กกต.กลางส่อไม่อาจพิจารณาเรื่องร้องคัดค้าน "ชายหมู" ตามมติ กกต.กทม. ได้ทันในการประชุม กกต.กลาง 19 มี.ค.นี้ สุดท้ายอาจใช้วิธีรับรองไปก่อน แล้วสอยทีหลัง
วานนี้ ( 17 มี.ค.) นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงกรณี กกต.กทม. ส่งมติเกี่ยวกับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) 2 คำร้องรวม 3 ประเด็น ให้กกต.กลางพิจารณาว่า การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งเมื่อ กกต.กทม.เสนอก็จะเข้าสู่การดำเนินการของสำนักงานกกต.ก่อน โดยกกต.กลาง ได้วางแนวปฏิบัติไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า ถ้ากกต.จังหวัดเสนอเรื่องเกี่ยวกับการคัดค้านการเลือกตั้งเข้ามา โดยเสนอไม่รับคำร้อง ก็ให้เป็นอำนาจของ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวน พิจารณาว่า มีความเห็นตามที่เสนอหรือไม่ ถ้านายสมชัย มีความเห็นต่าง โดยเห็นควรให้รับเป็นคำร้องเพื่อพิจารณา ก็จะส่งกลับไปให้กกต.จังหวัดดำเนินการ แต่ถ้าทางกกต.จังหวัดเสนอมาว่า รับเป็นคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ก็เป็นเรื่องที่สำนักงานกกต. จะต้องดำเนินการต่อให้เสร็จเรียบร้อย เท่าที่ทราบที่ กกต.กทม. เสนอมา ยังไม่ได้มีการเชิญผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจงเลย ดังนั้นเมื่อมาถึงสำนักงานกกต.กลาง เรื่องที่มีการกล่าวหาเป็นเรื่องใหญ่ ก็คงต้องเข้าอนุกรรมการรวบรวมตรวจสอบหลักฐานต่างๆ แล้วเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ รวมทั้งผู้ถูกกล่าวหาคนอื่นๆ เช่น นายศิริโชค โสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีการกล่าวหาว่าโพสต์ภาพมาชี้แจงก่อน ก่อนสรุปเสนอ กกต. ดังนั้นในการประชุมกกต.กลางในสัปดาห์นี้ ไม่แน่ว่าเรื่องดังกล่าวจะเข้าที่ประชุมฯ ได้ทัน
รายงานข่าวแจ้งว่า กรณีเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นนั้น จะมีขั้นตอนปฏิบัติในเรื่องของการพิจารณาคำร้องคัดค้านต่างจากการเลือกตั้งส.ส. ที่กกต.จังหวัด จะนำสำนวนร้องคัดค้านมาชี้แจงต่อที่ประชุมกกต.เลย โดยการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นนั้น เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเสนอมติกกต. พร้อมความเห็นเบื้องต้น มายังสำนักงานกกต.กลางแล้ว ก็จะถูกส่งไปยังสำนักสืบสวนสอบสวน ที่จะมีพนักงานสอบสวนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบทำหน้าที่สรุป และเสนอความเห็น ก่อนส่งต่อไปยังเลขาธิการ กกต. ซึ่งก็จะมีการพิจารณาว่า จะนำเรื่องดังกล่าว มอบให้อนุกรรมการวินิจฉัยเรื่องร้องคัดค้านคณะใดดำเนินการ เมื่ออนุฯ ดำเนินการแล้วเสร็จ จึงสรุปสำนวนพร้อมความเห็นเสนอต่อที่ประชุมกกต. โดยขั้นตอนกระบวนการทั้งหมดนี้ จะใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ก็จะเป็นการดำเนินการของด้านบริหารงานเลือกตั้งหากหลังการเลือกตั้งมีเรื่องร้องเรียน ทางด้านบริการงานเลือกตั้ง ก็จะตั้งเรื่องเสนอต่อที่ประชุมกกต. กลาง พิจารณาประกาศรับรองผลหลังผ่านวันเลือกตั้งไปแล้ว 2 สัปดาห์ เพื่อให้การประกาศรับรองผลการเลือกตั้งทันต่อกรอบเวลา 30 วัน