นายนำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายภูมิภาค หรือ กฟภ. กล่าวว่า กฟภ.ได้เตรียมการรองรับภาวะขาดแคลนไฟฟ้าช่วงระหว่างวันที่ 5-13 เมษายนนี้ 4 มาตรการ ได้แก่ 1.รณรงค์ให้ภาคอุตสาหกรรมหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้า ในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เวลา 13.00 น. และ 19.00 น. ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้มาก 2.รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันประหยัดไฟฟ้า ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ และดับไฟที่มีความจำเป็นน้อย 3.เตรียมรถยนต์ผลิตไฟฟ้าเคลื่อนที่ขนาดกำลังผลิตตั้งแต่ 200 กิโลวัตต์ ถึง 1 เมกะวัตต์ ประมาณ 50 คัน ไปประจำการณ์ในสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงพัก และในย่านธุรกิจที่สำคัญ เพื่อให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ทันทีหากเกิดไฟฟ้าดับฉุกเฉิน และ 4.แผนการรองรับหากจำเป็นต้องดับไฟฟ้า
นายนำชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับแผนการรองรับกรณีที่ต้องดับไฟฟ้าจะแยกเป็น 2 แผนย่อย หากมีเหตุจำเป็นต้องดับไฟฟ้าในระดับแรกมีไฟฟ้าทั้งประเทศเหลือสำรองต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าดับในพื้นที่กว้าง คาดว่า จะเกิดเหตุการณ์นี้น้อยมาก จะทำการทยอยดับไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทรอบนอกที่ไม่ใช่ในเขตเมือง และเขตอุตสาหกรรม โดยจะดับไฟฟ้าสลับพื้นที่ไม่เกินพื้นที่ละ 2 ชั่วโมงคิดเป็นปริมาณไฟฟ้าที่จะลดลงได้ประมาณ 300 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นปริมาณไฟฟ้าของกฟภ.ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ โดยหากสถานการณ์รุนแรง เกิดเหตุโรงไฟฟ้าขัดข้องในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือมีสายส่งไฟฟ้าล้ม ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่คิดคิดว่าจะเกิดขึ้น และเกิดขึ้นได้ยากมาก แต่ กฟภ.จำเป็นที่จะต้องเตรียมแผนรองรับไว้จนถึงที่เลวร้ายสูงสุด เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาคการผลิต ระบบเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ จะทำการตัดไฟฟ้าบางพื้นที่ประมาณ 3,000 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณไฟฟ้าของ กฟภ. โดยจะเป็นการดับหม้อแปลงไฟฟ้านอกเมือง ซึ่งการดับไฟฟ้า 1 หม้อแปลงไฟฟ้านอกเมือง ซึ่งการดับไฟฟ้า 1 หม้อแปลงจะทำให้ไฟฟ้าดับกินพื้นที่ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ 1 จังหวัด ซึ่งจะสลับกันดับพื้นที่ละไม่เกิน 2 ชั่วโมง
ด้านนายธนา พุฒรังษี รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ. กล่าวว่า ในส่วนของ กฟผ.สามารถเพิ่มพลังงานไฟฟ้าสำรองในช่วงดังกล่าวได้ประมาณ 291 เมกะวัตต์ โดย 200 เมกะวัตต์แรก เจรจาซื้อเพิ่มจากมาเลเซีย ส่วนที่เหลือได้เจรจากับโรงงานอุตสาหกรรมรายใหญ่ 4 โรง ให้หยุดการผลิตในวันดังกล่าว คือโรงปูนซีเมนต์ของบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง 2 โรง โรงงานของบริษัทไทยอาซาฮี 1 โรง และโรงปูนซีเมนต์ของบริษัททีพีไอ โพลีน อีก 1 โรง รวม 56 เมกะวัตต์ และขอเพิ่มการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าบริษัทราชบุรีเพาเวอร์ จากเดิมอีก 30 เมกะวัตต์ และเพิ่มกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าด่านช้าง สุพรรณบุรีของกลุ่มมิตรผล อีก 5 เมกะวัตต์
นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ.กล่าวว่า ในส่วนของการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ.ได้หารือร่วมกับกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อสรุปให้เพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบกำลังไฟฟ้า ในช่วงวันที่ 5-13 เมษายน จากแผนการระบายน้ำ เพื่อการเกษตรฤดูแล้งวันละ 29 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นวันละ 35 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเพิ่มขึ้นวันละ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 10 วัน และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อแผนการระบายน้ำในภาพรวม จะมีการปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนศรีนครินทร์ลงต่ำกว่าแผนในช่วงที่มีความต้องการใช้น้ำลดลง
ด้าน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.กำลังประสานงานกับสมาชิกทั่วประเทศ ขอให้หยุดการผลิต และปรับแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้ตรงกับวันที่ 5 เมษายน ซึ่งจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าลงได้มาก
