วานนี้ (29 เม.ย.56) เมื่อเวลา15.30น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) ,นายธงทอง จันทรางสุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมแถลงชี้แจงกรณีนายอุเทน ชาติภิญโญ อดีตประธานคณะกรรมการผันน้ำลงทะเล ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) และกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน ออกมาคัดค้านแผนจัดการน้ำ
โดยนายปลอดประสพ กล่าวว่า ผู้ร้องอ้างว่า การทำทีโออาร์ของกบอ.นั้นมีความหละหลวม ไม่มีสาระ และข้ามขั้นตอนนั้น ตนยืนยันว่า ทุกขั้นตอนมีที่มาที่ไป และผ่านกระบวนการคิดอย่างรอบคอบ ซึ่งทุกขั้นตอนมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายกฎหมาย ที่มีตัวแทนอัยการสูงสุด และตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมถึงตัวแทนจากกรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ และทุกขั้นตอนทีโออาร์มีการตอบข้อซักถาม และไม่มี คำตอบใดที่ตอบแล้วผู้ถามไม่รู้เรื่อง และไม่มีใครที่อ่านทีโออาร์ไม่รู้เรื่องยกเว้นผู้ที่จะฟ้องศาลปกครองที่อ่านไม่รู้เรื่อง เพราะจ้องแต่จะหาเรื่อง
ส่วนกรณีกลุ่มบริษัทร่วมค้าไทย-ญี่ปุ่นขอถอนตัวนั้น ทางญี่ปุ่นก็ขอบคุณไทยมาที่ให้โอกาส แต่เป็นที่ถอนตัวเพราเป็นเหตุผลทางธุรกิจ ส่วนเหตุผลที่ไม่ทำตามคำแนะขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) นั้น เนื่องจากไจก้า โตเกียวไม่เกี่ยวข้องกับไทย และข้อเสนอที่ระบุว่าจะลดต้นทุนนั้นก็เป็นเพียงข้อเสนอส่วนบุคคลในองค์กร ไม่ใช่ไจก้าทั้งหมด และไจก้าไม่ได้มีข้อเสนอแนะมาอย่างเป็นทางการ
ยืนยันข้อกล่าวหาว่าไม่เป็นความจริง อาทิ ที่ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างฟลัดเวย์ หรือทางน้ำหลากนั้น โดยสามารถใช้คลองเล็กๆในการระบายน้ำและจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ นั้น ตนชี้แจงว่า ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีการสร้างฟลัดเวย์ขนาดใหญ่ที่สามารถระบายน้ำได้ภายในสองวัน และเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นว่าคลองเล็กๆที่เรามีมากมายไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ซึ่งหากเราทำตามข้อเสนอของไจก้าก็จะส่งผลให้ เกินงบประมาณที่วางไว้กว่าเท่าตัว เช่นการก่อสร้างฟลัดเวย์ที่เราวางงบไว้ 1.2แสนล้าน แต่บริษัทญี่ปุ่นที่มีไจก้าเป็นที่ปรึกษาเสนอราคาไว้ที่ 3.93 แสนล้าน และใช้ระยะเวลาก่อสร้างถึง 20 ปี
นายปลอดประสพ กล่าวถึงข้อกล่าวหาที่ระบุว่า รัฐบาลผลัดภาระการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการให้เป็นหน้าที่ของเอกชนนั้น ว่า ไม่เป็นความจริง เป็นการปล้นความจริงกลางวันแสกๆ เพราะการเวนคืนที่ดินต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา และเงินก็อยู่ที่รัฐบาล เอกชนมีหน้าที่เพียงชี้จุดพื้นที่ที่เหมาะสม เอกชนทำเองไม่ได้ เพราะผิดกฎหมายและหลังจากนั้นก็ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพประชาชน ที่เป็นกระบวนการหลังจากนี้
ด้านนายอัชพร กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดการยื่นฟ้องของนายอุเทน ชาติภิญโญ และยังไม่ทราบว่ามีการฟ้องจริงหรือไม่ แต่ยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดของกบอ. ทำตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และระเบียบข้าราชการต่างๆ อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังไม่ทราบว่าผู้ฟ้องกล่าวหาประเด็นอะไร อาจจะเป็นการไม่เข้าใจในทีโออาร์ หรือไม่เข้าใจในเรื่องเทคนิค ทั้งนี้ หากศาลปกครองได้รับคำร้องดังกล่าวไว้อาจจะกระทบกับโครงการ และหากมีการคุ้มครองชั่วคราวโครงการตามทีโออาร์อาจจะต้องชะลอไว้ก่อน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงอาจจะต้องทำให้กรมชลประทานดำเนินการโครงการต่างๆ เอง และจะต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอนปกติ ส่วนพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ที่จะครบกำหนดภายในเดือนมิ.ย.นั้นจะกระทบแค่โครงการในทีโออาร์ แต่ไม่กระทบพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม คิดว่าศาลจะไม่รับคำร้อง เพราะนายอุเทนไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง และไม่เกี่ยวข้องกับการยื่นทีโออาร์
