ASTVผู้จัดการรายวัน-ผบช.ภ.1 เรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวนสะพาน 200 ปีถล่ม สั่งทำงานตรงไปตรงมา ลั่นหาคนรับผิดชอบมาลงโทษให้ได้ ไม่ต้องกลัวอิทธิพล มอบนโยบายแบ่งสอบสวน 4 กลุ่ม เผยประเด็นสลิงยังสับสนมีกี่เส้น ใหม่เก่าปนกัน ด้านอบต.สะแกกรัง เมืองอุทัยธานี สั่งห้ามรถอีแต๊กใช้สะพานแขวนข้ามคลองขุมทรัพย์ หลังพบชำรุดหลายจุด ไม่มั่นคงแข็งแรง เตือนประชาชนระมัดระวัง เร่งของบจังหวัดซ่อมด่วน
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (1 พ.ค.) นายสนิท นาคฤกษ์ อายุ 65 ปี ชาวบ้านหมู่ 7 ต.จำปา อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากเหตุสะพานแขวนสมโภชน์รัตนโกสินธุ์ 200 ปี ข้ามแม่น้ำป่าสัก ข้างวัดสะตือพุทธไสยาสน์ บ้านท่างาม หมู่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ เชื่อมหมู่ 5 และหมู่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ พังถล่ม เข้าให้การกับร.ต.อ.ชัยวัฒน์ ยิ้มการบุญ พนักงานสอบสวนสภ.ท่าเรือ
ร.ต.อ.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า หลังจากจังหวัดตั้งคณะทำงาน มีพ.ต.อ.สรรเพชร สุขพิมลตรี รองผบก.ภ.จว. เป็นประธาน ได้สอบปากคำผู้เกี่ยวข้อง ผู้บาดเจ็บ และผู้เห็นเหตุการณ์ไปแล้ว 15 ปาก ตั้งแต่นายกเทศมนตรีตำบลท่าหลวง นายช่างเทศบาล วิศวกรโยธาเทศบาล ผู้รับเหมา โยธาธิการจังหวัด ส่วนการสอบสวนที่ค่อนข้างล่าช้า เพราะต้องคัดกรองพยานทั่วไปที่เห็นเหตุการณ์ เนื่องจากขณะนี้มีเรื่องการเมืองท้องถิ่นด้วย เพราะนายกเทศมนตรีใกล้หมดวาระ ทำให้พยานบางคนอาจให้การเอนเอียง และต้องรอผลการพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐาน และการสอบปากคำวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ซึ่งยังไม่ได้ให้ปากคำ โดยการสอบสวนจะสอบทั้งเรื่องขอความช่วยเหลือ การก่อสร้างถูกต้องแค่ไหน ตรวจสอบสลิงซึ่งมีข้อมูลว่ามีการใส่สลิง 14 เส้น แต่ขณะนี้มีเพียง 11 เส้นเท่านั้น จึงต้องดูว่าขาดหายไปเมื่อไร
ต่อมา ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พล.ต.ท.นเรศ นันทโชติ ผบช.ภ.1 พล.ต.ต.กรเอก เพชรไชยเวส ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา เรียกคณะพนักงานสอบสวนเข้าประชุมสอบถามความคืบหน้า และให้แนวทางการสอบสวน โดยมีพนักงานสอบสวน 20 นาย เข้าร่วมประชุม
พล.ต.ท.นเรศ กล่าวภายหลังการประชุมว่า มาติดตามและให้แนวทางการสอบสวน เพราะประชาชนได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเน้นให้ทำคดีตรงไปตรงมา ทำให้ประชาชนเห็นว่าตำรวจต้องเป็นหลัก นำผลการสอบสวนไปดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลอะไร ให้ยึดหลักการสอบสวนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ 2.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิศวกรรมสถาน วิศวกรที่เกี่ยวข้อง 3.กลุ่มผู้เห็นเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ และ 4.กลุ่มเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน เพราะต้องนำผลการพิสูจน์มาประกอบสำนวน