นายเจน นำชัยศิริ รองประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้ส่งหนังสือถึงกลุ่มอุตสาหกรรม 42 กลุ่ม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เพื่อให้ร่วมมือในการปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการจ่ายไฟฟ้าในวันที่ 5 เมษายนนี้ โดยขอให้กลุ่มอุตสาหกรรมส่งข้อมูลกลับมาที่ ส.อ.ท.ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ว่าจะลดการใช้ไฟฟ้าได้เท่าใด เพื่อส่งข้อมูลนี้ให้แก่กระทรวงพลังงานใช้ในการประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรม
นายนำชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับแผนการรองรับกรณีที่ต้องดับไฟฟ้าจะแยกเป็น 2 แผนย่อย หากมีเหตุจำเป็นต้องดับไฟฟ้าในระดับแรกมีไฟฟ้าทั้งประเทศเหลือสำรองต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าดับในพื้นที่กว้าง คาดว่า จะเกิดเหตุการณ์นี้น้อยมาก จะทำการทยอยดับไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทรอบนอกที่ไม่ใช่ในเขตเมือง และเขตอุตสาหกรรม โดยจะดับไฟฟ้าสลับพื้นที่ไม่เกินพื้นที่ละ 2 ชั่วโมงคิดเป็นปริมาณไฟฟ้าที่จะลดลงได้ประมาณ 300 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นปริมาณไฟฟ้าของกฟภ.ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ โดยหากสถานการณ์รุนแรง เกิดเหตุโรงไฟฟ้าขัดข้องในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือมีสายส่งไฟฟ้าล้ม ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่คิดคิดว่าจะเกิดขึ้น และเกิดขึ้นได้ยากมาก แต่ กฟภ.จำเป็นที่จะต้องเตรียมแผนรองรับไว้จนถึงที่เลวร้ายสูงสุด เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาคการผลิต ระบบเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ จะทำการตัดไฟฟ้าบางพื้นที่ประมาณ 3,000 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณไฟฟ้าของ กฟภ. โดยจะเป็นการดับหม้อแปลงไฟฟ้านอกเมือง ซึ่งการดับไฟฟ้า 1 หม้อแปลงไฟฟ้านอกเมือง ซึ่งการดับไฟฟ้า 1 หม้อแปลงจะทำให้ไฟฟ้าดับกินพื้นที่ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ 1 จังหวัด ซึ่งจะสลับกันดับพื้นที่ละไม่เกิน 2 ชั่วโมง
ด้านนายธนา พุฒรังษี รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ. กล่าวว่า ในส่วนของ กฟผ.สามารถเพิ่มพลังงานไฟฟ้าสำรองในช่วงดังกล่าวได้ประมาณ 291 เมกะวัตต์ โดย 200 เมกะวัตต์แรก เจรจาซื้อเพิ่มจากมาเลเซีย ส่วนที่เหลือได้เจรจากับโรงงานอุตสาหกรรมรายใหญ่ 4 โรง ให้หยุดการผลิตในวันดังกล่าว คือโรงปูนซีเมนต์ของบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง 2 โรง โรงงานของบริษัทไทยอาซาฮี 1 โรง และโรงปูนซีเมนต์ของบริษัททีพีไอ โพลีน อีก 1 โรง รวม 56 เมกะวัตต์ และขอเพิ่มการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าบริษัทราชบุรีเพาเวอร์ จากเดิมอีก 30 เมกะวัตต์ และเพิ่มกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าด่านช้าง สุพรรณบุรีของกลุ่มมิตรผล อีก 5 เมกะวัตต์
นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ.กล่าวว่า ในส่วนของการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ.ได้หารือร่วมกับกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อสรุปให้เพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบกำลังไฟฟ้า ในช่วงวันที่ 5-13 เมษายน จากแผนการระบายน้ำ เพื่อการเกษตรฤดูแล้งวันละ 29 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นวันละ 35 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเพิ่มขึ้นวันละ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 10 วัน และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อแผนการระบายน้ำในภาพรวม จะมีการปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนศรีนครินทร์ลงต่ำกว่าแผนในช่วงที่มีความต้องการใช้น้ำลดลง
ด้าน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.กำลังประสานงานกับสมาชิกทั่วประเทศ ขอให้หยุดการผลิต และปรับแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้ตรงกับวันที่ 5 เมษายน ซึ่งจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าลงได้มาก
นายเจน นำชัยศิริ รองประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้ส่งหนังสือถึงกลุ่มอุตสาหกรรม 42 กลุ่ม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เพื่อให้ร่วมมือในการปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการจ่ายไฟฟ้าในวันที่ 5 เมษายนนี้ โดยขอให้กลุ่มอุตสาหกรรมส่งข้อมูลกลับมาที่ ส.อ.ท.ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ว่าจะลดการใช้ไฟฟ้าได้เท่าใด เพื่อส่งข้อมูลนี้ให้แก่กระทรวงพลังงานใช้ในการประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรม