สบส.ยันส่วนกลางไม่ได้จัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด แต่ให้พื้นที่จัดหาเอง ไม่มีการล็อกสเปกแน่ เพราะใช้สเปกเดียวของสภาวิชาชีพฯ ย้ำเป็นการเดินตามนโยบายรัฐในการสนับสนุนอุปกรณ์ ชี้ อสม.เจาะเลือดชาวบ้านได้ ไม่ผิดเหมือนที่แพทย์ชนบทอ้าง
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรรัตน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงกรณีแพทย์ชนบทพาดพิงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ส่อเค้าการทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อแจกให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ ว่า การจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนา อสม.และสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือในการตรวจคัดกรองโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพอย่าง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนหลายล้านคน การที่รัฐสนับสนุนอุปกรณ์เหล่านี้ก็เพื่อให้เกิดการคัดกรองป้องกันก่อนเกิดโรค โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการแทรกซ้อน ที่สำคัญขณะนี้ สธ.ได้ขยายการคัดกรองจากเดิมที่คัดกรองโรคในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป เป็นคัดกรองในคนอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งจะช่วยให้ตการรวจคัดกรองละเอียดมากขึ้น ป้องกันโรคได้มากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการสนับสนุนอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ อสม.ที่มีอยู่กว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ
“การซื้อเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด ทางส่วนกลางหรือทางกรมฯ ไม่ได้เป็นผู้จัดหา เพราะหากมีการจัดซื้อจากส่วนกลางจะเกิดการระแวงว่ามีการล็อกสเปก จึงให้แต่ละพื้นที่จัดหากันเอง อยู่ในดุลยพินิจของแต่ละพื้นที่ว่ามีปัญหาหรือมีความต้องการซื้ออะไร เช่น บางพื้นที่มีเครื่องแล้วขาดแถบตรวจ บางพื้นที่ก็ไม่มีเครื่อง ซึ่งบางแห่งที่มีการซื้อแล้วขอยืนยันว่าซื้อถูกต้องตามระเบียบทุกอย่าง และเครื่องตรวจน้ำตาลก็ไม่มีการล็อกสเปก พื้นที่เป็นผู้จัดหารเป็นผู้เลือกเอง ซึ่งสเปกจะมีอยู่สเปกเดียวคือสเปกจากสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเลือด” อธิบดี สบส.กล่าว
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวอีกว่า สำหรับข้อสงสัยที่ว่า อสม.มีสิทธิในการเจาะเลือดหรือไม่ เดิมที อสม.ได้รับการอนุญาตให้เจาะเลือดฝอยที่ปลายนิ้ว เพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรียมานานแล้วตามประกาศของ สธ.การเจาะเลือดเพื่อตรวจน้ำตาลก็เป็นการตรวจในลักษณะเดียวกัน ซึ่งตรงนี้ได้รับอนุญาตจากสภาเวชกรรม และสภาเทคนิคการแพทย์ ไม่ได้เจาะโดยพลการ ที่สำคัญ อสม.มีการอบรมและดำเนินการมายาวนานแล้ว สามารถเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้วของชาวบ้านได้ ไม่ได้ผิดอะไร
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัด สธ.กล่าวว่า สบส.ได้จัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อสนับสนุนการทำงานของ อสม.โดยจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดดำเนินการจัดซื้อเอง และได้มีข้อกำชับดังนี้ 1.ขอให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยระเบียบพัสดุ 2.ให้พื้นที่ตั้งคณะกรรมการกำหนดสเปกที่เหมาะสม และตามความจำเป็นของพื้นที่ และ 3.ขอให้รายงานผลการดำเนินการให้กระทรวงสาธารณสุขทราบ เพื่อความโปร่งใส เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2556
สำหรับจังหวัดที่ได้ดำเนินการหาผู้ขายแล้ว เช่น อำนาจเจริญ นพ.ภาสกร ไชยเศรษฐ นายแพทย์ สสจ.ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดให้ อสม.คัดกรองหาผู้ป่วยเบาหวานนั้น เห็นว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็นเรื่องที่ดี การตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วประชาชนบางส่วนทำเองอยู่แล้ว โดยสามารถซื้อเครื่องตรวจได้เองในท้องตลาด การที่จะให้ อสม.ช่วยคัดกรองอีกทางหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่น่าจะทำได้ แต่ขอให้มีระเบียบหรือกฎหมายที่คุ้มครองผู้ปฏิบัติงานด้วย
