ศาลฎีกายกฟ้อง บมจ.เมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป และบก.ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.ผู้จัดการรายวัน ฐานหมิ่นประมาท "หม่อมเต่า" อดีตผู้ว่าฯ ธปท. ในคอลัมน์"พายัพ วนาสุวรรณ"ชี้ได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550
วานนี้(9 เม.ย.) ศาลฎีกาได้นัดอ่านคำพิพากษากรณี หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัทเมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 1และนายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ จำเลยที่ 2 ในข้อหาหมิ่นประมาท ความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ โดยโจทก์ได้ฟ้องว่า จำเลยที่1 เป็นนิติบุคคลตามกฏหมายและเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือกและควบคุมบทความ บทประพันธ์ในหนังสือพิมพ์และในการโฆษณา ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกอีก 1 0คน ผู้ใช้นามปากกาว่า "พายัพ วนาสุวรรณ" ได้ร่วมกันหมิ่นประมาทหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล ผู้เสียหาย โดยการพิมพ์ภาพผู้เสียหาย ภาพการ์ตูนล้อเลียน และข้อความลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 และลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2544 ในลักษณะข้อความรับต่อเนื่องมีข้อความว่า...
"ฉีกหน้ากากหม่อมเต่า เปิดตัวตนที่แท้จริงของผู้ว่า ธปท." "...3 ปีเต็มหลังจากประเทศไทยมีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยชื่อ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ด้วยความหวังที่สังคมถูกสร้างให้รับรู้จากภาพมายา วันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างฟ้องออกมาให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของผู้ว่าการคนนี้ชัดเจน... จากดาวรุ่งแห่งเอเชีย เขากำลังจะกลายเป็นผีพุ่งใต้ เพราะผลงานการกำกับนโยยบายการเงินที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจตายซาก...แม้จะบริหารผิดพลาดแต่ด้วยการบริหาร ด้วยการเชื่อมั่นตัวกูของกูที่มีอยู่เกินขอบเขตสุดที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงมีภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอยู่เช่นนี้ และไม่มีใครทราบอนาคตจะดำเนินไปอีกนานแค่ไหนถ้าผู้ว่า ธปท.ยังชื่อ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ตัวการขวางการฟื้นของเศรษฐกิจ...และปมจากความขัดแย้งในแนวทางดำเนินนโยบายทางการเงินระหว่างรัฐบาลกับม.ร.ว.จัตุมงคลฯ ล่าสุดสะท้อนให้เห็นถึงธาตุแท้ของอดีตปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ที่นอกจากจะมีฝีปากเป็นอาวุธ ไม่เห็นใครอยู่ในสายตา มองผู้อื่นเป็น "ควาย" ไม่เว้นแม้แต่อิสตรีและยังเป็นนักสร้างภาพตัวฉกาจ..."
ซึ่งข้อความดังกล่าวนั้นเป็นความเท็จ เป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามและประชาชนทั่วไปที่ได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ให้เข้าใจไปในทางที่ว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายในเรื่องส่วนตัวหลายเรื่อง พัวพันกับการทุจริตคดโกง เป็นผู้ทำลายชาติ ทำให้บ้านเมืองเสียหาย เป็นผู้ประพฤติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม ชอบวางอำนาจบาตรใหญ่ ใช้อำนาจในทางที่ผิด และในเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่อง โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นตำแหน่งสำคัญทางการเงินสูงสุดของชาติโดยอาศัยคุณสมบัติต้องเป็นผู้มีความรู้สูง มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณธรรม และจริยธรรมเป็นที่น่ายกย่องและน่านับถือ รวมทั้งต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่เป็นอย่างมากต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เหยียดหยาม และถูกเหกลียดชังจากผู้อื่นและประชาชนทั่วไปได้
ทั้งนี้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ใความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ปรับ 40,000 บาท จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 จำคุก 4 เดือน และปรับ 40,000บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นควรให้โอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้โดยมีกำหนด 2 ปี
โจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ร่วมฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตรงฎีกาโจทก์ร่วมว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326, 328 หรือไม่ เห็นว่า สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบได้เพียงว่า จำเลยที่1 มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่2 เป็นกรรมการคนหนึ่งตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.4 และเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน โดยโจทก์และโจทก์ร่วม ยังไม่เพียงพอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326, 328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ไม่ได้ลงโทษฐานเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 โจทก์อุทธรณ์เฉพาะขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองหนักขึ้นเท่านั้น และจำเลยที่ 2 ร่วมเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และปรากฏว่าได้มีพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหรือผู้พิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์ อันเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง มิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอีกต่อไป ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้กระทำตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
วานนี้(9 เม.ย.) ศาลฎีกาได้นัดอ่านคำพิพากษากรณี หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัทเมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 1และนายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ จำเลยที่ 2 ในข้อหาหมิ่นประมาท ความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ โดยโจทก์ได้ฟ้องว่า จำเลยที่1 เป็นนิติบุคคลตามกฏหมายและเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือกและควบคุมบทความ บทประพันธ์ในหนังสือพิมพ์และในการโฆษณา ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกอีก 1 0คน ผู้ใช้นามปากกาว่า "พายัพ วนาสุวรรณ" ได้ร่วมกันหมิ่นประมาทหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล ผู้เสียหาย โดยการพิมพ์ภาพผู้เสียหาย ภาพการ์ตูนล้อเลียน และข้อความลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 และลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2544 ในลักษณะข้อความรับต่อเนื่องมีข้อความว่า...
