ASTVผู้จัดการรายวัน-ม็อบหมอบุกสาธารณสุข ประกาศลากไส้การคอร์รัปชัน พร้อมร้อง "ปู" ตะเพิด “ประดิษฐ” พ้นตำแหน่ง "กมล" จ๋อย ถูกม็อบแย่งไมค์ด่ากลับ หลังพยายามชี้แจง ส่วน "ประดิษฐ" บอกยินดี หากแพทย์ชนบทจะใช้สติปัญญาช่วยตรวจสอบทุจริต
วานนี้ (24 เม.ย.) กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเอดส์ โรคไต เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และเครือข่ายมิตรภาพบำบัด รวมกว่า 300 คน ได้สวมเสื้อยืดสีดำข้อความ “Pradit…GET OUT เราไม่เอา P4P” รวมตัวชุมนุมบริเวณสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมนำป้ายขับไล่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบผสมผสาน ระหว่างเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายกับตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) รวมถึงกรณีส่อทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด และการตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม (อภ.) จนทำให้เสียภาพลักษณ์
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การมาชุมนุม ต้องการแสดงให้เห็นว่าบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ไม่เห็นด้วยกับการจ่าย P4P แต่ขณะนี้จะข้ามเรื่องนี้ไปก่อนเพื่อตรวจสอบทุจริตใน สธ. ที่เริ่มเผยออกมา ทั้งการรวบอำนาจ การทำลายภาพลักษณ์ อภ. การแทรกแซงองค์กรอิสระด้านสุขภาพ และสร้างความแตกแยกระหว่างโรงพยาบาลจังหวัดและ รพช. เช่น การให้ผู้ตรวจราชการฯ ทั้ง 12 เขต จัดสรรงบประมาณแทน สปสช. จะกลายเป็นการกลับไปรวบอำนาจเหมือนในอดีต หากปล่อยให้เกิดการแทรกแซง เลขาธิการ สปสช.ก็ควรลาออก หรือกรณีการตรวจสอบ อภ. หากมีการเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการ อาจจะทำให้การเมืองสามารถสั่งได้ จนราคายาต่างๆ แพงขึ้น ผู้ป่วยก็เข้าถึงยาน้อยลง
"กรณีซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นความพยายามทำทุจริตที่สำเร็จแล้ว เพราะมีบางจังหวัดได้จัดซื้อแล้ว เช่น อ่างทอง อำนาจเจริญ ซึ่งการที่ สธ.ระงับเรื่องแสดงว่ายอมรับความผิด และเปิดทางให้บริษัทคู่ค้าฟ้องร้อง สธ. จะต้องตรวจสอบความผิดปกติเรื่องนี้เหมือนกรณี อภ. โดยต้องให้คนนอกมาสอบ และกลุ่มแพทย์ชนบทจะยื่นหนังสือให้ สตง.และ ป.ป.ช.ตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ด้วย” นพ.อารักษ์ กล่าว
วันเดียวกัน นายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ. ได้นำพนักงานและเจ้าหน้าที่ อภ.มาชุมนุมด้วยเช่นกัน โดยนายระวัย กล่าวว่า การให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบ อภ.เรื่องวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอลมีการปนเปื้อน แต่เกิดการแปลงสารว่าเป็นการปลอมปน ทั้งที่วัตถุดิบยังไม่ได้ผลิตเป็นเม็ดยา สิ่งเหล่านี้ไม่อยากให้ออกจากปาก รมว.สธ. ก่อนการตรวจสอบจะแล้วเสร็จ หากมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง สหภาพฯ จะไม่คัดค้าน แต่ไม่ใช่การออกมาพูดให้ร้ายรายวัน อยากให้ รมว.สธ.และบอร์ด อภ.แสดงความรับผิดชอบด้วยการกู้ภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นคืนให้แก่ อภ.
