วานนี้(26 มี.ค.56) กลุ่มองค์กรเครือข่ายสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แห่งประเทศไทย นำโดยนายวิศร์ อัครสันตติกุล ประธานองค์กรฯ พร้อมด้วยสมาชิกรวมตัวชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล
มีข้อความสีดำ “ปลดแอกกบข.” อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายกบข. มาตรา 63 ใน4 ประเด็นหลัก คือ1.เมื่อเกษียณอายุราชการขอให้ได้บำนาญสูงขึ้น2.ให้สามารถลาออกได้ 3.เมื่อเสียชีวิตให้ทายาทได้รับประโยชน์ที่เป็นธรรม และ 4.ให้มีผลย้อนหลังไปถึงสมาชิกที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ถ้าไม่เป็นผล ให้ยกเลิกกบข.แล้วไปรับบำนาญตามสูตรเดิม ปี 2494 โดยไม่มีเงื่อนไข
ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลังเดินทางมาเจรจาและยืนยันสาเหตุการดำเนินงานล่าช้า เพราะต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้องรอบคอบ และในวันที่ 28มี.ค. จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองที่มีตนเป็นประธาน
ทั้งนี้ หากผ่านการพิจารณาจะเสนอต่อที่ประชุมครม. เพื่อเสนอต่อสภาให้แก้ไขกฏหมายต่อไป และขอยืนยันจะดูแลครอบคลุมข้าราชการที่เกษียณอายุด้วย อีกทั้ง ขอให้สมาชิกกบข.จับตาเรื่องดังกล่าวในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าจะมีความเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมต่างพอใจกับข้อสรุปดังกล่าว และยอมสลายการชุมนุมทันที
ร.ท.หญิง สุนิษา เลิศภควัตร รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายกรัฐมนตรี ได้ห่วงใยและได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปพูดคุยและรับข้อเรียกร้อง ซึ่งปัญหาจากข้าราชการเคยรับบำเหน็จบำนาญยุคที่ก่อนจะมีการจัดตั้งกองทุน และปรับมาเป็นสมาชิก กบข.ได้รับผลประโยชน์จาก กบข เป็นเงินออมแต่สมาชิกอยากเก็บไปได้รับแบบเดิม ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง เพื่อดูว่าจะให้สิทธิข้าราชการกลับไปรับตอบแทนบำเหน็จบำนาญแบบเก่าได้หรือไม่ และเสนอ ครม.อนุมัติเพื่อเสนอเข้าสภาออกเป็นพ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เงินออมของ กบข.และในอนาคต หากจะมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิข้าราชการ ยืนยันว่าจะไม่มีการกระทบ หรือยุบกองทุน หรือขายทุน กองทุนของ กบข.ทิ้ง โดย กบข.ยังมีภาระกิจดูแลเงินกองทุนสมาขิกต่อไป และไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสมาชิกเปลี่ยนมาใช้ระบบบำเหน็จบำนาญทั้งหมด แม้ปริมาณเงินลงทุนเปลี่ยนไปรัฐบาลจะลงเงินให้อีกแม้ว่าข้าราชการเปลี่ยนเป็นบำเหน็จบำนาญ รวมทั้งเงินออมที่ ได้เงินไปแล้วต้องนำเงินมาคืนกองทุนด้วย เป็นการบริหารกองทุนไม่มีใครเสียประโยชน์ทั้งสิ้น
ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา หารือ ไปยังรัฐบาลถึงกรณีนี้ว่า ที่สำคัญคือการบริหารกองทุนเมื่อปี 2551 ขาดทุน ก็ไปลดรายได้ของข้าราชการ วันนี้ข้าราชการเรียกร้องผ่านรัฐบาล ผ่านพรรคประชาธิปัตย์ มาถึงรัฐบาลเพื่อไทย ก็ไม่มีความคืบหน้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ข้าราชการจึงเรียกร้องให้มีการแก้ไขตามงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้แก้ไขมาตรา 63 ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ ก็ยังไม่แก้ วันนี้ข้าราชการก็เรียกร้องผ่านสภา ว่าทำอย่างไรรัฐบาลจะมีการแก้ไขพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 เพื่อให้ข้าราชการมีทางเลือก 2 ทาง คือสามารถรับบำนาญตามพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 คือแบบเดิม หรือรับตามพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และทำอย่างไรจะเยียวยาข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารกองทุนกบข.ที่ขาดทุน รัฐบาลควรรีบดำเนินการด้วย หากจะยกร่างแก้ไขก็ควรรีบดำเนินการ
อีกด้านที่ทำเนียบรัฐบาล นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำกลุ่มกลุ่มสหภาพและพนักงานรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เร่งรัดการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน ของ ขสมก. เพื่อนำมาทดแทนรถเมล์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีสภาพเก่า หรือมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปี
นายสุพร อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ได้มารับหนังสือ พร้อมรับปากว่า เบื้องต้นได้มีการหารือกับ นายกิตติรัตน์ ถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว โดย รองนายกรัฐมนตรี ได้รับปากว่าจะเสนอเรื่องการจัดซื้อรถเมล์ใหม่เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเป็นของขวัญให้กับพนักงาน ขสมก. และผู้ใช้บริการ
นายวีระพงศ์ กล่าวว่า สหภาพ จะมีการประชุมคณะกรรมการสหภาพ ในวันที่ 11 เมษายน 2556 เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวล่วงหน้า หากก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่พิจารณาเรื่องการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีใหม่ จำนวน 3,183 คัน ซึ่งถ้ารัฐบาลยังคงนิ่งเฉย หลังจากเทศกาลสงกรานต์ สหภาพและพนักงาน ขสมก. จะออกมาเคลื่อนไหวมากกว่าวันนี้ โดยในส่วนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการนั้น ทางรัฐบาล จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ก่อนแยกย้ายกันเดินทางกลับ
