สุทธิพงษ์ปรัชญพฤทธิ์
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com
ต้นปี 2556 มีการพูดถึงค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อกันบ่อย เป็นการกล่าวถึงช่วงสั้นๆ ช่วงเฉพาะหน้าส่วนใหญ่นำเสนอไม่ครบถ้วนกระบวนความ หรือทำแบบพอให้ผ่านไป ทำให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
บอกว่าอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้เงินทุนไหลเข้า ทำให้เงินบาทแข็งค่า ทำให้การส่งออกมีปัญหา อีกฝ่ายบอกว่าอัตราดอกเบี้ยระดับสูง ช่วยไม่ให้เงินเฟ้อสูง ฟังดูก็มีเหตุผลทั้ง 2 ฝ่าย แต่มีเรื่องอื่นเกี่ยวข้องหรือไม่ ได้มีการคิดถึงต้นเหตุหรือไม่ ว่าอะไรทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นหรือลดต่ำลง และเราสามารถควบคุมอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ต้องการจริงหรือไม่
ภาพนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยในอดีต เมื่อก่อนเรียกว่าอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) หรืออัตราดอกเบี้ยข้ามคืน หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล ภายหลังมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เรียกกันใหม่ว่าดอกเบี้ยนโยบาย
จะเห็นว่าระหว่างปี 1994-1997 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวพุ่งสูงอยู่ต่อเนื่องกันเป็นเวลาถึง 4 ปี (AB-CD) ในบางช่วงสูงขึ้นถึง 20-25 เปอร์เซ็นต์หลังจากมีการลอยค่าเงินบาทในปี 1997 อัตราดอกเบี้ยก็ลดลง ถ้าหากว่าสามารถควบคุมอัตราดอกเบี้ยได้จริง อัตราดอกเบี้ยคงไม่สูงถึง 20-25 เปอร์เซ็นต์แน่
กราฟนี้นำมาเป็นตัวอย่างบอกว่า อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับสูง ไม่ได้ทำให้เงินทุนไหลเข้าแต่อย่างใด แต่เงินทุนไหลออกอย่างรุนแรงต่างหากแสดงถึงสภาพคล่องของระบบเสียหาย ที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นนั่นเอง จนกระทั่งต้องลอยค่าเงินบาท ค่าเงินบาทเสียหายหนัก และเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นครั้งที่ 2 แล้วสภาพคล่องก็กลับคืนมา ดอกเบี้ยกลับมาอยู่ที่ระดับต่ำคำถามก็คือ อะไรที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย ที่นำมาซึ่งเหตุการณ์เลวร้ายเหล่านี้ เรื่องนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เหตุการณ์ในครั้งแรกก็เกิดในรูปแบบเดียวกันนี้ ครั้งนั้นเป็นการลดค่าเงินบาทและเข้ารับความช่วยเหลือจาก IMF เป็นครั้งแรก
ผู้เขียนเคยนำเสนอในบทความก่อนหน้ามาบ่อยครั้งแล้ว ว่าต้นเหตุเกิดจากอะไร จะไม่ขอนำเสนอซ้ำอีก และบอกไว้ด้วยว่าหากเราไม่แก้ที่ต้นเหตุของปัญหา วิกฤตครั้งที่ 3 ก็จะเกิดขึ้นอีก
ภาพที่เห็นนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยหลังปี 2000 เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2006 และเคยตกมาต่ำเหนือ 1 เปอร์เซ็นต์เล็กน้อยระหว่างปี 2009-2010 (ก็เคยอยู่ที่ระดับต่ำมาแล้ว) จากนั้นก็ขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 3.5 เปอร์เซ็นต์ และต้นปี 2013 อยู่ที่ระดับ 2.75 เปอร์เซ็นต์