ตามที่ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็ประมุขฉบับที่ 32 กำหนดไว้ โดยจะมีการประสานกับด้านสืบสวนว่า ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเรื่องร้องคัดค้านมีการดำเนินการไปถึงขั้นตอนใด แล้วเสร็จสามารถพิจารณาก่อนการประกาศรับรองผลได้หรือไม่ หรือยังไม่แล้วเสร็จก็จะเสนอที่ประชุมกกต. ว่าสมควรประกาศรับรองไปก่อนหรือไม่ ซึ่งคาดว่าด้านบริหารเลือกตั้ง จะเสนอเรื่องการประกาศรับรองให้บรรจุเป็นวาระการประชุมสัปดาห์นี้ แต่ทั้งนี้กรอบเวลา 30 วัน จะครบวันที่ 2 เม.ย. ซึ่ง กกต.จะมีการประชุมในวันที่ 26-28 มี.ค. และ 2 เม.ย. ดังนั้นก็เป็นไปได้ที่กกต.จะใช้เวลาในช่วงนี้สอบเรื่องร้องเรียนไปก่อนแล้วค่อยไปพิจารณา หากที่สุดไม่แล้วเสร็จ จึงค่อยประกาศรับรองไปก่อนในสัปดาห์สุดท้ายก็ได้ ซึ่งเรื่องร้องเรียนที่เหลือ กกต. ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จใน 1 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า สำนวนคำร้องคัดค้านที่ กกต.กทม. มีมติ และเสนอมายังกกต.กลาง เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คงไม่สามารถเข้าที่ประชุม กกต.กลางได้ทันในสัปดาห์นี้ เพราะคงต้องดูความเห็นของฝ่ายสืบสวนสอบสวน ของกกต.กลางที่เสนอมา ว่า จะต้องตั้งอนุกรมการฯ ขึ้นมาสอบสวนหรือไม่ และต้องมีการเชิญใครมาให้ถ้อยคำหรือไม่ ถ้าแล้วเสร็จจึงจะเสนอเข้าที่ประชุม กกต.กลาง แต่ทั้งนี้ขั้นตอนดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับการประกาศรับรองผล เพราะถ้าทำไม่แล้วเสร็จ ก็ต้องประกาศรับรองก่อน
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทางพรรคไม่ได้หวั่นไหวใดๆ และมั่นใจว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะได้รับการรับรอง เป็นผู้ว่าฯ กทม. เนื่องจากการพิจารณาคำร้องของ กกต.กทม. หากเห็นว่ามีมูลหรือหลักฐานที่ชัดเจนว่าจะส่งผลต่อการให้ใบเหลือง - แดง ผู้สมัครฯรายใด คงจะต้องมีการเรียกผู้ถูกร้อง หรือผู้ใด ที่กระทำการอันเข้าข่ายต่อการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามคำร้องนั้น ไปชี้แจง แต่ กกต.กทม. ก็ไม่ได้เรียกผู้สมัครฯหรือผู้ใดไปชี้แจง และส่งคำร้องดังกล่าวไปยัง กกต. กลางเลย จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการรับรองม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯ ในท้ายที่สุด ส่วนผู้ที่พยายามสร้างกระแสว่าจะมีการพิจารณาให้ใบเหลือง - แดง แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ก็ควรที่จะหยุด และปล่อยให้เป็นไปตามครรลองของการพิจารณาตามกฎหมาย
"จากประสบการณ์การทำงานทั้งในระดับชาติ และท้องถิ่นของพรรคประชาธิปัตย์ ก็มั่นใจว่าไม่มีการกระทำใดเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง อีกทั้งศูนย์อำนวยการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์เอง ก็ระมัดระวังการกระทำที่เข้าข่ายต่อการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งอยู่ตลอดเวลาการหาเสียง ซึ่งก็เชื่อว่า กกต.ทั้ง 5 คน จะพิจารณาคำร้องอย่างสุจริต และเที่ยงธรรม เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ" นายองอาจกล่าว.
