เป็นที่แน่นอนว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า พ.ร.บ.เงินกู้ วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท จะผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 19 มีนาคม 2556 และเมื่อนำร่างพ.ร.บ.ฯ เข้าสู่ที่ประชุมสภาฯในต้นเดือนเมษายนนี้ ก็คงผ่านฉลุยไม่มีปัญหา เพราะว่านายกรัฐมนตรีตัวจริง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สไกป์มายังที่ประชุมพรรคเพื่อไทยกำชับให้ ส.ส.สนับสนุนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยโรงเรียนแม้วแล้ว
พี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงมาสั่งการเรื่องนี้ด้วยตนเอง ไม่ใช่เพราะนี่เป็นเพราะงบลงทุนพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ ที่จะทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างที่อ้าง แต่งบก้อนใหญ่ 2.2 ล้านล้าน ที่จะนำไปใช้ถึง 7 ปี (พ.ศ. 2556 - 2563) มันคือเมนูจานด่วนที่พวกพ้องรัฐบาลจะมีโอกาสอิ่มหมีพลีมันกันพุงปลิ้น หากนับรวมกับงบประมาณลงทุนตามกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีอีก 2 ล้านล้านบาท ก็จะมีเงินลงทุนก้อนโตถึง 4.2 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
มิหนำซ้ำพรรคเพื่อไทยยังนำไปอ้างได้ว่ามีผลงาน ถึงคราวเลือกตั้งเมื่อใดก็ชนะแน่ๆ และนี่ยังเป็นหลักประกันว่า ในช่วงที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บริหารประเทศจะไม่มีปัญหาด้านเงินลงทุนในโครงการต่างๆ สามารถเรียกความเชื่อมั่น ดึงดูดต่างชาติให้เข้ามาลงทุน สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
ในหลักการแล้ว ไม่มีใครคัดค้านการลงทุนพัฒนาประเทศ แต่การออกพ.ร.บ.เงินกู้ดังกล่าว เป็นวิธีการเพื่อให้เม็ดเงินก้อนนี้อยู่นอกระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่สามารถหลบเลี่ยงการตรวจสอบการใช้เงิน นั่นแหละคือปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถตอบคำถามต่อสาธารณะให้แจ่มแจ้งได้ว่าเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น หากไม่ใช่เพราะมีจุดประสงค์อื่นแอบแฝง
จึงไม่แปลกที่จะมีคำถามตามมาว่า การออกกฎหมายเงินกู้โดยเฉพาะครั้งนี้ เป็นการล็อกโครงการ และล็อกเงินทุนไว้ให้กับพวกพ้องรัฐบาลใช่หรือไม่
นายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วิพากษ์วิจารณ์ว่า การผลักดันออกพ.ร.บ.เงินกู้ เป็นกฎหมายเฉพาะที่ดำเนินการได้รวดเร็ว รวบยอด โดยวิธีการรวมศูนย์การอนุมัติโครงการในรูปคณะกรรมการที่รัฐบาลนี้และรัฐบาลก่อนเคยออกเป็น พ.ร.ก.ไปแล้ว เป็นวิธีที่ไม่ผ่านระบบงบประมาณ ซึ่งมีข้อเสียที่ไม่มีการถ่วงดุล ไม่มีกระบวนการกำกับดูแลตามกลไกปกติจึงมีช่องโหว่ในการกำกับดูแลมากกว่ากระบวนการงบประมาณ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังมีความเห็นต่อการออกพ.ร.บ.เงินกู้ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ไม่คัดค้านที่จะมีการลงทุนพัฒนาประเทศ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการออกเป็นกฎหมาย เพื่อให้อยู่นอกระบบงบประมาณ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญกำหนดช่องทางที่รัฐบาลจะใช้เงินไว้ดีแล้ว โดยให้ทำผ่านกระบวนการงบประมาณ ซึ่งมีทั้งงบประจำและงบลงทุน โดยจะผูกพันงบข้ามไปกี่ปีก็ได้
สำหรับขั้นตอนการตั้งงบลงทุนในงบประมาณนั้น เริ่มที่กระทรวงที่จะเสนอโครงการ แล้วส่งให้สภาพัฒน์พิจารณาในแง่ความคุ้มค่าของโครงการ ซึ่งจะพิจารณากันตามลำดับชั้น เริ่มจากระดับเจ้าหน้าที่ ทำการศึกษาละเอียด แล้วจึงกลั่นกรองเสนอผู้บังคับบัญชา จึงมีความรอบคอบ เมื่อผ่านสภาพัฒน์แล้ว สำนักงบประมาณก็จะพิจารณาในแง่งบประมาณอีกชั้นหนึ่ง หากเห็นว่ามีการซ่อน หรือแฝงรายการที่แปลกปลอมเข้ามา ก็จะท้วงติงตัดออกไป ขั้นตอนการพิจารณาก็จะทำจากระดับเจ้าหน้าที่ มีการศึกษาละเอียดเช่นเดียวกับสภาพัฒน์ จึงมีการพิจารณาโดยสองหน่วยงานนี้อย่างรอบคอบ จากระดับเจ้าหน้าที่ขึ้นไปตามลำดับชั้น
