ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติ 171 ต่อ 2 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง รับหลักการร่างข้อบังคับการประชุม สนช. พร้อมเห็นชอบตั้งกรรมาธิการเพื่อพิจารณาแปรญัตติในกรอบเวลา 3 วัน โดยให้ใช้ชุดเดียวกันกับกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช.จำนวน 19 คน และกำหนดกรอบการทำงานของกรรมาธิการภายใน 10 วัน
ในระหว่างการอภิปราย สมาชิก สนช.ตั้งข้อสังเกตในเนื้อหาสาระของร่างข้อบังคับฯ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะหลักการและเหตุผลของการเพิ่มหมวดว่าด้วยการพ้นสมาชิกภาพของ สนช. และการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเห็นว่าการพิจารณาควรเป็นไปตามหลักข้อเท็จจริง และต้องไม่มีเจตนามุ่งเป้าไปที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ขณะที่นายตวง อันทะไชย กรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. ชี้แจงถึงการเพิ่มเติมข้อบัญญัติว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ในข้อบังคับการประชุม ว่า ได้พิจารณาด้วยความรอบคอบแล้ว โดยการเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 มาตรา 6 ที่ให้อำนาจ สนช.ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่า ส.ส.และ ส.ว. และเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีเจตนากำจัดนักการเมือง พรรคการเมือง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ส่วนเรื่องการพ้นสมาชิกภาพของสมาชิก สนช.นั้น กรรมาธิการยกร่างฯ ยืนยันว่า มีเจตนาเพื่อให้การประชุม สนช.เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และต้องการให้สมาชิกเข้าประชุมให้ครบองค์ประชุม และการกำหนดเกณฑ์ 90 วัน เพราะไม่ต้องการใช้ระบบที่เข้มงวดเกินไป จึงนำหลักการประเมินจากระบบไตรมาสมาใช้เพื่อความเหมาะสม ซึ่งจะสร้างความคล่องตัวในการทำงานให้กับสมาชิก สนช.
ทั้งนี้ หากร่างข้อบังคับการประชุม สนช.มีผลบังคับใช้ มีคดีถอดถอนสำคัญที่รอการพิจารณาอยู่หลายคดี โดยเฉพาะการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว
ในระหว่างการอภิปราย สมาชิก สนช.ตั้งข้อสังเกตในเนื้อหาสาระของร่างข้อบังคับฯ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะหลักการและเหตุผลของการเพิ่มหมวดว่าด้วยการพ้นสมาชิกภาพของ สนช. และการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเห็นว่าการพิจารณาควรเป็นไปตามหลักข้อเท็จจริง และต้องไม่มีเจตนามุ่งเป้าไปที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ขณะที่นายตวง อันทะไชย กรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. ชี้แจงถึงการเพิ่มเติมข้อบัญญัติว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ในข้อบังคับการประชุม ว่า ได้พิจารณาด้วยความรอบคอบแล้ว โดยการเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 มาตรา 6 ที่ให้อำนาจ สนช.ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่า ส.ส.และ ส.ว. และเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีเจตนากำจัดนักการเมือง พรรคการเมือง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ส่วนเรื่องการพ้นสมาชิกภาพของสมาชิก สนช.นั้น กรรมาธิการยกร่างฯ ยืนยันว่า มีเจตนาเพื่อให้การประชุม สนช.เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และต้องการให้สมาชิกเข้าประชุมให้ครบองค์ประชุม และการกำหนดเกณฑ์ 90 วัน เพราะไม่ต้องการใช้ระบบที่เข้มงวดเกินไป จึงนำหลักการประเมินจากระบบไตรมาสมาใช้เพื่อความเหมาะสม ซึ่งจะสร้างความคล่องตัวในการทำงานให้กับสมาชิก สนช.
ทั้งนี้ หากร่างข้อบังคับการประชุม สนช.มีผลบังคับใช้ มีคดีถอดถอนสำคัญที่รอการพิจารณาอยู่หลายคดี โดยเฉพาะการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว