เห็นคนไทยพากันแห่แหนชื่นชมคุณอลินา มิรอง หนึ่งในทีมทนายไทยที่ต่อสู้คดีพระวิหารแล้ว ออกจะเป็นห่วงว่าถ้าผลการตัดสินปลายปีออกมาตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราคาดหวังแล้วเราจะรู้สึกกันอย่างไร
ต้องบอกว่า เรื่องศาลโลกเราต้องทำใจนิดนะครับ อย่าลืมว่าศาลโลกตัดสินให้เขมรไปแล้วในปี 2505 ครั้งนี้เป็นการยื่นให้ศาลตีความคำพิพากษาของเขมร
เราก็สู้ว่าศาลโลกไม่มีอำนาจตีความคำพิพากษา ถ้าออกตามนี้ก็เจ๊าแล้วมาเจรจาทวิภาคีกันหรือไม่ก็รบกัน ถ้าไม่มีใครยอมใคร
แต่ถ้าศาลบอกว่าศาลมีอำนาจก็มาลุ้นว่าศาลจะตีความว่าที่เราปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นเพียงพอหรือยัง หรือเพียงพอแล้วเพราะเขมรไม่เคยคัดค้านมาก่อนเท่ากับการยอมรับมาตั้งแต่ต้นก็ว่ากันไป อันนี้ก็พอบอกได้ว่าเราชนะ แม้จริงๆ แล้วแค่เสมอตัวถ้าวัดจากที่ศาลตัดสินถึงปัจจุบัน
หรือเลวร้ายที่สุดอาจต้องขยับที่ล้อมรั้วลวดหนามออกไปอีก ถ้าศาลเกิดรับตีความแล้วกำหนดพิกัด (Vicinity) ขึ้นมาใหม่
แต่โดยส่วนตัวนะครับ ผมเชื่อว่าศาลจะไม่กล้าก้าวล่วงไปถึงการชี้ว่าพื้นที่ 4.6 ตร.กม.เป็นของใคร ก็ให้สองชาติไปตกลงกันเองตาม MOU43 (ถ้ายังไม่ยกเลิก) ที่ยึดแผนที่ 1:200,000 ก็เจรจากันไปไม่รู้กี่ชาติ แต่ในทางปฏิบัติเขมรเข้าไปสร้างวัดและชุมชนอยู่แล้ว เขาก็คงไม่สนว่าจะยืดยาวเท่าไหร่
สุดท้ายดูจุดยืนของฝ่ายรัฐไทยแล้วก็มองไม่ออกนะครับว่าจะจริงจังกับพื้นที่ตรงนี้ขนาดไหน ไม่ว่า ฝ่ายอำนาจรัฐ หรือทหาร เพราะเราไม่เคยพูดเต็มปากเลยว่านี่คือแผ่นดินไทยเมื่อเทียบกับฝ่ายเขมรที่พูดว่าแผ่นดินของเขา แต่เราพูดเพียงว่าพื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อน
วันนี้เราปลื้มใจกับการต่อสู้ของทีมทนาย ก็น่าดีใจที่เขาสู้จริงๆ แต่อยากให้ทำใจไว้ในวันพิพากษาปลายปีบ้างครับ และให้ทำใจกับท่าทีของรัฐไทยทั้งรัฐบาลและทหารถ้าศาลโลกมีคำพิพากษาออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องไม่ลืมว่า รัฐเขมรนั้นมีบุญคุณกับทักษิณและคนเสื้อแดงที่เคยให้ที่พักพิงหลังร่วมกันก่อการจลาจลเผาประเทศตัวเอง แล้วรู้กันอยู่ว่า รัฐบาลนี้อยู่ภายใต้การกดปุ่มของทักษิณ และทหารยุคนี้ท่องจำแต่ว่า จะทำตามคำสั่งของรัฐบาล ดังนั้นก็อย่าไปคาดหวังกับรัฐบาลและทหารคณะนี้เช่นเดียวกัน
แต่ที่แปลกอีกอย่างก็คือเราได้ยินนักวิชาการเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณและเรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตยออกมาสนับสนุนเขมรกันจำนวนมาก
นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวให้ความเห็นต่อการแถลงปิดคดีของฝ่ายไทยว่า ไม่มีอะไรใหม่ เป็นการเล่นสำนวน มีการใช้ภาษาที่แรงมากในลักษณะเหยียดหยาม และกระแนะกระแหนดูถูกฝ่ายกัมพูชา ซึ่งเป็นมาโดยตลอด ส่วนในการแถลงปิดคดีของฝ่ายกัมพูชาจะไม่ค่อยมีคำที่ประชดประชันมากกว่าของไทย
