เอกสารของกระทรวงการต่างประเทศที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยใช้ชื่อว่า 50 ปี 50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร อาจกล่าวได้ว่าเป็นเอกสารที่อัปยศที่สุดเท่าที่เคยมีมาของกระทรวงการต่างประเทศกรณีปราสาทพระวิหาร
กล่าวโดยสรุปให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ เอกสารชิ้นนี้ฝ่ายไทยไม่ยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเองว่าอยู่ที่ไหน และฝ่ายไทยสมควรจะยอมรับอำนาจศาลโลกไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสองประการนี้มีความเสี่ยงที่จะสร้างปัญหาต่อประเทศไทยในอนาคตได้อย่างแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสารชิ้นนี้เผยแพร่ในเว็บไซต์ในกระทรวงการต่างประเทศของไทยแล้ว ก็เชื่อได้ว่าจะกลายเป็นหลักฐานชั้นดีที่อาจมีผลต่อการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่กำลังจะตีความคำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. 2505 ให้เป็นคุณต่อฝ่ายกัมพูชาได้ง่ายขึ้น
เพราะถ้าฝ่ายไทยไม่รู้ว่าเส้นเขตแดนของตัวเองอยู่ที่ไหน ในขณะที่ฝ่ายกัมพูชายืนยันเส้นเขตแดนของตัวเองว่าเป็นไปตาม "มูลฐาน"ในคำพิพากษาของศาลโลกที่ใช้กฎหมายปิดปากที่ฝ่ายไทยไม่ปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวมาตัดสินปราสาทพระวิหารให้อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาแล้ว ฝ่ายไทยย่อมตกอยู่ในความเสี่ยงของฐานะที่เสียเปรียบกว่ากัมพูชา
เพราะถ้าฝ่ายไทยไม่สามารถยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเองได้ ก็จะไม่สามารถกฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 2 วรรค 7 และกฎบัตรอาเซียน ข้อ 2 (จ) ที่ห้ามมิให้ชาติสมาชิกอื่นเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในอำนาจอธิปไตยของชาติอื่น
ทั้งการไม่ยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเอง และการรับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะเป็นหนทางที่สุ่มเสี่ยงที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ความอัปยศของเอกสารกระทรวงการต่างประเทศชิ้นนี้มีมากมาย แต่ที่ไม่สามารถจะยอมรับได้ก็เพราะมีการบิดเบือนคำนิยามของคำว่า "สันปันน้ำ" ที่ระบุเอาไว้ในเอกสารท้ายข้อ 8 หน้า 10 ความว่า
"สันปันน้ำ คือ แนวสันต่อเนื่องในภูมิประเทศ เมื่อฝนตกจะแบ่งน้ำเป็นสองส่วน ซึ่งอาจไม่ใช่สันเขาหรือขอบหน้าผาก็ได้ โดยปกติต้องใช้เครื่องมือทางเทคนิคในการพิสูจน์หาสันปันน้ำ ทั้งนี้ ตรงบริเวณปราสาทพระวิหาร จนถึงบัดนี้ยังไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในภูมิประเทศจริง"
โดยเฉพาะข้อความว่า "ตรงบริเวณปราสาทพระวิหาร จนถึงบัดนี้ยังไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในภูมิประเทศจริง" นั้นถือเป็นความอัปยศที่สุดของกระทรวงการต่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร เพราะข้อความนี้ "เป็นเท็จ"!!!