ขณะที่ นายธงทอง กล่าวเสริมว่า กรรมการที่กำหนดการทีโออาร์ชั้นสุดท้าย ทำด้วยความรอบคอบระมัดระวังดูข้อกฎหมายในมิติต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมีผู้แทนจาก 4 หน่วยงานเข้ามาช่วยดูด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อมีผู้ยื่นคำฟ้องไปก็ถือเป็นสิทธิ์ แต่การยื่นต่อศาลปกครองต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายในกรณีดังกล่าวยังไม่มีคำสั่งการปกครองใดๆเกิดขึ้นเลย ส่วนบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงนั้นต่างก็ไม่ได้มีข้อทักท้วงแต่อย่างใด ดังนั้นหากศาลรับคำฟ้องสำนักงานปลัดสำนักนายกฯพร้อมที่จะดำเนินการร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดในการอธิบายหรือแก้คำฟ้องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายธงทอง เปิดเผย ว่า วันที่ศุกร์ที่ 3 พ.ค.56 ตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 14.00 น. บริษัทที่รับทีโออาร์ไปจะนำมายื่นซองประกวดราคา คาดว่าเอกสารที่มาคงจะเป็นจำนวนมากทั้งนี้คณะกรรมการจะใช้เวลาอ่านประมาณ 3 สัปดาห์ ใช้ทีมงานในการอ่านประมาณ 50 คน และจากนนั้นจะรายงานผลการอ่านซึ่งเป็นผลทางเทคนิคในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม จากนั้นจะดูคะแนนทางเทคนิคและราคา และจากดูว่าจะสามารถต่อรองกับบริษัทที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1ได้หรือไม่ หากเห็นว่าไม่มีบริษัทใดเสนอเป็นที่น่าพอใจ ก็อยู่ที่ดุลพินิจของคณะกรรมการ ว่าจะนำไปสู่การทำสัญญาหรือไม่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า โครงการนี้มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน หากไม่พร้อมก็ไม่ควรกู้ เพราะจะสร้างภาระหนี้สินให้ประเทศชาติ และโครงการก็จะมีปัญหาในอนาคตเนื่องจากยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ อีกทั้งจะเกิดปัญหาการกู้เงินมากองเพาะหนี้จากภาระดอกเบี้ย หากมีการทำสัญญากับเอกชนก็จะถูกฟ้องร้องโต้แย้งในภายหลัง สุดท้ายก็จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขณะนี้เหลือเพียง 2 กลุ่มที่อยู่คือ จีนและเกาหลี ดังนั้น นายกฯ จะต้องชะลอการกู้เงินดังกล่าวโดยแยกแยะให้ชัดเจนว่า มีโครงการที่พร้อมกี่โครงการและจำเป็นต้องใช้เงินเท่าไหร่ จะให้เอกชนเข้ามาในรูปแบบใด
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีนายอุเทน ที่ออกมาชี้ว่า การกู้เงินดังกล่าวมีช่องโหว่ ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งรัฐบาลควรให้ความใส่ใจเพราะเป็นคำพูดของคนที่อยู่วงในและทำงานร่วมกับรัฐบาลในเรื่องการแก้ไขปัญหาและการใช้เงินในกรอบเงินกู้ดังกล่าว แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะรับฟังหรือทบทวนทิศทางการใช้เงินกู้ดังกล่าว
นอกจากนั้น การเขียน TOR นั้น ยังมีประเด็นที่น่าสงสัยว่า มีการเปิดโอกาสให้มีการฮั้วการประมูล ไม่มีความรอบคอบในเรื่องของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และความเป็นไปได้ของโครงการ มีปัญหาในเรื่องของกฎหมายการเวนคืนที่ดิน ซึ่งให้เอกชนนั้นเป็นผู้ดำเนินการ และไม่มีความชัดเจนในแนวทางการก่อสร้างที่จะสามารถมั่นใจได้ว่า เงินก้อนดังกล่าว จะถูกใช้ไปในโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง จึงอยากให้รัฐบาลเร่งทบทวน อย่าคิดแต่เพียงจะใช้เงินให้ทันกรอบการกู้เงินซึ่งจะหมดอายุลงในเดือนมิถุนายนนี้ ขอให้รัฐบาลได้ทบทวนและอย่าใช้จ่ายเงินแบบสุรุ่ยสุร่าย ไร้เป้าหมาย และเอื้อให้มีการทุจริต โกงกินกันมหาศาล