อัตราดอกเบี้ยกับค่าเงินมีความสัมพันธ์ต่อกัน คงจำกันได้ ปี 1993 มีการนำระบบ Maintenance Margin และ Force Sell มาใช้ในตลาดหุ้น ทำให้บรรดา Hedge Fund ลากหุ้นไทยจากระดับ SET 1,000 จุดขึ้นไปสูงสุดที่ 1,750 จุด แล้วถล่มทุบลงมาอย่างแรง ทำให้เกิดการบังคับขายหุ้นของนักลงทุนที่ซื้อขายด้วยระบบดังกล่าว ซ้ำเติมให้ตลาดหุ้นตกแรงยิ่งขึ้น
ตรวจสอบข้อมูลดู ทุกประเทศที่ตลาดหุ้นตกหนัก จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นตกหนักตามมา ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย
ตลาดหุ้นไทยตกหนัก เป็นตัวบอกว่าค่าเงินบาทของไทยได้เสียหายแล้ว แต่เราไปพยุงค่าเงินบาทเอาไว้ ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทสูงผิดจริงมากขึ้น ยิ่งทำให้มีการทิ้งหุ้นมากขึ้น เพื่อให้ได้เงินบาทมากๆ เพื่อจะนำไปแลกเงินตราต่างประเทศ เพราะแลกได้มากขึ้น แลกจนกระทั่งทุนสำรองเงินตราต่างประเทศร่อยหรอเกือบหมดไปจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ต้นเหตุสภาพคล่องเสียหาย และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ดังที่นำเสนอไว้ในช่วงต้น)
Hedge fund ที่เข้าใจกลไกนี้ก็สมหวัง ประเทศไทยต้องลอยค่าเงินบาทในที่สุด
1 เหรียญสหรัฐที่แลกไว้ที่ 26 บาท เอามาแลกคืนได้ 45-55 บาท กำไรเห็นๆ คำนวณดูแล้ว Hedge fund มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 8 แสนล้านบาท
โลกทุกวันนี้เบี่ยงเบนมาก มากด้วยการเก็งกำไรในกระดาษ ปี 1994-1997 ที่นำเสนอไว้ช่วงต้น เงินทุนไหลออก เพราะเงินบาทอ่อนค่า หรือเงินบาทเสียหาย
แต่ในปี 2006 (2549) เกิดเหตุการณ์ตรงกันข้าม มีการเปิดการซื้อขายตัวเลขอนุพันธ์ (Derivatives หรือ Futures) เรื่องนี้ระแคะระคายให้นักเก็งกำไรข้ามชาติทราบตั้งแต่ต้นปีแล้ว ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรในตัวเลขอนุพันธ์ต่อเนื่อง ใช้เงินประกัน 10 บาท สามารถซื้อขายตัวเลขอนุพันธ์ได้ 100 บาทสามารถทำกำไร (ขาดทุน) ได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ทำกำไรได้มากกว่าการซื้อขายหุ้นธรรมดา 10 เท่า Hedge fund ชำนาญเรื่องเช่นนี้ จึงโอนเงินเข้ามาประเทศไทยอย่างท่วมท้น
เงินทุนไหลเข้า ไม่ได้มาลงในตลาดทุนอย่างเดียว แต่ไปลงในตลาดพันธบัตรด้วย และเมื่อเกิดความเสียหาย เขาก็ทิ้งทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร
ดังนั้นเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้าประเทศใดก็ตาม เขาไม่ได้มองที่ดอกเบี้ย เขามองที่ค่าเงิน เมื่อหุ้นขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเงินก็สูงขึ้น ที่ลงทุนในตลาดพันธบัตรในรูปเงินบาทก็มีกำไร อย่างน้อยก็มีกำไรจากการที่ค่าเงินบาทสูงขึ้น ก็ทำให้มีกำไรมากขึ้น ดูกราฟถัดไป
จะเห็นว่าค่าเงินบาทเริ่มแข็งขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2006 แล้ว หรือเป็นปีที่เริ่มเปิดตลาดอนุพันธ์นั่นเอง ค่าเงินบาทแข็งจากระดับ 40 เป็น 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐในกลางปี 2007 ก่อนที่บาทจะพังทลายลงในเหตุการณ์ Hamburger crisis ตลอดปี 2008