“การแถลงปิดคดีของทั้งสองฝ่ายจะดีหรือไม่ดีต้องไปดูที่เนื้อหา การแถลงปิดเป็นเพียงแค่การสรุปประเด็น ไม่มีอะไรใหม่ ไม่มีความแตกต่างด้านเนื้อหาที่แถลงไปในวันแรก มีเพียงใช้คำพูดประชดประชันเสียดสี อาจจะทำให้คนไทยรวมทั้งผู้ชมและสื่อมวลชนรู้สึกสะใจและได้ใจคนดู แต่คงไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีเท่าไหร่นัก” นางพวงทอง กล่าว
นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ นี่เป็นหนึ่งในนักวิชาการ 7.1 ล้านที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยจ้างทำวิจัยเรื่องชายแดนไทย-เขมรแล้ว ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่า ผลการวิจัยของเธอและคณะที่รัฐไทยเป็นคนจ้างนั้น สุดท้ายแล้วมันจะเป็นประโยชน์แก่รัฐไทยหรือเขมรกันแน่
ไม่เพียงแต่เจ๊พวงเท่านั้นนะครับ ที่มีความเห็นในเชิงแก้ต่างให้เขมรในประเทศเราไปดูความเห็นของนักวิชาการเสื้อแดงคนอื่นๆ ก็มีจุดยืนไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ ฯลฯ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล บอกว่า ประเด็น เขตแดนจริงๆ มัน “จบ” ไปพร้อมเรื่องพื้นที่ปราสาทแล้ว เพราะตอนตัดสินเรื่องพื้นที่ปราสาท เขาวินิจฉัยตีความแผนที่ไปแล้ว (จึงยกพื้นที่ปราสาทให้เป็นของกัมพูชา ไม่งั้น จู่ๆ ตัดสินยกให้ได้ไง)
แล้วสมศักดิ์ก็สรุปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรจึงเป็นของเขมร พวกปลุกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นพวก “โง่” ไม่มีความคิด
ที่เขมรนำคดีขึ้นสู่ศาลโลกก็เพราะคิดแบบเดียวกับสมศักดิ์ เจียมนี่แหละครับ
ในขณะที่การต่อสู้ของรัฐไทยและทนายฝ่ายไทยยืนยันว่า การตัดสินเมื่อปี 2505 นั้น ตัดสินเพียงว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของใคร ไม่เกี่ยวกับดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร
หรือว่าจริงๆ แล้วทัศนคติของนักวิชาการแดงเช่นนี้ เกิดจากอคติล้วนๆเพียงเพราะการต่อสู้เรื่องพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นเป็นเรื่องที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปลุกขึ้น เรื่องแบบนี้ควรจะเป็นสำนึกร่วมกันของคนในชาติ แต่มีการชี้หน้ากล่าวหาว่า พันธมิตรฯ “คลั่งชาติ” แล้วก็ออกกันมาแสดงจุดยืนตอบโต้ฝ่ายพันธมิตรฯ แก้ต่างแทนเขมรในประเทศไทย จนชาญวิทย์ เกษตรศิริได้รับการชื่นชมจากรัฐบาลเขมร
สมศักดิ์ เจียม ยังเยาะเย้ยเหน็บแหนมคนไทยที่พากันคลั่งไคล้อลินา มิรอง ด้วยนะครับว่า ไร้สติปัญญา
สมศักดิ์ ระบุว่า การบอกว่า คุณมิรอง ‘ฉีก’ แผนที่ผนวก 1 ได้สำเร็จ มองไม่ออกว่า จะมีความหมายอะไร เพราะยังไงก็แก้การวินิจฉัยที่รับรองแผนที่นั้นไม่ได้แล้ว (ถ้าแก้ได้ ก็ต้องยกพื้นที่ปราสาทมาให้ฝ่ายไทย ซึ่งคงไม่มีทางเกิดขึ้น)
