ASTVผู้จัดการรายวัน- “กนอ.”โล่งหลัง”กฟผ.”การันตีจะฝ่าวิกฤตไฟฟ้าดับให้ได้ แต่ก็ยังกังวลนิคมฯบางชันที่เสี่ยงไฟตกมากสุด เหตุอยู่ใกล้จุดเสี่ยงไฟตก เตรียมเกาะติดรับมือใกล้ชิด ขณะที่กฟผ.ถกIPPวันนี้ เตรียมแผนผลิตไฟให้พร้อมก่อนถกใหญ่ 3 การไฟฟ้าวันที่ 5 เม.ย.เพื่อวางแผนรับมือร่วมกันให้ชัด ด้าน "ส.ว.สุมล" จวก"เพ้ง"กระ ต่ายตื่นตูม ย้อนถาม เป็นแผนขึ้นค่าไฟใช่หรือไม่
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยหลังการนำผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม 300 คน มารับฟังการชี้แจงจากนายธนา พุฒรังษี รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เกี่ยวกับมาตรการรองรับการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากพม่าระหว่าง 5-14 เม.ย.ซึ่งจะกระทบต่อการผลิตไฟ 4,100 เมกะวัตต์เมื่อ 26 ก.พ. ว่า จากการรับฟังบรรยายมีความเป็นห่วงเพียงนิคมอุตสาหกรรมบางชันที่มีความเสี่ยงมากสุดต่อไฟฟ้าตกเพราะอยู่ใกล้บริเวณพื้นที่เสี่ยงไฟตก 3 จุดของเขตกทม.(ลาดพร้าว รัชดา บางกะปิ ) ดังนั้น กนอ.จึงจะติดตามอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อโรงงาน ที่ขณะนี้ดำเนินกิจการอยู่ 81 แห่งและส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอาหาร
“ กนอ.มีนิคมฯอยู่ 47 แห่ง แต่ที่ดำเนินการแล้วมี 37 แห่ง เฉลี่ยแต่ละแห่งจะใช้ไฟ 80-150 เมกะวัตต์ต่อวัน หรือเฉลี่ย 37 นิคมฯเป็น 3,700 เมกะวัตต์หรือคิดเป็นสัดส่วน 15% ของการใช้ไฟทั้งหมดทั่วประเทศที่ระดับ 2.6 หมื่นเมกะวัตต์ ดังนั้นไฟฟ้าจึงมีผลโดยตรงต่อภาคการผลิต “นายวีรพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ กนอ.จะได้ประสานไปยังนิคมฯต่างๆ ที่จะให้ช่วยวางแผนในการลดการใช้ไฟในวันที่ 5 เม.ย. เช่น ลดกำลังการผลิตหรือเลื่อนการผลิตช่วงความต้องการใช้ไฟสูงสุด(พีค) ที่จะอยุ่ช่วงบ่าย หรือการหยุดทำงานวันดังกล่าวแล้วไปชดเชยวันอื่น เพื่อให้สำรองไฟฟ้าที่ต่ำสูงขึ้น ซึ่งแผนทั้งหมดจะนำมาบูรณาการเป็นแผนใหญ่ร่วมกับส่วนอื่นๆที่จะสรุปเป็นภาพที่ชัดเจนวันที่ 14 มี.ค.นี้ พร้อมกันนี้กนอ.จะได้ตั้ง War room ที่สำนักงานใหญ่กนอ.วันที่ 18 มี.ค.เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น
นายธนา พุฒรังษี รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ.กล่าวว่า ไทยเกิดไฟดับครั้งใหญ่ในปี 2523 หลังจากนั้นก็จะไม่เกิดอีกและครั้งนี้ 3 การไฟฟ้าได้ประสานความร่วมมือที่จะพาประเทศชาติผ่านวิกฤตไปได้ เพราะได้มีแผนรองรับไว้ตั้งแต่ขั้นต่ำสุดจนกรณีเลวร้ายสุด โดยวันนี้(27ก.พ.)จะหารือร่วมกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอิสระรายใหญ่(ไอพีพี)เพื่อมาดูแผนการผลิตให้พร้อมในการรับมือ และวันที่ 5 มี.ค.จะหารือร่วมกับ 3 การไฟฟ้าเพื่อพิจารณาถึงแผนต่างๆ ในรายละเอียดอีกครั้ง
“ เราจำเป็นต้องเตรียมพร้อม เพราะข้อเท็จจริงคือวันที่ 5 เม.ย. เรามีกำลังการผลิตไฟทั้งหมด 3.3 หมื่นเมกะวัตต์ แต่มีกำลังการผลิตที่ลดลง (Derate) 1,890 เมกะวัตต์ เมื่อรวมมกรณีก๊าซนพม่ากระทบการผลิต 4,100 เมกะวัตต์ จึงเหลือการผลิตจริง 2.7 หมื่นเมกะวัตต์ เราคาดการณ์ว่า วันนั้นไฟจะใช้ 2.6 กว่าหมื่นเมกะวัตต์จึงเหลือสำรองพร้อมใช้เพียง 767 เมกะวัตต์ ซึ่งหากวันนั้นการใช้สูงหรือเกิดพีคมากกว่าปกติ เราจึงเสี่ยงไฟดับจึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราต้องออกมาส่งสัญญาณให้ประชาชนช่วยประหยัด”นายธนากล่าว