**2ล้านล้านหนี้ 7 ปี กดดันสภาวะฟองสบู่
วันเดียวกัน ที่รัฐสภามีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรมีนายวราเทพ รัตนากร รองประธานกรรมาธิการ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยเชิญนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าชี้แจง แต่เนื่องด้วยนายประสารติดภารกิจ จึงส่งตัวแทนคือ นางสาวพรเพ็ญ สดศรีชัย ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าชี้แจงข้อมูลแทน โดยที่ประชุมเน้นหนักในประเด็นภาระหนี้สาธารณะของประเทศภายหลังจากการกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาท ตลอดเวลา 7 ปี
นายสมชัย จิตสุชน กรรมาธิการ แสดงความเห็นว่าการกู้เงินดังกล่าวมีผลกระทบต่อประเทศ 3 ประเด็น คือ สภาพคล่องการเงินของประเทศ ผลกระทบต่อแนวโน้มเงินเฟ้อที่ประมาณการหรือไม่ และจำนวนเท่าไหร่ รวมถึงแรงกดดันสภาวะฟองสบู่
ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รองประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาชี้แจงถึงสภาพแวดล้อมทางการเงินของประเทศ เพราะการกู้เงินดังกล่าวต้องมีผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างแน่นอน
นางสาวพรเพ็ญ กล่าวว่า การกู้เงินดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อสภาพคล่องหรือตลาดการเงินมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการดำเนินการ 4 ข้อ คือ 1. การกระจายการกู้เงินภายใน 7 ปี ซึ่งธปท.ได้สอบถามไปยังสำนักบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. โดยได้คำตอบว่า จะมีการกระจายการกู้เงินและหลีกเลี่ยงการกู้เงินล็อตใหญ่ ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่ สบน. ระบุไว้จริง ก็จะสามารถลดผลกระทบได้ 2. หากรัฐบาลดำเนินการตามงบประมาณสมดุล การกู้เงินในระบบงบประมาณและชิบบางส่วนมาเป็นการกู้นอกงบประมาณแทนวงเงินกู้รวมในแต่ละปี ก็ไม่น่าจะมากจนเกินไป และหากมีการลด การกู้เงินในงบประมาณและการกู้เงินในรัฐวิสาหกิจ ก็น่าจะลดทอนผลกระทบลงได้ 3. ต้องวางแผนแนวทางการกู้เงินอย่างเหมาะสมและเลี่ยงไม่ให้หน่วยงานกู้เงินชนกัน และ 4. เมื่อกู้เงินแล้วต้องเร่งใช้เงินเพื่อเงินจะได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว หรือหมายถึงการหลีกเลี่ยงการกู้เงินมากองไว้
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลตอบรับสัปดาห์แรกของการจัดเวทีปราศรัยชี้แจง ที่จ.อุดรธานี และจ.ขอนแก่นของพรรคเพื่อไทยว่า ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนได้รับรู้อยู่แล้วจากการชี้แจงของรัฐบาลในช่วงการพิจารณากฎหมายในสภา ที่เห็นว่าการลงทุนเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เพิ่มความสะดวกสบาย ขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะอุดรธานีและขอนแก่นเป็นจุดที่รถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ผ่าน
ส่วนเรื่องของหนี้ การคุ้มทุนไม่คุ้มทุน หรือค่าโดยสาร ประชาชนไม่ได้เป็นห่วงเรื่องนี้เลย เพราะไม่ใช่เป็นการลงทุนรถไฟรางเพียงอย่างเดียว ถึงวจากการลงไปสัมผัสประชาชนทำให้วันนี้มั่นใจนโยบายที่เสนอเป็นกฎหมายอยู่ในขณะนี้เป็นเรื่องที่เหมาะสม เป็นไปตามความต้องการของประชาชน และอยากเห็นโครงการนี้เกิดขึ้นเร็วเป็นไปตามแผน ไม่อยากให้มีอะไรมาสดุด ไม่อยากให้มีปัญหาการตีความกฎหมายให้เป็นอุปสรรค และเมื่อทำประโยชน์ให้กับประเทศแล้ว ผลทางการเมืองจะตามมานั้นก็เป็นการตัดสินของประชาชน.
โดยนายปลอดประสพ กล่าวว่า ผู้ร้องอ้างว่า การทำทีโออาร์ของกบอ.นั้นมีความหละหลวม ไม่มีสาระ และข้ามขั้นตอนนั้น ตนยืนยันว่า ทุกขั้นตอนมีที่มาที่ไป และผ่านกระบวนการคิดอย่างรอบคอบ ซึ่งทุกขั้นตอนมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายกฎหมาย ที่มีตัวแทนอัยการสูงสุด และตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมถึงตัวแทนจากกรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ และทุกขั้นตอนทีโออาร์มีการตอบข้อซักถาม และไม่มี คำตอบใดที่ตอบแล้วผู้ถามไม่รู้เรื่อง และไม่มีใครที่อ่านทีโออาร์ไม่รู้เรื่องยกเว้นผู้ที่จะฟ้องศาลปกครองที่อ่านไม่รู้เรื่อง เพราะจ้องแต่จะหาเรื่อง
ส่วนกรณีกลุ่มบริษัทร่วมค้าไทย-ญี่ปุ่นขอถอนตัวนั้น ทางญี่ปุ่นก็ขอบคุณไทยมาที่ให้โอกาส แต่เป็นที่ถอนตัวเพราเป็นเหตุผลทางธุรกิจ ส่วนเหตุผลที่ไม่ทำตามคำแนะขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) นั้น เนื่องจากไจก้า โตเกียวไม่เกี่ยวข้องกับไทย และข้อเสนอที่ระบุว่าจะลดต้นทุนนั้นก็เป็นเพียงข้อเสนอส่วนบุคคลในองค์กร ไม่ใช่ไจก้าทั้งหมด และไจก้าไม่ได้มีข้อเสนอแนะมาอย่างเป็นทางการ
ยืนยันข้อกล่าวหาว่าไม่เป็นความจริง อาทิ ที่ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างฟลัดเวย์ หรือทางน้ำหลากนั้น โดยสามารถใช้คลองเล็กๆในการระบายน้ำและจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ นั้น ตนชี้แจงว่า ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีการสร้างฟลัดเวย์ขนาดใหญ่ที่สามารถระบายน้ำได้ภายในสองวัน และเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นว่าคลองเล็กๆที่เรามีมากมายไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ซึ่งหากเราทำตามข้อเสนอของไจก้าก็จะส่งผลให้ เกินงบประมาณที่วางไว้กว่าเท่าตัว เช่นการก่อสร้างฟลัดเวย์ที่เราวางงบไว้ 1.2แสนล้าน แต่บริษัทญี่ปุ่นที่มีไจก้าเป็นที่ปรึกษาเสนอราคาไว้ที่ 3.93 แสนล้าน และใช้ระยะเวลาก่อสร้างถึง 20 ปี
นายปลอดประสพ กล่าวถึงข้อกล่าวหาที่ระบุว่า รัฐบาลผลัดภาระการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการให้เป็นหน้าที่ของเอกชนนั้น ว่า ไม่เป็นความจริง เป็นการปล้นความจริงกลางวันแสกๆ เพราะการเวนคืนที่ดินต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา และเงินก็อยู่ที่รัฐบาล เอกชนมีหน้าที่เพียงชี้จุดพื้นที่ที่เหมาะสม เอกชนทำเองไม่ได้ เพราะผิดกฎหมายและหลังจากนั้นก็ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพประชาชน ที่เป็นกระบวนการหลังจากนี้
ด้านนายอัชพร กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดการยื่นฟ้องของนายอุเทน ชาติภิญโญ และยังไม่ทราบว่ามีการฟ้องจริงหรือไม่ แต่ยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดของกบอ. ทำตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และระเบียบข้าราชการต่างๆ อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังไม่ทราบว่าผู้ฟ้องกล่าวหาประเด็นอะไร อาจจะเป็นการไม่เข้าใจในทีโออาร์ หรือไม่เข้าใจในเรื่องเทคนิค ทั้งนี้ หากศาลปกครองได้รับคำร้องดังกล่าวไว้อาจจะกระทบกับโครงการ และหากมีการคุ้มครองชั่วคราวโครงการตามทีโออาร์อาจจะต้องชะลอไว้ก่อน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงอาจจะต้องทำให้กรมชลประทานดำเนินการโครงการต่างๆ เอง และจะต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอนปกติ ส่วนพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ที่จะครบกำหนดภายในเดือนมิ.ย.นั้นจะกระทบแค่โครงการในทีโออาร์ แต่ไม่กระทบพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม คิดว่าศาลจะไม่รับคำร้อง เพราะนายอุเทนไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง และไม่เกี่ยวข้องกับการยื่นทีโออาร์