"จากการรับฟังรายงานของพ.ต.อ.จิตเกษม สนขำ ผกก.สภ.ท่าเรือ หลังเกิดเหตุมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า ประสานกับหน่วยพิสูจน์หลักฐานกลาง ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และให้ถือว่าเป็นแบบอย่าง แต่สิ่งสำคัญ คือ การสอบสวนต้องได้ข้อเท็จจริง เพราะสังคมและประชาชนเริ่มถามว่าเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครประมาท ใครบกพร่อง ใครละเว้น"
พล.ต.ท.นเรศ กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีข่าวว่าผู้รับผิดชอบรู้แล้วว่าสะพานเอียง จนน่าจะเป็นอันตราย แล้วทำไมจึงไม่สั่งปิด จุดนี้ ต้องสอบให้ได้ว่าอำนาจในการสั่งปิดเป็นของใคร บช.ภ.1 จึงได้ส่งนายตำรวจที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เข้าร่วมทีมพนักงานสอบสวนด้วย
ส่วนความคืบหน้าการเก็บกู้ซากสะพานนั้น เรือเครนและกำลังพลจากกองทัพบก พบรถรถจักรยานยนต์อีก 2 คัน โดยรวมกู้รถจักรยานยนต์ขึ้นมาได้แล้ว 13 คัน แต่การค้นหายังไม่ยุติ โดยยังพยายามกู้โครงสะพาน และแผ่นปูนขึ้นมา เพราะกีดขวางการสัญจรของเรือขนส่งปูนซีเมนต์
ด้านนายทวีศักดิ์ นาคสิทธิ์ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลท่าหลวง กล่าวว่า ชาวบ้านตั้งข้องสงสัยว่าเพราะเหตุใด สลิงสายหลัก 2 ข้าง ที่รับน้ำหนักสะพานแขวน ข้างละ 14 เส้น ทุกเส้นมีแกนกลางเป็นเชือก และแต่ละเส้นมีสภาพสีเก่าใหม่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งชาวบ้านอยากให้อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจในประเด็นนี้เช่นกัน
ทั้งนี้ สะพานแขวนอีกแห่งที่เชื่อมวัดสะตือและวัดไก่จ้น ซึ่งมีลักษณะเดียวกันสะพานที่พังถล่ม และชำรุด ทางเทศบาลตำบลท่าหลวงได้สั่งปิด ห้ามใช้งานโดยเด็ดขาดแล้ว
นายวิทิต ปิ่นนิกร นายอำเภอท่าเรือ กล่าวภายหลังตรวจความคืบหน้าการรื้อถอนสายสลิงและเศษซากคอนกรีต โดยพบว่าลวดสลิงในสายเคเบิลข้างหนึ่งมีสลิงเพียง 11 เส้นเท่านั้นว่า ขณะนี้ได้นำสลิงไปตรวจสอบตามขั้นตอนของกองพิสูจน์หลักฐาน เบื้องต้นได้สั่งห้ามเข้าใกล้พื้นที่ เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับอันตรายจากเศษซากคอนกรีตที่อาจจะตกจากสะพานได้
นายเชษฐา ประทุมรังสี นายกเทศมนตรีตำบลท่าหลวง กล่าวว่า เทศบาลได้นำเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่งให้พนักงานสอบสวนแล้ว ส่วนกรณีผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบแค่ไหนอย่างไรนั้น คงต้องรอผลการสอบสวนก่อน ส่วนทีตั้งข้อสังเกตว่าลวดสลิงมีไม่ครบ 14 เส้นนั้น จากการตรวจสอบพบว่ามีอยู่จริง แต่ที่ไม่พบ เนื่องจากการฉีกขาดอย่างรุนแรง
นายเพลินเพชร หมั่นมาก นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)สะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำรวจสะพานแขวนข้ามคลองขุมทรัพย์ยาว 60 เมตร กว้าง 2 เมตร ที่สร้างเมื่อปี 2529 เชื่อมบ้านบางกุ้ง-บ้านน้ำตก-บ้านบางใหญ่ ต.สะแกกรัง ซึ่งยังมีการใช้งานจนถึงปัจจุบัน พบว่าชำรุดหลายจุด และไม่มั่นคงแข็งแรง อาทิ พื้นไม้ผุกร่อนหักพัง บางแผ่นหลุดจากคานยึด ลวดสลิงเก่า