แต่กรณีนอกงบประมาณนั้น การดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งกรณีรัฐบาลก่อนและรัฐบาลนี้ ล้วนใช้วิธีตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมา เพื่อกลั่นกรองนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยไม่ผ่านสองหน่วยงานหลักดังกล่าว ถึงแม้คณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว จะมีผู้บริหารระดับสูงของสภาพัฒน์กับสำนักงบประมาณ นั่งเป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วยก็ตาม แต่การพิจารณาเรื่องที่เสนอให้ตัดสินใจในที่ประชุม ย่อมไม่สามารถมีการพิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วนได้ดีเท่ากับการทำงานตามลำดับชั้นในแต่ละองค์กร
การพิจารณานอกกระบวนการงบประมาณ ด้วยขบวนการที่ลดขั้นตอน ทำให้การอนุมัติโครงการทำได้เร็วขึ้นก็จริง แต่มีความเสี่ยงต่อการหละหลวมมากขึ้น เพราะเดิมแต่ละองค์กรต้องรับผิดชอบการพิจารณาให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบเต็มๆ เปลี่ยนเป็นรับผิดชอบกันเป็นคณะ “ หากเป็นเรื่องเร่งด่วนฉุกเฉิน ก็อาจจะพอรับได้ แต่การลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน จึงไม่มีเหตุผลที่จะหลบเลี่ยงกระบวนการงบประมาณแต่อย่างใด”
ชัดเจนที่สุดว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่มีเหตุผลที่จะออกพ.ร.บ.เงินกู้ เพื่อให้เม็ดเงินก้อนโตนี้อยู่นอกกระบวนการงบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด
เหตุนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้เสียใหม่ เพราะว่างบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ว่านี้สามารถทำได้ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ขณะที่การออกพ.ร.บ.เงินกู้ จะมีปัญหาในการตรวจสอบได้ยาก มีปัญหาความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงิน และยังเป็นการซ่อนสถานะทางการเงินหรือหนี้ของประเทศที่แท้จริง รวมถึงจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องในการจัดทำประมาณ และอาจขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคอยู่ระหว่างให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาว่าจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากจะหวังพึ่งผู้นำพรรคฝ่ายค้าน หยุดยั้งการใช้อำนาจและพวกมากลากไปของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในการสกัดการออกพ.ร.บ.เงินกู้คราวนี้ เห็นท่าจะยาก เพราะในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีการออก พ.ร.ก. เงินกู้ มาดำเนินโครงการไทยเข้มแข็งเช่นกัน กลายเป็นเรื่องผีเน่ากับโลงผุ ข้าชั่วเอ็งก็เลว ไม่แตกต่างกัน อาจจะทั้งตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือ แนวคิดกู้เงินโดยออกเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และบทสรุปสุดท้ายที่ฉาวโฉ่ เหม็นเน่าด้วยเรื่องทุจริตโกงกิน
เมื่อเป็นเช่นนี้ การติดตามจับตาการทำมาหารับประทานจาก “ค่าหัวคิว” แบบร้อยชักยี่สิบ สามสิบ สี่สิบ หรือค่าหัวคิวสุดเนียนผ่านตลาดหุ้น หรือแบบเงินทอนกับโครงการลงทุนมูลค่ามหาศาลโดยประชาชนคนไทยด้วยกันเอง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
ทีมข่าว “Special Scoop ผู้จัดการ” รายงานว่า เมื่อพิจารณางบก้อนใหญ่ใน พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทนั้น คนที่มีแอกชันมากที่สุดคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สายตรงนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และยังเป็นคนสนิทของนายเศรษฐา ทวีสิน เจ้าพ่อกลุ่มแสนสิริ ที่ออกมาบอกว่า งบประมาณก้อนนี้มีโครงการอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมกว่า 90% โดยงานในระบบรางจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากกว่า 1.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 66%
ตามโครงการของกระทรวงคมนาคม ที่จัดหมวดหมู่เป็น 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อทางและการขนส่งกับภูมิภาค จำนวน 8 โครงการ รวมวงเงิน 190,402 ล้านบาท 2. ยุทธศาสตร์มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน จำนวน 39 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 1,550,867 ล้านบาท และ 3. ยุทธศาสตร์การยกระดับความคล่องตัวในการเดินทางและการขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 10 โครงการ วงเงิน 158,860 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม โครงการเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ที่จะถูกจัดสรรลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่ต่ำว่า 80% ไม่ว่าจะเป็นถนนมอเตอร์เวย์ โฮปเวลล์ รถไฟรางคู่ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นโครงการที่มีการศึกษากันมานาน พูดกันมานาน แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะมีผลประโยชน์ที่คน 2 กลุ่มจะได้รับไปอย่างเต็มๆ คือ กลุ่มนักการเมืองที่มีผลประโยชน์มากที่สุด เพราะโครงการเหล่านี้จะมีการนำมาปัดฝุ่นศึกษาทุกรัฐบาล และบริษัทที่เป็นที่ปรึกษามาศึกษาโครงการต่างๆ ก็ล้วนแต่เป็นเครือข่ายนักการเมือง
อีกทั้งนักการเมืองโดยเฉพาะคนที่ได้เป็นรัฐบาลยังมีแผนที่จะใช้ตลาดหลักทรัพย์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านราคาหุ้น โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มบริษัทก่อสร้าง ที่เชื่อมต่อกับนักการเมืองเกือบทุกบริษัท เมื่อมีข่าวจะสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ก็มีแค่ไม่กี่บริษัทที่จะได้รับงานจากรัฐบาล และแม้จะอยู่คนละบริษัทกัน แต่โครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ กล่าวได้ว่าเกือบทุกบริษัทมีการแบ่งงานกันเรียบร้อย ได้ประโยชน์ถ้วนหน้า
สังเกตได้ชัดเจนว่า หุ้นในกลุ่มก่อสร้างได้รับความสนใจจากนักลงทุนในช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายน 2555 เป็นต้นมา หลังจากที่โครงการเมกะโปรเจกต์เริ่มเดินหน้า แต่ก็มีบางตัวที่ได้รับความสนใจมาก่อนอย่างบริษัทอิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ที่มีโครงการทวายร่วมกับพม่าและรัฐบาลไทยได้เข้ามาดูแลเรื่องนี้หลังจากที่ ITD มีปัญหาด้านการระดมทุน
สำหรับ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านก่อสร้างของไทย ITD ถือว่าเป็นบริษัทก่อสร้างที่ได้รับงานจากภาครัฐมากที่สุด รองลงมาเป็นบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ส่วน บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ได้รับงานของรัฐบาลน้อย หากนับตั้งแต่ต้นปี 2556 หุ้น ITD ปรับเพิ่มขึ้น 45.8% หุ้น CK ปรับขึ้น 67.8% และ STEC เพิ่มขึ้น 17.5%
ส่วนการเรียกค่าหัวคิว ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่างานก่อสร้างแต่ละรายการเกือบทั้งหมดจะมีเรื่องของหัวคิวที่ต้องจ่ายให้กับผู้ที่มีอำนาจ ส่วนใหญ่หนีไม่พ้นนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็น 20-30% หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลง หรือภาคการเมืองอาจส่งนอมินีเข้ามาไล่เก็บหุ้นของบริษัทก่อสร้างไว้ก่อนที่จะประกาศโครงการก็สามารถทำได้ เพราะนี่ถือว่าเป็นข้อมูล Insider
นักการเมืองหลายคนมีพื้นฐานมาจากวงการก่อสร้าง มีทั้งส่วนที่เป็นเจ้าของหรือเป็นแค่ที่ปรึกษาแล้วป้อนงานจากภาครัฐให้บริษัทก่อสร้างเหล่านี้ ยิ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ยิ่งทำได้แนบเนียน ทั้งเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลงานภาครัฐให้เอื้อต่อบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เงินทอนที่ได้จึงตกไปอยู่ในรูปของค่าใช้จ่ายของบริษัทก่อสร้างเหล่านั้น หรืออาจเลือกที่จะเน้นไปที่ราคาหุ้นของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการให้คนสนิทเข้าไปดอดซื้อหุ้นเก็บไว้ก่อนหรือได้รับความร่วมมือกับเจ้าของบริษัทที่ดำเนินการให้ เมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นมามากๆ เจ้าของก็ขายหุ้นออกมา เงินในส่วนนี้ก็ถ่ายมาสู่ผู้อนุมัติโครงการ เรียกได้ว่าเป็นค่าหัวคิวที่สุดเนียน