***เอกชนจี้รัฐชัดเจนแผนแก้วิกฤตไฟฟ้า
นายวรวุฒิ อนุรักษ์วงศ์ศรี ผู้จัดการทั่วไป บริษัทที่ดินบางปะอิน จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า กนอ.และ กฟภ.ยังไม่ได้แจ้งมาที่นิคมอุตสาหกรรมว่าจะมีปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหรือไม่ โดยผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมต้องการให้ภาครัฐรีบประสานงานมาเพื่อให้โรงงานมีเวลาวางแผน ซึ่งถ้าภาคกลางจะมีปัญหาไฟฟ้าจริงอาจทำให้โรงงานปรับแผนไม่ผลิตในช่วง 08.00-17.00 น. เพราะเป็นช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้ามาก โดยโรงงานที่ผลิต 3 กะ จะมีความคล่องตัวในการหยุดผลิตช่วงกลางวัน
" ถ้าไฟฟ้าไม่เพียงพอจริง จะทำให้โรงงานต้องหยุดผลิต เพราะถ้าไฟฟ้าตกอาจมีผลต่อเครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนมาก เช่น เครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งภาครัฐควรจะแจ้งข้อมูลการผลิตไฟฟ้าให้นิคมอุตสาหกรรมทราบอย่างช้ากลางเดือน มี.ค.นี้ เพื่อให้โรงงานมีเวลาในการปรับแผนการผลิตและจัดการสินค้าคงคลังให้เหมาะสมกับแผนการผลิตใหม่ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ต้องการให้ภาครัฐบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอ "
นายทวิช เตชะนาวากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การที่รัฐบาลออกมารณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงาน จะทำให้ไทยได้รับผลกระทบลดลง เพราะมีเวลาเตรียมการมากกว่า 1 เดือน โดยคาดว่าภาคเอกชนจะสามารถวางแผนการผลิตได้ เช่น เลื่อนการผลิต เลื่อนวันหยุดให้เร็วขึ้น
***การบินไทยยันไม่กระทบ
นายสรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงวิกฤตไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นว่า ในส่วนของการบินไทยได้เตรียมแผนรับมือ โดยเตรียมพร้อมเรื่องระบบไฟสำรองต่าง ๆอย่างเต็มที่ เชื่อว่าจะไม่ได้รับรับผลกระทบอย่างแน่นอน เนื่องจากรับรู้สถานการณ์ล่วงหน้า นอกจากนี้ทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ซึ่งเป็นผู้บริหารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้เตรียมแผนรองรับไว้เช่นเดียวกัน ดังนั้น มั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการบินและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของการบินแน่นอน
***ส.ว.ซัด"เพ้ง"ทำวิกฤตไฟฟ้าหวังขึ้นค่าไฟ
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (26 ก.พ.) น.ส.สุมล สุตะวิริยวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ได้หารือต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้สังคมกำลังตกใจกับประกาศของ รมว.พลังงาน ต่อกรณีที่พม่าปิดซ่อมท่อก๊าซในเดือนเม.ย.ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่มีการปิดซ่อม ตนจึงคิดว่า รมว.พลังงาน ทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูม เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะต้องเตรียมแผนรองรับ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องออกมาโวยวาย ซึ่งตนไม่แปลกใจที่ภาคอุตสาหกรรม จะตำหนิการกระทำของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม จากการกระทำดังกล่าว ทำให้เกิดคำถามว่า รัฐบาลจะขึ้นค่าไฟฟ้าใช่หรือไม่ สิ่งที่รัฐบาลสมควรทำคือ มาตรการประหยัดพลังงาน ตนไม่เคยเห็นรัฐบาลชุดนี้สนับสนุนมาตรการประหยัดพลังงานเลย มีแต่โครงการประชานิยม ที่ให้ใช้พลังงานมากขึ้นด้วยซ้ำ ดังนั้น ไม่ว่าพม่าจะซ่อมหรือไม่ซ่อมท่อแก๊ส รัฐบาลไทยก็ต้องมีมาตรการประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืน
ด้านนายสุริยา ปันจอร์ ส.ว.สตูล กล่าวว่า รัฐบาลอาจใช้มาตรการประหยัดพลังงานในช่วงวิกฤตระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย. โดยปิดหลอดไฟฟ้าบนท้องถนนทั้งในเมือง และชนบท ซึ่งโอกาสที่จะประสบปัญหา ก็คงจะหายไป
**มท.1ขันน็อตผู้ว่าฯเข้มประหยัดไฟ
วานนี้ (26 ก.พ.) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เป็นประธานการประชุมกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง โดยได้กระชับให้ผู้ว่าฯได้นำนโยบายประหยัดพลังงาน ซึ่งเราเคยทำมาโดยตลอดมาใช้อย่างเข้มงวดกวดขัน อาทิ งดการใส่สูท ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส หรือปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงพักเที่ยง จึงฝากให้ผู้ว่าฯ เอาใจใส่หน่วยราชการต่างๆ และขอร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนต่างๆ ด้วย
** มท.3 ลั่นปัญหาไฟฟ้ายังไม่น่าห่วง
นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย ในฐานะกำกับการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ได้ทำการหารือกับการไฟฟ้านครหลวงแล้ว โดยมีการเตรียมความพร้อมทุกด้าน ซึ่งเบื้องต้นจะรณรงค์ให้ภาคราชการ และรัฐวิสาหกิจ ช่วยปิดแอร์ช่วงพักเที่ยง และปิดไฟในห้องน้ำ เพื่อไม่ให้กระทบกับการทำงานมากที่สุด
ส่วนภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ได้มีการรณรงค์ให้ปิดไฟโฆษณา และปิดไฟ 1-2 ดวงต่อบ้าน เพื่อช่วยประหยัดพลังงานเช่นกัน พร้อมยืนยันว่า ในส่วนของโรงพยาบาล หน่วยงานความมั่นคง และสถาบันที่สำคัญ ยังมีการตรึงไฟฟ้าให้ใช้อย่างเต็มที่ แต่คิดว่าไม่กระทบกับภาคครัวเรือน
ส่วนไฟออโต้เซลล์ ที่อยู่ตามเสาไฟฟ้านั้น ได้ส่งการเจ้าหน้าที่ ทำการรีเช็ก ตรวจสอบแล้ว ซึ่งสถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง แต่จะไม่ประมาท
นายประชา ยังกล่าวว่า การใช้ไฟฟ้า คงไม่มีปัญหา และไม่วิกฤติ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน อีกทั้ง รมว. พลังงาน ได้เตรียมแก้ไข และเตรียมพลังงานสำรองไว้แล้ว จึงขอให้ชาวกรุงเทพมหานคร ภาคเอกชน และรัฐบาล มั่นใจ เรื่องดังกล่าวได้
***เพ้งลั่นLPGไม่ขาด เหตุก๊าซพม่าไม่เกี่ยว
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวว่าประชาชนกักตุนก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)เพราะเกรงปัญหาการขาดแคลนจากกรณีก๊าซพม่าหยุดจ่ายระหว่าง 5-14 เม.ย.56 ว่า ยืนยันว่าแอลพีจีจะไม่ขาดแคลนอย่างแน่นอนเนื่องจากก๊าซฯที่ผลิตเป็นฝั่งตะวันออก ไม่เกี่ยวกับก๊าซพม่าแต่อย่างใดประกอบกับมีการสำรองไว้ใช้และมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อรองรับการใช้ที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ส่วนก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี)ก็จะไม่ขาดแคลนเช่นกันเพราะมีการดึงก๊าซฯจากฝั่งตะวันออกเข้าไปเสริม
“ผมจะสั่งการให้กรมธุรกิจพลังงานหรือธพ.ไปดูแลปัญหาแอลพีจีอย่างใกล้ชิด ว่าเกิดการกักตุนมากน้อยเพียงใดและจะต้องดูแลไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลน”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ขณะนี้ กรมฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบสถานการณ์และร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสเอาเปรียบประชาชนจากการปรับขึ้นราคาและกักตุนสินค้าของผู้ประกอบการ โดยยืนยันว่าสถานการณ์ก๊าซหุงต้มยังมีใช้จำหน่ายได้ปกติ
จึงขอให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการร้านก๊าซหุงต้มอย่าตื่นตระหนกแต่หากพบว่าผู้ประกอบการมีการกักตุนสินค้าและฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาจะมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยหลังการนำผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม 300 คน มารับฟังการชี้แจงจากนายธนา พุฒรังษี รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เกี่ยวกับมาตรการรองรับการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากพม่าระหว่าง 5-14 เม.ย.ซึ่งจะกระทบต่อการผลิตไฟ 4,100 เมกะวัตต์เมื่อ 26 ก.พ. ว่า จากการรับฟังบรรยายมีความเป็นห่วงเพียงนิคมอุตสาหกรรมบางชันที่มีความเสี่ยงมากสุดต่อไฟฟ้าตกเพราะอยู่ใกล้บริเวณพื้นที่เสี่ยงไฟตก 3 จุดของเขตกทม.(ลาดพร้าว รัชดา บางกะปิ ) ดังนั้น กนอ.จึงจะติดตามอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อโรงงาน ที่ขณะนี้ดำเนินกิจการอยู่ 81 แห่งและส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอาหาร
“ กนอ.มีนิคมฯอยู่ 47 แห่ง แต่ที่ดำเนินการแล้วมี 37 แห่ง เฉลี่ยแต่ละแห่งจะใช้ไฟ 80-150 เมกะวัตต์ต่อวัน หรือเฉลี่ย 37 นิคมฯเป็น 3,700 เมกะวัตต์หรือคิดเป็นสัดส่วน 15% ของการใช้ไฟทั้งหมดทั่วประเทศที่ระดับ 2.6 หมื่นเมกะวัตต์ ดังนั้นไฟฟ้าจึงมีผลโดยตรงต่อภาคการผลิต “นายวีรพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ กนอ.จะได้ประสานไปยังนิคมฯต่างๆ ที่จะให้ช่วยวางแผนในการลดการใช้ไฟในวันที่ 5 เม.ย. เช่น ลดกำลังการผลิตหรือเลื่อนการผลิตช่วงความต้องการใช้ไฟสูงสุด(พีค) ที่จะอยุ่ช่วงบ่าย หรือการหยุดทำงานวันดังกล่าวแล้วไปชดเชยวันอื่น เพื่อให้สำรองไฟฟ้าที่ต่ำสูงขึ้น ซึ่งแผนทั้งหมดจะนำมาบูรณาการเป็นแผนใหญ่ร่วมกับส่วนอื่นๆที่จะสรุปเป็นภาพที่ชัดเจนวันที่ 14 มี.ค.นี้ พร้อมกันนี้กนอ.จะได้ตั้ง War room ที่สำนักงานใหญ่กนอ.วันที่ 18 มี.ค.เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น
นายธนา พุฒรังษี รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ.กล่าวว่า ไทยเกิดไฟดับครั้งใหญ่ในปี 2523 หลังจากนั้นก็จะไม่เกิดอีกและครั้งนี้ 3 การไฟฟ้าได้ประสานความร่วมมือที่จะพาประเทศชาติผ่านวิกฤตไปได้ เพราะได้มีแผนรองรับไว้ตั้งแต่ขั้นต่ำสุดจนกรณีเลวร้ายสุด โดยวันนี้(27ก.พ.)จะหารือร่วมกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอิสระรายใหญ่(ไอพีพี)เพื่อมาดูแผนการผลิตให้พร้อมในการรับมือ และวันที่ 5 มี.ค.จะหารือร่วมกับ 3 การไฟฟ้าเพื่อพิจารณาถึงแผนต่างๆ ในรายละเอียดอีกครั้ง
“ เราจำเป็นต้องเตรียมพร้อม เพราะข้อเท็จจริงคือวันที่ 5 เม.ย. เรามีกำลังการผลิตไฟทั้งหมด 3.3 หมื่นเมกะวัตต์ แต่มีกำลังการผลิตที่ลดลง (Derate) 1,890 เมกะวัตต์ เมื่อรวมมกรณีก๊าซนพม่ากระทบการผลิต 4,100 เมกะวัตต์ จึงเหลือการผลิตจริง 2.7 หมื่นเมกะวัตต์ เราคาดการณ์ว่า วันนั้นไฟจะใช้ 2.6 กว่าหมื่นเมกะวัตต์จึงเหลือสำรองพร้อมใช้เพียง 767 เมกะวัตต์ ซึ่งหากวันนั้นการใช้สูงหรือเกิดพีคมากกว่าปกติ เราจึงเสี่ยงไฟดับจึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราต้องออกมาส่งสัญญาณให้ประชาชนช่วยประหยัด”นายธนากล่าว
