ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งสำหรับถ้อยแถลงด้วยวาจาของตัวแทนราชอาณาจักรกัมพูชา นำโดยนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการประเทศต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เพราะแสดงให้เห็นว่า เป้าประสงค์เพียงประการเดียวของลูกหลานพระยาละแวกคือ ต้องการดินแดนของราชอาณาจักรไทย
ทั้งนี้ ถ้อยแถลงของนายฮอร์ นัมฮง อ้างว่า กรณีปราสาทพระวิหารถือเป็นความร้ายแรงต่อประเทศกัมพูชา ดังนั้น จำเป็นต้องยื่นเรื่องนี้ให้ศาลโลกพิจารณา เพื่อตัดสินให้เกิดสันติภาพในภูมิภาค ด้วยเหตุที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะรุกรานบริเวณชายแดนตัวปราสาทพระวิหาร ขณะที่กัมพูชาได้นำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
“หากไม่มีการรุกราน กัมพูชาก็จะมีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ ต่อมามีการใช้อาวุธใกล้บริเวณปราสาท ซึ่งมีข้อมูลชัดเจนจากสื่อสิ่งพิมพ์ถึงการโจมตีกัมพูชา จนสร้างความเสียหายให้กับสถานที่ใกล้เคียงและตัวปราสาท รวมถึงมีผู้เสียชีวิต”
เรียกว่า พุ่งเป้าอัดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะซึ่งๆ หน้า โดยระบุชัดเจนว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์คือตัวการสำคัญที่ทำให้กัมพูชาตัดสินใจนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก
ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือเกมการเมืองที่เกิดขึ้นจากการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์และรัฐบาลนายฮุนเซน เพื่อโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วก็มิได้เกินเลยไปจากความเป็นจริงเท่าใดนัก เนื่องเพราะต้องไม่ลืมว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็กระหี้ยนกระหือรือที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลกจริงๆ จนทำให้ราชอาณาจักรไทยสุ่มเสี่ยงที่จะเสียดินแดน
หลังจากโจมตีนายอภิสิทธิ์ และเรียกแต้มให้นักโทษชายทักษิณเพื่อนรักชั่วนิรันดร์ของนายฮุนเซนและรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนสาแก่ใจ นายฮอร์ นัมฮง ก็กลับเข้าสู่หัวใจหลักของเรื่องนั่นคือการร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาในปี พ.ศ.2505 โดยอ้างว่า เป็นคำพิพากษาที่มีปัญหาในเรื่องของการตีความ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายไทยที่พยายามลดความหมายและขอบเขตของคำพิพากษา ทำให้เกิดข้อพิพาทในเรื่องเขตแดน และอ้างว่าปัญหาเรื่องเขตแดนเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ 50 ปีที่แล้วนั่นก็คือยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่กำหนดเอาไว้ในภาคผนวก 1
พร้อมข่มขู่ศาลเอาไว้เสร็จสรรพว่า “เรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์ความสงบอยู่ร่วมกันของไทยและกัมพูชา และเชื่อว่าศาลในฐานะองค์กรหลักของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มีบทบาทในเรื่องสันติภาพ หากไม่ตีความ อาจทำให้กัมพูชาไม่สามารถอยู่ร่วมกับไทยได้โดยสันติต่อไป”
นั่นแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลกัมพูชามิใช่ต้องการแค่ปราสาทพระวิหาร เท่านั้น หากแต่มุ่งมาดปรารถนาที่จะครอบครองพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร โดยมีอาวุธสำคัญคือ แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'the Annex I map' ซึ่งมิอาจตีความเป็นอื่นนอกจากว่า กัมพูชาต้องการพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรอันเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทย หรือที่นักวิชาการไทยหัวใจเขมรใช้คำว่าพื้นที่ทับซ้อน หรือบางรายอย่าง “สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” ยกให้เป็นดินแดนของกัมพูชาเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม จากถ้อยแถลงของนายฮอร์ นัมฮง ทำให้เห็นว่า คำพิพากษาของศาลโลกในปี พ.ศ. 2505 นั้น มิได้ข้องเกี่ยวกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่กัมพูชาอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ประการใด เพราะถ้าหากกัมพูชามั่นใจว่า ศาลมีคำพิพากษาดังเช่นที่กล่าวอ้างจริง ก็ย่อมไม่จำเป็นต้องยื่นเรื่องกลับเข้าสู่ศาลโลก