เบื้องต้น อบต.ได้นำป้ายเตือนไปติดที่ทางขึ้น-ลงสะพาน และออกเสียงตามสาย เตือนให้ใช้สะพานด้วยความระมัดระวัง และไม่ให้รถหนัก เช่น รถอีแต๊กที่ใช้ในการเกษตรแล่นผ่าน จนกว่าจะซ่อมแซมแล้วเสร็จ โดยจะเร่งของบประมาณไปยังจังหวัดเพื่อซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานโดยเร็ว
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (1 พ.ค.) นายสนิท นาคฤกษ์ อายุ 65 ปี ชาวบ้านหมู่ 7 ต.จำปา อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากเหตุสะพานแขวนสมโภชน์รัตนโกสินธุ์ 200 ปี ข้ามแม่น้ำป่าสัก ข้างวัดสะตือพุทธไสยาสน์ บ้านท่างาม หมู่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ เชื่อมหมู่ 5 และหมู่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ พังถล่ม เข้าให้การกับร.ต.อ.ชัยวัฒน์ ยิ้มการบุญ พนักงานสอบสวนสภ.ท่าเรือ
ร.ต.อ.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า หลังจากจังหวัดตั้งคณะทำงาน มีพ.ต.อ.สรรเพชร สุขพิมลตรี รองผบก.ภ.จว. เป็นประธาน ได้สอบปากคำผู้เกี่ยวข้อง ผู้บาดเจ็บ และผู้เห็นเหตุการณ์ไปแล้ว 15 ปาก ตั้งแต่นายกเทศมนตรีตำบลท่าหลวง นายช่างเทศบาล วิศวกรโยธาเทศบาล ผู้รับเหมา โยธาธิการจังหวัด ส่วนการสอบสวนที่ค่อนข้างล่าช้า เพราะต้องคัดกรองพยานทั่วไปที่เห็นเหตุการณ์ เนื่องจากขณะนี้มีเรื่องการเมืองท้องถิ่นด้วย เพราะนายกเทศมนตรีใกล้หมดวาระ ทำให้พยานบางคนอาจให้การเอนเอียง และต้องรอผลการพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐาน และการสอบปากคำวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ซึ่งยังไม่ได้ให้ปากคำ โดยการสอบสวนจะสอบทั้งเรื่องขอความช่วยเหลือ การก่อสร้างถูกต้องแค่ไหน ตรวจสอบสลิงซึ่งมีข้อมูลว่ามีการใส่สลิง 14 เส้น แต่ขณะนี้มีเพียง 11 เส้นเท่านั้น จึงต้องดูว่าขาดหายไปเมื่อไร
ต่อมา ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พล.ต.ท.นเรศ นันทโชติ ผบช.ภ.1 พล.ต.ต.กรเอก เพชรไชยเวส ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา เรียกคณะพนักงานสอบสวนเข้าประชุมสอบถามความคืบหน้า และให้แนวทางการสอบสวน โดยมีพนักงานสอบสวน 20 นาย เข้าร่วมประชุม
พล.ต.ท.นเรศ กล่าวภายหลังการประชุมว่า มาติดตามและให้แนวทางการสอบสวน เพราะประชาชนได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเน้นให้ทำคดีตรงไปตรงมา ทำให้ประชาชนเห็นว่าตำรวจต้องเป็นหลัก นำผลการสอบสวนไปดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลอะไร ให้ยึดหลักการสอบสวนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ 2.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิศวกรรมสถาน วิศวกรที่เกี่ยวข้อง 3.กลุ่มผู้เห็นเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ และ 4.กลุ่มเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน เพราะต้องนำผลการพิสูจน์มาประกอบสำนวน
"จากการรับฟังรายงานของพ.ต.อ.จิตเกษม สนขำ ผกก.สภ.ท่าเรือ หลังเกิดเหตุมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า ประสานกับหน่วยพิสูจน์หลักฐานกลาง ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และให้ถือว่าเป็นแบบอย่าง แต่สิ่งสำคัญ คือ การสอบสวนต้องได้ข้อเท็จจริง เพราะสังคมและประชาชนเริ่มถามว่าเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครประมาท ใครบกพร่อง ใครละเว้น"