หลังจากนั้น เมื่อการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าแล้วสิ่งที่ตามมาคือผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ๆ จะเริ่มเข้าไปดำเนินการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าซื้อภายหลังหรือได้ข้อมูลวงในแล้วดักซื้อไว้ก่อน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่านักการเมืองมีเครือข่ายกับทุกวงการ เรียกได้ว่ากินกันหลายเด้ง
นั่นเป็นผลประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนมหาศาลที่จะเข้ากระเป๋านักการเมืองและเครือข่ายธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล แต่สำหรับฐานะการคลังของประเทศจะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเพราะมีการซ่อนตัวเลขภาระหนี้ที่แท้จริงเพื่อกดไม่ให้ตัวเลขหนี้สาธารณะของประเทศทะลุกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ 60% ของจีดีพี เพื่อรัฐบาลจะได้กู้เพิ่มขึ้น นำพาประเทศสู่หายนะหรือไม่ เรื่องนี้นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักยังมีข้อกังขา และตั้งคำถามกับรัฐบาลมาโดยตลอด แต่ฟากรัฐบาลต่างยืนยันยังไหว ทั้งๆ ที่ตัวเลขหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆ จาก 43% ของจีดีพี ในปี 2555 ไปสูงสุดที่ 51.5% ของจีดีพี ในปี 2560
นอกเหนือไปจากพ.ร.บ.เงินกู้ แล้ว ยังมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่เสนอเข้ามาพร้อมๆ กันเพื่อเปิดช่องทางให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐได้สะดวกโยธินยิ่งขึ้น นั่นคือ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลก็ผลักดันสุดลิ่มเช่นกัน
ร่างกฎหมายดังกล่าว คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ออกมาเรียกร้องให้คนไทยเจ้าของเงินร่วมกันจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะการออกกฎหมายดังกล่าวที่แก้มาจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 มีข้อน่าสังเกต ดังนี้
หนึ่ง กฎหมายเดิมหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ประสงค์ให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในโครงการใด เสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการโดยละเอียด ตามประเด็นหัวข้อที่สภาพัฒน์ กำหนดต่อกระทรวงเจ้าสังกัด แล้วต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองของสภาพัฒน์ แต่กฎหมายใหม่ในมาตรา 6 บอกว่าให้เอกชนร่วมลงทุนของรัฐให้คำนึงถึง 7 ข้อ ซึ่งดูเหมือนดี แต่ใช้คำว่า "คำนึง" มันนามธรรมมาก
สอง การที่ต่างประเทศมาร่วมลงทุนในประเทศเรา ประชาชนต้องได้ประโยชน์ ดังนั้นควรผ่านสภาพัฒน์ และสำนักงบประมาณ แต่ร่างกฎหมายใหม่นี้ให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน จากการแต่งตั้งของครม. คณะกรรมการชุดนี้มีอิทธิพลมาก มีวาระ 4 ปี อยู่ได้ 2 วาระ นานถึง 8 ปี แม้รัฐบาลหมดวาระไปแล้ว คนที่รัฐบาลเลือกมายังอยู่ต่อ ถ้าการร่วมลงทุน การกู้เงินมาใช้ โดยที่ 4 คนนี้ ยังเข้ามามีบทบาทก็เป็นเรื่องน่าเป็นห่วง
สาม มาตรา 12 เรื่องการพ้นวาระ นอกจากจะครบวาระ ตาย ลาออก ครม.ยังมีสิทธิให้ออกได้ด้วย เปิดช่องให้นักการเมืองสามารถบังคับให้คณะกรรมการสนับสนุนโครงการ ถ้าไม่ทำตามก็ปลดออกได้
นอกจากนั้น ยังมีมาตรา 16 ให้อำนาจคณะกรรมการชุดนี้ในการคัดเลือกโครงการที่จะให้เอกชนร่วมลงทุน และพิจารณาอนุมัติตัดสินชี้ขาด นอกจากนี้คณะกรรมการชุดนี้ยังสามารถวินิจฉัยการโต้แย้งของกฎหมายฉบับนี้ได้เองด้วย สรุปคือมีอำนาจครบทุกอย่าง ถึงขั้นเป็นผู้พิพากษาไปในตัว แม้กระทั่งการตั้งอนุกรรมการอะไรก็ต้องเป็นไปตามคณะกรรมการชุดนี้กำหนด
