ตอนนี้นายใหญ่ทักษิณกำลังสั่งให้ลูกสมุนในประเทศเดินเกมหักด่านเพื่อช่วงชิงความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทางการเมืองหลังการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อขนผักผ่านวาระแรกไปเรียบร้อยแล้วก็กุมเงินงบประมาณที่ไว้เบิกจ่ายอย่างสนุกมือ (แต่ทุกข์ประชาชน) ใน 7 ปีงบประมาณนับจากนี้ไป
กระบวนการประชาธิปไตยที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง แต่รับฟังคำสั่งให้ซ้ายหันขวาหันโดยทักษิณคนเดียวก็เดินหน้าฝ่าด่านต่อไปคือการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางไปสู่การลดทอนอำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรุยทางไปสู่เป้าหมายที่ซ่อนเร้นอยู่คือ การแก้ไขมาตรา 309 เพื่อลบล้างความผิดของทักษิณทวงเงินที่รัฐยึดเอาไว้กลับคืนมา
ทั้ง ส.ส. และ ส.ว.ที่ชอบเรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยที่แม้จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนก็ทำตัวเป็นทาสรับใช้ให้ทักษิณกดปุ่มเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญเพื่อรอนสิทธิของตัวเองและของประชาชนเพียงเพราะว่า รัฐธรรมนูญเหล่านั้นเป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากินและการล้างผิดของนายใหญ่หนีคุก
ขนาดประธานวุฒิสภาซึ่งตามตำแหน่งศักดิ์ศรีแล้วต้องวางตัวให้น่าเชื่อถือเป็นกลาง ยังต้องลงมาแสดงให้เข้าตาคนหนีคุกด้วยการลงชื่อสนับสนุนแก้รัฐธรรมนูญแล้วขึ้นไปนั่งบัลลังก์เป็นกรรมการตัดสินอย่างหน้าตาเฉยด้านดื้อตาใสไม่ฟังเสียงคัดค้านที่ท้วงติงถึงความไม่เหมาะสม
รัฐธรรมนูญ 4 ประเด็นที่เข้าชื่อกันแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาของ ส.ว. มาตรา 111 การแก้ไขมาตรา 68 และ 237 การแก้ไขมาตรา 190 ไม่มีส่วนไหนที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนเลย ซ้ำร้ายยังเป็นการแก้ไขเพื่อลิดรอนสิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติเองและของประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ด้วยซ้ำไป
ความจริงผมไม่ติดใจนะครับเรื่อง ส.ว.ว่าจะมาจากการสรรหากับเลือกตั้งหรือเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว แต่ผมรับไม่ได้กับข้ออ้างที่ว่า การมาของ ส.ว.สรรหานั้นไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งที่ ส.ว.สรรหานั้นก็มีข้อดีมากมายคือ เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่มีความสามารถที่เป็นตัวแทนของกลุ่มวิชาชีพต่างๆ ได้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาฯ แทนการมาจากเลือกตั้งอย่างเดียวแล้วกลายเป็นสภาฯ ทาสของฝ่ายการเมืองอย่างที่เรามีบทเรียนถึงความล้มเหลวของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งมาแล้ว
ถ้าเราชอบอ้างอังกฤษหรือยกตัวอย่างอังกฤษว่าเป็นต้นแบบของประชาธิปไตยเราไปดูสภาฯ สูงของอังกฤษสิครับ เขามีสมาชิกแบบเป็นตลอดชีวิต หรือมีสมาชิกสภาฯ แบบสืบตระกูลด้วยซ้ำไป
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งเป็นสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชนนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า ประชาชนมีสิทธิที่จะยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อต่อต้านการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผมไม่เข้าใจเลยว่าทำไมต้องแก้ไขเพื่อรอนสิทธิของตัวเองออกไป เพื่อให้ประชาชนมีทางออกเดียวคือต้องยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุด
ไม่เพียงแต่ให้ประชาชนต้องยื่นต่ออัยการสูงสุดเท่านั้น รัฐธรรรมนูญมาตรานี้จะถูกแก้ให้ประชาชนใช้สิทธิได้เฉพาะหมวด 3 คือในหมวดสิทธิและเสรีภาพเท่านั้น ต่อไปถ้า ส.ส. ส.ว.จะเข้าชื่อกันแก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ซึ่งเป็นหมวด 15 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประชาชนจะไม่สามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อยื่นยับยั้งได้เลยไม่ว่าจะยื่นผ่านอัยการสูงสุดก็ตาม