แต่ผมกลับมามองว่า แม้ศาลจะวินิจฉัยตีความแผนที่ Annex 1 จนนำมาสู่การยกปราสาทพระวิหารให้กับเขมรอย่างที่สมศักดิ์ว่าตั้งแต่ปี 2505 แต่การที่อลินา มิรอง นำแผนที่ฉบับนี้มาชำแหละให้เห็นถึงความคลาดเคลื่อนก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ในพ.ศ.นี้
เพราะการที่เขมรยื่นให้ศาลโลกตีความก็เพื่อต้องการให้ศาลชี้ว่า บริเวณใกล้เคียง (Vicinity) ของปราสาทพระวิหารอยู่ตรงไหนตามแผนที่ Annex 1 ถ้าศาลโลกจะตีความด้วยการขีดเส้น Vicinity ขึ้นใหม่ให้ชัดตามคำร้องขอของเขมร ผมคิดว่า ศาลจะต้องหนักใจถ้าจะหยิบแผนที่นี้มาใช้อีก เพราะประจักษ์แล้วว่ามันคลาดเคลื่อนและเชื่อถือไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ผมจึงคิดว่า ความไม่น่าเชื่อถือของ Annex 1 นี่แหละที่จะทำให้ศาลไม่กล้าตีความว่า Vicinity ตามคำพิพากษา 2505 นั้นอยู่ตรงไหนโดยอ้างอิงแผนที่ฉบับนี้เหลือทางออกคือ ศาลกำหนด Vicinity ขึ้นมาเอง หรือยึดตามแนวมติ ครม.ของไทยซึ่งใช้มาเกือบ 50 ปี แต่เขมรไม่เคยคัดค้าน หรือศาลไม่รับตีความแล้วโยนกลับให้เจรจาทวิภาคีเรื่องพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
ทางออกนั้นมีหลายทางได้ ในวันที่เราแห่แหนชื่นชมวีรบุรุษยังไม่เห็นผลลัพธ์ของเรื่องนี้ จะออกทางไหนก็ต้องเผื่อใจกันเอาไว้บ้าง
เพียงแต่เราเห็นความแตกต่างระหว่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลและนักวิชาการเสื้อแดงกับอลินา มิรองและทนายความชาวต่างชาติคนอื่นก็คือ สมศักดิ์และพวกพยายามหาหลักฐานมาหักล้างฝ่ายไทย แต่ทนายชาวต่างชาติพยายามหาหลักฐานมาหักล้างฝ่ายกัมพูชา
จนผมอดคิดถึงสมการนี้ไม่ได้ สนับสนุนทักษิณ+เกลียดอำมาตย์ ต้องยืนข้างเขมร
ต้องบอกว่า เรื่องศาลโลกเราต้องทำใจนิดนะครับ อย่าลืมว่าศาลโลกตัดสินให้เขมรไปแล้วในปี 2505 ครั้งนี้เป็นการยื่นให้ศาลตีความคำพิพากษาของเขมร
เราก็สู้ว่าศาลโลกไม่มีอำนาจตีความคำพิพากษา ถ้าออกตามนี้ก็เจ๊าแล้วมาเจรจาทวิภาคีกันหรือไม่ก็รบกัน ถ้าไม่มีใครยอมใคร
แต่ถ้าศาลบอกว่าศาลมีอำนาจก็มาลุ้นว่าศาลจะตีความว่าที่เราปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นเพียงพอหรือยัง หรือเพียงพอแล้วเพราะเขมรไม่เคยคัดค้านมาก่อนเท่ากับการยอมรับมาตั้งแต่ต้นก็ว่ากันไป อันนี้ก็พอบอกได้ว่าเราชนะ แม้จริงๆ แล้วแค่เสมอตัวถ้าวัดจากที่ศาลตัดสินถึงปัจจุบัน
หรือเลวร้ายที่สุดอาจต้องขยับที่ล้อมรั้วลวดหนามออกไปอีก ถ้าศาลเกิดรับตีความแล้วกำหนดพิกัด (Vicinity) ขึ้นมาใหม่
แต่โดยส่วนตัวนะครับ ผมเชื่อว่าศาลจะไม่กล้าก้าวล่วงไปถึงการชี้ว่าพื้นที่ 4.6 ตร.กม.เป็นของใคร ก็ให้สองชาติไปตกลงกันเองตาม MOU43 (ถ้ายังไม่ยกเลิก) ที่ยึดแผนที่ 1:200,000 ก็เจรจากันไปไม่รู้กี่ชาติ แต่ในทางปฏิบัติเขมรเข้าไปสร้างวัดและชุมชนอยู่แล้ว เขาก็คงไม่สนว่าจะยืดยาวเท่าไหร่
สุดท้ายดูจุดยืนของฝ่ายรัฐไทยแล้วก็มองไม่ออกนะครับว่าจะจริงจังกับพื้นที่ตรงนี้ขนาดไหน ไม่ว่า ฝ่ายอำนาจรัฐ หรือทหาร เพราะเราไม่เคยพูดเต็มปากเลยว่านี่คือแผ่นดินไทยเมื่อเทียบกับฝ่ายเขมรที่พูดว่าแผ่นดินของเขา แต่เราพูดเพียงว่าพื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อน
