ASTVผู้จัดการรายวัน-"ปู"เรียกประชุมแก้บาทแข็งอีกรอบ แต่ไร้เงา "ประสาร" เข้าร่วม บี้คลัง-ธปท. มีมาตรการแก้บาทแข็งที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน "วราเทพ" ปัด ครม. ถกปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ แต่ซัด กนง. อุบข้อมูลการเงิน ไม่รายงานให้ถี่ขึ้นทั้งๆ ที่สถานการณ์วิกฤต มหาดไทยผสมโรงอัด ธปท. อืดอาด จนไม่มีข้อมูลไปชี้แจงชาวบ้าน "มาร์ค"เผยรัฐบาลจ้องยึดอำนาจ ธปท.
เมื่อวานนี้ (8 พ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกรัฐมนตรี ผู้บริหาร และคณะทำงานเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หารือมาตรการรับมือค่าเงินและแนวทางการช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก ธปท. ว่า นายประสารไม่ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เนื่องจากติดภารกิจที่ ธปท. ส่วนวันนี้ (9 พ.ค.) มีหมายเดินทางไปรัฐสภาเพื่อชี้แจงประเด็นเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ
ทั้งนี้ ในการประชุมได้มีการหารือถึงสถานการณ์ค่าเงินบาท ที่แม้จะทรงตัวอยู่ในระดับกว่า 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐได้ แต่เห็นว่าไม่ควรประมาท เพราะหลายๆ ประเทศได้มีมาตรการผ่อนปรนทางการเงินเพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทั้งยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีเงินไหลเข้าตลาดพันธบัตรไทยมากขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยจูงใจ ซึ่งนายกฯ ได้เร่งให้กระทรวงการคลังและธปท. ไปหารือมาตรการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันออกมาโดยเร็วที่สุด
***ครม.ไม่มีถกปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่มีการพูดคุยในประเด็นการปลดผู้ว่าการ ธปท. แต่ตนขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รับผิดชอบต่อการดูแลสถานการณ์เงินบาทให้มากกว่าที่เป็นอยู่
"ที่ผ่านมา กนง.จะรายงานให้ที่ประชุม ครม.รับทราบสถานการณ์ในรอบ 6 เดือน แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนไปรวดเร็ว จึงควรรายงานความคืบหน้าให้ถี่ขึ้น เพราะสุดท้ายหากมีความเสียหายเกิดขึ้นคนที่ต้องรับผิดชอบ ก็คือ รัฐบาล"นายวราเทพกล่าว
***มท.รุมอัด "ประสาร" อ้างชาวบ้านสับสน
วันเดียวกัน ที่กระทรวงมหาดไทย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงบทบาทของกระทรวงมหาดไทยต่อปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าว่า กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งขณะนี้ให้กระทรวงการคลังและธปท. ไปหารือกัน เมื่อได้ข้อสรุปก็ให้รายงานมาที่ตน จากนั้นจะได้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการไปยังนายอำเภอ และท้องถิ่นเพื่อชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจ ซึ่งในที่ประชุมครม. พูดกันมากถึงความเห็นต่างกันของกระทรวงการคลังและธปท. โดยรัฐบาลมีความห่วงใยว่า ธปท. มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางการเงิน แต่ถ้าหากว่าค่าเงินบาทมันแข็งเกินไป ผู้ส่งออกก็จะลำบาก ดังนั้น อย่าไปห่วงเรื่องการเมือง การชุมนุม เดี๋ยวเขาก็จบกันไปแล้ว สิ่งที่จะกระทบต่อกลไกตลาดต่อสังคม คือ ค่าเงินบาท ถ้าหากว่าไม่มีการปรับให้ถูกต้อง ก็จะเหมือนกับวิกฤติการณ์การเงินหลายครั้งที่ผ่านมาแล้วมันจะส่งผลกระทบต่อ ทุกฝ่าย ซึ่งตอนนี้กระทบภาคส่งออกแล้ว
“วันนี้ประชาชนไม่ทราบเรื่องการแบ่งอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างธปท. กับกระทรวงการคลัง แต่พอเดือดร้อนก็โทษรัฐบาลอย่างเดียว รัฐบาลและกระทรวงการคลังก็เป็นจำเลยตลอด แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคราวนี้ คนที่ควรจะรับผิดชอบเต็มๆ ก็คือแบงก์ชาติ” นายจารุพงศ์กล่าว
*“มาร์ค” ซัดรัฐบาลจ้องยึดอำนาจ ธปท.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องค่าเงินบาท รัฐบาลสามารถพูดคุยกับผู้ว่าแบงก์ชาติได้อย่างไม่มีปัญหา เพียงแต่ต้องรู้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ว่าเป็นอย่างไร ต้องมีศิลปะในการบริหารและสื่อสารกัน ไม่ใช่มาทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกัน หากตีความหมายจากคำพูดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คงไม่ยาก เพราะคิดแบบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คือ ของอย่างนี้ต้องให้อำนาจรัฐบาลหมดเท่านั้นเอง จะเห็นว่าทุกอย่างขณะนี้ ปมความขัดแย้งที่ถูกสร้างขึ้นมา คือ ความต้องการเพิ่มอำนาจของรัฐบาลทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มอำนาจของรัฐบาลมากกว่าศาล หรือจะมากกว่าธปท. หรือแม้กับเพิ่มอำนาจรัฐ แทนที่จะเพิ่มอำนาจประชาชน อะไรที่แก้ไม่ได้ก็จะโทษว่า เพราะอำนาจตัวเองไม่พอ