เพราะบรรพบุรุษของกระทรวงการต่างประเทศต่างสู้คดีนี้พร้อมยื่นหลักฐานมากมายในคดีปราสาทพระวิหาร จนได้ข้อยุติไปเรียบร้อยนายแล้วว่า มีการเดินสำรวจเสร็จสิ้นไปหมดแล้วในบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยปรากฏข้อความในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 อย่างชัดเจนว่า ร้อยเอก อุ่ม กรรมการผู้หนึ่งในฝ่ายฝรั่งเศสเป็นผู้ได้รับมอบหมารยทำการสำรวจอาณาบริเวณทั้งหมดของเขาดงรักจนเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว
กรณีดังกล่าวเป็นการอ้างอิงการนำภาพการเดินสำรวจ หลักเขตที่ 1 ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจุดปลายของทิวเขาดงรัก ซึ่งไม่ใช่ประเด็นปัญหา และสยามกับฝรั่งเศสก็ได้เห็นประเด็นนี้แล้วว่ามีความไม่ชัดเจนในช่วงปลายของทิวเขาดงรัก ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการจัดทำหลักเขตแดนทางบกที่ 1 บริเวณดังกล่าว ดังปรากฏข้อความในคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ว่า พันเอก แบร์นาร์ด กรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนผสมฝ่ายฝรั่งเศส ได้กล่าวบรรยายที่กรุงปารีสเกี่ยวกับงานปักปันเขตแดน 3 ครั้ง ในช่วงปี ค.ศ. 1905 ถึง ค.ศ. 1907 มีความตอนหนึ่งว่า
“แทบทุกหนทุกแห่ง สันปันน้ำประกอบเป็นเส้นพรมแดนและจะมีปัญหาโต้เถียงกันได้ ก็แต่เพียงเกี่ยวกับจุดปลายสุดของทั้งสองด้านเท่านั้น”
นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสารคำติงของราชอาณาจักรไทยที่ได้ยื่นหลักฐานเอาไว้ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศลำดับที่ 50 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งก็คือปาฐกถาของพันโท แบร์นาร์ด แสดงที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1907 ต่อสมาคมภูมิศาสตร์ให้ชื่อเรื่องว่า "การสำรวจอินโดจีนและการปักปันเขตแดนระหว่างฝรั่งเศสกับไทย" โดยปาฐกถานี้สมาคมภูมิศาสตร์ได้จัดพิมพ์ขึ้นในวารสารภูมิศาสตร์ของสมาคมฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.1909 โดยนายพันโท แบร์นารด์ ได้กล่าวถึงภูเขาดงรักว่า
"ในเดือนสุดท่ายของงานปักปัน เราได้สำรวจบริเวณทั้งหมด ระหว่างทะเลสามปน้ำโขง แม่น้ำมูล ภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ลาดขึ้นไปสู่เทือกภูเขาดงรัก (ยอดสูงสุดที่เขาพระวิหารสูง 643 เมตร) ภูเขาเหล่านี้ตั้งตระหง่านอยู่เหนือป่าไม้ในที่ราบกัมพูชา มีหน้าผาสูงชันเป็นระยะตั้งแต่ 300 ถึง 400 เมตร แต่ทางเหนือค่อยๆลาดลงไปหาที่ต่ำ ภูมิประเทศเป็นป่าโกร่งกันดารยิ่ง ในลำธารไม่มีน้ำ น้ำมีอยูตามบึงและหนองสกปรกอันเป็นที่สำหรับสัตว์ป่ามาลงกิน พวกเราเดินทางไปตั้งสามเดือนคงเห็นทางน้ำไหลเพียง 7 ครั้งเท่านั้น ทางเหนือยอดภูเขาดงรักเป็นเส้นเขตแดนที่เห็นได้อย่างถนัดชัดแจ้ง"
การไม่จัดทำหลักเขตแดนก็เพราะเขตแดนบริเวณทิวเขาดงรักสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังปรากฏในบันทึกรายงานของ พันเอก มองกิเอร์ ประธานกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนผสมสยามกับฝรั่งเศส ชุดที่ 2 ได้ยืนยันตามผลงานการสำรวจและปักปันเขตแดนของคณะกรรมการชุดที่ 1 ปรากฏตามหลักฐานในเอกสารคำติงของฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหารยื่นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ลำดับที่ 51 ความว่า