บาทได้แข็งค่าขึ้นถึง 10 บาทต่อเหรียญสหรัฐชั่วระยะเวลาเพียงปีครึ่งเท่านั้น Hedge Fund ที่นำเงินเข้ามาก็มีกำไรค่าเงินอยู่ในกระเป๋าแล้วอย่างน้อย 10 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือมีกำไรแล้ว 33.33 เปอร์เซ็นต์ ได้มากกว่าดอกเบี้ยเสียอีก ไม่รวมกับกำไรจากความชำนาญที่จะได้จากการซื้อขายตัวเลขอนุพันธ์ตลอดเวลา
แม้จะมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2006 เงินทุนก็ยังไหลเข้ารุนแรง เงินทุนไหลเข้าแรง แรงจนเป็นกังวลได้มีความพยายามที่จะหาทางสกัดกั้นไม่ให้เงินทุนไหลเข้าอย่างจริงจัง
หลังการรัฐประหารได้ 3 เดือนพอดี วันที่ 19 ธันวาคม 2006 ทางการได้ออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์เงินทุนไหลเข้า แต่พอมาตรการดังกล่าวเอามาใช้ ตลาดหุ้นตกในชั่วโมงซื้อขายถึง 140 จุด ต้องประกาศยุติมาตรการในวันรุ่งขึ้น ทำให้หุ้นตลาดหุ้นฟื้นตัวขึ้นมาได้ คนใช้มาตรการ “งง” ว่า ออกมาตรการในตลาดเงิน ทำไมถึงต้องกระทบถึงตลาดทุนด้วยนี่คือตัวอย่างชัดเจนว่า ตลาดเงินกับตลาดทุนมีความสัมพันธ์ต่อกัน
เป็นการพ่ายแพ้ต่อการบริหารจัดการตลาดเงินของประเทศที่ซ้ำซาก หลังจากที่เคยพ่ายจนกระทั่งต้องเข้าโครงการ IMF มาแล้วถึง 2 ครั้ง
ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ก็ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศมากขึ้นไปอีก
การออกมาตรการกันสำรองเงินทุนไหลเข้า เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ไปดูว่าต้นเหตุอะไรที่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาก แล้วไปแก้ที่ต้นเหตุนั้น
วันที่ 19 ธันวาคม 2006 วันที่ออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ เงินทุนไหลเข้า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสุทธิอยู่ที่ระดับ 74 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทุกวันนี้ทุนสำรองสูงกว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐ
มาพิจารณาที่ดุลการค้าย้อยหลัง 10 ปีระหว่างปี 2546-2555 (2003-2012)
ปี 2549 – 2550 (2006-2007) ช่วงที่บาทแข็งค่าขึ้นมาก ปี 2549 ขาดดุลการค้าประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
ปี 2550บาทแข็งค่าอยู่ แทนที่จะเสียดุลการค้า กลับได้ดุลการค้าถึง 4.3 แสนล้านบาท
ปี 2551 ที่เกิดเหตุการณ์ Hamburger Crisis ที่เงินบาทอ่อนค่าค่อนข้างแรง ก็ไม่ทำให้ได้ดุลการค้ามากแต่อย่างใด แต่กลับขาดดุลการค้าถึง 1.1 แสนล้านบาท
แสดงว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท ไม่ถึงกับกระทบโดยตรงต่อการส่งออกและนำเข้านัก
ปี 2555 (2012) บาทก็แข็งค่าขึ้น เนื่องจากมีการเปิดการซื้อขาย Dollar futures เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 บาทแข็งค่าขึ้น 3 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่ได้แข็งมากเช่นในปี 2549-2550 ปรากฏว่าปี 2555 มีการขาดดุลการค้าสูงมากเป็นประวัติการณ์ถึง 6.5 แสนล้านบาท
