ASTVผู้จัดการรายวัน-กลุ่มคนรักหลักประกันฯ แฉพฤติกรรม 7 อย่าง "ประดิษฐ" ทำลายระบบสาธารณสุขไทย ใช้นโยบายผิดกฎหมาย ด้าน ผอ.รพ.สมเด็จพระยุพราช เล็งฟ้อง สตง.ตรวจสอบ ขณะที่ หมอชนบท จวก สธ.ส่อทุจริตซื้อเครื่องตรวจน้ำตาล
วานนี้ (23 เม.ย.) น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวถึงกรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตรียมตั้งคณะทำงานบริหารงบกองทุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปี 2557 จำนวนกว่า 180,000 ล้านบาท โดยให้ผู้ตรวจราชการ สธ. เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์กระจายงบขาลงให้โรงพยาบาลต่างๆ แทน สปสช. ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมเครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เห็นว่า ขณะนี้ฝ่ายการเมืองได้จับมือกับกลุ่มธุรกิจทางการแพทย์เอกชน บริษัทยา ข้ามชาติ และข้าราชการประจำระดับสูงใน สธ. ภายใต้การจำยอมของ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. มีแผนทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติถอยหลังเป็นระบบอนาถาเหมือนในอดีต
"เป็นการทำให้ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐในชนบทอ่อนแอลง ทำให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เสียหายไม่สามารถใช้มาตรการซีแอล เพื่อควบคุมลดราคายาแพงได้อีกต่อไป เปิดทางให้นโยบายเมดิคัล ฮับ ที่กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจเอกชนได้เข้ายึดครองขยาย รพ.เอกชน เตรียมตลาดไว้แล้ว เครือข่ายฯจะสนับสนุนการเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบทในการขับไล่ นพ.ประดิษฐ ออกจาก สธ. เพราะมีหลายตัวอย่างที่แสดงว่าตั้งแต่เข้ามามีอำนาจได้กำหนดนโยบายที่มีข่าวว่าผิดกฎหมายและทำร้ายประชาชน" น.ส.สุรีรัตน์ กล่าว
ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ คือ 1.จงใจทำผิดกฎหมาย สปสช. ด้วยการประชุมคัดเลือกพวกพ้องนักธุรกิจเข้ายึดครองบอร์ดกำหนดนโยบายใหม่ โดยไม่มีผู้แทนภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมคัดเลือกตามที่กฎหมายกำหนด เริ่มต้นแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพ 2.สั่งให้เลขาธิการ สปสช. เสนอตั้งรองเลขาธิการเพิ่มสองคน จากนักการเมืองและนักวิชาการที่ฝ่ายการเมืองสั่งได้ 3.สั่งให้มีมติบอร์ด สปสช. อนุมัติให้เอาเงินกองทุน สปสช. ไปสำรองจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและประกันสังคม ในกรณีฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2555 - 30 มี.ค. 2556 เป็นเงินเกือบ 200 ล้านบาท และยังไม่มีการคืนเงิน เป็นการทำผิดกฎหมาย สปสช. มาตรา 38 เรื่องการบริหารเงินกองทุนฯ
4.สั่งตั้งคณะทำงานเพื่อโยกงบกองทุน สปสช. ปี 2557 จำนวนกว่า 180,000 ล้านบาท กลับไปให้ผู้ตรวจราชการฯ เป็นผู้กำหนดการกระจายเงินให้โรงพยาบาลต่างๆ แทน สปสช. ผิดเจตนารมณ์กฎหมายที่ต้องการแยกผู้ซื้อบริการออกจากผู้จัดบริการสาธารณสุข 5.เสนอ ครม.มีมติให้จ่ายค่าตอบแทนตามคะแนนผลงาน (P4P : Pay for Performancr) แทนการจ่ายแบบเหมาจ่ายของโรงพยาบาลชุมชน กดดันบุคลากรสาธารณสุขเข้าเมือง เอื้อธุรกิจ รพ.เอกชน ทำร้ายประชาชนชนบท 6.สร้างกระแสทำลายภาพลักษณ์ อภ.ไม่ให้แข่งขันกับบริษัทยาเอกชน เอื้อประโยชน์บริษัทยาข้ามชาติ 7.กำหนดนโยบายและสั่งทุกหน่วยงานสาธารณสุขสนับสนุนนโยบายเมดิคัล ฮับ เอื้อประโยชน์กับกลุ่มธุรกิจการเมืองและแพทย์พาณิชย์
ด้าน นพ.ภักดี สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย กล่าวว่า นโยบายและพฤติกรรมของ รมว.สาธารณสุข สร้างความแตกแยก เพิ่มความเหลื่อมล้ำ ทำลายระบบสาธารณสุขของรัฐ ฉีกกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และนำเงินกองทุน สปสช.ไปใช้ผิดระเบียบ ผิดกฎหมาย กระทบต่อโรงพยาบาลต่างๆ และชีวิตประชาชน วันที่ 24 เม.ย.นี้ เครือข่ายผู้อำนวยการ รพ.สมเด็จพระยุพราช จะร่วมมือกับชมรมแพทย์ชนบท และเครือข่ายอื่นๆ รวบรวมหลักฐานการทุจริต ทำผิดกฎหมายทั้งโดยตรงและโดยนโยบาย ไปฟ้องสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และจะเตรียมการฟ้องสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และพรรคฝ่ายค้าน เพื่อให้ตรวจสอบและเอาคนผิด สร้างความเสียหายให้กับประชาชน และประเทศชาติ มาลงโทษให้ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยถึงกรณีการเตรียมให้ข้อมูล สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กรณีการสั่งซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด 81,685 เครื่อง เพื่อแจก อสม.ทั่วประเทศ ในราคาเครื่องละ 1,800 บาท รวมเป็นเงิน 147,033,000 บาท ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความผิดปกติ เนื่องจาก ปัจจุบันโรงพยาบาล จะใช้วิธีการซื้อแผ่นตรวจน้ำตาล ส่วนเครื่องตรวจนั้นจะแถมมากับแผ่นตรวจที่ซื้อ และปกติจะแถมเครื่องอย่างไม่จำกัด แต่การซื้อเครื่องจะทำให้ต้องซื้อแถบตรวจน้ำตาลกับบริษัทนั้นๆ ตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งประเทศไม่มีใครซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลแล้ว เหมือนการเลิกซื้อเครื่องถ่ายเอกสาร แต่ใช้ระบบเช่าแทน และคิดราคาตามค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วานนี้ (23 เม.ย.) ในการประชุมสำนักงานปลัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง ตัวแทนเขตบริการสุขภาพ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยงบจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวเป็นของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) จำนวน 153 ล้าน เพื่อจัดสรรให้ทั้ง 76 จังหวัด สนับสนุนอุปกรณ์ให้กับอสม. โดยเป็นการตั้งเรื่องเมื่อปี 2555 เพื่อใช้งบประมาณปี 2556 ของกรมฯ แต่พบว่าเรื่องดังกล่าวมีความไม่ชัดเจน และมีประเด็นรายละเอียดการสั่งการซึ่งขัดต่อระเบียบของกระทรวงหลายประเด็น จึงมีคำสั่งให้ชะลอการใช้งบประมาณดังกล่าวออกไปก่อน รวมทั้งชะลอการจัดซื้อจัดจ้าง และทบทวนโครงการดังกล่าวไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตนไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการให้มีการจัดซื้อจัดจ้างในเรื่องนี้และไม่ได้เข้าไปล็อกสเปกใดๆ
วานนี้ (23 เม.ย.) น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวถึงกรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตรียมตั้งคณะทำงานบริหารงบกองทุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปี 2557 จำนวนกว่า 180,000 ล้านบาท โดยให้ผู้ตรวจราชการ สธ. เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์กระจายงบขาลงให้โรงพยาบาลต่างๆ แทน สปสช. ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมเครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เห็นว่า ขณะนี้ฝ่ายการเมืองได้จับมือกับกลุ่มธุรกิจทางการแพทย์เอกชน บริษัทยา ข้ามชาติ และข้าราชการประจำระดับสูงใน สธ. ภายใต้การจำยอมของ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. มีแผนทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติถอยหลังเป็นระบบอนาถาเหมือนในอดีต
"เป็นการทำให้ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐในชนบทอ่อนแอลง ทำให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เสียหายไม่สามารถใช้มาตรการซีแอล เพื่อควบคุมลดราคายาแพงได้อีกต่อไป เปิดทางให้นโยบายเมดิคัล ฮับ ที่กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจเอกชนได้เข้ายึดครองขยาย รพ.เอกชน เตรียมตลาดไว้แล้ว เครือข่ายฯจะสนับสนุนการเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบทในการขับไล่ นพ.ประดิษฐ ออกจาก สธ. เพราะมีหลายตัวอย่างที่แสดงว่าตั้งแต่เข้ามามีอำนาจได้กำหนดนโยบายที่มีข่าวว่าผิดกฎหมายและทำร้ายประชาชน" น.ส.สุรีรัตน์ กล่าว
ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ คือ 1.จงใจทำผิดกฎหมาย สปสช. ด้วยการประชุมคัดเลือกพวกพ้องนักธุรกิจเข้ายึดครองบอร์ดกำหนดนโยบายใหม่ โดยไม่มีผู้แทนภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมคัดเลือกตามที่กฎหมายกำหนด เริ่มต้นแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพ 2.สั่งให้เลขาธิการ สปสช. เสนอตั้งรองเลขาธิการเพิ่มสองคน จากนักการเมืองและนักวิชาการที่ฝ่ายการเมืองสั่งได้ 3.สั่งให้มีมติบอร์ด สปสช. อนุมัติให้เอาเงินกองทุน สปสช. ไปสำรองจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและประกันสังคม ในกรณีฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2555 - 30 มี.ค. 2556 เป็นเงินเกือบ 200 ล้านบาท และยังไม่มีการคืนเงิน เป็นการทำผิดกฎหมาย สปสช. มาตรา 38 เรื่องการบริหารเงินกองทุนฯ
4.สั่งตั้งคณะทำงานเพื่อโยกงบกองทุน สปสช. ปี 2557 จำนวนกว่า 180,000 ล้านบาท กลับไปให้ผู้ตรวจราชการฯ เป็นผู้กำหนดการกระจายเงินให้โรงพยาบาลต่างๆ แทน สปสช. ผิดเจตนารมณ์กฎหมายที่ต้องการแยกผู้ซื้อบริการออกจากผู้จัดบริการสาธารณสุข 5.เสนอ ครม.มีมติให้จ่ายค่าตอบแทนตามคะแนนผลงาน (P4P : Pay for Performancr) แทนการจ่ายแบบเหมาจ่ายของโรงพยาบาลชุมชน กดดันบุคลากรสาธารณสุขเข้าเมือง เอื้อธุรกิจ รพ.เอกชน ทำร้ายประชาชนชนบท 6.สร้างกระแสทำลายภาพลักษณ์ อภ.ไม่ให้แข่งขันกับบริษัทยาเอกชน เอื้อประโยชน์บริษัทยาข้ามชาติ 7.กำหนดนโยบายและสั่งทุกหน่วยงานสาธารณสุขสนับสนุนนโยบายเมดิคัล ฮับ เอื้อประโยชน์กับกลุ่มธุรกิจการเมืองและแพทย์พาณิชย์
ด้าน นพ.ภักดี สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย กล่าวว่า นโยบายและพฤติกรรมของ รมว.สาธารณสุข สร้างความแตกแยก เพิ่มความเหลื่อมล้ำ ทำลายระบบสาธารณสุขของรัฐ ฉีกกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และนำเงินกองทุน สปสช.ไปใช้ผิดระเบียบ ผิดกฎหมาย กระทบต่อโรงพยาบาลต่างๆ และชีวิตประชาชน วันที่ 24 เม.ย.นี้ เครือข่ายผู้อำนวยการ รพ.สมเด็จพระยุพราช จะร่วมมือกับชมรมแพทย์ชนบท และเครือข่ายอื่นๆ รวบรวมหลักฐานการทุจริต ทำผิดกฎหมายทั้งโดยตรงและโดยนโยบาย ไปฟ้องสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และจะเตรียมการฟ้องสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และพรรคฝ่ายค้าน เพื่อให้ตรวจสอบและเอาคนผิด สร้างความเสียหายให้กับประชาชน และประเทศชาติ มาลงโทษให้ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยถึงกรณีการเตรียมให้ข้อมูล สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กรณีการสั่งซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด 81,685 เครื่อง เพื่อแจก อสม.ทั่วประเทศ ในราคาเครื่องละ 1,800 บาท รวมเป็นเงิน 147,033,000 บาท ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความผิดปกติ เนื่องจาก ปัจจุบันโรงพยาบาล จะใช้วิธีการซื้อแผ่นตรวจน้ำตาล ส่วนเครื่องตรวจนั้นจะแถมมากับแผ่นตรวจที่ซื้อ และปกติจะแถมเครื่องอย่างไม่จำกัด แต่การซื้อเครื่องจะทำให้ต้องซื้อแถบตรวจน้ำตาลกับบริษัทนั้นๆ ตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งประเทศไม่มีใครซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลแล้ว เหมือนการเลิกซื้อเครื่องถ่ายเอกสาร แต่ใช้ระบบเช่าแทน และคิดราคาตามค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วานนี้ (23 เม.ย.) ในการประชุมสำนักงานปลัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง ตัวแทนเขตบริการสุขภาพ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยงบจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวเป็นของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) จำนวน 153 ล้าน เพื่อจัดสรรให้ทั้ง 76 จังหวัด สนับสนุนอุปกรณ์ให้กับอสม. โดยเป็นการตั้งเรื่องเมื่อปี 2555 เพื่อใช้งบประมาณปี 2556 ของกรมฯ แต่พบว่าเรื่องดังกล่าวมีความไม่ชัดเจน และมีประเด็นรายละเอียดการสั่งการซึ่งขัดต่อระเบียบของกระทรวงหลายประเด็น จึงมีคำสั่งให้ชะลอการใช้งบประมาณดังกล่าวออกไปก่อน รวมทั้งชะลอการจัดซื้อจัดจ้าง และทบทวนโครงการดังกล่าวไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตนไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการให้มีการจัดซื้อจัดจ้างในเรื่องนี้และไม่ได้เข้าไปล็อกสเปกใดๆ