หมายความว่า นายฮอร์ นัมฮง และรัฐบาลกัมพูชากำลังสร้างเรื่องโกหกและบิดเบือนอย่างหน้าไม่อายต่อสายตาของชาวโลก เพราะความจริงก็คือ ในบทปฏิบัติการศาลโลกมีคำสั่งเพียงแค่ 3 ข้อ โดยที่มิได้รับรองความถูกต้องของแผนที่ 1 ต่อ 200,000 และเส้นเขตแดนที่ฝ่ายกัมพูชายื่นเข้ามาเพิ่มเติมในภายหลัง
นั่นหมายความว่า กัมพูชากำลังขอให้ตีความนอกเหนือไปจากคำพิพากษาของศาลในปี พ.ศ. 2505 ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง ไทยได้ยอมรับคำพิพากษาเมื่อ 50 ปีที่แล้วทั้ง 3 ข้อและปฏิบัติตามคำสั่งศาลครบถ้วนกระบวนความแล้ว
ด้าน นายฌอง มาร์ค ซอร์เรล ทนายชาวฝรั่งเศสฝ่ายกัมพูชา คนที่ 1 ได้ขยายความเพิ่มเติมในรายละเอียดโดยตอกย้ำว่า ปัญหาเรื่องเขตแดนในคำ พิพากษา พ.ศ.2505 นั้น เป็นที่สิ้นสุดแล้วโดยทั้งสองฝ่ายยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 พร้อมยืนยันว่า ไม่สามารถแยกออกจากบทปฏิบัติการได้ แต่การที่ไทยไม่ยอมรับ ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ คดีดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นคดีใหม่ หากแต่เป็นคดีเก่าอันเป็นผลมาจากฝ่ายไทยที่ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลโลก
ทั้งนี้ คำโต้แย้งของฝ่ายไทยในการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารรอบนี้ เห็นได้ชัดว่ามีความพยายามเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาในปี 2505 โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ศาลได้วินิจฉัยไว้ อีกทั้งในคำโต้แย้งนั้นมีลักษณะปะติดปะต่อ เพื่อให้เกิดความเป็นประโยชน์กับฝ่ายตนเอง และไม่ให้ความเป็นธรรมกับกัมพูชาในประเด็นเรื่องเขตแดนที่ไทยได้สร้างเส้นเขตแดนที่เห็นว่าสมควร ทั้งที่ตามคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 ระบุว่า ที่ตั้งปราสาทพระวิหารเป็นพื้นที่อธิปไตยของกัมพูชา แต่กลับไม่ได้คำนึงในข้อสรุปของเนื้อที่ หรือจุดสิ้นสุดของดินแดนว่าจะมีขอบเขตหรือจุดสิ้นสุดอยู่ตรงบริเวณใด โดยเมื่อปี 2543 ไทยได้ทำข้อตกลงเรื่องเขตแดนในพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เท่ากับถือเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเขตแดน เพราะก่อนติดตั้งเครื่องหมายใดบนพื้นที่ ต้องทำตามคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 (ค.ศ.1962)
“แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ถือเป็นส่วนประกอบที่ศาลใช้ตัดสิน โดยในปี 2505 ในคำตัดสินของศาลได้ใช้คำว่า เส้นเขตแดนกว่า 100 คำ สำหรับแนวทางปฏิบัติที่ศาลได้จัดทำขึ้นมา ได้ระบุถึงการยอมรับแผนที่ดังกล่าว โดยไม่สามารถคัดค้าน หรือพูดถึงสถานะของสนธิสัญญา ในกรณีที่กัมพูชาให้ศาลตีความคำพิพากษา ไม่ได้ขอให้ศาลกำหนดเส้นเขตแดน แต่จะขอให้ตีความอาณาบริเวณของกัมพูชาที่มีปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ ตามที่อยู่ในคำตัดสินของศาลโลก ในปี 2505 อยู่ตรงไหน อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่เรากำหนดเขตแดนแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ปรึกษาคู่ความ จะเห็นว่า รั้วลวดหนามตามมติ ครม. ปี 2505 เป็นสิ่งที่ไทยได้ตีความเพียงฝ่ายเดียว และตัดสินใจกำหนดเส้นเขตแดนโดยขาดสามัญสำนึก โดยไม่ปรึกษากัมพูชาเลย เหมือนเป็นการละเมิดกฎ และไทยเองก็กำหนดเส้นเขตแดนและอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร ที่ดูขัดแย้งคำพิพากษาศาลโลก” นายซอร์เรล แจกแจง