นี่เป็นเรื่องอันตรายที่สุดครับ ว่านับจากนี้ไปเสียงข้างมากในสภาฯ จะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไรก็ได้
ความจริงเรื่องนี้ไม่ว่าเป็นเสื้อเหลือง เสื้อแดง หรือเสื้อสีอะไรก็ต้องคิดนะครับว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า ให้ประชาชนสามารถยื่นเรื่องต่อศาลโดยตรงไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด มันก็ต้องเป็นเรื่องที่ดีที่ศาลให้อำนาจประชาชนแบบนั้น
แต่ตลกไหมครับพรรครัฐบาลที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยกลับจะแก้เพื่อลดอำนาจประชาชนเสีย แต่ปากก็บอกว่าตัวเองมาจากการเลือกตั้งมาจากอำนาจประชาชน เป็นพวกก้าวหน้า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แล้วแก้กฎหมายตัดอำนาจประชาชนทำไม
แถมซ้ำร้ายขบวนการเสื้อแดงที่ชอบอ้างอำนาจของประชาชนก็ไม่คัดค้านที่สภาฯ กำลังแก้กฎหมายเพื่อลดทอนอำนาจของตัวเอง
แล้วอัยการนี่เราก็รู้ว่าเราไม่สามารถเชื่อมั่นได้เลย หลายเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นซึ่งทำให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยและลดทอนความเชื่อมั่นต่อสถาบันในกระบวนการยุติธรรมแห่งนี้ไปแล้ว
แถมซ้ำอัยการสูงสุดยังเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดในองค์กรต่างๆ ที่มีผลประโยชน์ตอบแทนสูง โดยได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายการเมืองซึ่งปัจจุบันนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นั่งเป็นกรรมการใน 3 องค์กรใหญ่คือ การบินไทย ปตท. และธนาคารกรุงไทย
ส่วนมาตรา 237 นั้นเขาเขียนเอาไว้เพื่อป้องกันนักการเมืองไม่ให้โกงการเลือกตั้ง การไม่โกงการเลือกตั้งก็น่าจะเป็นบรรทัดฐานขั้นสูงของพวกที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย และถ้าไม่โกงเลือกตั้งเสียอย่างเดียวรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เป็นเพียงตัวอักษรที่เขียนไว้บนกระดาษไม่สามารถไปทำร้ายทำลายใครหรือส่งผลเสียต่อพรรคการเมืองหรือบั่นทอนประชาธิปไตยตรงไหนได้เลย ตลกมากครับฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยกลับกลัวมาตรานี้ เหมือนกับมีความคิดจะโกงการเลือกตั้งแล้วกลัวถูกจับได้
เอาเข้าจริงๆ แล้วทั้งมาตรา 68 และมาตรา 237 ที่เขียนไว้ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองได้นั้น ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อฝ่ายประชาธิปไตยเลย ถ้าไม่มีพฤติกรรมที่ล้มล้างการปกครองหรือโกงการเลือกตั้งนั่นเอง
มาตรา 190 เดิมที่เปิดโอกาสให้สภาฯ ได้ตรวจสอบการทำสัญญาต่างๆของรัฐ ให้ประชาชนได้มีโอกาสตรวจสอบรับรู้ถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายประชาชนตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารที่อาจจะกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศจะถูกลบทิ้งหมด แปลกไหมครับฝ่ายนิติบัญญัติกลับจะออกหนังสือเพื่อลดทอนอำนาจของตัวเองและลดทอนอำนาจของประชาชน
ล้มเลิกขั้นตอนที่รัฐมนตรีชี้แจงและการเสนอกรอบต่อสภาฯ ล้มเลิกขั้นตอนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา ล้มเลิกขั้นตอนในกรณีที่หนังสือสัญญานั้นกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
ผมยังมองไม่เห็นเหตุผลอื่นเลยครับที่ฝ่ายการเมืองจะแก้ไขมาตรานี้ นอกจากเหตุผลเดียวก็คือ การเปิดโอกาสให้นักธุรกิจการเมืองทำธุรกิจขายชาติขายแผ่นดินและหาเศษหาเลยได้ง่ายขึ้น
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า ฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยนั้น เป็นเพียงการเรียกขานเพื่ออำพรางพฤติกรรมที่ตรงข้ามกับการแสดงออกที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะถูกสั่งให้ซ้ายหันขวาหันโดยคนหนีคุก เพื่อเปิดทางไปสู่การแก้ไขมาตรา 309