“เส้นเขตแดนเดินไปตามเส้นสันปันน้ำ ซึ่งอยู่ที่หน้าผา เห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก”
ข้อความนี้ก็อธิบ่ายตัวเองอีกเหมือนกัน เพราะเป็นข้อความชัดแจ้งแสดงว่า ตามที่พันเอก มองกิเอร์ไปเห็นมา เส้นสันปันน้ำเดินไปตามหน้าผา
แม้ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 สยามกับฝรั่งเศสก็ได้เดินสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนคอนกรีตอีกครั้ง ก็ไม่เคยต้องทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้นในบริเวณทิวเขาดงรัก จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศสถึง 3 ชุด ที่ได้เคยเดินสำรวจและปักปันสามารถมองเห็นหน้าผาเป็นสันปันน้ำและยึดเป็นเส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารอย่างเห็นได้ชัด จนไม่มีการทำหลักเขตแดนถึง 3 ชุด
นอกจากนี้ในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ยังปรากฏคำติงของราชอาณาจักรไทยลำดับที่ 47 ซึ่งได้อ้างอิงเอกสารฉบับแรกคือรายงานของศาสตราจารย์ กูรู ซึ่งกัมพูชาส่งเข้ามาเป็นเอกสารหมาย 37 ท้ายคำค้าน (ศ.กูรู เขียนรายงานขึ้นเมื่อเสร็จสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ๆ ตอนที่ไทยกับฝรั่งเศสประนีประนอมกัน เพื่อไม่ให้ไทยแผ่อาณาเขตลงไปในเขมรต่ำ จึงได้ยกย่องหน้าผาและเส้นสันปันน้ำที่ภูเขาดงรักว่าเป็นอัศจรรย์ทางธรรมชาติ ที่อำนวยเส้นเขตแดนไว้เป็นอย่างดีที่สุด แต่ต่อมาเขมรจะแผ่อาณาเขตขึ้นมาบนไทยสูง รายงานของศ.กูรู จึงกลับมาเป็นประโยชน์แก่คดีไทยที่จะช่วยยันเขมรไว้ที่หน้าผา กัมพูชาอ้างรายงานนี้เพื่อยันในข้อปลีกย่อย แต่หาได้คิดไม่ว่าเอกสารจะเป็นประโยชน์แก่ไทยในข้อใหญ่)
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ กูรู ได้อธิบายว่า "ที่ตรงนี้ เส้นเขตแดนเผอิญลงรอยกับภูมิศาสตร์อย่างอัศจรรย์และง่ายดาย ภูเขาดงรักเป็นเขาลาดหินทรายลาดลงไปทางเหนือททางเดียวสู่ลำน้ำมูล มีหน้าผาสูงชันกันกัมพูชาอยู่เบื้องล่าง ดังแสดงภาพตัดไว้ในให้เห็นข้างบนนี้ ยอดภูเขาเทือกนี้สูงไม่น้อย (580 เมตร, 530 เมตร, 581 เมตร, 525 เมตร) สูงสุด (761 เมตร) ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเขตแดนลาว ทางใต้มีหน้าผาสูงชัดตัดลงไปสู่ที่ราบกัมพูชาต่ำลงไปตั้งแต่ 200 ถึง 400 เมตร ที่ลาดหน้าผาทางใต้ เป็นที่ตั้งโบราณสถานเปรี๊ยะวิเฮียร์อันวิจิตรตระการตา ลาดเขาดงรักนี้เองที่ลาดไปสู่สันปันน้ำแบ่งน้ำลงสู่ทะเลสาบทางทิศใต้ทางหนึ่ง กับแม่น้ำมูลทางทิศเหนืออีกทางหนึ่ง ไม่มีอัศจรรย์ทางภูมิศาสตร์ไหนอีกแล้ว ที่จะนำมาใช้เป็นเส้นเขตแดนได้ดีกว่านี้ เส้นสันเขาอันเห็นได้ง่ายดาย ตัดปัญหาได้หมดทั้งสิ้นเพราะไม่มีทางสงสัยได้เลยว่า เส้นเขตแดนที่นี่ตั้งอยู่ตรงไหน"
นอกจากนี้ในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 2505 ยังปรากฏคำติงของราชอาณาจักรไทยลำดับที่ 49 ด้วย ที่กล่าวถึงรายงานกรรมการประนีประนอมฝรั่งเศสไทยแห่งกรุงวอชิงตัน ปี ค.ศ. 1947 เมื่อผู้แทนฝรั่งเศสคัดค้านว่า ไม่ควรคืนพระตะบองให้กับไทย ผู้แทนฝรั่งเศสกล่าวว่า