ทั้งนี้ นายกมล บันไดเพชร เลขานุการ รมว.สธ. ได้พยายามชี้แจงกับทางกลุ่มผู้ชุมนุม ปรากฏว่าระหว่างนั้น น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้เข้าไปแย่งไมโครโฟนพร้อมระบุว่า ในฐานะที่ตนเคยเป็นอดีตผู้สื่อข่าว การที่นายกมลโยนความผิดกรณีแปลงสารเป็นการปลอมปนให้กับสื่อเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง จนเรียกเสียงเชียร์จากกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้นายกมลต้องล่าถอยกลับไป
วานนี้ (24 เม.ย.) กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเอดส์ โรคไต เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และเครือข่ายมิตรภาพบำบัด รวมกว่า 300 คน ได้สวมเสื้อยืดสีดำข้อความ “Pradit…GET OUT เราไม่เอา P4P” รวมตัวชุมนุมบริเวณสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมนำป้ายขับไล่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบผสมผสาน ระหว่างเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายกับตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) รวมถึงกรณีส่อทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด และการตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม (อภ.) จนทำให้เสียภาพลักษณ์
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การมาชุมนุม ต้องการแสดงให้เห็นว่าบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ไม่เห็นด้วยกับการจ่าย P4P แต่ขณะนี้จะข้ามเรื่องนี้ไปก่อนเพื่อตรวจสอบทุจริตใน สธ. ที่เริ่มเผยออกมา ทั้งการรวบอำนาจ การทำลายภาพลักษณ์ อภ. การแทรกแซงองค์กรอิสระด้านสุขภาพ และสร้างความแตกแยกระหว่างโรงพยาบาลจังหวัดและ รพช. เช่น การให้ผู้ตรวจราชการฯ ทั้ง 12 เขต จัดสรรงบประมาณแทน สปสช. จะกลายเป็นการกลับไปรวบอำนาจเหมือนในอดีต หากปล่อยให้เกิดการแทรกแซง เลขาธิการ สปสช.ก็ควรลาออก หรือกรณีการตรวจสอบ อภ. หากมีการเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการ อาจจะทำให้การเมืองสามารถสั่งได้ จนราคายาต่างๆ แพงขึ้น ผู้ป่วยก็เข้าถึงยาน้อยลง
"กรณีซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นความพยายามทำทุจริตที่สำเร็จแล้ว เพราะมีบางจังหวัดได้จัดซื้อแล้ว เช่น อ่างทอง อำนาจเจริญ ซึ่งการที่ สธ.ระงับเรื่องแสดงว่ายอมรับความผิด และเปิดทางให้บริษัทคู่ค้าฟ้องร้อง สธ. จะต้องตรวจสอบความผิดปกติเรื่องนี้เหมือนกรณี อภ. โดยต้องให้คนนอกมาสอบ และกลุ่มแพทย์ชนบทจะยื่นหนังสือให้ สตง.และ ป.ป.ช.ตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ด้วย” นพ.อารักษ์ กล่าว
วันเดียวกัน นายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ. ได้นำพนักงานและเจ้าหน้าที่ อภ.มาชุมนุมด้วยเช่นกัน โดยนายระวัย กล่าวว่า การให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบ อภ.เรื่องวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอลมีการปนเปื้อน แต่เกิดการแปลงสารว่าเป็นการปลอมปน ทั้งที่วัตถุดิบยังไม่ได้ผลิตเป็นเม็ดยา สิ่งเหล่านี้ไม่อยากให้ออกจากปาก รมว.สธ. ก่อนการตรวจสอบจะแล้วเสร็จ หากมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง สหภาพฯ จะไม่คัดค้าน แต่ไม่ใช่การออกมาพูดให้ร้ายรายวัน อยากให้ รมว.สธ.และบอร์ด อภ.แสดงความรับผิดชอบด้วยการกู้ภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นคืนให้แก่ อภ.
ทั้งนี้ นายกมล บันไดเพชร เลขานุการ รมว.สธ. ได้พยายามชี้แจงกับทางกลุ่มผู้ชุมนุม ปรากฏว่าระหว่างนั้น น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้เข้าไปแย่งไมโครโฟนพร้อมระบุว่า ในฐานะที่ตนเคยเป็นอดีตผู้สื่อข่าว การที่นายกมลโยนความผิดกรณีแปลงสารเป็นการปลอมปนให้กับสื่อเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง จนเรียกเสียงเชียร์จากกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้นายกมลต้องล่าถอยกลับไป