"ฉีกหน้ากากหม่อมเต่า เปิดตัวตนที่แท้จริงของผู้ว่า ธปท." "...3 ปีเต็มหลังจากประเทศไทยมีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยชื่อ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ด้วยความหวังที่สังคมถูกสร้างให้รับรู้จากภาพมายา วันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างฟ้องออกมาให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของผู้ว่าการคนนี้ชัดเจน... จากดาวรุ่งแห่งเอเชีย เขากำลังจะกลายเป็นผีพุ่งใต้ เพราะผลงานการกำกับนโยยบายการเงินที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจตายซาก...แม้จะบริหารผิดพลาดแต่ด้วยการบริหาร ด้วยการเชื่อมั่นตัวกูของกูที่มีอยู่เกินขอบเขตสุดที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงมีภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอยู่เช่นนี้ และไม่มีใครทราบอนาคตจะดำเนินไปอีกนานแค่ไหนถ้าผู้ว่า ธปท.ยังชื่อ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ตัวการขวางการฟื้นของเศรษฐกิจ...และปมจากความขัดแย้งในแนวทางดำเนินนโยบายทางการเงินระหว่างรัฐบาลกับม.ร.ว.จัตุมงคลฯ ล่าสุดสะท้อนให้เห็นถึงธาตุแท้ของอดีตปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ที่นอกจากจะมีฝีปากเป็นอาวุธ ไม่เห็นใครอยู่ในสายตา มองผู้อื่นเป็น "ควาย" ไม่เว้นแม้แต่อิสตรีและยังเป็นนักสร้างภาพตัวฉกาจ..."
ซึ่งข้อความดังกล่าวนั้นเป็นความเท็จ เป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามและประชาชนทั่วไปที่ได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ให้เข้าใจไปในทางที่ว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายในเรื่องส่วนตัวหลายเรื่อง พัวพันกับการทุจริตคดโกง เป็นผู้ทำลายชาติ ทำให้บ้านเมืองเสียหาย เป็นผู้ประพฤติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม ชอบวางอำนาจบาตรใหญ่ ใช้อำนาจในทางที่ผิด และในเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่อง โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นตำแหน่งสำคัญทางการเงินสูงสุดของชาติโดยอาศัยคุณสมบัติต้องเป็นผู้มีความรู้สูง มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณธรรม และจริยธรรมเป็นที่น่ายกย่องและน่านับถือ รวมทั้งต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่เป็นอย่างมากต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เหยียดหยาม และถูกเหกลียดชังจากผู้อื่นและประชาชนทั่วไปได้
ทั้งนี้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ใความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ปรับ 40,000 บาท จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 จำคุก 4 เดือน และปรับ 40,000บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นควรให้โอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้โดยมีกำหนด 2 ปี
โจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ร่วมฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตรงฎีกาโจทก์ร่วมว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326, 328 หรือไม่ เห็นว่า สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบได้เพียงว่า จำเลยที่1 มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่2 เป็นกรรมการคนหนึ่งตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.4 และเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน โดยโจทก์และโจทก์ร่วม ยังไม่เพียงพอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326, 328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ไม่ได้ลงโทษฐานเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 โจทก์อุทธรณ์เฉพาะขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองหนักขึ้นเท่านั้น และจำเลยที่ 2 ร่วมเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และปรากฏว่าได้มีพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหรือผู้พิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์ อันเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง มิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอีกต่อไป ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้กระทำตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน