ปัจจุบันความต้องการโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะที่ทันสมัยและหลากหลายรูปแบบมีเพิ่มมากขึ้น บางโครงการมีมูลค่าการลงทุนที่สูงมาก ดังนั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนจึงจำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ในขณะที่รัฐต้องบริหารจัดการงบประมาณให้ทั่วถึงและเกิดประโยชน์สูงสุด หากใช้งบประมาณลงทุนโครงการที่มีมูลค่ามากหลายโครงการอาจส่งผลกระทบแก่งบประมาณในการบริหารประเทศด้านอื่นๆ ข้อจำกัดด้านงบประมาณจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐไม่สามารถดำเนินโครงสร้างพื้นฐานและการบริการด้านสาธารณะได้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน
ดังนั้น การมอบหมายให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการในกิจการของรัฐเพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถทำให้มีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณของภาครัฐ ทำให้การใช้ทรัพยากรของรัฐเป็นไปอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
หลังจากที่ได้กล่าวถึงความเหมือนและความแตกต่างกันระหว่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (กฎหมายใหม่) กับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (กฎหมายเดิม) ไปแล้ว ในบทความนี้จึงขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คือ ขั้นตอนการดำเนินการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ซึ่งกฎหมายใหม่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่การเริ่มเสนอโครงการ การดำเนินโครงการ การกำกับดูแลและติดตามผล รวมทั้งการแก้ไขสัญญาและการทำสัญญาใหม่ (คลิกดูแผนภาพแสดงขั้นตอนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556)
1. การเสนอโครงการ (มาตรา 23 ถึง 31 ) หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ แล้วหน่วยงานฯ เสนอผลการศึกษาฯ และรายงานของที่ปรึกษาต่อรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัด หลังจากนั้นรัฐมนตรีฯ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอเรื่อง ขณะเดียวกันหน่วยงานฯ เสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักงานฯ ต้องพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับผลการศึกษาฯ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าสำนักงานเห็นด้วยกับโครงการ แต่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับผลการศึกษาฯ สำนักงานฯ อาจขอให้หน่วยงานฯ ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดของโครงการหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อสำนักงานฯ เมื่อพิจารณาแล้ว ถ้าสำนักงานฯ เห็นด้วยกับโครงการ ให้เสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แต่ถ้าสำนักงานฯไม่เห็นด้วยกับโครงการ ให้แจ้งความเห็นต่อรัฐมนตรีฯ และหน่วยงานฯ และหากรัฐมนตรีฯ ไม่เห็นด้วยกับสำนักงานฯ ให้เสนอคณะกรรมการนโยบายฯ ตัดสิน
เมื่อคณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบแล้ว หากโครงการใดต้องมีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินหรือต้องก่อหนี้โดยการกู้หรือการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง ให้คณะกรรมการฯ เสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการและวงเงินงบประมาณฯ
2. การดำเนินโครงการ (มาตรา 32 ถึง 42) เมื่อคณะกรรมการนโยบายฯ ให้ความเห็นชอบหรือเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติ ให้หน่วยงานฯ จัดทำร่างประกาศเชิญชวนเอกชน ร่างขอบเขตโครงการและร่างสัญญาร่วมลงทุน แล้วหน่วยงานฯ แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกแล้วพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ในการคัดเลือกอาจใช้วิธีประมูลหรือไม่ก็ได้ หลังจากนั้นภายใน 15 วันนับแต่ได้ผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับคัดเลือก ให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการดังต่อไปนี้ (1)นำผลการคัดเลือก ร่างสัญญาร่วมลงทุนและเอกสารเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ โดยให้สำนักงานฯ เสนอความเห็นและเอกสารต่อรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับผลการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือก และ (2) ส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจให้แล้วเสร็จและเสนอร่างสัญญาที่ตรวจแล้วต่อรัฐมนตรีฯ ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างสัญญา รัฐมนตรีฯ พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายใน 30 วัน
เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว หาก ครม. ไม่เห็นด้วยให้ส่งเรื่องคืนรัฐมนตรีฯ เพื่อแจ้งคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาทบทวน แล้วนำผลการพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีชี้ขาด แต่หาก ครม.เห็นชอบ ให้หน่วยงานฯ ลงนามในสัญญากับเอกชนที่ได้รับคัดเลือก แล้วส่งสำเนาสัญญาร่วมลงทุนต่อสำนักงานฯ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลงนาม
3.การกำกับดูแลและติดตามผล (มาตรา 43 ถึง 46)
(3.1) รัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล
(3.2) สำนักงานฯ อาจกำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำแผนการจัดการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและให้เอกชนจัดทำแผนการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนด้วยก็ได้
(3.3) หากมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนได้ ให้หน่วยงานฯ และเอกชนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อคณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหา
(3.4) หากหน่วยงานฯ ละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุน ให้คณะกรรมการกำกับดูแลทำรายงานและความเห็นเสนอต่อรัฐมนตรีฯ เพื่อสั่งการให้หน่วยงานฯ ดำเนินการตามสัญญา หากรัฐมนตรีฯ ไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการกำกับดูแลรายงานต่อสำนักงานฯ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณา หากเป็นกรณีร้ายแรงให้คณะกรรมการนโยบายฯ เสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
4. การแก้ไขสัญญาและการทำสัญญาใหม่ (มาตรา 47, 48)
(4.1) หากต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ให้หน่วยงานฯ เสนอคณะกรรมการกำกับดูแล หากคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าเป็นการแก้ไขสัญญาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลพิจารณาแล้วแจ้งต่อรัฐมนตรีฯ เพื่อทราบ หากคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าเป็นการแก้ไขสัญญาส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ให้หน่วยงานฯ เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการกำกับดูแลพิจารณาด้วย ถ้าคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นด้วยกับการแก้ไขให้หน่วยงานฯ ส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา แล้วส่งความเห็นของคณะกรรมการกำกับดูแลและร่างสัญญาฉบับใหม่ไปยังรัฐมนตรีฯ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อแก้ไขสัญญาแล้ว หน่วยงานฯ จัดส่งสำเนาสัญญาต่อสำนักงานฯ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการแก้ไขสัญญา
(4.2) หน่วยงานฯ จัดทำแนวทางการดำเนินกิจการของรัฐภายหลังจากสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุด เสนอกระทรวงเจ้าสังกัดอย่างน้อย 5 ปีก่อนสัญญาสิ้นสุดเพื่อเสนอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายฯ และให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี
(4.3) หากปรากฏว่าโครงการใดมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องในเรื่องการเสนอโครงการหรือการดำเนินโครงการ ให้สำนักงานฯ แจ้งให้หน่วยงานฯ ชี้แจงข้อเท็จจริงและแนวทางการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อพิจารณาสั่ง ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายฯ เห็นสมควรยกเลิกหรือแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ให้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายฯ ให้ดำเนินการตามสัญญาต่อไปโดยไม่มีการแก้ไขหรือมีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนตามวรรคสองแล้ว ให้ปฏิบัติตามหมวด 6 การกำกับดูแลและติดตามผลต่อไป
สิ่งสำคัญซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการดำเนินการตามกฎหมายใหม่คือ มาตรา 6 หลักการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ และหมวด 3 แผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หากดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ตามหลักการ 2 ประการ ดังกล่าวได้ย่อมเป็นผลให้กฎหมายฉบับนี้ช่วยส่งเสริมให้การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐมีประสิทธิภาพอันจะทำให้ประเทศไทยและชาวไทยได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการที่ได้จากกิจการของรัฐที่หลากหลายเป็นจำนวนมากขึ้นและคุ้มค่าขึ้น ทั้งยังส่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต
สราวุธ เบญจกุล
ดังนั้น การมอบหมายให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการในกิจการของรัฐเพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถทำให้มีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณของภาครัฐ ทำให้การใช้ทรัพยากรของรัฐเป็นไปอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
หลังจากที่ได้กล่าวถึงความเหมือนและความแตกต่างกันระหว่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (กฎหมายใหม่) กับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (กฎหมายเดิม) ไปแล้ว ในบทความนี้จึงขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คือ ขั้นตอนการดำเนินการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ซึ่งกฎหมายใหม่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่การเริ่มเสนอโครงการ การดำเนินโครงการ การกำกับดูแลและติดตามผล รวมทั้งการแก้ไขสัญญาและการทำสัญญาใหม่ (คลิกดูแผนภาพแสดงขั้นตอนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556)
1. การเสนอโครงการ (มาตรา 23 ถึง 31 ) หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ แล้วหน่วยงานฯ เสนอผลการศึกษาฯ และรายงานของที่ปรึกษาต่อรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัด หลังจากนั้นรัฐมนตรีฯ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอเรื่อง ขณะเดียวกันหน่วยงานฯ เสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักงานฯ ต้องพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับผลการศึกษาฯ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าสำนักงานเห็นด้วยกับโครงการ แต่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับผลการศึกษาฯ สำนักงานฯ อาจขอให้หน่วยงานฯ ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดของโครงการหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อสำนักงานฯ เมื่อพิจารณาแล้ว ถ้าสำนักงานฯ เห็นด้วยกับโครงการ ให้เสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แต่ถ้าสำนักงานฯไม่เห็นด้วยกับโครงการ ให้แจ้งความเห็นต่อรัฐมนตรีฯ และหน่วยงานฯ และหากรัฐมนตรีฯ ไม่เห็นด้วยกับสำนักงานฯ ให้เสนอคณะกรรมการนโยบายฯ ตัดสิน
เมื่อคณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบแล้ว หากโครงการใดต้องมีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินหรือต้องก่อหนี้โดยการกู้หรือการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง ให้คณะกรรมการฯ เสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการและวงเงินงบประมาณฯ
2. การดำเนินโครงการ (มาตรา 32 ถึง 42) เมื่อคณะกรรมการนโยบายฯ ให้ความเห็นชอบหรือเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติ ให้หน่วยงานฯ จัดทำร่างประกาศเชิญชวนเอกชน ร่างขอบเขตโครงการและร่างสัญญาร่วมลงทุน แล้วหน่วยงานฯ แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกแล้วพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ในการคัดเลือกอาจใช้วิธีประมูลหรือไม่ก็ได้ หลังจากนั้นภายใน 15 วันนับแต่ได้ผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับคัดเลือก ให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการดังต่อไปนี้ (1)นำผลการคัดเลือก ร่างสัญญาร่วมลงทุนและเอกสารเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ โดยให้สำนักงานฯ เสนอความเห็นและเอกสารต่อรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับผลการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือก และ (2) ส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจให้แล้วเสร็จและเสนอร่างสัญญาที่ตรวจแล้วต่อรัฐมนตรีฯ ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างสัญญา รัฐมนตรีฯ พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายใน 30 วัน
เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว หาก ครม. ไม่เห็นด้วยให้ส่งเรื่องคืนรัฐมนตรีฯ เพื่อแจ้งคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาทบทวน แล้วนำผลการพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีชี้ขาด แต่หาก ครม.เห็นชอบ ให้หน่วยงานฯ ลงนามในสัญญากับเอกชนที่ได้รับคัดเลือก แล้วส่งสำเนาสัญญาร่วมลงทุนต่อสำนักงานฯ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลงนาม
3.การกำกับดูแลและติดตามผล (มาตรา 43 ถึง 46)
(3.1) รัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล
(3.2) สำนักงานฯ อาจกำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำแผนการจัดการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและให้เอกชนจัดทำแผนการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนด้วยก็ได้
(3.3) หากมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนได้ ให้หน่วยงานฯ และเอกชนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อคณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหา
(3.4) หากหน่วยงานฯ ละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุน ให้คณะกรรมการกำกับดูแลทำรายงานและความเห็นเสนอต่อรัฐมนตรีฯ เพื่อสั่งการให้หน่วยงานฯ ดำเนินการตามสัญญา หากรัฐมนตรีฯ ไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการกำกับดูแลรายงานต่อสำนักงานฯ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณา หากเป็นกรณีร้ายแรงให้คณะกรรมการนโยบายฯ เสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
4. การแก้ไขสัญญาและการทำสัญญาใหม่ (มาตรา 47, 48)
(4.1) หากต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ให้หน่วยงานฯ เสนอคณะกรรมการกำกับดูแล หากคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าเป็นการแก้ไขสัญญาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลพิจารณาแล้วแจ้งต่อรัฐมนตรีฯ เพื่อทราบ หากคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าเป็นการแก้ไขสัญญาส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ให้หน่วยงานฯ เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการกำกับดูแลพิจารณาด้วย ถ้าคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นด้วยกับการแก้ไขให้หน่วยงานฯ ส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา แล้วส่งความเห็นของคณะกรรมการกำกับดูแลและร่างสัญญาฉบับใหม่ไปยังรัฐมนตรีฯ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อแก้ไขสัญญาแล้ว หน่วยงานฯ จัดส่งสำเนาสัญญาต่อสำนักงานฯ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการแก้ไขสัญญา
(4.2) หน่วยงานฯ จัดทำแนวทางการดำเนินกิจการของรัฐภายหลังจากสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุด เสนอกระทรวงเจ้าสังกัดอย่างน้อย 5 ปีก่อนสัญญาสิ้นสุดเพื่อเสนอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายฯ และให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี
(4.3) หากปรากฏว่าโครงการใดมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องในเรื่องการเสนอโครงการหรือการดำเนินโครงการ ให้สำนักงานฯ แจ้งให้หน่วยงานฯ ชี้แจงข้อเท็จจริงและแนวทางการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อพิจารณาสั่ง ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายฯ เห็นสมควรยกเลิกหรือแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ให้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายฯ ให้ดำเนินการตามสัญญาต่อไปโดยไม่มีการแก้ไขหรือมีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนตามวรรคสองแล้ว ให้ปฏิบัติตามหมวด 6 การกำกับดูแลและติดตามผลต่อไป
สิ่งสำคัญซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการดำเนินการตามกฎหมายใหม่คือ มาตรา 6 หลักการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ และหมวด 3 แผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หากดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ตามหลักการ 2 ประการ ดังกล่าวได้ย่อมเป็นผลให้กฎหมายฉบับนี้ช่วยส่งเสริมให้การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐมีประสิทธิภาพอันจะทำให้ประเทศไทยและชาวไทยได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการที่ได้จากกิจการของรัฐที่หลากหลายเป็นจำนวนมากขึ้นและคุ้มค่าขึ้น ทั้งยังส่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต
สราวุธ เบญจกุล