xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

“โคตรกู้มาโกง” ภารกิจใหม่เจ๊ ด.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการประชุมครั้งสำคัญของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล เพราะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณา ร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของ ประเทศ พ.ศ. .... วงเงิน 2 ล้านล้านบาท

ความในใจของนักการเมืองหลายคนก็คือ การพิจารณาแบ่งเค้กหัวคิว 35% นั่นเอง

“อย่ากล่าวหากันรุนแรงถึงขนาดนั้น เพราะเมื่อโครงการนี้ทำไปแล้ว สิ่งที่ได้มาก็คือ ทรัพย์สินของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง หรือเส้นทางคมนาคมต่างๆ ซึ่งทุกอย่างสามารถตรวจสอบและวัดผลได้” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามที่ว่า รัฐบาลกำลังทำรัฐประหารทางการเงินของประเทศ แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะของไทย จะถูกคนอย่าง “โต้งไวท์ไลน์” บอกว่า จะไม่เกิน 50 % ของจีดีพี แต่ใครบ้างจะเชื่อถือ

“แนวทางชำระหนี้นั้น ช่วง 10 ปีแรก จะชำระเฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น เฉลี่ยปีละ 2 หมื่นล้านบาท และปีที่ 11 จึงเริ่มชำระเงินต้นควบคู่กันไปด้วย โดยรัฐบาลจะชำระเงินกู้ได้ภายใน 50 ปี โดยจะเน้นภายในประเทศเป็นหลัก” กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง อธิบายแนวทางไว้

ทั้งนี้ ครม.ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชำระหนี้เงินกู้ตาม พ.ร.บ.ให้แล้วเสร็จภายใน 50 ปี โดยเริ่มจัดสรรภายในปีที่ 11 นับตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ พร้อมทั้งกำหนดวงเงินขั้นต่ำชำระหนี้แบบขั้นบันได โดยปีที่ 11-20 ไม่ต่ำกว่า 1 % ของ 2 ล้านล้านบาท ปีที่ 21-30 ไม่ต่ำกว่า 2 % ของ 2 ล้านล้านบาท ปีที่ 31-40 ไม่ต่ำกว่า 3 % ของ 2 ล้านล้านบาท และปีที่ 41-50 ไม่ต่ำกว่า 4 % ของ 2 ล้านล้านบาท

“ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตนั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะการดำเนินการทุกส่วน รัฐบาลยึดมั่นวินัยทางการคลังในระดับสูง” นายกิตติรัตน์ เปิดไฟเขียวให้โกงกันได้ทุกขั้นตอน

เขายังเปิดทางให้สวาปามว่า “อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นโครงการลงทุนก่อสร้างขนาดใหญ่ แต่รัฐบาลจะพยายามควบคุมดูแลอย่างเต็มที่ โดยได้เตรียมการดูแลไว้ 2 ด้าน คือ 1. ผู้มีอำนาจบริหารงบประมาณต้องได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม ไม่จูงใจให้เกิดการทุจริตขึ้น และ 2. จะนำระบบการจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบใหม่มาใช้ ซึ่งจะเปิดเผยราคากลางแก่กรมบัญชีกลาง และเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณชนผ่านทางเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง”

สำหรับเนื้อหาโครงการภายใต้แผนงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งประเทศนั้น แบ่งออกเป็น 3 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า วงเงิน 354,560 ล้านบาท
1.1 แผนงานพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เป็นโครงข่ายการขนส่งหลักของประเทศ
1) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายลพบุรี - ปากน้ำโพ
2) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายปากน้ำโพ - เด่นชัย
3) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ
4) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายถนนจีระ - ขอนแก่น
5) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายขอนแก่น - หนองคาย
6) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายถนนจิระ - อุบลราชธานี
7) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายนครปฐม - หัวหิน
8) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์
9) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร
10) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายชุมพร - สุราษฎร์ธานี
11) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายสุราษฎร์ธานี - ปาดังเบซาร์
12) โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ (ปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว)
13) โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับ และปรับปรุงเครื่องกั้น
14) โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ
15) โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
16) โครงการก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่แก่งคอย
17) โครงการสะพานข้ามทางรถไฟ จำนวน 83 แห่ง และงานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ รฟท. สำหรับก่อสร้างสะพาน ทล.
18) โครงการแก้ไขและป้องกันปัญหาอุบัติเหตุจราจร ก่อสร้างสะพาน และอุโมงค์ข้ามทางรถไฟ (25 โครงการ)

1.2 แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการชนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่ง
1) โครงการก่อสร้างท่าเรือที่จังหวัดชุมพร
2) โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่สอง
3) โครงการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางน้ำเพื่อการประหยัดพลังงานที่จังหวัดอ่างทอง
4) โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล (ระยะที่ 1)
5) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งในแม่น้ำป่าสัก