วานนี้ ( 17 มี.ค.) นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงกรณี กกต.กทม. ส่งมติเกี่ยวกับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) 2 คำร้องรวม 3 ประเด็น ให้กกต.กลางพิจารณาว่า การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งเมื่อ กกต.กทม.เสนอก็จะเข้าสู่การดำเนินการของสำนักงานกกต.ก่อน โดยกกต.กลาง ได้วางแนวปฏิบัติไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า ถ้ากกต.จังหวัดเสนอเรื่องเกี่ยวกับการคัดค้านการเลือกตั้งเข้ามา โดยเสนอไม่รับคำร้อง ก็ให้เป็นอำนาจของ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวน พิจารณาว่า มีความเห็นตามที่เสนอหรือไม่ ถ้านายสมชัย มีความเห็นต่าง โดยเห็นควรให้รับเป็นคำร้องเพื่อพิจารณา ก็จะส่งกลับไปให้กกต.จังหวัดดำเนินการ แต่ถ้าทางกกต.จังหวัดเสนอมาว่า รับเป็นคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ก็เป็นเรื่องที่สำนักงานกกต. จะต้องดำเนินการต่อให้เสร็จเรียบร้อย เท่าที่ทราบที่ กกต.กทม. เสนอมา ยังไม่ได้มีการเชิญผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจงเลย ดังนั้นเมื่อมาถึงสำนักงานกกต.กลาง เรื่องที่มีการกล่าวหาเป็นเรื่องใหญ่ ก็คงต้องเข้าอนุกรรมการรวบรวมตรวจสอบหลักฐานต่างๆ แล้วเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ รวมทั้งผู้ถูกกล่าวหาคนอื่นๆ เช่น นายศิริโชค โสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีการกล่าวหาว่าโพสต์ภาพมาชี้แจงก่อน ก่อนสรุปเสนอ กกต. ดังนั้นในการประชุมกกต.กลางในสัปดาห์นี้ ไม่แน่ว่าเรื่องดังกล่าวจะเข้าที่ประชุมฯ ได้ทัน
รายงานข่าวแจ้งว่า กรณีเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นนั้น จะมีขั้นตอนปฏิบัติในเรื่องของการพิจารณาคำร้องคัดค้านต่างจากการเลือกตั้งส.ส. ที่กกต.จังหวัด จะนำสำนวนร้องคัดค้านมาชี้แจงต่อที่ประชุมกกต.เลย โดยการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นนั้น เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเสนอมติกกต. พร้อมความเห็นเบื้องต้น มายังสำนักงานกกต.กลางแล้ว ก็จะถูกส่งไปยังสำนักสืบสวนสอบสวน ที่จะมีพนักงานสอบสวนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบทำหน้าที่สรุป และเสนอความเห็น ก่อนส่งต่อไปยังเลขาธิการ กกต. ซึ่งก็จะมีการพิจารณาว่า จะนำเรื่องดังกล่าว มอบให้อนุกรรมการวินิจฉัยเรื่องร้องคัดค้านคณะใดดำเนินการ เมื่ออนุฯ ดำเนินการแล้วเสร็จ จึงสรุปสำนวนพร้อมความเห็นเสนอต่อที่ประชุมกกต. โดยขั้นตอนกระบวนการทั้งหมดนี้ จะใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ก็จะเป็นการดำเนินการของด้านบริหารงานเลือกตั้งหากหลังการเลือกตั้งมีเรื่องร้องเรียน ทางด้านบริการงานเลือกตั้ง ก็จะตั้งเรื่องเสนอต่อที่ประชุมกกต. กลาง พิจารณาประกาศรับรองผลหลังผ่านวันเลือกตั้งไปแล้ว 2 สัปดาห์ เพื่อให้การประกาศรับรองผลการเลือกตั้งทันต่อกรอบเวลา 30 วัน ตามที่ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็ประมุขฉบับที่ 32 กำหนดไว้ โดยจะมีการประสานกับด้านสืบสวนว่า ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเรื่องร้องคัดค้านมีการดำเนินการไปถึงขั้นตอนใด แล้วเสร็จสามารถพิจารณาก่อนการประกาศรับรองผลได้หรือไม่ หรือยังไม่แล้วเสร็จก็จะเสนอที่ประชุมกกต. ว่าสมควรประกาศรับรองไปก่อนหรือไม่ ซึ่งคาดว่าด้านบริหารเลือกตั้ง จะเสนอเรื่องการประกาศรับรองให้บรรจุเป็นวาระการประชุมสัปดาห์นี้ แต่ทั้งนี้กรอบเวลา 30 วัน จะครบวันที่ 2 เม.ย. ซึ่ง กกต.จะมีการประชุมในวันที่ 26-28 มี.ค. และ 2 เม.ย. ดังนั้นก็เป็นไปได้ที่กกต.จะใช้เวลาในช่วงนี้สอบเรื่องร้องเรียนไปก่อนแล้วค่อยไปพิจารณา หากที่สุดไม่แล้วเสร็จ จึงค่อยประกาศรับรองไปก่อนในสัปดาห์สุดท้ายก็ได้ ซึ่งเรื่องร้องเรียนที่เหลือ กกต. ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จใน 1 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า สำนวนคำร้องคัดค้านที่ กกต.กทม. มีมติ และเสนอมายังกกต.กลาง เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คงไม่สามารถเข้าที่ประชุม กกต.กลางได้ทันในสัปดาห์นี้ เพราะคงต้องดูความเห็นของฝ่ายสืบสวนสอบสวน ของกกต.กลางที่เสนอมา ว่า จะต้องตั้งอนุกรมการฯ ขึ้นมาสอบสวนหรือไม่ และต้องมีการเชิญใครมาให้ถ้อยคำหรือไม่ ถ้าแล้วเสร็จจึงจะเสนอเข้าที่ประชุม กกต.กลาง แต่ทั้งนี้ขั้นตอนดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับการประกาศรับรองผล เพราะถ้าทำไม่แล้วเสร็จ ก็ต้องประกาศรับรองก่อน
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทางพรรคไม่ได้หวั่นไหวใดๆ และมั่นใจว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะได้รับการรับรอง เป็นผู้ว่าฯ กทม. เนื่องจากการพิจารณาคำร้องของ กกต.กทม. หากเห็นว่ามีมูลหรือหลักฐานที่ชัดเจนว่าจะส่งผลต่อการให้ใบเหลือง - แดง ผู้สมัครฯรายใด คงจะต้องมีการเรียกผู้ถูกร้อง หรือผู้ใด ที่กระทำการอันเข้าข่ายต่อการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามคำร้องนั้น ไปชี้แจง แต่ กกต.กทม. ก็ไม่ได้เรียกผู้สมัครฯหรือผู้ใดไปชี้แจง และส่งคำร้องดังกล่าวไปยัง กกต. กลางเลย จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการรับรองม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯ ในท้ายที่สุด ส่วนผู้ที่พยายามสร้างกระแสว่าจะมีการพิจารณาให้ใบเหลือง - แดง แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ก็ควรที่จะหยุด และปล่อยให้เป็นไปตามครรลองของการพิจารณาตามกฎหมาย
"จากประสบการณ์การทำงานทั้งในระดับชาติ และท้องถิ่นของพรรคประชาธิปัตย์ ก็มั่นใจว่าไม่มีการกระทำใดเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง อีกทั้งศูนย์อำนวยการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์เอง ก็ระมัดระวังการกระทำที่เข้าข่ายต่อการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งอยู่ตลอดเวลาการหาเสียง ซึ่งก็เชื่อว่า กกต.ทั้ง 5 คน จะพิจารณาคำร้องอย่างสุจริต และเที่ยงธรรม เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ" นายองอาจกล่าว.