การชำระหนี้ก็ต้องมาจากแหล่งเดียวกันนั่นคือภาษีที่เก็บจากประชาชน
ประการสุดท้าย ที่น่าวิตกที่สุดคือความเบาปัญญาของผู้นำบริหารประเทศ ซึ่งท่องอยู่แต่ว่าไม่มีใครไล่ฉันได้ เพราะพี่ชายฉันกุมอำนาจทุกอย่างได้หมด
2. หากเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ...คนไทยจะได้รับผลกระทบเช่นไร
จากการศึกษากลุ่มประเทศ PIIGS ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านการคลังและหนี้สาธารณะจนล้มละลาย เป็นสัจธรรมที่ชี้ให้เห็นว่าประชานิยมเกิดขึ้นได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น ต่อให้เป็นคนกลุ่มเดิมอยู่ในอำนาจบริหารต่อไป ก็ไม่สามารถเสกเป่าเงินตรามาแจกชาวนา/คนจน/คนหิวเงินได้ตลอดไป การใช้จ่ายเกินตัวและกู้ใครไม่ได้แล้ว ก็จะต้องยุติการแจกเงินหรือบริการฟรีทั้งหลาย ตั้งแต่การเรียนของบุตรหลาน การรักษาพยาบาล การพักหนี้ การรับชดเชยอุทกภัย การพยุงราคาพืชผล ฯลฯ
เมื่อนั้นจะพบว่าคนยากจนจะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกทิ้งให้เดือดร้อน เพราะที่ผ่านมาใช้สูตรสำเร็จในการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะ นั่นคือ ตัดลดงบประมาณรายจ่ายอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบด้านสวัสดิการสังคม มีการยุติบริการสาธารณะฟรีและสวัสดิการต่างๆ ขณะเดียวกัน เพิ่มภาษี เพิ่มค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ทำให้ความเดือดร้อนกระจายสู่กลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง
ถึงเวลานั้นผู้บริหารประเทศจะท่องแต่ประโยคว่า “เราทุกคนต้องเสียสละ” แต่ในความเป็นจริงคนยากจนและแรงงานต้องเสียสละก่อนใคร อัตราการว่างงานจะพุ่งสูง คนยากจนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงขึ้น ประชาชนแทบทุกกลุ่มจะเดือดร้อนหนักกว่าคราววิกฤตต้มยำกุ้งอย่างเทียบกันไม่ได้!
คนไทยทุกหมู่เหล่าจึงควรตั้งสติและควรตั้งคำถามกับตนเอง (ไม่ต้องถามรัฐบาลเพราะมีแต่คำโกหก) เสียแต่บัดนี้ว่า
จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ทำไมต้องใช้วิธีสุ่มเสี่ยงต่อการกระชากลากเอาประเทศชาติไปสู่หุบเหววิกฤตหนี้สาธารณะ
จะช่วยชาวนาพ้นจากความยากจน ในการรับจำนำข้าว ทำไมต้องทำลายคุณภาพข้าวทั้งแผ่นดินและตลาดข้าวส่งออกทั้งหมดไปด้วย ทำไมต้องขาดทุน 2-3 แสนล้านบาท เฉลี่ยเท่ากับขาดทุนอย่างต่ำนับสิบล้านบาทต่อชาวนาหนึ่งครัวเรือน แต่ชาวนาได้รับประโยชน์จริงเฉลี่ยต่อครัวเรือนไม่ถึง 1 ล้านบาท เงินก้อนใหญ่กว่าหายไปไหน
จะป้องกันจากภัยน้ำท่วม ทำไมต้องผลาญเงินถึง 3.5 แสนล้านบาท ทั้งๆ ที่ผู้รู้ย้ำว่ามีวิธีที่ป้องกันได้ดีกว่า แต่ใช้งบประมาณน้อยกว่า
งบแผ่นดินและเงินกู้มิใช่แบงก์กงเต๊ก อย่าทำตัวเป็นผีเปรต เร่งถลุงให้หมดไวๆ ดุจการเผาแบงก์กงเต๊ก เอ๊ะ...หรือพวกนี้เป็นผีเปรตแฝงตัวมา