แก้รัฐธรรมนูญเพื่อหากินปล้นชาติได้ง่ายขึ้นและเปิดทางล้างผิดให้คนเพียงคนเดียว
กระบวนการประชาธิปไตยที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง แต่รับฟังคำสั่งให้ซ้ายหันขวาหันโดยทักษิณคนเดียวก็เดินหน้าฝ่าด่านต่อไปคือการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางไปสู่การลดทอนอำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรุยทางไปสู่เป้าหมายที่ซ่อนเร้นอยู่คือ การแก้ไขมาตรา 309 เพื่อลบล้างความผิดของทักษิณทวงเงินที่รัฐยึดเอาไว้กลับคืนมา
ทั้ง ส.ส. และ ส.ว.ที่ชอบเรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยที่แม้จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนก็ทำตัวเป็นทาสรับใช้ให้ทักษิณกดปุ่มเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญเพื่อรอนสิทธิของตัวเองและของประชาชนเพียงเพราะว่า รัฐธรรมนูญเหล่านั้นเป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากินและการล้างผิดของนายใหญ่หนีคุก
ขนาดประธานวุฒิสภาซึ่งตามตำแหน่งศักดิ์ศรีแล้วต้องวางตัวให้น่าเชื่อถือเป็นกลาง ยังต้องลงมาแสดงให้เข้าตาคนหนีคุกด้วยการลงชื่อสนับสนุนแก้รัฐธรรมนูญแล้วขึ้นไปนั่งบัลลังก์เป็นกรรมการตัดสินอย่างหน้าตาเฉยด้านดื้อตาใสไม่ฟังเสียงคัดค้านที่ท้วงติงถึงความไม่เหมาะสม
รัฐธรรมนูญ 4 ประเด็นที่เข้าชื่อกันแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาของ ส.ว. มาตรา 111 การแก้ไขมาตรา 68 และ 237 การแก้ไขมาตรา 190 ไม่มีส่วนไหนที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนเลย ซ้ำร้ายยังเป็นการแก้ไขเพื่อลิดรอนสิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติเองและของประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ด้วยซ้ำไป
ความจริงผมไม่ติดใจนะครับเรื่อง ส.ว.ว่าจะมาจากการสรรหากับเลือกตั้งหรือเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว แต่ผมรับไม่ได้กับข้ออ้างที่ว่า การมาของ ส.ว.สรรหานั้นไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งที่ ส.ว.สรรหานั้นก็มีข้อดีมากมายคือ เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่มีความสามารถที่เป็นตัวแทนของกลุ่มวิชาชีพต่างๆ ได้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาฯ แทนการมาจากเลือกตั้งอย่างเดียวแล้วกลายเป็นสภาฯ ทาสของฝ่ายการเมืองอย่างที่เรามีบทเรียนถึงความล้มเหลวของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งมาแล้ว
ถ้าเราชอบอ้างอังกฤษหรือยกตัวอย่างอังกฤษว่าเป็นต้นแบบของประชาธิปไตยเราไปดูสภาฯ สูงของอังกฤษสิครับ เขามีสมาชิกแบบเป็นตลอดชีวิต หรือมีสมาชิกสภาฯ แบบสืบตระกูลด้วยซ้ำไป
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งเป็นสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชนนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า ประชาชนมีสิทธิที่จะยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อต่อต้านการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผมไม่เข้าใจเลยว่าทำไมต้องแก้ไขเพื่อรอนสิทธิของตัวเองออกไป เพื่อให้ประชาชนมีทางออกเดียวคือต้องยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุด
ไม่เพียงแต่ให้ประชาชนต้องยื่นต่ออัยการสูงสุดเท่านั้น รัฐธรรรมนูญมาตรานี้จะถูกแก้ให้ประชาชนใช้สิทธิได้เฉพาะหมวด 3 คือในหมวดสิทธิและเสรีภาพเท่านั้น ต่อไปถ้า ส.ส. ส.ว.จะเข้าชื่อกันแก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ซึ่งเป็นหมวด 15 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประชาชนจะไม่สามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อยื่นยับยั้งได้เลยไม่ว่าจะยื่นผ่านอัยการสูงสุดก็ตาม