อัตราดอกเบี้ย 2.75 เปอร์เซ็นต์ กลายมาเป็นแพะ รัฐบาลชี้ว่าเพราะอัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับสูง เป็นเหตุให้เงินทุนไหลเข้า ทำให้บาทแข็งค่า เป็นอุปสรรค์ต่อการส่งออก ทำให้ส่งออกได้น้อย ทำให้ปี 2555 ที่มีการขาดดุลการค้าสูง
แต่การที่ขาดดุลการค้าสูง น่าจะเป็นผลมาจากความล้มเหลวในโครงการจำนำข้าวมากกว่า
อะไรคือต้นเหตุเงินทุนไหลเข้า กระทั่งทุนสำรองสูงกว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดูจากดุลการค้าแล้ว ไม่น่าจะเป็นเหตุให้ทุนสำรองสูงขึ้นท่วมท้นกว่า 200 พันล้านเหรียญ ช่วง 10 ปีดังกล่าว ประเทศไทยได้ดุลการค้ารวมเพียง 1.9 แสนล้านบาทเท่านั้น คิดเป็นดอลลาร์ได้ประมาณ 6.3 พันล้านดอลลาร์เท่านั้น ดุลการท่องเที่ยวก็ไม่น่าจะมาก ดุลการลงทุนทางตรงก็คงไม่มากเช่นกัน
มีทางเดียวที่ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และบาทแข็งค่าขึ้นมาก มาจากการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดทุน ตลาดอนุพันธ์ ตลาดตราสารหนี้ ตลาดพันธบัตรนั่นเอง
แท้จริงเรื่องดอกเบี้ยก็มีส่วนสำคัญ แต่ไม่ใช่อะไรๆ ก็ดอกเบี้ย เรื่องความเป็นไปของค่าเงินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
หากเงินท่วมประเทศไทยมากไปด้วยธุรกรรมค้ากระดาษ ที่เป็นมาด้วยการเก็งกำไร ก็จะต้องจบลงด้วยการเก็งกำไรเช่นกัน ดังที่พบเห็นในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2000 และเกิดขึ้นกับสหภาพยุโรปในปี 2008
แล้วประเทศไทยจะไปไหนพ้น
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com
ต้นปี 2556 มีการพูดถึงค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อกันบ่อย เป็นการกล่าวถึงช่วงสั้นๆ ช่วงเฉพาะหน้าส่วนใหญ่นำเสนอไม่ครบถ้วนกระบวนความ หรือทำแบบพอให้ผ่านไป ทำให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
บอกว่าอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้เงินทุนไหลเข้า ทำให้เงินบาทแข็งค่า ทำให้การส่งออกมีปัญหา อีกฝ่ายบอกว่าอัตราดอกเบี้ยระดับสูง ช่วยไม่ให้เงินเฟ้อสูง ฟังดูก็มีเหตุผลทั้ง 2 ฝ่าย แต่มีเรื่องอื่นเกี่ยวข้องหรือไม่ ได้มีการคิดถึงต้นเหตุหรือไม่ ว่าอะไรทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นหรือลดต่ำลง และเราสามารถควบคุมอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ต้องการจริงหรือไม่
ภาพนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยในอดีต เมื่อก่อนเรียกว่าอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) หรืออัตราดอกเบี้ยข้ามคืน หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล ภายหลังมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เรียกกันใหม่ว่าดอกเบี้ยนโยบาย
จะเห็นว่าระหว่างปี 1994-1997 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวพุ่งสูงอยู่ต่อเนื่องกันเป็นเวลาถึง 4 ปี (AB-CD) ในบางช่วงสูงขึ้นถึง 20-25 เปอร์เซ็นต์หลังจากมีการลอยค่าเงินบาทในปี 1997 อัตราดอกเบี้ยก็ลดลง ถ้าหากว่าสามารถควบคุมอัตราดอกเบี้ยได้จริง อัตราดอกเบี้ยคงไม่สูงถึง 20-25 เปอร์เซ็นต์แน่