1. ข้อสังเกตการก่อหนี้สาธารณะในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ประการแรก ประเทศไทยมีการก่อหนี้สาธารณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่างๆ และได้วางแบบแผนการกู้ยืมปฏิบัติสืบเนื่องกันมา โครงการเงินกู้ต่างๆ ต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและสังคม มีการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างชัดเจนสมบูรณ์ครบถ้วน ต่อมาเพิ่มการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ง่ายต่อการตรวจสอบและติดตามผลในภายหลัง
แต่ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการฉวยโอกาสความเดือดร้อนของประชาชนจากน้ำท่วมปี 2554 เป็นข้ออ้างในการออก พ.ร.ก. 3.5 แสนล้านบาท เพื่อวางระบบป้องกันน้ำท่วมอย่างเร่งด่วนในลักษณะนอกงบประมาณแบบเหมาจ่าย โดยไม่มีรายละเอียดการก่อสร้างใดๆ ทั้งสิ้น
ส่วนการออก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ก็อาศัยความล้าหลังนับ 100 ปีของระบบขนส่งทางรางและความโหยหาของผู้ประกอบการเป็นข้ออ้างในการออก พ.ร.บ.กู้เงินนอกงบประมาณเช่นกัน ทั้งๆ ที่ร้อยละ 70 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดยังไม่พร้อมหรือขาดการศึกษาความเป็นไปได้
ประการที่สอง มีการประเมินว่าปัจจุบันอัตราการโกงกินเงินแผ่นดินในโครงการก่อสร้างสูงถึงร้อยละ 30 นั่นหมายถึงว่าเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทจะมีการรั่วไหลไปอยู่ในกระเป๋านักการเมืองและบริวารไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนล้านบาท เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทจะมีเงินรั่วไหลถึง 6 แสนล้านบาท ช่างเป็นผลประโยชน์ที่หอมหวานยวนยั่วกิเลสเป็นนักหนา!
ประการที่สาม การกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทก้อนนี้มีปมเงื่อนที่ผูกมัดเศรษฐกิจให้เดินไปสู่วิกฤต คือกำหนดว่าต้องกู้หนี้ก้อนนี้ให้แล้วเสร็จใน 7 ปี มีมติ ครม.กำหนดใช้คืนภายใน 50 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีตลอด 50 ปี จะมีภาระเฉพาะดอกเบี้ยสูงถึง 3 ล้านล้านบาท ยอดรวมภาระหนี้ที่แท้จริงทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจะสูงถึง 5 ล้านล้านบาท และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุก 1% ภาระหนี้จะเพิ่มขึ้น 6 แสนล้านบาท นั่นหมายความว่าภาระหนี้ของไทยอาจเพิ่มเป็น 6 หรือ 7 ล้านล้านบาท เมื่ออัตราดอกเบี้ยขยับสูงกว่าร้อยละ 5
ประการที่สี่ ข้อสมมติต่างๆ ที่รัฐบาลใช้ประมาณการความสามารถในการชำระหนี้ดูจะมองโลกในแง่ดีมาก เช่น อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกจะอยู่ในระดับต่ำตลอดไป อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปีตลอดช่วง 50 ปีข้างหน้า
แท้จริงแล้วเศรษฐกิจในช่วง 50 ปีข้างหน้าสุดปัญญาที่ผู้ใดจะหยั่งรู้ได้ มองย้อนอดีตที่ผ่านไปไม่นานแน่นอนกว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2551-2555) เศรษฐกิจไทยและโลกเกิดวิกฤตอย่างน้อย 4 รอบ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจไทย อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงดังกล่าวเฉลี่ยไม่ถึง 4.5 ทั้งๆ ที่ใช้เงินจำนวนมากอัดฉีดโครงการประชานิยมกระตุ้นเศรษฐกิจ วิกฤตเหล่านี้ได้แก่ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกา การก่อม็อบเผาบ้านเผาเมืองของไทยในปี 2553 น้ำท่วมในปี 2554 และวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปในปี 2554 ดังนั้นในวันข้างหน้าถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ภาระหนี้จะพุ่งสูงขึ้นทันที จนเกิดวิกฤตได้