วันนี้เราปลื้มใจกับการต่อสู้ของทีมทนาย ก็น่าดีใจที่เขาสู้จริงๆ แต่อยากให้ทำใจไว้ในวันพิพากษาปลายปีบ้างครับ และให้ทำใจกับท่าทีของรัฐไทยทั้งรัฐบาลและทหารถ้าศาลโลกมีคำพิพากษาออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องไม่ลืมว่า รัฐเขมรนั้นมีบุญคุณกับทักษิณและคนเสื้อแดงที่เคยให้ที่พักพิงหลังร่วมกันก่อการจลาจลเผาประเทศตัวเอง แล้วรู้กันอยู่ว่า รัฐบาลนี้อยู่ภายใต้การกดปุ่มของทักษิณ และทหารยุคนี้ท่องจำแต่ว่า จะทำตามคำสั่งของรัฐบาล ดังนั้นก็อย่าไปคาดหวังกับรัฐบาลและทหารคณะนี้เช่นเดียวกัน
แต่ที่แปลกอีกอย่างก็คือเราได้ยินนักวิชาการเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณและเรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตยออกมาสนับสนุนเขมรกันจำนวนมาก
นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวให้ความเห็นต่อการแถลงปิดคดีของฝ่ายไทยว่า ไม่มีอะไรใหม่ เป็นการเล่นสำนวน มีการใช้ภาษาที่แรงมากในลักษณะเหยียดหยาม และกระแนะกระแหนดูถูกฝ่ายกัมพูชา ซึ่งเป็นมาโดยตลอด ส่วนในการแถลงปิดคดีของฝ่ายกัมพูชาจะไม่ค่อยมีคำที่ประชดประชันมากกว่าของไทย
“การแถลงปิดคดีของทั้งสองฝ่ายจะดีหรือไม่ดีต้องไปดูที่เนื้อหา การแถลงปิดเป็นเพียงแค่การสรุปประเด็น ไม่มีอะไรใหม่ ไม่มีความแตกต่างด้านเนื้อหาที่แถลงไปในวันแรก มีเพียงใช้คำพูดประชดประชันเสียดสี อาจจะทำให้คนไทยรวมทั้งผู้ชมและสื่อมวลชนรู้สึกสะใจและได้ใจคนดู แต่คงไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีเท่าไหร่นัก” นางพวงทอง กล่าว
นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ นี่เป็นหนึ่งในนักวิชาการ 7.1 ล้านที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยจ้างทำวิจัยเรื่องชายแดนไทย-เขมรแล้ว ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่า ผลการวิจัยของเธอและคณะที่รัฐไทยเป็นคนจ้างนั้น สุดท้ายแล้วมันจะเป็นประโยชน์แก่รัฐไทยหรือเขมรกันแน่
ไม่เพียงแต่เจ๊พวงเท่านั้นนะครับ ที่มีความเห็นในเชิงแก้ต่างให้เขมรในประเทศเราไปดูความเห็นของนักวิชาการเสื้อแดงคนอื่นๆ ก็มีจุดยืนไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ ฯลฯ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล บอกว่า ประเด็น เขตแดนจริงๆ มัน “จบ” ไปพร้อมเรื่องพื้นที่ปราสาทแล้ว เพราะตอนตัดสินเรื่องพื้นที่ปราสาท เขาวินิจฉัยตีความแผนที่ไปแล้ว (จึงยกพื้นที่ปราสาทให้เป็นของกัมพูชา ไม่งั้น จู่ๆ ตัดสินยกให้ได้ไง)
แล้วสมศักดิ์ก็สรุปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรจึงเป็นของเขมร พวกปลุกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นพวก “โง่” ไม่มีความคิด
ที่เขมรนำคดีขึ้นสู่ศาลโลกก็เพราะคิดแบบเดียวกับสมศักดิ์ เจียมนี่แหละครับ