กราฟนี้นำมาเป็นตัวอย่างบอกว่า อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับสูง ไม่ได้ทำให้เงินทุนไหลเข้าแต่อย่างใด แต่เงินทุนไหลออกอย่างรุนแรงต่างหากแสดงถึงสภาพคล่องของระบบเสียหาย ที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นนั่นเอง จนกระทั่งต้องลอยค่าเงินบาท ค่าเงินบาทเสียหายหนัก และเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นครั้งที่ 2 แล้วสภาพคล่องก็กลับคืนมา ดอกเบี้ยกลับมาอยู่ที่ระดับต่ำคำถามก็คือ อะไรที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย ที่นำมาซึ่งเหตุการณ์เลวร้ายเหล่านี้ เรื่องนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เหตุการณ์ในครั้งแรกก็เกิดในรูปแบบเดียวกันนี้ ครั้งนั้นเป็นการลดค่าเงินบาทและเข้ารับความช่วยเหลือจาก IMF เป็นครั้งแรก
ผู้เขียนเคยนำเสนอในบทความก่อนหน้ามาบ่อยครั้งแล้ว ว่าต้นเหตุเกิดจากอะไร จะไม่ขอนำเสนอซ้ำอีก และบอกไว้ด้วยว่าหากเราไม่แก้ที่ต้นเหตุของปัญหา วิกฤตครั้งที่ 3 ก็จะเกิดขึ้นอีก
ภาพที่เห็นนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยหลังปี 2000 เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2006 และเคยตกมาต่ำเหนือ 1 เปอร์เซ็นต์เล็กน้อยระหว่างปี 2009-2010 (ก็เคยอยู่ที่ระดับต่ำมาแล้ว) จากนั้นก็ขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 3.5 เปอร์เซ็นต์ และต้นปี 2013 อยู่ที่ระดับ 2.75 เปอร์เซ็นต์
อัตราดอกเบี้ยกับค่าเงินมีความสัมพันธ์ต่อกัน คงจำกันได้ ปี 1993 มีการนำระบบ Maintenance Margin และ Force Sell มาใช้ในตลาดหุ้น ทำให้บรรดา Hedge Fund ลากหุ้นไทยจากระดับ SET 1,000 จุดขึ้นไปสูงสุดที่ 1,750 จุด แล้วถล่มทุบลงมาอย่างแรง ทำให้เกิดการบังคับขายหุ้นของนักลงทุนที่ซื้อขายด้วยระบบดังกล่าว ซ้ำเติมให้ตลาดหุ้นตกแรงยิ่งขึ้น
ตรวจสอบข้อมูลดู ทุกประเทศที่ตลาดหุ้นตกหนัก จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นตกหนักตามมา ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย
ตลาดหุ้นไทยตกหนัก เป็นตัวบอกว่าค่าเงินบาทของไทยได้เสียหายแล้ว แต่เราไปพยุงค่าเงินบาทเอาไว้ ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทสูงผิดจริงมากขึ้น ยิ่งทำให้มีการทิ้งหุ้นมากขึ้น เพื่อให้ได้เงินบาทมากๆ เพื่อจะนำไปแลกเงินตราต่างประเทศ เพราะแลกได้มากขึ้น แลกจนกระทั่งทุนสำรองเงินตราต่างประเทศร่อยหรอเกือบหมดไปจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ต้นเหตุสภาพคล่องเสียหาย และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ดังที่นำเสนอไว้ในช่วงต้น)
Hedge fund ที่เข้าใจกลไกนี้ก็สมหวัง ประเทศไทยต้องลอยค่าเงินบาทในที่สุด
1 เหรียญสหรัฐที่แลกไว้ที่ 26 บาท เอามาแลกคืนได้ 45-55 บาท กำไรเห็นๆ คำนวณดูแล้ว Hedge fund มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 8 แสนล้านบาท