***เอกชนจี้รัฐชัดเจนแผนแก้วิกฤตไฟฟ้า
นายวรวุฒิ อนุรักษ์วงศ์ศรี ผู้จัดการทั่วไป บริษัทที่ดินบางปะอิน จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า กนอ.และ กฟภ.ยังไม่ได้แจ้งมาที่นิคมอุตสาหกรรมว่าจะมีปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหรือไม่ โดยผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมต้องการให้ภาครัฐรีบประสานงานมาเพื่อให้โรงงานมีเวลาวางแผน ซึ่งถ้าภาคกลางจะมีปัญหาไฟฟ้าจริงอาจทำให้โรงงานปรับแผนไม่ผลิตในช่วง 08.00-17.00 น. เพราะเป็นช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้ามาก โดยโรงงานที่ผลิต 3 กะ จะมีความคล่องตัวในการหยุดผลิตช่วงกลางวัน
" ถ้าไฟฟ้าไม่เพียงพอจริง จะทำให้โรงงานต้องหยุดผลิต เพราะถ้าไฟฟ้าตกอาจมีผลต่อเครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนมาก เช่น เครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งภาครัฐควรจะแจ้งข้อมูลการผลิตไฟฟ้าให้นิคมอุตสาหกรรมทราบอย่างช้ากลางเดือน มี.ค.นี้ เพื่อให้โรงงานมีเวลาในการปรับแผนการผลิตและจัดการสินค้าคงคลังให้เหมาะสมกับแผนการผลิตใหม่ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ต้องการให้ภาครัฐบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอ "
นายทวิช เตชะนาวากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การที่รัฐบาลออกมารณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงาน จะทำให้ไทยได้รับผลกระทบลดลง เพราะมีเวลาเตรียมการมากกว่า 1 เดือน โดยคาดว่าภาคเอกชนจะสามารถวางแผนการผลิตได้ เช่น เลื่อนการผลิต เลื่อนวันหยุดให้เร็วขึ้น
***การบินไทยยันไม่กระทบ
นายสรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงวิกฤตไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นว่า ในส่วนของการบินไทยได้เตรียมแผนรับมือ โดยเตรียมพร้อมเรื่องระบบไฟสำรองต่าง ๆอย่างเต็มที่ เชื่อว่าจะไม่ได้รับรับผลกระทบอย่างแน่นอน เนื่องจากรับรู้สถานการณ์ล่วงหน้า นอกจากนี้ทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ซึ่งเป็นผู้บริหารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้เตรียมแผนรองรับไว้เช่นเดียวกัน ดังนั้น มั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการบินและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของการบินแน่นอน
***ส.ว.ซัด"เพ้ง"ทำวิกฤตไฟฟ้าหวังขึ้นค่าไฟ
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (26 ก.พ.) น.ส.สุมล สุตะวิริยวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ได้หารือต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้สังคมกำลังตกใจกับประกาศของ รมว.พลังงาน ต่อกรณีที่พม่าปิดซ่อมท่อก๊าซในเดือนเม.ย.ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่มีการปิดซ่อม ตนจึงคิดว่า รมว.พลังงาน ทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูม เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะต้องเตรียมแผนรองรับ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องออกมาโวยวาย ซึ่งตนไม่แปลกใจที่ภาคอุตสาหกรรม จะตำหนิการกระทำของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม จากการกระทำดังกล่าว ทำให้เกิดคำถามว่า รัฐบาลจะขึ้นค่าไฟฟ้าใช่หรือไม่ สิ่งที่รัฐบาลสมควรทำคือ มาตรการประหยัดพลังงาน ตนไม่เคยเห็นรัฐบาลชุดนี้สนับสนุนมาตรการประหยัดพลังงานเลย มีแต่โครงการประชานิยม ที่ให้ใช้พลังงานมากขึ้นด้วยซ้ำ ดังนั้น ไม่ว่าพม่าจะซ่อมหรือไม่ซ่อมท่อแก๊ส รัฐบาลไทยก็ต้องมีมาตรการประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืน
ด้านนายสุริยา ปันจอร์ ส.ว.สตูล กล่าวว่า รัฐบาลอาจใช้มาตรการประหยัดพลังงานในช่วงวิกฤตระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย. โดยปิดหลอดไฟฟ้าบนท้องถนนทั้งในเมือง และชนบท ซึ่งโอกาสที่จะประสบปัญหา ก็คงจะหายไป