พล.ต.ท.นเรศ กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีข่าวว่าผู้รับผิดชอบรู้แล้วว่าสะพานเอียง จนน่าจะเป็นอันตราย แล้วทำไมจึงไม่สั่งปิด จุดนี้ ต้องสอบให้ได้ว่าอำนาจในการสั่งปิดเป็นของใคร บช.ภ.1 จึงได้ส่งนายตำรวจที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เข้าร่วมทีมพนักงานสอบสวนด้วย
ส่วนความคืบหน้าการเก็บกู้ซากสะพานนั้น เรือเครนและกำลังพลจากกองทัพบก พบรถรถจักรยานยนต์อีก 2 คัน โดยรวมกู้รถจักรยานยนต์ขึ้นมาได้แล้ว 13 คัน แต่การค้นหายังไม่ยุติ โดยยังพยายามกู้โครงสะพาน และแผ่นปูนขึ้นมา เพราะกีดขวางการสัญจรของเรือขนส่งปูนซีเมนต์
ด้านนายทวีศักดิ์ นาคสิทธิ์ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลท่าหลวง กล่าวว่า ชาวบ้านตั้งข้องสงสัยว่าเพราะเหตุใด สลิงสายหลัก 2 ข้าง ที่รับน้ำหนักสะพานแขวน ข้างละ 14 เส้น ทุกเส้นมีแกนกลางเป็นเชือก และแต่ละเส้นมีสภาพสีเก่าใหม่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งชาวบ้านอยากให้อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจในประเด็นนี้เช่นกัน
ทั้งนี้ สะพานแขวนอีกแห่งที่เชื่อมวัดสะตือและวัดไก่จ้น ซึ่งมีลักษณะเดียวกันสะพานที่พังถล่ม และชำรุด ทางเทศบาลตำบลท่าหลวงได้สั่งปิด ห้ามใช้งานโดยเด็ดขาดแล้ว
นายวิทิต ปิ่นนิกร นายอำเภอท่าเรือ กล่าวภายหลังตรวจความคืบหน้าการรื้อถอนสายสลิงและเศษซากคอนกรีต โดยพบว่าลวดสลิงในสายเคเบิลข้างหนึ่งมีสลิงเพียง 11 เส้นเท่านั้นว่า ขณะนี้ได้นำสลิงไปตรวจสอบตามขั้นตอนของกองพิสูจน์หลักฐาน เบื้องต้นได้สั่งห้ามเข้าใกล้พื้นที่ เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับอันตรายจากเศษซากคอนกรีตที่อาจจะตกจากสะพานได้
นายเชษฐา ประทุมรังสี นายกเทศมนตรีตำบลท่าหลวง กล่าวว่า เทศบาลได้นำเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่งให้พนักงานสอบสวนแล้ว ส่วนกรณีผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบแค่ไหนอย่างไรนั้น คงต้องรอผลการสอบสวนก่อน ส่วนทีตั้งข้อสังเกตว่าลวดสลิงมีไม่ครบ 14 เส้นนั้น จากการตรวจสอบพบว่ามีอยู่จริง แต่ที่ไม่พบ เนื่องจากการฉีกขาดอย่างรุนแรง
นายเพลินเพชร หมั่นมาก นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)สะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำรวจสะพานแขวนข้ามคลองขุมทรัพย์ยาว 60 เมตร กว้าง 2 เมตร ที่สร้างเมื่อปี 2529 เชื่อมบ้านบางกุ้ง-บ้านน้ำตก-บ้านบางใหญ่ ต.สะแกกรัง ซึ่งยังมีการใช้งานจนถึงปัจจุบัน พบว่าชำรุดหลายจุด และไม่มั่นคงแข็งแรง อาทิ พื้นไม้ผุกร่อนหักพัง บางแผ่นหลุดจากคานยึด ลวดสลิงเก่า
เบื้องต้น อบต.ได้นำป้ายเตือนไปติดที่ทางขึ้น-ลงสะพาน และออกเสียงตามสาย เตือนให้ใช้สะพานด้วยความระมัดระวัง และไม่ให้รถหนัก เช่น รถอีแต๊กที่ใช้ในการเกษตรแล่นผ่าน จนกว่าจะซ่อมแซมแล้วเสร็จ โดยจะเร่งของบประมาณไปยังจังหวัดเพื่อซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานโดยเร็ว