1.3 แผนงานพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อเชื่อมโยงกันฐานการผลิตและฐานการส่งออกที่สำคัญของประเทศ
1) แผนพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุก จำนวน 15 แห่ง คือเมืองชายแดน 7 แห่ง ได้แก่ เชียงราย ตาก หนองคาย มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และนราธิวาส และเมืองหลัก 8 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี และสุราษฎร์ธานี
2) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมทางบ้านภาชี - นครหลวง เชื่อมโยงกับท่าเรือในแม่น้ำป่าสัก ที่ อ.นครหลวง

2. ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงิน 1,042,376 ล้านบาท
2.1 แผนงานพัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดน ประกอบด้วย
1) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านศุลกากร ของกรมศุลกากร
2) โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย ระยะที่ 1 : สำรวจและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เวนคืนที่ดิน ก่อสร้าง และควบคุมงาน ระยะที่ 2 : ก่อสร้างอาคารศูนย์เปลี่ยนถ่ายและบรรจุสินค้าเพิ่มเติม และอาคารอื่นๆ
3) โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
4) โครงการแผนการพัฒนาทางหลวงชนบท เชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง โครงการสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือแหลมฉบัง โครงการสนับสนุนท่าเทียบเรือเชียงแสน จ.เชียงราย

2.2 แผนงานพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค
1) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ - เชียงใหม่
2) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ - หนองคาย
3) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ - ปาดังเบซาร์
4) โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ต่อจากสนามบินสุวรรณภูมิ - ชลบุรี - พัทยา - ระยอง
5) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ
6) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่ - นครพนม
7) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย บางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าก่อสร้าง และควบคุมงาน)
8) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - บ้านโป่ง - กาญจนบุรี (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน)
9) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา - มาบตาพุด (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน)

3. ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 593,801 ล้านบาท

3.1 แผนพัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง
1) โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - พญาไท - มักกะสัน - หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง
2) โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
3) โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง - บางซื่อ - พญาไท
4) โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน
5) โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา
6) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ -ท่าพระ และ ช่วงหัวลำโพง - บางแค
7) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ
8) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต
9) โครงการถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี
10) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วง สมุทรปราการ - บางปู
11) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี
12) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ
13) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - หัวลำโพง

3.2 แผนงานพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภายในประเทศ
1) โครงการเร่งรัดขยาย 4 ช่องจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง
2) โครงการแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ปริมณฑลและเมืองใหญ่ในภูมิภาค
3) โครงการก่อสร้างบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค
4) โครงการถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย พื้นที่ภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องภาคใต้ตอนบน (Royal Coast)

3.3 แผนงานการส่งเสริมหรือสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศตามยุทธศาสตร์ วงเงิน 9,261 ล้านบาท

นั่นหมายความว่า ความสำคัญของการกระจายเม็ดเงินจะไปอยู่กระทรวงคมนาคม เป็นหลัก

ทำให้ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” กลายเป็นรัฐมนตรีเนื้อหอมทันที

ที่สำคัญ รัฐบาลกำลังเร่งรีบผลักดันให้เข้าสู่ประชุมสภา ในวันที่ 20 มี.ค. ด้วยความรีบเร่ง เพื่อให้แล้วเสร็จในเดือนก.ย.56

แต่นักวิเคราะห์การเมืองหลายคนประเมินว่า โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จะทำให้ ทักษิณ ชินวัตร ทบต้นทบดอก จากที่ถูกยึดทรัพย์ไป 4.6 หมื่นล้านบาท ได้อย่างสบาย

เพราะ 35% ของงบประมาณดังกล่าว ก็ปาเข้าไป 7 แสนล้านบาท

แต่สิ่งที่สร้างความกังวลก็คือ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ทั้งนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้รับเรื่องการให้เงินกู้จำนวน 30 ล้านบาท แก่บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ที่มี นายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีนอกสมรส และเครือญาติถือหุ้นใหญ่ในช่วงปี 2549-2550 ไว้พิจารณา

หากผิดจริง นั่นก็หมายความว่า อาจจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงมาก

นั่นทำให้พรรคเพื่อไทย จัดวางให้ “เยาวภา วงศ์สวัสดิ์” เข้ามาเป็นนายกฯสำรองแทนน้องสาว

ที่สำคัญ เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ยังเหมาะสำหรับเยาวภา ในการบริหารเพื่อพี่ชายมากทีเดียว

โดยการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่จะเกิดขึ้นในวันที่ 21 เม.ย.นี้ โดยมี “บุญทรง เตริยาภิรมย์” รมว.พาณิชย์ เจ้าประจำของเงินจำนำนข้าว เป็น ผอ.เลือกตั้งซ่อม

แม้จะมีเสียงปฏิเสธจากแกนนำพรรคเพื่อไทย แต่ พานทองแท้ ชินวัตร ยอมรับอย่างไม่อายว่า “อาจมีคนมองว่าเป็นเรื่องของตัวตายตัวแทน ในกรณีที่ 'อาปู' โดนตัดสิทธิ์ทางการเมือง ต่อให้เป็นเรื่องจริง ผมว่าพี่น้องชาวเชียงใหม่ เข้าใจในเหตุผลและความจำเป็นครับ”

ความจำเป็นตามพฤติกรรมทางการเงินของของ เจ๊ ด. นั่นเอง !!!





กำลังโหลดความคิดเห็น