ในขณะที่การต่อสู้ของรัฐไทยและทนายฝ่ายไทยยืนยันว่า การตัดสินเมื่อปี 2505 นั้น ตัดสินเพียงว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของใคร ไม่เกี่ยวกับดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร
หรือว่าจริงๆ แล้วทัศนคติของนักวิชาการแดงเช่นนี้ เกิดจากอคติล้วนๆเพียงเพราะการต่อสู้เรื่องพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นเป็นเรื่องที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปลุกขึ้น เรื่องแบบนี้ควรจะเป็นสำนึกร่วมกันของคนในชาติ แต่มีการชี้หน้ากล่าวหาว่า พันธมิตรฯ “คลั่งชาติ” แล้วก็ออกกันมาแสดงจุดยืนตอบโต้ฝ่ายพันธมิตรฯ แก้ต่างแทนเขมรในประเทศไทย จนชาญวิทย์ เกษตรศิริได้รับการชื่นชมจากรัฐบาลเขมร
สมศักดิ์ เจียม ยังเยาะเย้ยเหน็บแหนมคนไทยที่พากันคลั่งไคล้อลินา มิรอง ด้วยนะครับว่า ไร้สติปัญญา
สมศักดิ์ ระบุว่า การบอกว่า คุณมิรอง ‘ฉีก’ แผนที่ผนวก 1 ได้สำเร็จ มองไม่ออกว่า จะมีความหมายอะไร เพราะยังไงก็แก้การวินิจฉัยที่รับรองแผนที่นั้นไม่ได้แล้ว (ถ้าแก้ได้ ก็ต้องยกพื้นที่ปราสาทมาให้ฝ่ายไทย ซึ่งคงไม่มีทางเกิดขึ้น)
แต่ผมกลับมามองว่า แม้ศาลจะวินิจฉัยตีความแผนที่ Annex 1 จนนำมาสู่การยกปราสาทพระวิหารให้กับเขมรอย่างที่สมศักดิ์ว่าตั้งแต่ปี 2505 แต่การที่อลินา มิรอง นำแผนที่ฉบับนี้มาชำแหละให้เห็นถึงความคลาดเคลื่อนก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ในพ.ศ.นี้
เพราะการที่เขมรยื่นให้ศาลโลกตีความก็เพื่อต้องการให้ศาลชี้ว่า บริเวณใกล้เคียง (Vicinity) ของปราสาทพระวิหารอยู่ตรงไหนตามแผนที่ Annex 1 ถ้าศาลโลกจะตีความด้วยการขีดเส้น Vicinity ขึ้นใหม่ให้ชัดตามคำร้องขอของเขมร ผมคิดว่า ศาลจะต้องหนักใจถ้าจะหยิบแผนที่นี้มาใช้อีก เพราะประจักษ์แล้วว่ามันคลาดเคลื่อนและเชื่อถือไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ผมจึงคิดว่า ความไม่น่าเชื่อถือของ Annex 1 นี่แหละที่จะทำให้ศาลไม่กล้าตีความว่า Vicinity ตามคำพิพากษา 2505 นั้นอยู่ตรงไหนโดยอ้างอิงแผนที่ฉบับนี้เหลือทางออกคือ ศาลกำหนด Vicinity ขึ้นมาเอง หรือยึดตามแนวมติ ครม.ของไทยซึ่งใช้มาเกือบ 50 ปี แต่เขมรไม่เคยคัดค้าน หรือศาลไม่รับตีความแล้วโยนกลับให้เจรจาทวิภาคีเรื่องพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
ทางออกนั้นมีหลายทางได้ ในวันที่เราแห่แหนชื่นชมวีรบุรุษยังไม่เห็นผลลัพธ์ของเรื่องนี้ จะออกทางไหนก็ต้องเผื่อใจกันเอาไว้บ้าง
เพียงแต่เราเห็นความแตกต่างระหว่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลและนักวิชาการเสื้อแดงกับอลินา มิรองและทนายความชาวต่างชาติคนอื่นก็คือ สมศักดิ์และพวกพยายามหาหลักฐานมาหักล้างฝ่ายไทย แต่ทนายชาวต่างชาติพยายามหาหลักฐานมาหักล้างฝ่ายกัมพูชา
จนผมอดคิดถึงสมการนี้ไม่ได้ สนับสนุนทักษิณ+เกลียดอำมาตย์ ต้องยืนข้างเขมร