ขณะที่ นายธงทอง กล่าวเสริมว่า กรรมการที่กำหนดการทีโออาร์ชั้นสุดท้าย ทำด้วยความรอบคอบระมัดระวังดูข้อกฎหมายในมิติต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมีผู้แทนจาก 4 หน่วยงานเข้ามาช่วยดูด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อมีผู้ยื่นคำฟ้องไปก็ถือเป็นสิทธิ์ แต่การยื่นต่อศาลปกครองต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายในกรณีดังกล่าวยังไม่มีคำสั่งการปกครองใดๆเกิดขึ้นเลย ส่วนบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงนั้นต่างก็ไม่ได้มีข้อทักท้วงแต่อย่างใด ดังนั้นหากศาลรับคำฟ้องสำนักงานปลัดสำนักนายกฯพร้อมที่จะดำเนินการร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดในการอธิบายหรือแก้คำฟ้องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายธงทอง เปิดเผย ว่า วันที่ศุกร์ที่ 3 พ.ค.56 ตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 14.00 น. บริษัทที่รับทีโออาร์ไปจะนำมายื่นซองประกวดราคา คาดว่าเอกสารที่มาคงจะเป็นจำนวนมากทั้งนี้คณะกรรมการจะใช้เวลาอ่านประมาณ 3 สัปดาห์ ใช้ทีมงานในการอ่านประมาณ 50 คน และจากนนั้นจะรายงานผลการอ่านซึ่งเป็นผลทางเทคนิคในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม จากนั้นจะดูคะแนนทางเทคนิคและราคา และจากดูว่าจะสามารถต่อรองกับบริษัทที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1ได้หรือไม่ หากเห็นว่าไม่มีบริษัทใดเสนอเป็นที่น่าพอใจ ก็อยู่ที่ดุลพินิจของคณะกรรมการ ว่าจะนำไปสู่การทำสัญญาหรือไม่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า โครงการนี้มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน หากไม่พร้อมก็ไม่ควรกู้ เพราะจะสร้างภาระหนี้สินให้ประเทศชาติ และโครงการก็จะมีปัญหาในอนาคตเนื่องจากยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ อีกทั้งจะเกิดปัญหาการกู้เงินมากองเพาะหนี้จากภาระดอกเบี้ย หากมีการทำสัญญากับเอกชนก็จะถูกฟ้องร้องโต้แย้งในภายหลัง สุดท้ายก็จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขณะนี้เหลือเพียง 2 กลุ่มที่อยู่คือ จีนและเกาหลี ดังนั้น นายกฯ จะต้องชะลอการกู้เงินดังกล่าวโดยแยกแยะให้ชัดเจนว่า มีโครงการที่พร้อมกี่โครงการและจำเป็นต้องใช้เงินเท่าไหร่ จะให้เอกชนเข้ามาในรูปแบบใด
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีนายอุเทน ที่ออกมาชี้ว่า การกู้เงินดังกล่าวมีช่องโหว่ ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งรัฐบาลควรให้ความใส่ใจเพราะเป็นคำพูดของคนที่อยู่วงในและทำงานร่วมกับรัฐบาลในเรื่องการแก้ไขปัญหาและการใช้เงินในกรอบเงินกู้ดังกล่าว แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะรับฟังหรือทบทวนทิศทางการใช้เงินกู้ดังกล่าว
นอกจากนั้น การเขียน TOR นั้น ยังมีประเด็นที่น่าสงสัยว่า มีการเปิดโอกาสให้มีการฮั้วการประมูล ไม่มีความรอบคอบในเรื่องของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และความเป็นไปได้ของโครงการ มีปัญหาในเรื่องของกฎหมายการเวนคืนที่ดิน ซึ่งให้เอกชนนั้นเป็นผู้ดำเนินการ และไม่มีความชัดเจนในแนวทางการก่อสร้างที่จะสามารถมั่นใจได้ว่า เงินก้อนดังกล่าว จะถูกใช้ไปในโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง จึงอยากให้รัฐบาลเร่งทบทวน อย่าคิดแต่เพียงจะใช้เงินให้ทันกรอบการกู้เงินซึ่งจะหมดอายุลงในเดือนมิถุนายนนี้ ขอให้รัฐบาลได้ทบทวนและอย่าใช้จ่ายเงินแบบสุรุ่ยสุร่าย ไร้เป้าหมาย และเอื้อให้มีการทุจริต โกงกินกันมหาศาล