ร่างพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ จึงเป็นฟาสต์ฟู้ดจานด่วนพร้อมเสิร์ฟอย่างไร้ข้อจำกัด และมาทันเวลาก่อนที่รัฐบาลจะถังแตกจากสารพัดโครงการประชานิยม
พี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงมาสั่งการเรื่องนี้ด้วยตนเอง ไม่ใช่เพราะนี่เป็นเพราะงบลงทุนพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ ที่จะทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างที่อ้าง แต่งบก้อนใหญ่ 2.2 ล้านล้าน ที่จะนำไปใช้ถึง 7 ปี (พ.ศ. 2556 - 2563) มันคือเมนูจานด่วนที่พวกพ้องรัฐบาลจะมีโอกาสอิ่มหมีพลีมันกันพุงปลิ้น หากนับรวมกับงบประมาณลงทุนตามกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีอีก 2 ล้านล้านบาท ก็จะมีเงินลงทุนก้อนโตถึง 4.2 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
มิหนำซ้ำพรรคเพื่อไทยยังนำไปอ้างได้ว่ามีผลงาน ถึงคราวเลือกตั้งเมื่อใดก็ชนะแน่ๆ และนี่ยังเป็นหลักประกันว่า ในช่วงที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บริหารประเทศจะไม่มีปัญหาด้านเงินลงทุนในโครงการต่างๆ สามารถเรียกความเชื่อมั่น ดึงดูดต่างชาติให้เข้ามาลงทุน สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
ในหลักการแล้ว ไม่มีใครคัดค้านการลงทุนพัฒนาประเทศ แต่การออกพ.ร.บ.เงินกู้ดังกล่าว เป็นวิธีการเพื่อให้เม็ดเงินก้อนนี้อยู่นอกระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่สามารถหลบเลี่ยงการตรวจสอบการใช้เงิน นั่นแหละคือปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถตอบคำถามต่อสาธารณะให้แจ่มแจ้งได้ว่าเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น หากไม่ใช่เพราะมีจุดประสงค์อื่นแอบแฝง
จึงไม่แปลกที่จะมีคำถามตามมาว่า การออกกฎหมายเงินกู้โดยเฉพาะครั้งนี้ เป็นการล็อกโครงการ และล็อกเงินทุนไว้ให้กับพวกพ้องรัฐบาลใช่หรือไม่
นายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วิพากษ์วิจารณ์ว่า การผลักดันออกพ.ร.บ.เงินกู้ เป็นกฎหมายเฉพาะที่ดำเนินการได้รวดเร็ว รวบยอด โดยวิธีการรวมศูนย์การอนุมัติโครงการในรูปคณะกรรมการที่รัฐบาลนี้และรัฐบาลก่อนเคยออกเป็น พ.ร.ก.ไปแล้ว เป็นวิธีที่ไม่ผ่านระบบงบประมาณ ซึ่งมีข้อเสียที่ไม่มีการถ่วงดุล ไม่มีกระบวนการกำกับดูแลตามกลไกปกติจึงมีช่องโหว่ในการกำกับดูแลมากกว่ากระบวนการงบประมาณ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังมีความเห็นต่อการออกพ.ร.บ.เงินกู้ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ไม่คัดค้านที่จะมีการลงทุนพัฒนาประเทศ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการออกเป็นกฎหมาย เพื่อให้อยู่นอกระบบงบประมาณ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญกำหนดช่องทางที่รัฐบาลจะใช้เงินไว้ดีแล้ว โดยให้ทำผ่านกระบวนการงบประมาณ ซึ่งมีทั้งงบประจำและงบลงทุน โดยจะผูกพันงบข้ามไปกี่ปีก็ได้
สำหรับขั้นตอนการตั้งงบลงทุนในงบประมาณนั้น เริ่มที่กระทรวงที่จะเสนอโครงการ แล้วส่งให้สภาพัฒน์พิจารณาในแง่ความคุ้มค่าของโครงการ ซึ่งจะพิจารณากันตามลำดับชั้น เริ่มจากระดับเจ้าหน้าที่ ทำการศึกษาละเอียด แล้วจึงกลั่นกรองเสนอผู้บังคับบัญชา จึงมีความรอบคอบ เมื่อผ่านสภาพัฒน์แล้ว สำนักงบประมาณก็จะพิจารณาในแง่งบประมาณอีกชั้นหนึ่ง หากเห็นว่ามีการซ่อน หรือแฝงรายการที่แปลกปลอมเข้ามา ก็จะท้วงติงตัดออกไป ขั้นตอนการพิจารณาก็จะทำจากระดับเจ้าหน้าที่ มีการศึกษาละเอียดเช่นเดียวกับสภาพัฒน์ จึงมีการพิจารณาโดยสองหน่วยงานนี้อย่างรอบคอบ จากระดับเจ้าหน้าที่ขึ้นไปตามลำดับชั้น
แต่กรณีนอกงบประมาณนั้น การดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งกรณีรัฐบาลก่อนและรัฐบาลนี้ ล้วนใช้วิธีตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมา เพื่อกลั่นกรองนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยไม่ผ่านสองหน่วยงานหลักดังกล่าว ถึงแม้คณะกรรมการเฉพาะกิจดังกล่าว จะมีผู้บริหารระดับสูงของสภาพัฒน์กับสำนักงบประมาณ นั่งเป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วยก็ตาม แต่การพิจารณาเรื่องที่เสนอให้ตัดสินใจในที่ประชุม ย่อมไม่สามารถมีการพิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วนได้ดีเท่ากับการทำงานตามลำดับชั้นในแต่ละองค์กร
การพิจารณานอกกระบวนการงบประมาณ ด้วยขบวนการที่ลดขั้นตอน ทำให้การอนุมัติโครงการทำได้เร็วขึ้นก็จริง แต่มีความเสี่ยงต่อการหละหลวมมากขึ้น เพราะเดิมแต่ละองค์กรต้องรับผิดชอบการพิจารณาให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบเต็มๆ เปลี่ยนเป็นรับผิดชอบกันเป็นคณะ “ หากเป็นเรื่องเร่งด่วนฉุกเฉิน ก็อาจจะพอรับได้ แต่การลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน จึงไม่มีเหตุผลที่จะหลบเลี่ยงกระบวนการงบประมาณแต่อย่างใด”
ชัดเจนที่สุดว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่มีเหตุผลที่จะออกพ.ร.บ.เงินกู้ เพื่อให้เม็ดเงินก้อนโตนี้อยู่นอกกระบวนการงบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด
เหตุนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้เสียใหม่ เพราะว่างบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ว่านี้สามารถทำได้ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ขณะที่การออกพ.ร.บ.เงินกู้ จะมีปัญหาในการตรวจสอบได้ยาก มีปัญหาความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงิน และยังเป็นการซ่อนสถานะทางการเงินหรือหนี้ของประเทศที่แท้จริง รวมถึงจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องในการจัดทำประมาณ และอาจขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคอยู่ระหว่างให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาว่าจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากจะหวังพึ่งผู้นำพรรคฝ่ายค้าน หยุดยั้งการใช้อำนาจและพวกมากลากไปของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในการสกัดการออกพ.ร.บ.เงินกู้คราวนี้ เห็นท่าจะยาก เพราะในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีการออก พ.ร.ก. เงินกู้ มาดำเนินโครงการไทยเข้มแข็งเช่นกัน กลายเป็นเรื่องผีเน่ากับโลงผุ ข้าชั่วเอ็งก็เลว ไม่แตกต่างกัน อาจจะทั้งตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือ แนวคิดกู้เงินโดยออกเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และบทสรุปสุดท้ายที่ฉาวโฉ่ เหม็นเน่าด้วยเรื่องทุจริตโกงกิน
เมื่อเป็นเช่นนี้ การติดตามจับตาการทำมาหารับประทานจาก “ค่าหัวคิว” แบบร้อยชักยี่สิบ สามสิบ สี่สิบ หรือค่าหัวคิวสุดเนียนผ่านตลาดหุ้น หรือแบบเงินทอนกับโครงการลงทุนมูลค่ามหาศาลโดยประชาชนคนไทยด้วยกันเอง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
ทีมข่าว “Special Scoop ผู้จัดการ” รายงานว่า เมื่อพิจารณางบก้อนใหญ่ใน พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทนั้น คนที่มีแอกชันมากที่สุดคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สายตรงนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และยังเป็นคนสนิทของนายเศรษฐา ทวีสิน เจ้าพ่อกลุ่มแสนสิริ ที่ออกมาบอกว่า งบประมาณก้อนนี้มีโครงการอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมกว่า 90% โดยงานในระบบรางจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากกว่า 1.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 66%