กระนั้นก็ดีทนายความชาวฝรั่งเศสผู้นี้ก็ยอมรับอยู่ในทีว่า แผนที่ในภาคผนวกมีปัญหาและไม่สามารถนำมาใช้ในบทปฏิบัติการที่ศาลโลกมีคำพิพากษาได้ ดังนั้น ศาลโลกจึงจำเป็นที่จะต้องตีความเพื่อให้เกิดความชัดเจน
แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ หลังศาลโลกมีคำพิพากษาออกมาในปี พ.ศ.2505 รัฐบาลไทยได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้ไปล้อมรั้วลวดหนามทำเส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ฝ่ายกัมพูชาก็มิได้ออกมาคัดค้านหรือเข้ามาขัดขวางไม่ให้ฝ่ายไทยล้อมรั้วลวดหนาม แถมยังปล่อยให้มีการล้อมรั้วลวดหนามได้จนเสร็จเรียบร้อยอีกต่างหาก
ขณะที่ เซอร์แฟรงคลิน เบอร์แมน ทนายชาวอังกฤษฝ่ายกัมพูชา คนที่ 2 กล่าวว่า คดีนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของสันติภาพและความร่วมมือในภูมิภาค วัตถุประสงค์ของกัมพูชาชัดเจน คือ ต้องการให้มีการตีความโดยอาศัยธรรมนูญข้อ 60 ของศาลโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ เพื่อให้สิ่งที่เคยตัดสินมาแล้วสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ไม่ใช่การขอตีความเพื่อขอทำซ้ำ หรือล้มล้างคำตัดสินเดิม
เช่นเดียวกับ นายร็อดแมน บุนดี ทนายความชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นทนายคนที่ 3 ของกัมพูชา กล่าวย้ำว่าการที่กัมพูชา ขอให้ตีความอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร ไม่ได้เป็นการขอให้เปิดประเด็นใหม่ในคดีเดิม รวมทั้งยังชี้ให้เห็นว่า ไทยมีปฏิกิริยาหลังจากที่ยูเนสโกให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดก เนื่องจากการเมืองไทยที่แปรปรวนและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทราบกันดีว่ารัฐบาลทักษิณที่มีสัมพันธ์ดีกับกัมพูชาถูกรัฐประหารไป โดยที่นโยบายของรัฐบาลใหม่มีผลต่อแนวทางแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าว
สรุปรวมความก็คือ กัมพูชาต้องการให้ตีความคำพิพากษาเพราะต้องการครอบครองดินแดนของราชอาณาจักรไทยนอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้มีคำพิพากษาและราชอาณาจักรไทยได้ยอมรับพร้อมปฏิบัติตามอย่างครบถ้วนแล้ว
ที่สำคัญคือเป็นคำร้องขอที่ศาลโลกในปี พ.ศ. 2505 ได้ปฏิเสธคำขอของกัมพูชาในเรื่องของเส้นเขตแดนเอาไว้อย่างชัดเจน
การให้ถ้อยคำด้วยวาจาของฝ่ายกัมพูชาที่หว่านล้อมให้ศาลฯคล้อยตามต่างๆ นาๆ นั้น กระทรวงการต่างประเทศ โดยนายไกรรวี ศิริกุล รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ได้สรุปสาระสำคัญว่า มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1) กัมพูชาชี้ว่าศาลมีอำนาจตีความคดีเพราะไทยและกัมพูชามีความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาเดิม 2) กัมพูชาได้ยกเอกสารหลักฐานหลายชิ้นเพื่อพิสูจน์ว่าได้คัดค้านการล้อมรั้วลวดหมายรอบบริเวณปราสาทพระวิหารของไทย เพื่อหักล้างข้อต่อสู้ของไทยที่ว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลแล้ว และ 3) การตีความคำพิพากษา ศาลฯ สามารถใช้ “แผนที่ภาคผนวก ๑” มาช่วยทำความเข้าใจข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษาได้ เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวเป็นเหตุผลสำคัญและจำเป็นที่ศาลฯ ใช้ในการวินิจฉัยคดีเดิม
อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ย้ำชัดเจนว่า ปัญหาคดีปราสาทพระวิหารได้กลายเป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้งเพราะฝ่ายกัมพูชาต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว และได้กันพื้นที่อนุรักษ์และบริหารจัดการล้ำเข้ามาในดินแดนไทย
ทั้งนี้ ถ้อยแถลงของนายฮอร์ นัมฮง อ้างว่า กรณีปราสาทพระวิหารถือเป็นความร้ายแรงต่อประเทศกัมพูชา ดังนั้น จำเป็นต้องยื่นเรื่องนี้ให้ศาลโลกพิจารณา เพื่อตัดสินให้เกิดสันติภาพในภูมิภาค ด้วยเหตุที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะรุกรานบริเวณชายแดนตัวปราสาทพระวิหาร ขณะที่กัมพูชาได้นำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
“หากไม่มีการรุกราน กัมพูชาก็จะมีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ ต่อมามีการใช้อาวุธใกล้บริเวณปราสาท ซึ่งมีข้อมูลชัดเจนจากสื่อสิ่งพิมพ์ถึงการโจมตีกัมพูชา จนสร้างความเสียหายให้กับสถานที่ใกล้เคียงและตัวปราสาท รวมถึงมีผู้เสียชีวิต”
เรียกว่า พุ่งเป้าอัดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะซึ่งๆ หน้า โดยระบุชัดเจนว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์คือตัวการสำคัญที่ทำให้กัมพูชาตัดสินใจนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก
ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือเกมการเมืองที่เกิดขึ้นจากการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์และรัฐบาลนายฮุนเซน เพื่อโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วก็มิได้เกินเลยไปจากความเป็นจริงเท่าใดนัก เนื่องเพราะต้องไม่ลืมว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็กระหี้ยนกระหือรือที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลกจริงๆ จนทำให้ราชอาณาจักรไทยสุ่มเสี่ยงที่จะเสียดินแดน
หลังจากโจมตีนายอภิสิทธิ์ และเรียกแต้มให้นักโทษชายทักษิณเพื่อนรักชั่วนิรันดร์ของนายฮุนเซนและรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนสาแก่ใจ นายฮอร์ นัมฮง ก็กลับเข้าสู่หัวใจหลักของเรื่องนั่นคือการร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาในปี พ.ศ.2505 โดยอ้างว่า เป็นคำพิพากษาที่มีปัญหาในเรื่องของการตีความ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายไทยที่พยายามลดความหมายและขอบเขตของคำพิพากษา ทำให้เกิดข้อพิพาทในเรื่องเขตแดน และอ้างว่าปัญหาเรื่องเขตแดนเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ 50 ปีที่แล้วนั่นก็คือยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่กำหนดเอาไว้ในภาคผนวก 1
พร้อมข่มขู่ศาลเอาไว้เสร็จสรรพว่า “เรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์ความสงบอยู่ร่วมกันของไทยและกัมพูชา และเชื่อว่าศาลในฐานะองค์กรหลักของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มีบทบาทในเรื่องสันติภาพ หากไม่ตีความ อาจทำให้กัมพูชาไม่สามารถอยู่ร่วมกับไทยได้โดยสันติต่อไป”
นั่นแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลกัมพูชามิใช่ต้องการแค่ปราสาทพระวิหาร เท่านั้น หากแต่มุ่งมาดปรารถนาที่จะครอบครองพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร โดยมีอาวุธสำคัญคือ แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'the Annex I map' ซึ่งมิอาจตีความเป็นอื่นนอกจากว่า กัมพูชาต้องการพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรอันเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทย หรือที่นักวิชาการไทยหัวใจเขมรใช้คำว่าพื้นที่ทับซ้อน หรือบางรายอย่าง “สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” ยกให้เป็นดินแดนของกัมพูชาเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม จากถ้อยแถลงของนายฮอร์ นัมฮง ทำให้เห็นว่า คำพิพากษาของศาลโลกในปี พ.ศ. 2505 นั้น มิได้ข้องเกี่ยวกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่กัมพูชาอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ประการใด เพราะถ้าหากกัมพูชามั่นใจว่า ศาลมีคำพิพากษาดังเช่นที่กล่าวอ้างจริง ก็ย่อมไม่จำเป็นต้องยื่นเรื่องกลับเข้าสู่ศาลโลก
