วุฒิสภาเตรียมเพิ่มรับรองสัญชาติให้ชาวเขาตามโครงการปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาสสู่อาเซียน ส่ง จนท.ตรวจดีเอ็นเอ ระบุมีกว่า 36 เผ่าที่ยังพิสูจน์ไม่ได้
วันนี้ (19 ก.พ.) ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 13.00 น. นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนยากไร้สู่พลเมืองอาเซียน แถลงว่า ในปี 2558 จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแต่ยังมีคนไทยที่ไร้สัญชาติ จึงทำให้ไม่ได้รับการรับรองโดยรัฐ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทั้งภายในและระหว่างประเทศหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ขณะเดียวกัน บุคคลเหล่านี้ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิพื้นฐานต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จนกลายเป็นบุคคลยากไร้ มีสถานะไม่ต่างจากคนต่างด้าว ซึ่งโครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว แต่จะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้ยื่นคำร้องขอแจ้งเกิด หรือยื่นคำร้องเกินกำหนด ซึ่งครั้งนี้จะเพิ่มกลุ่มชาวเขา บุคคลพื้นที่สูง และบุคคลที่ยื่นคำร้องเปลี่ยนแปลงสถานะในเอกสารทะเบียนราษฎร โดยการเกิด โดยผลของกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ วุฒิสภาจึงร่วมมือกับ 12 ภาคีเครือข่าย เช่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการคลัง คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
นายอโณทัยกล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวได้ตั้งเป้าหมายที่จะช่วยเหลือคนไทยที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และการสร้างพลเมืองอาเซียนที่มีคุณภาพ โดยตั้งเป้าเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม จำนวน 2,981 คน และเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 จำนวน 2,986 คน ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจดีเอ็นเอทั้งหมด เพราะหากนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตได้ตรวจสอบพยานบุคล เอกสาร พยานแวดล้อม และสามารถยืนยันได้ก็สามารถคืนสถานะความเป็นคนไทยได้ แต่หากกรณีใดไม่ชัดเจนก็ต้องตรวจดีเอ็นเอ โดยจะนำเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ออกไปตรวจให้ถึงที่
ด้านนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีคนไทยรวม 36 เผ่าพันธุ์ กว่า 4 แสนคนที่ยังไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้ เราต้องช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้เพราะเขาเป็นคนไทย ให้มีที่อยู่ที่ยืนในประชาคมอาเซียน เพื่อปกป้องคุ้มครองไม่ให้เขาถูกละเมิด ซึ่งตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือชาวโรฮิงญา จึงเปิดให้คนที่ต้องการพิสูจน์สัญชาติเข้าร่วมได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นจากกระทรวงมหาดไทยก่อน
วันนี้ (19 ก.พ.) ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 13.00 น. นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนยากไร้สู่พลเมืองอาเซียน แถลงว่า ในปี 2558 จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแต่ยังมีคนไทยที่ไร้สัญชาติ จึงทำให้ไม่ได้รับการรับรองโดยรัฐ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทั้งภายในและระหว่างประเทศหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ขณะเดียวกัน บุคคลเหล่านี้ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิพื้นฐานต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จนกลายเป็นบุคคลยากไร้ มีสถานะไม่ต่างจากคนต่างด้าว ซึ่งโครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว แต่จะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้ยื่นคำร้องขอแจ้งเกิด หรือยื่นคำร้องเกินกำหนด ซึ่งครั้งนี้จะเพิ่มกลุ่มชาวเขา บุคคลพื้นที่สูง และบุคคลที่ยื่นคำร้องเปลี่ยนแปลงสถานะในเอกสารทะเบียนราษฎร โดยการเกิด โดยผลของกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ วุฒิสภาจึงร่วมมือกับ 12 ภาคีเครือข่าย เช่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการคลัง คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
นายอโณทัยกล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวได้ตั้งเป้าหมายที่จะช่วยเหลือคนไทยที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และการสร้างพลเมืองอาเซียนที่มีคุณภาพ โดยตั้งเป้าเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม จำนวน 2,981 คน และเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 จำนวน 2,986 คน ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจดีเอ็นเอทั้งหมด เพราะหากนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตได้ตรวจสอบพยานบุคล เอกสาร พยานแวดล้อม และสามารถยืนยันได้ก็สามารถคืนสถานะความเป็นคนไทยได้ แต่หากกรณีใดไม่ชัดเจนก็ต้องตรวจดีเอ็นเอ โดยจะนำเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ออกไปตรวจให้ถึงที่
ด้านนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีคนไทยรวม 36 เผ่าพันธุ์ กว่า 4 แสนคนที่ยังไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้ เราต้องช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้เพราะเขาเป็นคนไทย ให้มีที่อยู่ที่ยืนในประชาคมอาเซียน เพื่อปกป้องคุ้มครองไม่ให้เขาถูกละเมิด ซึ่งตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือชาวโรฮิงญา จึงเปิดให้คนที่ต้องการพิสูจน์สัญชาติเข้าร่วมได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นจากกระทรวงมหาดไทยก่อน