ตามโครงการของกระทรวงคมนาคม ที่จัดหมวดหมู่เป็น 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อทางและการขนส่งกับภูมิภาค จำนวน 8 โครงการ รวมวงเงิน 190,402 ล้านบาท 2. ยุทธศาสตร์มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน จำนวน 39 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 1,550,867 ล้านบาท และ 3. ยุทธศาสตร์การยกระดับความคล่องตัวในการเดินทางและการขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 10 โครงการ วงเงิน 158,860 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม โครงการเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ที่จะถูกจัดสรรลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่ต่ำว่า 80% ไม่ว่าจะเป็นถนนมอเตอร์เวย์ โฮปเวลล์ รถไฟรางคู่ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นโครงการที่มีการศึกษากันมานาน พูดกันมานาน แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะมีผลประโยชน์ที่คน 2 กลุ่มจะได้รับไปอย่างเต็มๆ คือ กลุ่มนักการเมืองที่มีผลประโยชน์มากที่สุด เพราะโครงการเหล่านี้จะมีการนำมาปัดฝุ่นศึกษาทุกรัฐบาล และบริษัทที่เป็นที่ปรึกษามาศึกษาโครงการต่างๆ ก็ล้วนแต่เป็นเครือข่ายนักการเมือง
อีกทั้งนักการเมืองโดยเฉพาะคนที่ได้เป็นรัฐบาลยังมีแผนที่จะใช้ตลาดหลักทรัพย์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านราคาหุ้น โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มบริษัทก่อสร้าง ที่เชื่อมต่อกับนักการเมืองเกือบทุกบริษัท เมื่อมีข่าวจะสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ก็มีแค่ไม่กี่บริษัทที่จะได้รับงานจากรัฐบาล และแม้จะอยู่คนละบริษัทกัน แต่โครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ กล่าวได้ว่าเกือบทุกบริษัทมีการแบ่งงานกันเรียบร้อย ได้ประโยชน์ถ้วนหน้า
สังเกตได้ชัดเจนว่า หุ้นในกลุ่มก่อสร้างได้รับความสนใจจากนักลงทุนในช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายน 2555 เป็นต้นมา หลังจากที่โครงการเมกะโปรเจกต์เริ่มเดินหน้า แต่ก็มีบางตัวที่ได้รับความสนใจมาก่อนอย่างบริษัทอิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ที่มีโครงการทวายร่วมกับพม่าและรัฐบาลไทยได้เข้ามาดูแลเรื่องนี้หลังจากที่ ITD มีปัญหาด้านการระดมทุน
สำหรับ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านก่อสร้างของไทย ITD ถือว่าเป็นบริษัทก่อสร้างที่ได้รับงานจากภาครัฐมากที่สุด รองลงมาเป็นบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ส่วน บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ได้รับงานของรัฐบาลน้อย หากนับตั้งแต่ต้นปี 2556 หุ้น ITD ปรับเพิ่มขึ้น 45.8% หุ้น CK ปรับขึ้น 67.8% และ STEC เพิ่มขึ้น 17.5%
ส่วนการเรียกค่าหัวคิว ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่างานก่อสร้างแต่ละรายการเกือบทั้งหมดจะมีเรื่องของหัวคิวที่ต้องจ่ายให้กับผู้ที่มีอำนาจ ส่วนใหญ่หนีไม่พ้นนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็น 20-30% หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลง หรือภาคการเมืองอาจส่งนอมินีเข้ามาไล่เก็บหุ้นของบริษัทก่อสร้างไว้ก่อนที่จะประกาศโครงการก็สามารถทำได้ เพราะนี่ถือว่าเป็นข้อมูล Insider
นักการเมืองหลายคนมีพื้นฐานมาจากวงการก่อสร้าง มีทั้งส่วนที่เป็นเจ้าของหรือเป็นแค่ที่ปรึกษาแล้วป้อนงานจากภาครัฐให้บริษัทก่อสร้างเหล่านี้ ยิ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ยิ่งทำได้แนบเนียน ทั้งเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลงานภาครัฐให้เอื้อต่อบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เงินทอนที่ได้จึงตกไปอยู่ในรูปของค่าใช้จ่ายของบริษัทก่อสร้างเหล่านั้น หรืออาจเลือกที่จะเน้นไปที่ราคาหุ้นของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการให้คนสนิทเข้าไปดอดซื้อหุ้นเก็บไว้ก่อนหรือได้รับความร่วมมือกับเจ้าของบริษัทที่ดำเนินการให้ เมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นมามากๆ เจ้าของก็ขายหุ้นออกมา เงินในส่วนนี้ก็ถ่ายมาสู่ผู้อนุมัติโครงการ เรียกได้ว่าเป็นค่าหัวคิวที่สุดเนียน
