xs
xsm
sm
md
lg

เตือนคนไทยอย่าถูกหลอก นักการเมืองเจ้าเล่ห์แก้รธน.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้ ( 28 ก.พ.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ สถาบันพระปกเกล้า จัดสัมมนาเรื่อง "องค์กรตามรัฐธรรมนูญ จุดแข็งหรือจุดอ่อนของประชาธิปไตยไทย " ภายใต้โครงการศึกษา "รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย" โดยนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หลายคนบอกว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทำให้ประเทศไทยหยุดชะงัก ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช .) คณะกรรมการเลือกตั้ง( กกต .) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในรัฐธรรมนูญปี 50 พบว่า ได้เขียนให้อำนาจองค์กรต่างๆ ไว้ 4 ประเภท คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทำให้ระบบการเมืองไทยมี 4 อำนาจ จากที่เคยมีเพียง 3 อำนาจ
"ถือว่ารัฐธรรมนูญ 50 เขียนแยกองค์กรอิสระไว้ชัดเจน จากการที่ระบบรัฐสภาไม่สามารถขับไล่นักการเมืองหรือรัฐบาลที่ไม่ปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญออกได้ การโหวตไม่ไว้วางใจเป็นเพียงประเพณีเท่านั้น ว่าตัวออกได้ด้วยการโหวต กลายเป็นเงื่อนไขที่ทั่วโลกประสบปัญหาจากรัฐสภา และฝ่ายบริหารในช่วง 200 ปีมานี้ ทำให้ระบบรัฐสภาเสียสมดุลอย่างสิ้นเชิง เพราะมีระบบพรรคการเมือง มาดูผลประโยชน์ในทางฐานะทางเศรษฐกิจ ตามท้องถิ่นนั้นๆ ที่ประชาชนเลือกเข้ามา เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งกี่ครั้ง ไม่ว่า ส.ส.คนนั้นๆ มาจากภาครัฐใด จะรู้ได้ล่วงหน้าว่า ส.ส.คนนั้นจะต้องลงคะแนนตามมติพรรค การตัดสินใจหลักๆ ทางการเมืองจากพรรคการเมืองที่มีเสียงมาก ไม่ได้เกิดจากรัฐสภาอีกต่อไปแล้ว ซึ่งปรากฏการณ์ นี้ทำให้ รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เห็นว่า ไม่มีพรรคใหญ่ๆหรือรัฐบาลใดที่แพ้โหวตในสภา การยุบสภาทุกครั้งในไทย เกิดจากความแตกแยกขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล สถานการณ์อย่างนี้ ภาวะเสียสมดุลของระบบรัฐสภา เกิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ซึ่งระบบอย่างนี้ทำให้ ฮิตเลอร์ ได้ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ นำเยอรมันเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นตัวอย่างให้ประเทศต่างๆ ในยุโรป ไม่ปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว เป็นตัวอย่างให้กับทั่วโลก ต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้มีองค์กรอิสระ มาถ่วงดุล "นายสุรพล กล่าว

อดีต สนช.กล่าวต่อว่า การร่างรัฐธรรมนูญไทย ตั้งแต่ ปี 40 เกิดจากความคิดดังกล่าวว่า รัฐสภา ไม่มีวันไล่รัฐบาลออก เพราะคนยิ่งมีอำนาจ ก็อยากมีอำนาจมากกว่าเดิม ตั้งแต่รัฐธรรมนูญก่อนจะมีรัฐธรรมนูญ 40 ไม่มีใครคุมรัฐบาลได้เลย ได้แต่ฝากความหวังไว้ลมๆ แล้งๆว่า รัฐบาลจะมาจากคนดี
ที่ผ่านมามีการจำคุก รมว.สาธารณสุข ถอดถอน รมว.มหาดไทย และจำคุกดดีตนายกรัฐมนตรี เรื่องเหล่านี้ไม่เคยมีมาก่อนในการเมืองไทย หลังจากเสียสมดุลไปแล้ว นี่คือประสิทธิผลจากรัฐธรรมนูญ 40 และมาปรับเปลี่ยนในสองประเด็นในรัฐธรรมนูญปี 50 จัดกลุ่มองค์กรอิสระให้ชัดเจน แยกหมวดชัดเจน จะมีบทบัญญัติให้อำนาจองค์กรตามรัฐธรรมนูญต่อจากรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐธรรมนูญ 50 ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมากนัก เราคิดว่า 9 ปีของการใช้รัฐธรรมนูญ 40 มีองค์กรอิสะ และ 6 ปี ใช้ 50 ได้ขับเคลื่อนการเมืองไทยดีขึ้นไปหรือไม่ ยังคงจำเป็นมีองค์กรอิสระหรือไม่ ต้องมีข้อระวัง เพราะขณะนี้บ้านเมืองมีความขัดแย้ง คนไทยไม่อยากพูดเรื่องการเมือง คนที่พูดคือ นักการเมืองที่มีอำนาจ สังคมไทยต้อง ตระหนักพื้นฐานข้อเท็จจริงว่า หน้าที่องค์กรอิสระ มีวัถตุประสงค์ตรวจสอบผู้มีอำนาจทางการเมืองเท่านั้น ดังนั้น ไม่มีนักการเมืองคนใดชอบองค์กรอิสระ มีเงินอยู่บ้าน ใช้เงินซื้อเสียง ใช้อำนาจไม่เป็นธรรมกับคู่แข่ง ก็มีคนมาคอยตรวจสอบ ไม่มีใครชอบคนจ้องจับผิดเรา มาถอดออกจากตำแหน่ง เวลาฟังคนอยู่ในอำนาจรัฐ หรือคนจะเขาไปในอำนาจรัฐ คนไทย พึงฟังและระลึกให้ได้ ต้องมีองค์กรตรวจสอบขึ้นมา เพื่อให้มาทำหน้าที่ที่หายไปจากระบบรัฐสภาไทย
"สำหรับข้อบกพร่อง และจุดอ่อนต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาขององค์กรอิสระ คือ ความเป็นอิสระมากเกินไปจนไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีใครไปกระตุ้นเตือนได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่องค์กรอิสระทำงานช้าเหลือเกิน หรือทำน้อยมาก การเข้าไปหาเหตุไม่มีเลย เพราะความเป็นอิสระจนไม่ต้องทำอะไรเลย ขอให้มีสำนึกอย่างไรต่อสังคม และมีจิตสำนึกตามรัฐธรรมนูญ การไม่ทำอะไรเลย ต้องมีแก้ไขไปบังคับด้วยวิธีใด เพื่อให้องค์กรเหล่านี้ทำงาน" นายสุรพล กล่าว
นายสุรพล กล่าวต่อว่า นักกฎหมายชอบใช้ คำว่า รัฐธรรมนูญ 50 มาจากผลไม้พิษที่ต้นไม้เป็นพิษ เพราะมาจากรัฐประหารปี 49 แต่จริงๆ แทบจะไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลยจากรัฐธรรมนูญ 40 และระบบรัฐสภาในปัจจุบันไม่ได้คาดหวังว่ า ส.ส.จะทำได้ทุกเรื่อง แต่ให้มาทำเพียงสองเรื่องคือ ทำหน้าที่นิติบัญญัติ และบริหารเท่านั้น ดังนั้นอย่าถูกนักการเมืองหลอก ในฐานะที่เรามีสติปัญญา และมีความหวังดีต่อชาติบ้านเมือง
กำลังโหลดความคิดเห็น