"ยอดภูเขาดงรักซึ่งขณะนี้เป็นเส้นเขตแดน ตลอดจนป่าไม้ซึ่งปกคลุมอยู่ตรงหน้าผาตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเขตแดนตามธรรมชาติ (ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวเท่านั้น) ระหว่างอาณาเขตตะวันตกซึ่งพลเมืองส่วนมากเป็นคนไทย กับอาณาเขตตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้อันเป็นที่อยู่ของกัมพูชา"
นี่คือเหตุผลที่ทำไมกี่ยุคกี่สมัย บริเวณปราสาทพระวิหารจึงไม่เคยมีการวางหลักศิลา หรือแท่งคอนกรีต ที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ก็เพราะทุกคนต่างเห็นด้วยตาว่าบริเวณนี้มีขอบหน้าผาเป็นสันปันน้ำซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามองเห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก ไม่จำเป็นต้องสร้างสัญลักษณ์ใดๆขึ้นมาเป็นเส้นเขตแบ่งเขตแดนอีก
การต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาคแรก บรรพบุรุษไทยได้หาหลักฐานที่ไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างชัดเจนว่าบริเวณปราสาทพระวิหารอยู่บนขอบหน้าผาที่มีการสำรวจเสร็จสิ้นแล้วและมีความชัดเจนว่าบริเวณดังกล่าวนี้สันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา
แต่การต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 กระทรวงการต่างประเทศในยุคนี้กลับระบุว่าสันปันน้ำอาจไม่ใช่หน้าผา และบริเวณปราสาทพระวิหารยังไม่เคยมีการสำรวจภูมิประเทศจริง !!!?
เพียงเท่านี้ก็ย่อมทำให้ผู้ที่ได้เห็นข้อมูลดังกล่าวก็ย่อมเกิดคำถามที่เคลือบแคลงความสงสัยว่าเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศชุดนี้อธิบายเผยแพร่ในทางสาธารณะที่แสดงความเป็นเท็จเช่นนี้ เพื่ออะไร?
เพื่อหลอกคนไทยว่าเราไม่เคยรู้ว่าเส้นเขตแดนไทยอยู่ที่ไหน ทุกคนจะได้ไม่ต้องไปปกป้องอธิปไตยของชาติ และให้ยอมรับอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใช่หรือไม่?
ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบที่น่าอับอายขายหน้า และอัปยศที่สุดของกระทรวงการต่างประเทศเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ชาติไทย จริงหรือไม่?
ถ้าเป็นเช่นนั้น เอกสารอัปยศของกระทรวงการต่างประเทศชิ้นนี้ก็คือการประจาน "สันปันน้ำ" ที่พ่อแม่มันไม่เคยสั่งสอนนั่นเอง!!!?
กล่าวโดยสรุปให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ เอกสารชิ้นนี้ฝ่ายไทยไม่ยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเองว่าอยู่ที่ไหน และฝ่ายไทยสมควรจะยอมรับอำนาจศาลโลกไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสองประการนี้มีความเสี่ยงที่จะสร้างปัญหาต่อประเทศไทยในอนาคตได้อย่างแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสารชิ้นนี้เผยแพร่ในเว็บไซต์ในกระทรวงการต่างประเทศของไทยแล้ว ก็เชื่อได้ว่าจะกลายเป็นหลักฐานชั้นดีที่อาจมีผลต่อการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่กำลังจะตีความคำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. 2505 ให้เป็นคุณต่อฝ่ายกัมพูชาได้ง่ายขึ้น
เพราะถ้าฝ่ายไทยไม่รู้ว่าเส้นเขตแดนของตัวเองอยู่ที่ไหน ในขณะที่ฝ่ายกัมพูชายืนยันเส้นเขตแดนของตัวเองว่าเป็นไปตาม "มูลฐาน"ในคำพิพากษาของศาลโลกที่ใช้กฎหมายปิดปากที่ฝ่ายไทยไม่ปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวมาตัดสินปราสาทพระวิหารให้อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาแล้ว ฝ่ายไทยย่อมตกอยู่ในความเสี่ยงของฐานะที่เสียเปรียบกว่ากัมพูชา
