ASTVผู้จัดการรายวัน- 3 การไฟฟ้าการันตีถ้าไม่มีอุบัติเหตุใดๆไทยจะผ่านวิกฤตไฟฟ้าไปได้ หลังสำรองพุ่งแตะ 1,291 เมกะวัตต์ แต่ไม่ประมาทเตรียมแผนกรณีฉุกเฉินหากต้องปิดไฟบางพื้นที่ การันตีพื้นที่เศรษฐกิจเขตเมือง แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม จะไม่มีการดับไฟเด็ดขาด กลุ่มมิตรผลเตรียมหยุดผลิตน้ำตาลทรายวันที่ 5 เม.ย.เพื่อนำไฟฟ้าชีวมวลที่ผลิตได้ 170เมกะวัตต์ส่งป้อนเข้าระบบ เผยครม.อนุมัติเดินโครงการสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะ ป้องกันปัญหาไฟฟ้าดับ
นายธนา พุฒรังสี รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ในฐานะประธานคณะกรรมการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า เปิดเผยหลังการหารือร่วมกับตัวแทนจากการไฟฟ้าสว่นภูมิภาค (กฟภ.)และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ถึงการเตรียมพร้อมรับมือการหยุดจ่ายก๊าซพม่าระหว่าง 5-14 เม.ย.56 ว่า การผลิตไฟฟ้าขณะนี้มีเพียงพอใช้เว้นแต่เกิดภาวะฉุกเฉินเช่น โรงไฟฟ้าแห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ต้องหยุดจ่ายไฟบางพื้นที่นั้นจะไม่มีการดับไฟในเขตพื้นที่เมืองหรือเขตเศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแน่นอน
“เราพูดถึงกรณีขั้นเลวร้ายจนต้องดับไฟก็พร้อมที่จะรักษาพื้นที่เศรษฐกิจเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นนิคมฯ โรงพยาบาล โรงงานต่างๆ แหล่งท่องเที่ยว โดยหน้าที่เราก็จะแจ้งปริมาณไฟให้กับกฟภ.และกฟน.แบ่งไปรับผิดชอบ โดยกฟภ.จะรับดูแล 70% และกฟน.จะดูแล 30% ซึ่งจะเน้นดับในบ้านที่อยู่อาศัยไกลออกไปและจะเวียนดับแต่ละแห่งไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน“ นายธนากล่าว
ปัจจุบันการผลิตไฟของไทยอยู่ที่ 3.2 หมื่นเมกะวัตต์ การใช้อยู่ระดับ 26,000 กว่าเมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอกับความต้องการ แต่ห่วงเพียงวันที่ 5 เม.ย.56 ที่สำรองไฟที่มีอยู่ 767 เมกะวัตต์ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติที่ควรอยู่ระดับ 1,200 เมกะวัตต์ขึ้นไป หากเกิดภาวะฉุกเฉินใดๆ อาจทำให้ไฟฟ้าดับได้ แต่เบื้องต้นจากการเตรียมพร้อมในการจัดหาไฟมาเพิ่มเติมด้วยการซื้อไฟเพิ่มจากมาเลเซีย 200 เมกะวัตต์ ผู้ผลิตไฟรายเล็ก (SPP) 110 เมกะวัตต์ และเมื่อรวมกับฟากของการประหยัด ได้แก่ การงดจ่ายไฟผู้ใช้อัตรา Interruptible Rate 56 เมกะวัตต์ โรงงานต่างๆ ที่จะร่วมประหยัดจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) 58 เมกะวัตต์ เครือเอสซีจี 100 เมกะวัตต์ จะทำให้สำรองไฟเพิ่มเป็น 1,291 เมกะวัตต์ ทำให้ความเสี่ยงต่อไฟดับแทบจะไม่มี
นายธนา กล่าวว่า สำรองที่เพิ่มสูงดังกล่าวคาดว่าจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟในวันที่ 5 เม.ย.นี้อย่างแน่นอนถ้าไม่มีเหตุใดๆ เข้ามา อย่างไรก็ตาม กรณีที่ก๊าซฯพม่าหลังซ่อมแท่นเสร็จหลังวันที่ 14 เม.ย. 1-2 วันก๊าซฯจะยังเดินไม่เต็มที่ คาดว่าจะหายไปวันละ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก็จะไม่มีผลกระทบเพราะได้มีแผนสำรองไว้หมดแล้ว
นายชาญชัย บัณฑิตเสาวภาคย์ รองผู้ว่าการควบคุมระบบไฟฟ้ากฟภ. กล่าวว่า เราได้มีมาตรการพร้อมที่จะดูแลปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นไว้หมดแล้วขอให้มั่นใจได้ว่าหากไม่มีอะไรที่เป็นเหตุฉุกเฉินจะไม่มีไฟฟ้าดับแน่นอน และถ้ามีจริงจะเลือกดับไฟตามปริมาณที่กฟผ.แจ้งมาในพื้นที่ที่ห่างไกลเขตเมืองและเศรษฐกิจ โดยจะเลือกบ้านที่อยู่อาศัยและจะดับไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมงและจะเวียนดับไปแต่ละพื้นที่ตามจำนวนไฟฟ้าที่ควรจะดับ นอกจากนี้ยังได้มีการปรับความต้องการให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าที่อาจต่ำได้ในเขตเมืองกรณีไฟฟ้าตก ดับก็จะน้อยลงมาก