นี่เป็นเรื่องอันตรายที่สุดครับ ว่านับจากนี้ไปเสียงข้างมากในสภาฯ จะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไรก็ได้
ความจริงเรื่องนี้ไม่ว่าเป็นเสื้อเหลือง เสื้อแดง หรือเสื้อสีอะไรก็ต้องคิดนะครับว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า ให้ประชาชนสามารถยื่นเรื่องต่อศาลโดยตรงไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด มันก็ต้องเป็นเรื่องที่ดีที่ศาลให้อำนาจประชาชนแบบนั้น
แต่ตลกไหมครับพรรครัฐบาลที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยกลับจะแก้เพื่อลดอำนาจประชาชนเสีย แต่ปากก็บอกว่าตัวเองมาจากการเลือกตั้งมาจากอำนาจประชาชน เป็นพวกก้าวหน้า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แล้วแก้กฎหมายตัดอำนาจประชาชนทำไม
แถมซ้ำร้ายขบวนการเสื้อแดงที่ชอบอ้างอำนาจของประชาชนก็ไม่คัดค้านที่สภาฯ กำลังแก้กฎหมายเพื่อลดทอนอำนาจของตัวเอง
แล้วอัยการนี่เราก็รู้ว่าเราไม่สามารถเชื่อมั่นได้เลย หลายเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นซึ่งทำให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยและลดทอนความเชื่อมั่นต่อสถาบันในกระบวนการยุติธรรมแห่งนี้ไปแล้ว
แถมซ้ำอัยการสูงสุดยังเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดในองค์กรต่างๆ ที่มีผลประโยชน์ตอบแทนสูง โดยได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายการเมืองซึ่งปัจจุบันนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นั่งเป็นกรรมการใน 3 องค์กรใหญ่คือ การบินไทย ปตท. และธนาคารกรุงไทย
ส่วนมาตรา 237 นั้นเขาเขียนเอาไว้เพื่อป้องกันนักการเมืองไม่ให้โกงการเลือกตั้ง การไม่โกงการเลือกตั้งก็น่าจะเป็นบรรทัดฐานขั้นสูงของพวกที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย และถ้าไม่โกงเลือกตั้งเสียอย่างเดียวรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เป็นเพียงตัวอักษรที่เขียนไว้บนกระดาษไม่สามารถไปทำร้ายทำลายใครหรือส่งผลเสียต่อพรรคการเมืองหรือบั่นทอนประชาธิปไตยตรงไหนได้เลย ตลกมากครับฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยกลับกลัวมาตรานี้ เหมือนกับมีความคิดจะโกงการเลือกตั้งแล้วกลัวถูกจับได้
เอาเข้าจริงๆ แล้วทั้งมาตรา 68 และมาตรา 237 ที่เขียนไว้ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองได้นั้น ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อฝ่ายประชาธิปไตยเลย ถ้าไม่มีพฤติกรรมที่ล้มล้างการปกครองหรือโกงการเลือกตั้งนั่นเอง
มาตรา 190 เดิมที่เปิดโอกาสให้สภาฯ ได้ตรวจสอบการทำสัญญาต่างๆของรัฐ ให้ประชาชนได้มีโอกาสตรวจสอบรับรู้ถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายประชาชนตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารที่อาจจะกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศจะถูกลบทิ้งหมด แปลกไหมครับฝ่ายนิติบัญญัติกลับจะออกหนังสือเพื่อลดทอนอำนาจของตัวเองและลดทอนอำนาจของประชาชน
ล้มเลิกขั้นตอนที่รัฐมนตรีชี้แจงและการเสนอกรอบต่อสภาฯ ล้มเลิกขั้นตอนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา ล้มเลิกขั้นตอนในกรณีที่หนังสือสัญญานั้นกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
ผมยังมองไม่เห็นเหตุผลอื่นเลยครับที่ฝ่ายการเมืองจะแก้ไขมาตรานี้ นอกจากเหตุผลเดียวก็คือ การเปิดโอกาสให้นักธุรกิจการเมืองทำธุรกิจขายชาติขายแผ่นดินและหาเศษหาเลยได้ง่ายขึ้น
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า ฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยนั้น เป็นเพียงการเรียกขานเพื่ออำพรางพฤติกรรมที่ตรงข้ามกับการแสดงออกที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะถูกสั่งให้ซ้ายหันขวาหันโดยคนหนีคุก เพื่อเปิดทางไปสู่การแก้ไขมาตรา 309
แก้รัฐธรรมนูญเพื่อหากินปล้นชาติได้ง่ายขึ้นและเปิดทางล้างผิดให้คนเพียงคนเดียว