หมายความว่า นายฮอร์ นัมฮง และรัฐบาลกัมพูชากำลังสร้างเรื่องโกหกและบิดเบือนอย่างหน้าไม่อายต่อสายตาของชาวโลก เพราะความจริงก็คือ ในบทปฏิบัติการศาลโลกมีคำสั่งเพียงแค่ 3 ข้อ โดยที่มิได้รับรองความถูกต้องของแผนที่ 1 ต่อ 200,000 และเส้นเขตแดนที่ฝ่ายกัมพูชายื่นเข้ามาเพิ่มเติมในภายหลัง
นั่นหมายความว่า กัมพูชากำลังขอให้ตีความนอกเหนือไปจากคำพิพากษาของศาลในปี พ.ศ. 2505 ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง ไทยได้ยอมรับคำพิพากษาเมื่อ 50 ปีที่แล้วทั้ง 3 ข้อและปฏิบัติตามคำสั่งศาลครบถ้วนกระบวนความแล้ว
ด้าน นายฌอง มาร์ค ซอร์เรล ทนายชาวฝรั่งเศสฝ่ายกัมพูชา คนที่ 1 ได้ขยายความเพิ่มเติมในรายละเอียดโดยตอกย้ำว่า ปัญหาเรื่องเขตแดนในคำ พิพากษา พ.ศ.2505 นั้น เป็นที่สิ้นสุดแล้วโดยทั้งสองฝ่ายยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 พร้อมยืนยันว่า ไม่สามารถแยกออกจากบทปฏิบัติการได้ แต่การที่ไทยไม่ยอมรับ ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ คดีดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นคดีใหม่ หากแต่เป็นคดีเก่าอันเป็นผลมาจากฝ่ายไทยที่ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลโลก
ทั้งนี้ คำโต้แย้งของฝ่ายไทยในการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารรอบนี้ เห็นได้ชัดว่ามีความพยายามเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาในปี 2505 โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ศาลได้วินิจฉัยไว้ อีกทั้งในคำโต้แย้งนั้นมีลักษณะปะติดปะต่อ เพื่อให้เกิดความเป็นประโยชน์กับฝ่ายตนเอง และไม่ให้ความเป็นธรรมกับกัมพูชาในประเด็นเรื่องเขตแดนที่ไทยได้สร้างเส้นเขตแดนที่เห็นว่าสมควร ทั้งที่ตามคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 ระบุว่า ที่ตั้งปราสาทพระวิหารเป็นพื้นที่อธิปไตยของกัมพูชา แต่กลับไม่ได้คำนึงในข้อสรุปของเนื้อที่ หรือจุดสิ้นสุดของดินแดนว่าจะมีขอบเขตหรือจุดสิ้นสุดอยู่ตรงบริเวณใด โดยเมื่อปี 2543 ไทยได้ทำข้อตกลงเรื่องเขตแดนในพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เท่ากับถือเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเขตแดน เพราะก่อนติดตั้งเครื่องหมายใดบนพื้นที่ ต้องทำตามคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 (ค.ศ.1962)
“แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ถือเป็นส่วนประกอบที่ศาลใช้ตัดสิน โดยในปี 2505 ในคำตัดสินของศาลได้ใช้คำว่า เส้นเขตแดนกว่า 100 คำ สำหรับแนวทางปฏิบัติที่ศาลได้จัดทำขึ้นมา ได้ระบุถึงการยอมรับแผนที่ดังกล่าว โดยไม่สามารถคัดค้าน หรือพูดถึงสถานะของสนธิสัญญา ในกรณีที่กัมพูชาให้ศาลตีความคำพิพากษา ไม่ได้ขอให้ศาลกำหนดเส้นเขตแดน แต่จะขอให้ตีความอาณาบริเวณของกัมพูชาที่มีปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ ตามที่อยู่ในคำตัดสินของศาลโลก ในปี 2505 อยู่ตรงไหน อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่เรากำหนดเขตแดนแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ปรึกษาคู่ความ จะเห็นว่า รั้วลวดหนามตามมติ ครม. ปี 2505 เป็นสิ่งที่ไทยได้ตีความเพียงฝ่ายเดียว และตัดสินใจกำหนดเส้นเขตแดนโดยขาดสามัญสำนึก โดยไม่ปรึกษากัมพูชาเลย เหมือนเป็นการละเมิดกฎ และไทยเองก็กำหนดเส้นเขตแดนและอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร ที่ดูขัดแย้งคำพิพากษาศาลโลก” นายซอร์เรล แจกแจง