*** มิตรผลหยุดรง.น้ำตาล 5 เม.ย.
จ่ายไฟเข้าระบบเพิ่ม170เมกะวัตต์
นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า กลุ่มมิตรผลเตรียมปรับลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในวันที่ 5 เม.ย.นี้ ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาวลงชั่วคราวทั้ง 5 โรงงาน และจะนำไฟฟ้าชีวมวลที่ผลิตได้ทั้ง 170 เมกะวัตต์จากส่งป้อนเข้าระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อสร้างเสถียรภาพของระบบไฟฟ้ามากขึ้น
ซึ่งการหยุดกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาวนี้ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ในตลาด ตลอดจนขั้นตอนการรับซื้ออ้อยจากเกษตรกร เนื่องจากมีสต็อกน้ำตาลจำนวนมาก
ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลมีกำลังการผลิตไฟฟ้าชีวมวลที่ได้จากชานอ้อย 350เมกะวัตต์ โดยครึ่งหนึ่งเป็นการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตน้ำตาล และที่เหลือได้ทำสัญญาขายไฟกับกฟผ.แบบคงที่ (Firm)76 เมกะวัตต์ และขายแบบไม่คงที่ (Non-Firm) 96 เมกะวัตต์ ซึ่งสัญญาขายแบบ Non-Firm จะไม่ถูกนับมารวมในกำลังไฟฟ้าสำรองของประเทศ
การเกิดวิกฤติการขาดแคลนไฟฟ้าครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าอนาคตอันใกล้ไทยจะเผชิญปัญหาวิกฤติพลังงานอย่างแน่นอน จำเป็นต้องหาพลังงานนอกเหนือจากก๊าซฯมาใช้ โดยรัฐไม่ควรมองข้ามการใช้พลังงานชีวมวลที่มาจากการเกษตร ซึ่งปัจจุบันไทยใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้าเพียง 2% หรือคิดเป็น 1.7 พันเมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลถึง 81% คิดเป็นการผลิตไฟฟ้ากว่า 1.4 พันเมกะวัตต์
นายกฤษฎา กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยมีโรงงานน้ำตาลเกือบทุกภาคของประเทศถึง 47 แห่ง เว้นภาคใต้ ซึ่งทุกโรงต่างมีการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำจากชานอ้อยไว้ใช้ภายในโรงงานเอง และไฟฟ้าที่เหลือก็จะขายให้กับกฟผ. คิดเป็นกำลังการผลิต 1.5-1.7 พันเมกะวัตต์ ซึ่งโรงงานน้ำตาลอีกหลายโรงมีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นหากรัฐบาลให้การส่งเสริม คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ถึง 2.5-2.6 พันเมกะวัตต์ หรือเทียบเท่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2.5 โรงหรือการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน 2 โรง ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นๆในการผลิตไฟฟ้าได้
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ โดยการจัดโซนนิ่งการเกษตร เพื่อให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละ 90 ล้านตันเป็น 150 ล้านตันใน 5ปี การสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวล ทำให้แบงก์มั่นใจในการปล่อยสินเชื่อในการปรับปรุงหม้อไอน้ำ(บอยเลอร์)ให้ทันสมัยมากขึ้น และจัดระบบสายส่งรองรับไฟฟ้าจากชีวมวล
“ ส่วนนโยบายรัฐที่จะทบทวนการให้ส่วนเพิ่ม(แอดเดอร์)การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้น ในส่วนไฟฟ้าชีวมวลนั้น จำเป็นต้องลงทุนและซื้อวัตถุดิบพืชการเกษตร จึงอยากให้คงรูปแบบแอดเดอร์ที่ 30 สตางค์/หน่วย หรือเพิ่มขึ้น ซึ่งต้นทุนค่าไฟจากโรงไฟฟ้าชีวมวลพบว่าอยู่ที่3.35 บาท/หน่วย ต่ำกว่าค่าไฟจากโรงไฟฟ้าเอสพีพีที่ใช้ก๊าซฯอีก “
