สบส.ยันไม่พบจังหวัดทำผิดระเบียบใดในการซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เปิดทางให้เดินหน้าต่อได้ ระบุซื้อเครื่องตรวจแล้วได้แถบตรวจราคาถูก หรือซื้อแถบตรวจแพงแถมเครื่องตรวจ ให้แต่ละพื้นที่ตัดสินใจเองว่าแบบใดเหมาะสมสุด
วันนี้ (29 เม.ย.) น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบทระบุถึงการส่อทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้สั่งชะลอการจัดซื้อแล้ว ว่า การจัดซื้อขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยอิงระเบียบการจัดซื้อจัดหาพัสดุของสำนักนายกรัฐมนตรี และเท่าที่มีการดำเนินการขณะนี้ยังไม่มีการทำผิด ดังนั้น จังหวัดที่ดำเนินการอย่างถูกต้องแล้วสามารถดำเนินการกระบวนการจัดซื้อต่อไป ส่วนการให้ อสม.ใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดนั้นสามารถทำได้ เพราะได้รับอนุญาตจากสภาวิชาชีพให้เจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอยปลายนิ้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มานานแล้ว เพื่อตรวจคัดกรองหาเชื้อมาลาเรีย ซึ่งการตรวจคัดกรองเบาหวานก็ใช้วิธีเดียวกัน อีกทั้งมีการอบรมในการใช้เครื่องตรวจคัดกรอง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนพัฒนาขีดความสามารถของ อสม.ให้เป็นนักจัดการสุขภาพ จึงต้องมีการสนับสนุนอุปกรณ์การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สนับสนุนเครื่องวัดความดัน และปี 2556 จึงจะสนับสนุนเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวอีกว่า ระหว่างการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลแถมแถบตรวจ หรือจัดซื้อแถบตรวจแถมเครื่องตรวจน้ำตาลรูปแบบใดดีกว่า อยู่ที่การพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยมีข้อมูลว่าการจัดซื้อเครื่องที่เป็นมาตรฐานและใช้กันโดยทั่วไป ราคา 1,000-5,000 บาท หากซื้อแถบตรวจจะราคา 8-17 บาทต่อแถบ แล้วแต่ชนิดและคุณภาพของแถบ อย่างซื้อเครื่องตรวจแล้วซื้อแถบจะได้ราคาของแถบตรวจถูกกว่าการซื้อแถบอย่างเดียว ส่วนการซื้อแถบตรวจแล้วให้เครื่องตรวจใช้จะมีการบวกค่าบำรุงรักษา และแถบตรวจจะราคา 12 บาทต่อแถบ แต่ถ้าซื้อเครื่องตรวจจะซื้อแถบตรวจในราคา 8 บาทต่อแถบ เป็นต้น
วันนี้ (29 เม.ย.) น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบทระบุถึงการส่อทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้สั่งชะลอการจัดซื้อแล้ว ว่า การจัดซื้อขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยอิงระเบียบการจัดซื้อจัดหาพัสดุของสำนักนายกรัฐมนตรี และเท่าที่มีการดำเนินการขณะนี้ยังไม่มีการทำผิด ดังนั้น จังหวัดที่ดำเนินการอย่างถูกต้องแล้วสามารถดำเนินการกระบวนการจัดซื้อต่อไป ส่วนการให้ อสม.ใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดนั้นสามารถทำได้ เพราะได้รับอนุญาตจากสภาวิชาชีพให้เจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอยปลายนิ้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มานานแล้ว เพื่อตรวจคัดกรองหาเชื้อมาลาเรีย ซึ่งการตรวจคัดกรองเบาหวานก็ใช้วิธีเดียวกัน อีกทั้งมีการอบรมในการใช้เครื่องตรวจคัดกรอง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนพัฒนาขีดความสามารถของ อสม.ให้เป็นนักจัดการสุขภาพ จึงต้องมีการสนับสนุนอุปกรณ์การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สนับสนุนเครื่องวัดความดัน และปี 2556 จึงจะสนับสนุนเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวอีกว่า ระหว่างการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลแถมแถบตรวจ หรือจัดซื้อแถบตรวจแถมเครื่องตรวจน้ำตาลรูปแบบใดดีกว่า อยู่ที่การพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยมีข้อมูลว่าการจัดซื้อเครื่องที่เป็นมาตรฐานและใช้กันโดยทั่วไป ราคา 1,000-5,000 บาท หากซื้อแถบตรวจจะราคา 8-17 บาทต่อแถบ แล้วแต่ชนิดและคุณภาพของแถบ อย่างซื้อเครื่องตรวจแล้วซื้อแถบจะได้ราคาของแถบตรวจถูกกว่าการซื้อแถบอย่างเดียว ส่วนการซื้อแถบตรวจแล้วให้เครื่องตรวจใช้จะมีการบวกค่าบำรุงรักษา และแถบตรวจจะราคา 12 บาทต่อแถบ แต่ถ้าซื้อเครื่องตรวจจะซื้อแถบตรวจในราคา 8 บาทต่อแถบ เป็นต้น