หลังจากนั้น เมื่อการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าแล้วสิ่งที่ตามมาคือผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ๆ จะเริ่มเข้าไปดำเนินการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าซื้อภายหลังหรือได้ข้อมูลวงในแล้วดักซื้อไว้ก่อน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่านักการเมืองมีเครือข่ายกับทุกวงการ เรียกได้ว่ากินกันหลายเด้ง
นั่นเป็นผลประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนมหาศาลที่จะเข้ากระเป๋านักการเมืองและเครือข่ายธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล แต่สำหรับฐานะการคลังของประเทศจะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเพราะมีการซ่อนตัวเลขภาระหนี้ที่แท้จริงเพื่อกดไม่ให้ตัวเลขหนี้สาธารณะของประเทศทะลุกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ 60% ของจีดีพี เพื่อรัฐบาลจะได้กู้เพิ่มขึ้น นำพาประเทศสู่หายนะหรือไม่ เรื่องนี้นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักยังมีข้อกังขา และตั้งคำถามกับรัฐบาลมาโดยตลอด แต่ฟากรัฐบาลต่างยืนยันยังไหว ทั้งๆ ที่ตัวเลขหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆ จาก 43% ของจีดีพี ในปี 2555 ไปสูงสุดที่ 51.5% ของจีดีพี ในปี 2560
นอกเหนือไปจากพ.ร.บ.เงินกู้ แล้ว ยังมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่เสนอเข้ามาพร้อมๆ กันเพื่อเปิดช่องทางให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐได้สะดวกโยธินยิ่งขึ้น นั่นคือ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลก็ผลักดันสุดลิ่มเช่นกัน
ร่างกฎหมายดังกล่าว คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ออกมาเรียกร้องให้คนไทยเจ้าของเงินร่วมกันจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะการออกกฎหมายดังกล่าวที่แก้มาจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 มีข้อน่าสังเกต ดังนี้
หนึ่ง กฎหมายเดิมหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ประสงค์ให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในโครงการใด เสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการโดยละเอียด ตามประเด็นหัวข้อที่สภาพัฒน์ กำหนดต่อกระทรวงเจ้าสังกัด แล้วต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองของสภาพัฒน์ แต่กฎหมายใหม่ในมาตรา 6 บอกว่าให้เอกชนร่วมลงทุนของรัฐให้คำนึงถึง 7 ข้อ ซึ่งดูเหมือนดี แต่ใช้คำว่า "คำนึง" มันนามธรรมมาก
สอง การที่ต่างประเทศมาร่วมลงทุนในประเทศเรา ประชาชนต้องได้ประโยชน์ ดังนั้นควรผ่านสภาพัฒน์ และสำนักงบประมาณ แต่ร่างกฎหมายใหม่นี้ให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน จากการแต่งตั้งของครม. คณะกรรมการชุดนี้มีอิทธิพลมาก มีวาระ 4 ปี อยู่ได้ 2 วาระ นานถึง 8 ปี แม้รัฐบาลหมดวาระไปแล้ว คนที่รัฐบาลเลือกมายังอยู่ต่อ ถ้าการร่วมลงทุน การกู้เงินมาใช้ โดยที่ 4 คนนี้ ยังเข้ามามีบทบาทก็เป็นเรื่องน่าเป็นห่วง
สาม มาตรา 12 เรื่องการพ้นวาระ นอกจากจะครบวาระ ตาย ลาออก ครม.ยังมีสิทธิให้ออกได้ด้วย เปิดช่องให้นักการเมืองสามารถบังคับให้คณะกรรมการสนับสนุนโครงการ ถ้าไม่ทำตามก็ปลดออกได้
นอกจากนั้น ยังมีมาตรา 16 ให้อำนาจคณะกรรมการชุดนี้ในการคัดเลือกโครงการที่จะให้เอกชนร่วมลงทุน และพิจารณาอนุมัติตัดสินชี้ขาด นอกจากนี้คณะกรรมการชุดนี้ยังสามารถวินิจฉัยการโต้แย้งของกฎหมายฉบับนี้ได้เองด้วย สรุปคือมีอำนาจครบทุกอย่าง ถึงขั้นเป็นผู้พิพากษาไปในตัว แม้กระทั่งการตั้งอนุกรรมการอะไรก็ต้องเป็นไปตามคณะกรรมการชุดนี้กำหนด
ร่างพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ จึงเป็นฟาสต์ฟู้ดจานด่วนพร้อมเสิร์ฟอย่างไร้ข้อจำกัด และมาทันเวลาก่อนที่รัฐบาลจะถังแตกจากสารพัดโครงการประชานิยม