ประการที่ห้า แม้ว่าการขนส่งทางรางจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในภูมิภาคก็ตาม แต่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงซึ่งใช้ต้นทุนสูง ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจว่าคุ้มกับการลงทุนจำนวนมหาศาลหรือไม่ หากไม่คุ้มทุนก็ไม่ควรสร้าง การสร้างหนี้สาธารณะแบบไม่ลืมหูลืมตา วันหนึ่งข้างหน้าประเทศแบกรับภาระขาดทุนไม่ไหว นำประเทศเข้าสู่ภาวะล้มละลายทางการคลัง แล้วจะต้องนำระบบรถไฟความเร็วสูงออกขายเลหลังให้นายทุนต่างชาติ ดังเช่นกรณีประเทศกรีซที่กำลังเตรียมการอยู่ คนไทยมีแต่เสียไม่มีได้
ประการที่หก หน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจไทยยังขาดความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจขนาดใหญ่ เราเห็นโครงการขนาดใหญ่ที่ล้มเหลวมากมาย ตั้งแต่ Hopewell, Airport Link, โครงการรับจำนำข้าว การลงทุนขนาดใหญ่ถึง 2 ล้านล้านบาทจะประสบความสำเร็จได้ หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบจะต้องมีความสามารถอย่างสูงในการบริหารโครงการ
วิธีการที่ดีกว่าคือเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเข้ามาร่วมลงทุนร่วมบริหารจัดการ ร่วมรับความเสี่ย ตามความเหมาะสมเป็นรายโครงการ อย่างเช่นกลไกแบบ Public-Private sector Partnership (PPP) ความคุ้มค่าของการลงทุนเฉพาะโครงการเชิงพาณิชย์จะขึ้นอยู่กับรายได้ที่แต่ละโครงการจะสร้างขึ้นมา ซึ่งภาคธุรกิจเอกชนมีประสบการณ์มากกว่า หรือการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) ซึ่งเป็นกลไกที่จะลดภาระหนี้ของรัฐบาล ส่วนภาครัฐควรรับบทบาทการวางแผน การตัดสินใจลงทุน และการบริหารเงินกู้รายโครงการ โดยต้องประเมินความสามารถในการรับภาระหนี้สาธารณะของประเทศอย่างใกล้ชิด
ประการที่เจ็ด สังคมไทยมิใช่มีแต่ปัญหาความล้าหลังด้านระบบการขนส่งและคมนาคมเท่านั้น เรายังมีความล้าหลังด้านการศึกษา การสาธารณสุข ระบบสวัสดิการสังคม และการป้องกันประเทศ การใช้จ่ายภาครัฐจึงต้องดูแลบริการสาธารณะด้านต่างๆ ให้สมดุลอย่างสม่ำเสมอ
การสร้างภาระหนี้สาธารณะรวดเดียวนับ 5-6 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาระบบขนส่งและคมนาคมเพียงด้านเดียว จะไม่มีงบประมาณเหลือ (หลังหักงบใช้หนี้รายปี) สำหรับการใช้จ่ายพัฒนาในด้านอื่น นับเป็นการกระทำของรัฐบาลที่คับแคบ ในอนาคตแม้แต่การกู้ตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ก็ไม่อาจกระทำได้ ปิดโอกาสรัฐบาลในอนาคตในการกู้เงิน (ยกเว้นการกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้) เพราะระบบเศรษฐกิจไทยมิได้มีขนาดใหญ่โตพอที่จะแบกรับภาระหนี้ที่เกินตัวเช่นนี้ หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ตาม พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก.ฉบับไหนก็ตาม การชำระหนี้ก็ต้องมาจากแหล่งเดียวกันนั่นคือภาษีที่เก็บจากประชาชน