*** ครม.อนุมัติโครงการสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะ
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า ครม.อนุมัติให้กฟภ.ดำเนินการโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่างๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้วในพื้นที่เกาะมุกด์ เกาะสุกร และเกาะลิบง จังหวัดตรัง โดย ยืนยันการดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 54 เรื่องการผ่อนผันมติครม.ในการดำเนินการโครงการดังกล่าว ที่มีมติอนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ผ่อนผันการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ และ ผ่อนผันการดำเนินการตามมติครม. จำนวน 3 มติ เพื่อมท.จะได้ดำเนินการโครงการต่อไป
นายธนา พุฒรังสี รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ในฐานะประธานคณะกรรมการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า เปิดเผยหลังการหารือร่วมกับตัวแทนจากการไฟฟ้าสว่นภูมิภาค (กฟภ.)และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ถึงการเตรียมพร้อมรับมือการหยุดจ่ายก๊าซพม่าระหว่าง 5-14 เม.ย.56 ว่า การผลิตไฟฟ้าขณะนี้มีเพียงพอใช้เว้นแต่เกิดภาวะฉุกเฉินเช่น โรงไฟฟ้าแห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ต้องหยุดจ่ายไฟบางพื้นที่นั้นจะไม่มีการดับไฟในเขตพื้นที่เมืองหรือเขตเศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแน่นอน
“เราพูดถึงกรณีขั้นเลวร้ายจนต้องดับไฟก็พร้อมที่จะรักษาพื้นที่เศรษฐกิจเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นนิคมฯ โรงพยาบาล โรงงานต่างๆ แหล่งท่องเที่ยว โดยหน้าที่เราก็จะแจ้งปริมาณไฟให้กับกฟภ.และกฟน.แบ่งไปรับผิดชอบ โดยกฟภ.จะรับดูแล 70% และกฟน.จะดูแล 30% ซึ่งจะเน้นดับในบ้านที่อยู่อาศัยไกลออกไปและจะเวียนดับแต่ละแห่งไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน“ นายธนากล่าว
ปัจจุบันการผลิตไฟของไทยอยู่ที่ 3.2 หมื่นเมกะวัตต์ การใช้อยู่ระดับ 26,000 กว่าเมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอกับความต้องการ แต่ห่วงเพียงวันที่ 5 เม.ย.56 ที่สำรองไฟที่มีอยู่ 767 เมกะวัตต์ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติที่ควรอยู่ระดับ 1,200 เมกะวัตต์ขึ้นไป หากเกิดภาวะฉุกเฉินใดๆ อาจทำให้ไฟฟ้าดับได้ แต่เบื้องต้นจากการเตรียมพร้อมในการจัดหาไฟมาเพิ่มเติมด้วยการซื้อไฟเพิ่มจากมาเลเซีย 200 เมกะวัตต์ ผู้ผลิตไฟรายเล็ก (SPP) 110 เมกะวัตต์ และเมื่อรวมกับฟากของการประหยัด ได้แก่ การงดจ่ายไฟผู้ใช้อัตรา Interruptible Rate 56 เมกะวัตต์ โรงงานต่างๆ ที่จะร่วมประหยัดจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) 58 เมกะวัตต์ เครือเอสซีจี 100 เมกะวัตต์ จะทำให้สำรองไฟเพิ่มเป็น 1,291 เมกะวัตต์ ทำให้ความเสี่ยงต่อไฟดับแทบจะไม่มี
นายธนา กล่าวว่า สำรองที่เพิ่มสูงดังกล่าวคาดว่าจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟในวันที่ 5 เม.ย.นี้อย่างแน่นอนถ้าไม่มีเหตุใดๆ เข้ามา อย่างไรก็ตาม กรณีที่ก๊าซฯพม่าหลังซ่อมแท่นเสร็จหลังวันที่ 14 เม.ย. 1-2 วันก๊าซฯจะยังเดินไม่เต็มที่ คาดว่าจะหายไปวันละ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก็จะไม่มีผลกระทบเพราะได้มีแผนสำรองไว้หมดแล้ว
นายชาญชัย บัณฑิตเสาวภาคย์ รองผู้ว่าการควบคุมระบบไฟฟ้ากฟภ. กล่าวว่า เราได้มีมาตรการพร้อมที่จะดูแลปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นไว้หมดแล้วขอให้มั่นใจได้ว่าหากไม่มีอะไรที่เป็นเหตุฉุกเฉินจะไม่มีไฟฟ้าดับแน่นอน และถ้ามีจริงจะเลือกดับไฟตามปริมาณที่กฟผ.แจ้งมาในพื้นที่ที่ห่างไกลเขตเมืองและเศรษฐกิจ โดยจะเลือกบ้านที่อยู่อาศัยและจะดับไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมงและจะเวียนดับไปแต่ละพื้นที่ตามจำนวนไฟฟ้าที่ควรจะดับ นอกจากนี้ยังได้มีการปรับความต้องการให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าที่อาจต่ำได้ในเขตเมืองกรณีไฟฟ้าตก ดับก็จะน้อยลงมาก