มีข้อความสีดำ “ปลดแอกกบข.” อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายกบข. มาตรา 63 ใน4 ประเด็นหลัก คือ1.เมื่อเกษียณอายุราชการขอให้ได้บำนาญสูงขึ้น2.ให้สามารถลาออกได้ 3.เมื่อเสียชีวิตให้ทายาทได้รับประโยชน์ที่เป็นธรรม และ 4.ให้มีผลย้อนหลังไปถึงสมาชิกที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ถ้าไม่เป็นผล ให้ยกเลิกกบข.แล้วไปรับบำนาญตามสูตรเดิม ปี 2494 โดยไม่มีเงื่อนไข
ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลังเดินทางมาเจรจาและยืนยันสาเหตุการดำเนินงานล่าช้า เพราะต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้องรอบคอบ และในวันที่ 28มี.ค. จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองที่มีตนเป็นประธาน
ทั้งนี้ หากผ่านการพิจารณาจะเสนอต่อที่ประชุมครม. เพื่อเสนอต่อสภาให้แก้ไขกฏหมายต่อไป และขอยืนยันจะดูแลครอบคลุมข้าราชการที่เกษียณอายุด้วย อีกทั้ง ขอให้สมาชิกกบข.จับตาเรื่องดังกล่าวในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าจะมีความเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมต่างพอใจกับข้อสรุปดังกล่าว และยอมสลายการชุมนุมทันที
ร.ท.หญิง สุนิษา เลิศภควัตร รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายกรัฐมนตรี ได้ห่วงใยและได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปพูดคุยและรับข้อเรียกร้อง ซึ่งปัญหาจากข้าราชการเคยรับบำเหน็จบำนาญยุคที่ก่อนจะมีการจัดตั้งกองทุน และปรับมาเป็นสมาชิก กบข.ได้รับผลประโยชน์จาก กบข เป็นเงินออมแต่สมาชิกอยากเก็บไปได้รับแบบเดิม ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง เพื่อดูว่าจะให้สิทธิข้าราชการกลับไปรับตอบแทนบำเหน็จบำนาญแบบเก่าได้หรือไม่ และเสนอ ครม.อนุมัติเพื่อเสนอเข้าสภาออกเป็นพ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เงินออมของ กบข.และในอนาคต หากจะมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิข้าราชการ ยืนยันว่าจะไม่มีการกระทบ หรือยุบกองทุน หรือขายทุน กองทุนของ กบข.ทิ้ง โดย กบข.ยังมีภาระกิจดูแลเงินกองทุนสมาขิกต่อไป และไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสมาชิกเปลี่ยนมาใช้ระบบบำเหน็จบำนาญทั้งหมด แม้ปริมาณเงินลงทุนเปลี่ยนไปรัฐบาลจะลงเงินให้อีกแม้ว่าข้าราชการเปลี่ยนเป็นบำเหน็จบำนาญ รวมทั้งเงินออมที่ ได้เงินไปแล้วต้องนำเงินมาคืนกองทุนด้วย เป็นการบริหารกองทุนไม่มีใครเสียประโยชน์ทั้งสิ้น
ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา หารือ ไปยังรัฐบาลถึงกรณีนี้ว่า ที่สำคัญคือการบริหารกองทุนเมื่อปี 2551 ขาดทุน ก็ไปลดรายได้ของข้าราชการ วันนี้ข้าราชการเรียกร้องผ่านรัฐบาล ผ่านพรรคประชาธิปัตย์ มาถึงรัฐบาลเพื่อไทย ก็ไม่มีความคืบหน้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ข้าราชการจึงเรียกร้องให้มีการแก้ไขตามงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้แก้ไขมาตรา 63 ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ ก็ยังไม่แก้ วันนี้ข้าราชการก็เรียกร้องผ่านสภา ว่าทำอย่างไรรัฐบาลจะมีการแก้ไขพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 เพื่อให้ข้าราชการมีทางเลือก 2 ทาง คือสามารถรับบำนาญตามพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 คือแบบเดิม หรือรับตามพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และทำอย่างไรจะเยียวยาข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารกองทุนกบข.ที่ขาดทุน รัฐบาลควรรีบดำเนินการด้วย หากจะยกร่างแก้ไขก็ควรรีบดำเนินการ
อีกด้านที่ทำเนียบรัฐบาล นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำกลุ่มกลุ่มสหภาพและพนักงานรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เร่งรัดการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน ของ ขสมก. เพื่อนำมาทดแทนรถเมล์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีสภาพเก่า หรือมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปี
นายสุพร อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ได้มารับหนังสือ พร้อมรับปากว่า เบื้องต้นได้มีการหารือกับ นายกิตติรัตน์ ถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว โดย รองนายกรัฐมนตรี ได้รับปากว่าจะเสนอเรื่องการจัดซื้อรถเมล์ใหม่เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเป็นของขวัญให้กับพนักงาน ขสมก. และผู้ใช้บริการ
นายวีระพงศ์ กล่าวว่า สหภาพ จะมีการประชุมคณะกรรมการสหภาพ ในวันที่ 11 เมษายน 2556 เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวล่วงหน้า หากก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่พิจารณาเรื่องการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีใหม่ จำนวน 3,183 คัน ซึ่งถ้ารัฐบาลยังคงนิ่งเฉย หลังจากเทศกาลสงกรานต์ สหภาพและพนักงาน ขสมก. จะออกมาเคลื่อนไหวมากกว่าวันนี้ โดยในส่วนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการนั้น ทางรัฐบาล จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ก่อนแยกย้ายกันเดินทางกลับ