ประการสุดท้าย ที่น่าวิตกที่สุดคือความเบาปัญญาของผู้นำบริหารประเทศ ซึ่งท่องอยู่แต่ว่าไม่มีใครไล่ฉันได้ เพราะพี่ชายฉันกุมอำนาจทุกอย่างได้หมด
2. หากเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ...คนไทยจะได้รับผลกระทบเช่นไร
จากการศึกษากลุ่มประเทศ PIIGS ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านการคลังและหนี้สาธารณะจนล้มละลาย เป็นสัจธรรมที่ชี้ให้เห็นว่าประชานิยมเกิดขึ้นได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น ต่อให้เป็นคนกลุ่มเดิมอยู่ในอำนาจบริหารต่อไป ก็ไม่สามารถเสกเป่าเงินตรามาแจกชาวนา/คนจน/คนหิวเงินได้ตลอดไป การใช้จ่ายเกินตัวและกู้ใครไม่ได้แล้ว ก็จะต้องยุติการแจกเงินหรือบริการฟรีทั้งหลาย ตั้งแต่การเรียนของบุตรหลาน การรักษาพยาบาล การพักหนี้ การรับชดเชยอุทกภัย การพยุงราคาพืชผล ฯลฯ
เมื่อนั้นจะพบว่าคนยากจนจะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกทิ้งให้เดือดร้อน เพราะที่ผ่านมาใช้สูตรสำเร็จในการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะ นั่นคือ ตัดลดงบประมาณรายจ่ายอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบด้านสวัสดิการสังคม มีการยุติบริการสาธารณะฟรีและสวัสดิการต่างๆ ขณะเดียวกัน เพิ่มภาษี เพิ่มค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ทำให้ความเดือดร้อนกระจายสู่กลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง
ถึงเวลานั้นผู้บริหารประเทศจะท่องแต่ประโยคว่า “เราทุกคนต้องเสียสละ” แต่ในความเป็นจริงคนยากจนและแรงงานต้องเสียสละก่อนใคร อัตราการว่างงานจะพุ่งสูง คนยากจนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงขึ้น ประชาชนแทบทุกกลุ่มจะเดือดร้อนหนักกว่าคราววิกฤตต้มยำกุ้งอย่างเทียบกันไม่ได้!
คนไทยทุกหมู่เหล่าจึงควรตั้งสติและควรตั้งคำถามกับตนเอง (ไม่ต้องถามรัฐบาลเพราะมีแต่คำโกหก) เสียแต่บัดนี้ว่า
จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ทำไมต้องใช้วิธีสุ่มเสี่ยงต่อการกระชากลากเอาประเทศชาติไปสู่หุบเหววิกฤตหนี้สาธารณะ
จะช่วยชาวนาพ้นจากความยากจน ในการรับจำนำข้าว ทำไมต้องทำลายคุณภาพข้าวทั้งแผ่นดินและตลาดข้าวส่งออกทั้งหมดไปด้วย ทำไมต้องขาดทุน 2-3 แสนล้านบาท เฉลี่ยเท่ากับขาดทุนอย่างต่ำนับสิบล้านบาทต่อชาวนาหนึ่งครัวเรือน แต่ชาวนาได้รับประโยชน์จริงเฉลี่ยต่อครัวเรือนไม่ถึง 1 ล้านบาท เงินก้อนใหญ่กว่าหายไปไหน
จะป้องกันจากภัยน้ำท่วม ทำไมต้องผลาญเงินถึง 3.5 แสนล้านบาท ทั้งๆ ที่ผู้รู้ย้ำว่ามีวิธีที่ป้องกันได้ดีกว่า แต่ใช้งบประมาณน้อยกว่า
งบแผ่นดินและเงินกู้มิใช่แบงก์กงเต๊ก อย่าทำตัวเป็นผีเปรต เร่งถลุงให้หมดไวๆ ดุจการเผาแบงก์กงเต๊ก เอ๊ะ...หรือพวกนี้เป็นผีเปรตแฝงตัวมา