**2ล้านล้านหนี้ 7 ปี กดดันสภาวะฟองสบู่
วันเดียวกัน ที่รัฐสภามีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรมีนายวราเทพ รัตนากร รองประธานกรรมาธิการ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยเชิญนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าชี้แจง แต่เนื่องด้วยนายประสารติดภารกิจ จึงส่งตัวแทนคือ นางสาวพรเพ็ญ สดศรีชัย ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าชี้แจงข้อมูลแทน โดยที่ประชุมเน้นหนักในประเด็นภาระหนี้สาธารณะของประเทศภายหลังจากการกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาท ตลอดเวลา 7 ปี
นายสมชัย จิตสุชน กรรมาธิการ แสดงความเห็นว่าการกู้เงินดังกล่าวมีผลกระทบต่อประเทศ 3 ประเด็น คือ สภาพคล่องการเงินของประเทศ ผลกระทบต่อแนวโน้มเงินเฟ้อที่ประมาณการหรือไม่ และจำนวนเท่าไหร่ รวมถึงแรงกดดันสภาวะฟองสบู่
ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รองประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาชี้แจงถึงสภาพแวดล้อมทางการเงินของประเทศ เพราะการกู้เงินดังกล่าวต้องมีผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างแน่นอน
นางสาวพรเพ็ญ กล่าวว่า การกู้เงินดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อสภาพคล่องหรือตลาดการเงินมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการดำเนินการ 4 ข้อ คือ 1. การกระจายการกู้เงินภายใน 7 ปี ซึ่งธปท.ได้สอบถามไปยังสำนักบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. โดยได้คำตอบว่า จะมีการกระจายการกู้เงินและหลีกเลี่ยงการกู้เงินล็อตใหญ่ ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่ สบน. ระบุไว้จริง ก็จะสามารถลดผลกระทบได้ 2. หากรัฐบาลดำเนินการตามงบประมาณสมดุล การกู้เงินในระบบงบประมาณและชิบบางส่วนมาเป็นการกู้นอกงบประมาณแทนวงเงินกู้รวมในแต่ละปี ก็ไม่น่าจะมากจนเกินไป และหากมีการลด การกู้เงินในงบประมาณและการกู้เงินในรัฐวิสาหกิจ ก็น่าจะลดทอนผลกระทบลงได้ 3. ต้องวางแผนแนวทางการกู้เงินอย่างเหมาะสมและเลี่ยงไม่ให้หน่วยงานกู้เงินชนกัน และ 4. เมื่อกู้เงินแล้วต้องเร่งใช้เงินเพื่อเงินจะได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว หรือหมายถึงการหลีกเลี่ยงการกู้เงินมากองไว้
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลตอบรับสัปดาห์แรกของการจัดเวทีปราศรัยชี้แจง ที่จ.อุดรธานี และจ.ขอนแก่นของพรรคเพื่อไทยว่า ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนได้รับรู้อยู่แล้วจากการชี้แจงของรัฐบาลในช่วงการพิจารณากฎหมายในสภา ที่เห็นว่าการลงทุนเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เพิ่มความสะดวกสบาย ขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะอุดรธานีและขอนแก่นเป็นจุดที่รถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ผ่าน
ส่วนเรื่องของหนี้ การคุ้มทุนไม่คุ้มทุน หรือค่าโดยสาร ประชาชนไม่ได้เป็นห่วงเรื่องนี้เลย เพราะไม่ใช่เป็นการลงทุนรถไฟรางเพียงอย่างเดียว ถึงวจากการลงไปสัมผัสประชาชนทำให้วันนี้มั่นใจนโยบายที่เสนอเป็นกฎหมายอยู่ในขณะนี้เป็นเรื่องที่เหมาะสม เป็นไปตามความต้องการของประชาชน และอยากเห็นโครงการนี้เกิดขึ้นเร็วเป็นไปตามแผน ไม่อยากให้มีอะไรมาสดุด ไม่อยากให้มีปัญหาการตีความกฎหมายให้เป็นอุปสรรค และเมื่อทำประโยชน์ให้กับประเทศแล้ว ผลทางการเมืองจะตามมานั้นก็เป็นการตัดสินของประชาชน.