**มท.1ขันน็อตผู้ว่าฯเข้มประหยัดไฟ
วานนี้ (26 ก.พ.) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เป็นประธานการประชุมกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง โดยได้กระชับให้ผู้ว่าฯได้นำนโยบายประหยัดพลังงาน ซึ่งเราเคยทำมาโดยตลอดมาใช้อย่างเข้มงวดกวดขัน อาทิ งดการใส่สูท ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส หรือปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงพักเที่ยง จึงฝากให้ผู้ว่าฯ เอาใจใส่หน่วยราชการต่างๆ และขอร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนต่างๆ ด้วย
** มท.3 ลั่นปัญหาไฟฟ้ายังไม่น่าห่วง
นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย ในฐานะกำกับการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ได้ทำการหารือกับการไฟฟ้านครหลวงแล้ว โดยมีการเตรียมความพร้อมทุกด้าน ซึ่งเบื้องต้นจะรณรงค์ให้ภาคราชการ และรัฐวิสาหกิจ ช่วยปิดแอร์ช่วงพักเที่ยง และปิดไฟในห้องน้ำ เพื่อไม่ให้กระทบกับการทำงานมากที่สุด
ส่วนภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ได้มีการรณรงค์ให้ปิดไฟโฆษณา และปิดไฟ 1-2 ดวงต่อบ้าน เพื่อช่วยประหยัดพลังงานเช่นกัน พร้อมยืนยันว่า ในส่วนของโรงพยาบาล หน่วยงานความมั่นคง และสถาบันที่สำคัญ ยังมีการตรึงไฟฟ้าให้ใช้อย่างเต็มที่ แต่คิดว่าไม่กระทบกับภาคครัวเรือน
ส่วนไฟออโต้เซลล์ ที่อยู่ตามเสาไฟฟ้านั้น ได้ส่งการเจ้าหน้าที่ ทำการรีเช็ก ตรวจสอบแล้ว ซึ่งสถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง แต่จะไม่ประมาท
นายประชา ยังกล่าวว่า การใช้ไฟฟ้า คงไม่มีปัญหา และไม่วิกฤติ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน อีกทั้ง รมว. พลังงาน ได้เตรียมแก้ไข และเตรียมพลังงานสำรองไว้แล้ว จึงขอให้ชาวกรุงเทพมหานคร ภาคเอกชน และรัฐบาล มั่นใจ เรื่องดังกล่าวได้
***เพ้งลั่นLPGไม่ขาด เหตุก๊าซพม่าไม่เกี่ยว
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวว่าประชาชนกักตุนก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)เพราะเกรงปัญหาการขาดแคลนจากกรณีก๊าซพม่าหยุดจ่ายระหว่าง 5-14 เม.ย.56 ว่า ยืนยันว่าแอลพีจีจะไม่ขาดแคลนอย่างแน่นอนเนื่องจากก๊าซฯที่ผลิตเป็นฝั่งตะวันออก ไม่เกี่ยวกับก๊าซพม่าแต่อย่างใดประกอบกับมีการสำรองไว้ใช้และมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อรองรับการใช้ที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ส่วนก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี)ก็จะไม่ขาดแคลนเช่นกันเพราะมีการดึงก๊าซฯจากฝั่งตะวันออกเข้าไปเสริม
“ผมจะสั่งการให้กรมธุรกิจพลังงานหรือธพ.ไปดูแลปัญหาแอลพีจีอย่างใกล้ชิด ว่าเกิดการกักตุนมากน้อยเพียงใดและจะต้องดูแลไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลน”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ขณะนี้ กรมฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบสถานการณ์และร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสเอาเปรียบประชาชนจากการปรับขึ้นราคาและกักตุนสินค้าของผู้ประกอบการ โดยยืนยันว่าสถานการณ์ก๊าซหุงต้มยังมีใช้จำหน่ายได้ปกติ
จึงขอให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการร้านก๊าซหุงต้มอย่าตื่นตระหนกแต่หากพบว่าผู้ประกอบการมีการกักตุนสินค้าและฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาจะมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