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรรัตน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงกรณีแพทย์ชนบทพาดพิงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ส่อเค้าการทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อแจกให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ ว่า การจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนา อสม.และสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือในการตรวจคัดกรองโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพอย่าง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนหลายล้านคน การที่รัฐสนับสนุนอุปกรณ์เหล่านี้ก็เพื่อให้เกิดการคัดกรองป้องกันก่อนเกิดโรค โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการแทรกซ้อน ที่สำคัญขณะนี้ สธ.ได้ขยายการคัดกรองจากเดิมที่คัดกรองโรคในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป เป็นคัดกรองในคนอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งจะช่วยให้ตการรวจคัดกรองละเอียดมากขึ้น ป้องกันโรคได้มากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการสนับสนุนอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ อสม.ที่มีอยู่กว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ
“การซื้อเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด ทางส่วนกลางหรือทางกรมฯ ไม่ได้เป็นผู้จัดหา เพราะหากมีการจัดซื้อจากส่วนกลางจะเกิดการระแวงว่ามีการล็อกสเปก จึงให้แต่ละพื้นที่จัดหากันเอง อยู่ในดุลยพินิจของแต่ละพื้นที่ว่ามีปัญหาหรือมีความต้องการซื้ออะไร เช่น บางพื้นที่มีเครื่องแล้วขาดแถบตรวจ บางพื้นที่ก็ไม่มีเครื่อง ซึ่งบางแห่งที่มีการซื้อแล้วขอยืนยันว่าซื้อถูกต้องตามระเบียบทุกอย่าง และเครื่องตรวจน้ำตาลก็ไม่มีการล็อกสเปก พื้นที่เป็นผู้จัดหารเป็นผู้เลือกเอง ซึ่งสเปกจะมีอยู่สเปกเดียวคือสเปกจากสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเลือด” อธิบดี สบส.กล่าว
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวอีกว่า สำหรับข้อสงสัยที่ว่า อสม.มีสิทธิในการเจาะเลือดหรือไม่ เดิมที อสม.ได้รับการอนุญาตให้เจาะเลือดฝอยที่ปลายนิ้ว เพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรียมานานแล้วตามประกาศของ สธ.การเจาะเลือดเพื่อตรวจน้ำตาลก็เป็นการตรวจในลักษณะเดียวกัน ซึ่งตรงนี้ได้รับอนุญาตจากสภาเวชกรรม และสภาเทคนิคการแพทย์ ไม่ได้เจาะโดยพลการ ที่สำคัญ อสม.มีการอบรมและดำเนินการมายาวนานแล้ว สามารถเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้วของชาวบ้านได้ ไม่ได้ผิดอะไร
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัด สธ.กล่าวว่า สบส.ได้จัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อสนับสนุนการทำงานของ อสม.โดยจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดดำเนินการจัดซื้อเอง และได้มีข้อกำชับดังนี้ 1.ขอให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยระเบียบพัสดุ 2.ให้พื้นที่ตั้งคณะกรรมการกำหนดสเปกที่เหมาะสม และตามความจำเป็นของพื้นที่ และ 3.ขอให้รายงานผลการดำเนินการให้กระทรวงสาธารณสุขทราบ เพื่อความโปร่งใส เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2556
สำหรับจังหวัดที่ได้ดำเนินการหาผู้ขายแล้ว เช่น อำนาจเจริญ นพ.ภาสกร ไชยเศรษฐ นายแพทย์ สสจ.ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดให้ อสม.คัดกรองหาผู้ป่วยเบาหวานนั้น เห็นว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็นเรื่องที่ดี การตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วประชาชนบางส่วนทำเองอยู่แล้ว โดยสามารถซื้อเครื่องตรวจได้เองในท้องตลาด การที่จะให้ อสม.ช่วยคัดกรองอีกทางหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่น่าจะทำได้ แต่ขอให้มีระเบียบหรือกฎหมายที่คุ้มครองผู้ปฏิบัติงานด้วย