*** มิตรผลหยุดรง.น้ำตาล 5 เม.ย.
จ่ายไฟเข้าระบบเพิ่ม170เมกะวัตต์
นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า กลุ่มมิตรผลเตรียมปรับลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในวันที่ 5 เม.ย.นี้ ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาวลงชั่วคราวทั้ง 5 โรงงาน และจะนำไฟฟ้าชีวมวลที่ผลิตได้ทั้ง 170 เมกะวัตต์จากส่งป้อนเข้าระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อสร้างเสถียรภาพของระบบไฟฟ้ามากขึ้น
ซึ่งการหยุดกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาวนี้ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ในตลาด ตลอดจนขั้นตอนการรับซื้ออ้อยจากเกษตรกร เนื่องจากมีสต็อกน้ำตาลจำนวนมาก
ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลมีกำลังการผลิตไฟฟ้าชีวมวลที่ได้จากชานอ้อย 350เมกะวัตต์ โดยครึ่งหนึ่งเป็นการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตน้ำตาล และที่เหลือได้ทำสัญญาขายไฟกับกฟผ.แบบคงที่ (Firm)76 เมกะวัตต์ และขายแบบไม่คงที่ (Non-Firm) 96 เมกะวัตต์ ซึ่งสัญญาขายแบบ Non-Firm จะไม่ถูกนับมารวมในกำลังไฟฟ้าสำรองของประเทศ
การเกิดวิกฤติการขาดแคลนไฟฟ้าครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าอนาคตอันใกล้ไทยจะเผชิญปัญหาวิกฤติพลังงานอย่างแน่นอน จำเป็นต้องหาพลังงานนอกเหนือจากก๊าซฯมาใช้ โดยรัฐไม่ควรมองข้ามการใช้พลังงานชีวมวลที่มาจากการเกษตร ซึ่งปัจจุบันไทยใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้าเพียง 2% หรือคิดเป็น 1.7 พันเมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลถึง 81% คิดเป็นการผลิตไฟฟ้ากว่า 1.4 พันเมกะวัตต์
นายกฤษฎา กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยมีโรงงานน้ำตาลเกือบทุกภาคของประเทศถึง 47 แห่ง เว้นภาคใต้ ซึ่งทุกโรงต่างมีการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำจากชานอ้อยไว้ใช้ภายในโรงงานเอง และไฟฟ้าที่เหลือก็จะขายให้กับกฟผ. คิดเป็นกำลังการผลิต 1.5-1.7 พันเมกะวัตต์ ซึ่งโรงงานน้ำตาลอีกหลายโรงมีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นหากรัฐบาลให้การส่งเสริม คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ถึง 2.5-2.6 พันเมกะวัตต์ หรือเทียบเท่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2.5 โรงหรือการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน 2 โรง ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นๆในการผลิตไฟฟ้าได้
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ โดยการจัดโซนนิ่งการเกษตร เพื่อให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละ 90 ล้านตันเป็น 150 ล้านตันใน 5ปี การสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวล ทำให้แบงก์มั่นใจในการปล่อยสินเชื่อในการปรับปรุงหม้อไอน้ำ(บอยเลอร์)ให้ทันสมัยมากขึ้น และจัดระบบสายส่งรองรับไฟฟ้าจากชีวมวล
“ ส่วนนโยบายรัฐที่จะทบทวนการให้ส่วนเพิ่ม(แอดเดอร์)การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้น ในส่วนไฟฟ้าชีวมวลนั้น จำเป็นต้องลงทุนและซื้อวัตถุดิบพืชการเกษตร จึงอยากให้คงรูปแบบแอดเดอร์ที่ 30 สตางค์/หน่วย หรือเพิ่มขึ้น ซึ่งต้นทุนค่าไฟจากโรงไฟฟ้าชีวมวลพบว่าอยู่ที่3.35 บาท/หน่วย ต่ำกว่าค่าไฟจากโรงไฟฟ้าเอสพีพีที่ใช้ก๊าซฯอีก “
*** ครม.อนุมัติโครงการสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะ
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า ครม.อนุมัติให้กฟภ.ดำเนินการโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่างๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้วในพื้นที่เกาะมุกด์ เกาะสุกร และเกาะลิบง จังหวัดตรัง โดย ยืนยันการดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 54 เรื่องการผ่อนผันมติครม.ในการดำเนินการโครงการดังกล่าว ที่มีมติอนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ผ่อนผันการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ และ ผ่อนผันการดำเนินการตามมติครม. จำนวน 3 มติ เพื่อมท.จะได้ดำเนินการโครงการต่อไป