โลกทุกวันนี้เบี่ยงเบนมาก มากด้วยการเก็งกำไรในกระดาษ ปี 1994-1997 ที่นำเสนอไว้ช่วงต้น เงินทุนไหลออก เพราะเงินบาทอ่อนค่า หรือเงินบาทเสียหาย
แต่ในปี 2006 (2549) เกิดเหตุการณ์ตรงกันข้าม มีการเปิดการซื้อขายตัวเลขอนุพันธ์ (Derivatives หรือ Futures) เรื่องนี้ระแคะระคายให้นักเก็งกำไรข้ามชาติทราบตั้งแต่ต้นปีแล้ว ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรในตัวเลขอนุพันธ์ต่อเนื่อง ใช้เงินประกัน 10 บาท สามารถซื้อขายตัวเลขอนุพันธ์ได้ 100 บาทสามารถทำกำไร (ขาดทุน) ได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ทำกำไรได้มากกว่าการซื้อขายหุ้นธรรมดา 10 เท่า Hedge fund ชำนาญเรื่องเช่นนี้ จึงโอนเงินเข้ามาประเทศไทยอย่างท่วมท้น
เงินทุนไหลเข้า ไม่ได้มาลงในตลาดทุนอย่างเดียว แต่ไปลงในตลาดพันธบัตรด้วย และเมื่อเกิดความเสียหาย เขาก็ทิ้งทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร
ดังนั้นเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้าประเทศใดก็ตาม เขาไม่ได้มองที่ดอกเบี้ย เขามองที่ค่าเงิน เมื่อหุ้นขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเงินก็สูงขึ้น ที่ลงทุนในตลาดพันธบัตรในรูปเงินบาทก็มีกำไร อย่างน้อยก็มีกำไรจากการที่ค่าเงินบาทสูงขึ้น ก็ทำให้มีกำไรมากขึ้น ดูกราฟถัดไป
จะเห็นว่าค่าเงินบาทเริ่มแข็งขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2006 แล้ว หรือเป็นปีที่เริ่มเปิดตลาดอนุพันธ์นั่นเอง ค่าเงินบาทแข็งจากระดับ 40 เป็น 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐในกลางปี 2007 ก่อนที่บาทจะพังทลายลงในเหตุการณ์ Hamburger crisis ตลอดปี 2008
บาทได้แข็งค่าขึ้นถึง 10 บาทต่อเหรียญสหรัฐชั่วระยะเวลาเพียงปีครึ่งเท่านั้น Hedge Fund ที่นำเงินเข้ามาก็มีกำไรค่าเงินอยู่ในกระเป๋าแล้วอย่างน้อย 10 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือมีกำไรแล้ว 33.33 เปอร์เซ็นต์ ได้มากกว่าดอกเบี้ยเสียอีก ไม่รวมกับกำไรจากความชำนาญที่จะได้จากการซื้อขายตัวเลขอนุพันธ์ตลอดเวลา
แม้จะมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2006 เงินทุนก็ยังไหลเข้ารุนแรง เงินทุนไหลเข้าแรง แรงจนเป็นกังวลได้มีความพยายามที่จะหาทางสกัดกั้นไม่ให้เงินทุนไหลเข้าอย่างจริงจัง
หลังการรัฐประหารได้ 3 เดือนพอดี วันที่ 19 ธันวาคม 2006 ทางการได้ออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์เงินทุนไหลเข้า แต่พอมาตรการดังกล่าวเอามาใช้ ตลาดหุ้นตกในชั่วโมงซื้อขายถึง 140 จุด ต้องประกาศยุติมาตรการในวันรุ่งขึ้น ทำให้หุ้นตลาดหุ้นฟื้นตัวขึ้นมาได้ คนใช้มาตรการ “งง” ว่า ออกมาตรการในตลาดเงิน ทำไมถึงต้องกระทบถึงตลาดทุนด้วยนี่คือตัวอย่างชัดเจนว่า ตลาดเงินกับตลาดทุนมีความสัมพันธ์ต่อกัน
เป็นการพ่ายแพ้ต่อการบริหารจัดการตลาดเงินของประเทศที่ซ้ำซาก หลังจากที่เคยพ่ายจนกระทั่งต้องเข้าโครงการ IMF มาแล้วถึง 2 ครั้ง
ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ก็ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศมากขึ้นไปอีก