กระนั้นก็ดีทนายความชาวฝรั่งเศสผู้นี้ก็ยอมรับอยู่ในทีว่า แผนที่ในภาคผนวกมีปัญหาและไม่สามารถนำมาใช้ในบทปฏิบัติการที่ศาลโลกมีคำพิพากษาได้ ดังนั้น ศาลโลกจึงจำเป็นที่จะต้องตีความเพื่อให้เกิดความชัดเจน
แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ หลังศาลโลกมีคำพิพากษาออกมาในปี พ.ศ.2505 รัฐบาลไทยได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้ไปล้อมรั้วลวดหนามทำเส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ฝ่ายกัมพูชาก็มิได้ออกมาคัดค้านหรือเข้ามาขัดขวางไม่ให้ฝ่ายไทยล้อมรั้วลวดหนาม แถมยังปล่อยให้มีการล้อมรั้วลวดหนามได้จนเสร็จเรียบร้อยอีกต่างหาก
ขณะที่ เซอร์แฟรงคลิน เบอร์แมน ทนายชาวอังกฤษฝ่ายกัมพูชา คนที่ 2 กล่าวว่า คดีนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของสันติภาพและความร่วมมือในภูมิภาค วัตถุประสงค์ของกัมพูชาชัดเจน คือ ต้องการให้มีการตีความโดยอาศัยธรรมนูญข้อ 60 ของศาลโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ เพื่อให้สิ่งที่เคยตัดสินมาแล้วสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ไม่ใช่การขอตีความเพื่อขอทำซ้ำ หรือล้มล้างคำตัดสินเดิม
เช่นเดียวกับ นายร็อดแมน บุนดี ทนายความชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นทนายคนที่ 3 ของกัมพูชา กล่าวย้ำว่าการที่กัมพูชา ขอให้ตีความอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร ไม่ได้เป็นการขอให้เปิดประเด็นใหม่ในคดีเดิม รวมทั้งยังชี้ให้เห็นว่า ไทยมีปฏิกิริยาหลังจากที่ยูเนสโกให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดก เนื่องจากการเมืองไทยที่แปรปรวนและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทราบกันดีว่ารัฐบาลทักษิณที่มีสัมพันธ์ดีกับกัมพูชาถูกรัฐประหารไป โดยที่นโยบายของรัฐบาลใหม่มีผลต่อแนวทางแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าว
สรุปรวมความก็คือ กัมพูชาต้องการให้ตีความคำพิพากษาเพราะต้องการครอบครองดินแดนของราชอาณาจักรไทยนอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้มีคำพิพากษาและราชอาณาจักรไทยได้ยอมรับพร้อมปฏิบัติตามอย่างครบถ้วนแล้ว
ที่สำคัญคือเป็นคำร้องขอที่ศาลโลกในปี พ.ศ. 2505 ได้ปฏิเสธคำขอของกัมพูชาในเรื่องของเส้นเขตแดนเอาไว้อย่างชัดเจน
การให้ถ้อยคำด้วยวาจาของฝ่ายกัมพูชาที่หว่านล้อมให้ศาลฯคล้อยตามต่างๆ นาๆ นั้น กระทรวงการต่างประเทศ โดยนายไกรรวี ศิริกุล รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ได้สรุปสาระสำคัญว่า มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1) กัมพูชาชี้ว่าศาลมีอำนาจตีความคดีเพราะไทยและกัมพูชามีความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาเดิม 2) กัมพูชาได้ยกเอกสารหลักฐานหลายชิ้นเพื่อพิสูจน์ว่าได้คัดค้านการล้อมรั้วลวดหมายรอบบริเวณปราสาทพระวิหารของไทย เพื่อหักล้างข้อต่อสู้ของไทยที่ว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลแล้ว และ 3) การตีความคำพิพากษา ศาลฯ สามารถใช้ “แผนที่ภาคผนวก ๑” มาช่วยทำความเข้าใจข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษาได้ เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวเป็นเหตุผลสำคัญและจำเป็นที่ศาลฯ ใช้ในการวินิจฉัยคดีเดิม
อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ย้ำชัดเจนว่า ปัญหาคดีปราสาทพระวิหารได้กลายเป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้งเพราะฝ่ายกัมพูชาต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว และได้กันพื้นที่อนุรักษ์และบริหารจัดการล้ำเข้ามาในดินแดนไทย