นายอภิสิทธิ์เชื่อว่า ยังคงมีแรงกดดันตำแหน่งผู้ว่าฯ ธปท. อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง แต่ไม่แน่ใจว่า นายกิตติรัตน์ จะกล่าวถึงขนาดระบุว่า นายประสาร บกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงหรือไม่ แต่ตนคิดว่า คนจำนวนมากเป็นกำลังใจให้ผู้ว่าฯ ธปท.ให้ทำงานอย่างตรงไปตรงมา และรักษาประโยชน์ของประเทศ
เมื่อวานนี้ (8 พ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกรัฐมนตรี ผู้บริหาร และคณะทำงานเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หารือมาตรการรับมือค่าเงินและแนวทางการช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก ธปท. ว่า นายประสารไม่ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เนื่องจากติดภารกิจที่ ธปท. ส่วนวันนี้ (9 พ.ค.) มีหมายเดินทางไปรัฐสภาเพื่อชี้แจงประเด็นเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ
ทั้งนี้ ในการประชุมได้มีการหารือถึงสถานการณ์ค่าเงินบาท ที่แม้จะทรงตัวอยู่ในระดับกว่า 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐได้ แต่เห็นว่าไม่ควรประมาท เพราะหลายๆ ประเทศได้มีมาตรการผ่อนปรนทางการเงินเพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทั้งยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีเงินไหลเข้าตลาดพันธบัตรไทยมากขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยจูงใจ ซึ่งนายกฯ ได้เร่งให้กระทรวงการคลังและธปท. ไปหารือมาตรการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันออกมาโดยเร็วที่สุด
***ครม.ไม่มีถกปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่มีการพูดคุยในประเด็นการปลดผู้ว่าการ ธปท. แต่ตนขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รับผิดชอบต่อการดูแลสถานการณ์เงินบาทให้มากกว่าที่เป็นอยู่
"ที่ผ่านมา กนง.จะรายงานให้ที่ประชุม ครม.รับทราบสถานการณ์ในรอบ 6 เดือน แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนไปรวดเร็ว จึงควรรายงานความคืบหน้าให้ถี่ขึ้น เพราะสุดท้ายหากมีความเสียหายเกิดขึ้นคนที่ต้องรับผิดชอบ ก็คือ รัฐบาล"นายวราเทพกล่าว
***มท.รุมอัด "ประสาร" อ้างชาวบ้านสับสน
วันเดียวกัน ที่กระทรวงมหาดไทย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงบทบาทของกระทรวงมหาดไทยต่อปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าว่า กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งขณะนี้ให้กระทรวงการคลังและธปท. ไปหารือกัน เมื่อได้ข้อสรุปก็ให้รายงานมาที่ตน จากนั้นจะได้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการไปยังนายอำเภอ และท้องถิ่นเพื่อชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจ ซึ่งในที่ประชุมครม. พูดกันมากถึงความเห็นต่างกันของกระทรวงการคลังและธปท. โดยรัฐบาลมีความห่วงใยว่า ธปท. มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางการเงิน แต่ถ้าหากว่าค่าเงินบาทมันแข็งเกินไป ผู้ส่งออกก็จะลำบาก ดังนั้น อย่าไปห่วงเรื่องการเมือง การชุมนุม เดี๋ยวเขาก็จบกันไปแล้ว สิ่งที่จะกระทบต่อกลไกตลาดต่อสังคม คือ ค่าเงินบาท ถ้าหากว่าไม่มีการปรับให้ถูกต้อง ก็จะเหมือนกับวิกฤติการณ์การเงินหลายครั้งที่ผ่านมาแล้วมันจะส่งผลกระทบต่อ ทุกฝ่าย ซึ่งตอนนี้กระทบภาคส่งออกแล้ว
“วันนี้ประชาชนไม่ทราบเรื่องการแบ่งอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างธปท. กับกระทรวงการคลัง แต่พอเดือดร้อนก็โทษรัฐบาลอย่างเดียว รัฐบาลและกระทรวงการคลังก็เป็นจำเลยตลอด แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคราวนี้ คนที่ควรจะรับผิดชอบเต็มๆ ก็คือแบงก์ชาติ” นายจารุพงศ์กล่าว
*“มาร์ค” ซัดรัฐบาลจ้องยึดอำนาจ ธปท.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องค่าเงินบาท รัฐบาลสามารถพูดคุยกับผู้ว่าแบงก์ชาติได้อย่างไม่มีปัญหา เพียงแต่ต้องรู้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ว่าเป็นอย่างไร ต้องมีศิลปะในการบริหารและสื่อสารกัน ไม่ใช่มาทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกัน หากตีความหมายจากคำพูดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คงไม่ยาก เพราะคิดแบบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คือ ของอย่างนี้ต้องให้อำนาจรัฐบาลหมดเท่านั้นเอง จะเห็นว่าทุกอย่างขณะนี้ ปมความขัดแย้งที่ถูกสร้างขึ้นมา คือ ความต้องการเพิ่มอำนาจของรัฐบาลทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มอำนาจของรัฐบาลมากกว่าศาล หรือจะมากกว่าธปท. หรือแม้กับเพิ่มอำนาจรัฐ แทนที่จะเพิ่มอำนาจประชาชน อะไรที่แก้ไม่ได้ก็จะโทษว่า เพราะอำนาจตัวเองไม่พอ
นายอภิสิทธิ์เชื่อว่า ยังคงมีแรงกดดันตำแหน่งผู้ว่าฯ ธปท. อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง แต่ไม่แน่ใจว่า นายกิตติรัตน์ จะกล่าวถึงขนาดระบุว่า นายประสาร บกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงหรือไม่ แต่ตนคิดว่า คนจำนวนมากเป็นกำลังใจให้ผู้ว่าฯ ธปท.ให้ทำงานอย่างตรงไปตรงมา และรักษาประโยชน์ของประเทศ