การออกมาตรการกันสำรองเงินทุนไหลเข้า เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ไปดูว่าต้นเหตุอะไรที่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาก แล้วไปแก้ที่ต้นเหตุนั้น
วันที่ 19 ธันวาคม 2006 วันที่ออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ เงินทุนไหลเข้า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสุทธิอยู่ที่ระดับ 74 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทุกวันนี้ทุนสำรองสูงกว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐ
มาพิจารณาที่ดุลการค้าย้อยหลัง 10 ปีระหว่างปี 2546-2555 (2003-2012)
ปี 2549 – 2550 (2006-2007) ช่วงที่บาทแข็งค่าขึ้นมาก ปี 2549 ขาดดุลการค้าประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
ปี 2550บาทแข็งค่าอยู่ แทนที่จะเสียดุลการค้า กลับได้ดุลการค้าถึง 4.3 แสนล้านบาท
ปี 2551 ที่เกิดเหตุการณ์ Hamburger Crisis ที่เงินบาทอ่อนค่าค่อนข้างแรง ก็ไม่ทำให้ได้ดุลการค้ามากแต่อย่างใด แต่กลับขาดดุลการค้าถึง 1.1 แสนล้านบาท
แสดงว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท ไม่ถึงกับกระทบโดยตรงต่อการส่งออกและนำเข้านัก
ปี 2555 (2012) บาทก็แข็งค่าขึ้น เนื่องจากมีการเปิดการซื้อขาย Dollar futures เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 บาทแข็งค่าขึ้น 3 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่ได้แข็งมากเช่นในปี 2549-2550 ปรากฏว่าปี 2555 มีการขาดดุลการค้าสูงมากเป็นประวัติการณ์ถึง 6.5 แสนล้านบาท
อัตราดอกเบี้ย 2.75 เปอร์เซ็นต์ กลายมาเป็นแพะ รัฐบาลชี้ว่าเพราะอัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับสูง เป็นเหตุให้เงินทุนไหลเข้า ทำให้บาทแข็งค่า เป็นอุปสรรค์ต่อการส่งออก ทำให้ส่งออกได้น้อย ทำให้ปี 2555 ที่มีการขาดดุลการค้าสูง
แต่การที่ขาดดุลการค้าสูง น่าจะเป็นผลมาจากความล้มเหลวในโครงการจำนำข้าวมากกว่า
อะไรคือต้นเหตุเงินทุนไหลเข้า กระทั่งทุนสำรองสูงกว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดูจากดุลการค้าแล้ว ไม่น่าจะเป็นเหตุให้ทุนสำรองสูงขึ้นท่วมท้นกว่า 200 พันล้านเหรียญ ช่วง 10 ปีดังกล่าว ประเทศไทยได้ดุลการค้ารวมเพียง 1.9 แสนล้านบาทเท่านั้น คิดเป็นดอลลาร์ได้ประมาณ 6.3 พันล้านดอลลาร์เท่านั้น ดุลการท่องเที่ยวก็ไม่น่าจะมาก ดุลการลงทุนทางตรงก็คงไม่มากเช่นกัน
มีทางเดียวที่ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และบาทแข็งค่าขึ้นมาก มาจากการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดทุน ตลาดอนุพันธ์ ตลาดตราสารหนี้ ตลาดพันธบัตรนั่นเอง
แท้จริงเรื่องดอกเบี้ยก็มีส่วนสำคัญ แต่ไม่ใช่อะไรๆ ก็ดอกเบี้ย เรื่องความเป็นไปของค่าเงินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
หากเงินท่วมประเทศไทยมากไปด้วยธุรกรรมค้ากระดาษ ที่เป็นมาด้วยการเก็งกำไร ก็จะต้องจบลงด้วยการเก็งกำไรเช่นกัน ดังที่พบเห็นในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2000 และเกิดขึ้นกับสหภาพยุโรปในปี 2008
แล้วประเทศไทยจะไปไหนพ้น