เพราะถ้าฝ่ายไทยไม่สามารถยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเองได้ ก็จะไม่สามารถกฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 2 วรรค 7 และกฎบัตรอาเซียน ข้อ 2 (จ) ที่ห้ามมิให้ชาติสมาชิกอื่นเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในอำนาจอธิปไตยของชาติอื่น
ทั้งการไม่ยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเอง และการรับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะเป็นหนทางที่สุ่มเสี่ยงที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ความอัปยศของเอกสารกระทรวงการต่างประเทศชิ้นนี้มีมากมาย แต่ที่ไม่สามารถจะยอมรับได้ก็เพราะมีการบิดเบือนคำนิยามของคำว่า "สันปันน้ำ" ที่ระบุเอาไว้ในเอกสารท้ายข้อ 8 หน้า 10 ความว่า
"สันปันน้ำ คือ แนวสันต่อเนื่องในภูมิประเทศ เมื่อฝนตกจะแบ่งน้ำเป็นสองส่วน ซึ่งอาจไม่ใช่สันเขาหรือขอบหน้าผาก็ได้ โดยปกติต้องใช้เครื่องมือทางเทคนิคในการพิสูจน์หาสันปันน้ำ ทั้งนี้ ตรงบริเวณปราสาทพระวิหาร จนถึงบัดนี้ยังไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในภูมิประเทศจริง"
โดยเฉพาะข้อความว่า "ตรงบริเวณปราสาทพระวิหาร จนถึงบัดนี้ยังไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในภูมิประเทศจริง" นั้นถือเป็นความอัปยศที่สุดของกระทรวงการต่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร เพราะข้อความนี้ "เป็นเท็จ"!!!
เพราะบรรพบุรุษของกระทรวงการต่างประเทศต่างสู้คดีนี้พร้อมยื่นหลักฐานมากมายในคดีปราสาทพระวิหาร จนได้ข้อยุติไปเรียบร้อยนายแล้วว่า มีการเดินสำรวจเสร็จสิ้นไปหมดแล้วในบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยปรากฏข้อความในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 อย่างชัดเจนว่า ร้อยเอก อุ่ม กรรมการผู้หนึ่งในฝ่ายฝรั่งเศสเป็นผู้ได้รับมอบหมารยทำการสำรวจอาณาบริเวณทั้งหมดของเขาดงรักจนเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว
กรณีดังกล่าวเป็นการอ้างอิงการนำภาพการเดินสำรวจ หลักเขตที่ 1 ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจุดปลายของทิวเขาดงรัก ซึ่งไม่ใช่ประเด็นปัญหา และสยามกับฝรั่งเศสก็ได้เห็นประเด็นนี้แล้วว่ามีความไม่ชัดเจนในช่วงปลายของทิวเขาดงรัก ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการจัดทำหลักเขตแดนทางบกที่ 1 บริเวณดังกล่าว ดังปรากฏข้อความในคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ว่า พันเอก แบร์นาร์ด กรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนผสมฝ่ายฝรั่งเศส ได้กล่าวบรรยายที่กรุงปารีสเกี่ยวกับงานปักปันเขตแดน 3 ครั้ง ในช่วงปี ค.ศ. 1905 ถึง ค.ศ. 1907 มีความตอนหนึ่งว่า
“แทบทุกหนทุกแห่ง สันปันน้ำประกอบเป็นเส้นพรมแดนและจะมีปัญหาโต้เถียงกันได้ ก็แต่เพียงเกี่ยวกับจุดปลายสุดของทั้งสองด้านเท่านั้น”
นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสารคำติงของราชอาณาจักรไทยที่ได้ยื่นหลักฐานเอาไว้ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศลำดับที่ 50 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งก็คือปาฐกถาของพันโท แบร์นาร์ด แสดงที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1907 ต่อสมาคมภูมิศาสตร์ให้ชื่อเรื่องว่า "การสำรวจอินโดจีนและการปักปันเขตแดนระหว่างฝรั่งเศสกับไทย" โดยปาฐกถานี้สมาคมภูมิศาสตร์ได้จัดพิมพ์ขึ้นในวารสารภูมิศาสตร์ของสมาคมฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.1909 โดยนายพันโท แบร์นารด์ ได้กล่าวถึงภูเขาดงรักว่า
"ในเดือนสุดท่ายของงานปักปัน เราได้สำรวจบริเวณทั้งหมด ระหว่างทะเลสามปน้ำโขง แม่น้ำมูล ภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ลาดขึ้นไปสู่เทือกภูเขาดงรัก (ยอดสูงสุดที่เขาพระวิหารสูง 643 เมตร) ภูเขาเหล่านี้ตั้งตระหง่านอยู่เหนือป่าไม้ในที่ราบกัมพูชา มีหน้าผาสูงชันเป็นระยะตั้งแต่ 300 ถึง 400 เมตร แต่ทางเหนือค่อยๆลาดลงไปหาที่ต่ำ ภูมิประเทศเป็นป่าโกร่งกันดารยิ่ง ในลำธารไม่มีน้ำ น้ำมีอยูตามบึงและหนองสกปรกอันเป็นที่สำหรับสัตว์ป่ามาลงกิน พวกเราเดินทางไปตั้งสามเดือนคงเห็นทางน้ำไหลเพียง 7 ครั้งเท่านั้น ทางเหนือยอดภูเขาดงรักเป็นเส้นเขตแดนที่เห็นได้อย่างถนัดชัดแจ้ง"
การไม่จัดทำหลักเขตแดนก็เพราะเขตแดนบริเวณทิวเขาดงรักสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังปรากฏในบันทึกรายงานของ พันเอก มองกิเอร์ ประธานกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนผสมสยามกับฝรั่งเศส ชุดที่ 2 ได้ยืนยันตามผลงานการสำรวจและปักปันเขตแดนของคณะกรรมการชุดที่ 1 ปรากฏตามหลักฐานในเอกสารคำติงของฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหารยื่นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ลำดับที่ 51 ความว่า
“เส้นเขตแดนเดินไปตามเส้นสันปันน้ำ ซึ่งอยู่ที่หน้าผา เห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก”
ข้อความนี้ก็อธิบ่ายตัวเองอีกเหมือนกัน เพราะเป็นข้อความชัดแจ้งแสดงว่า ตามที่พันเอก มองกิเอร์ไปเห็นมา เส้นสันปันน้ำเดินไปตามหน้าผา
แม้ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 สยามกับฝรั่งเศสก็ได้เดินสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนคอนกรีตอีกครั้ง ก็ไม่เคยต้องทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้นในบริเวณทิวเขาดงรัก จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศสถึง 3 ชุด ที่ได้เคยเดินสำรวจและปักปันสามารถมองเห็นหน้าผาเป็นสันปันน้ำและยึดเป็นเส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารอย่างเห็นได้ชัด จนไม่มีการทำหลักเขตแดนถึง 3 ชุด
นอกจากนี้ในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ยังปรากฏคำติงของราชอาณาจักรไทยลำดับที่ 47 ซึ่งได้อ้างอิงเอกสารฉบับแรกคือรายงานของศาสตราจารย์ กูรู ซึ่งกัมพูชาส่งเข้ามาเป็นเอกสารหมาย 37 ท้ายคำค้าน (ศ.กูรู เขียนรายงานขึ้นเมื่อเสร็จสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ๆ ตอนที่ไทยกับฝรั่งเศสประนีประนอมกัน เพื่อไม่ให้ไทยแผ่อาณาเขตลงไปในเขมรต่ำ จึงได้ยกย่องหน้าผาและเส้นสันปันน้ำที่ภูเขาดงรักว่าเป็นอัศจรรย์ทางธรรมชาติ ที่อำนวยเส้นเขตแดนไว้เป็นอย่างดีที่สุด แต่ต่อมาเขมรจะแผ่อาณาเขตขึ้นมาบนไทยสูง รายงานของศ.กูรู จึงกลับมาเป็นประโยชน์แก่คดีไทยที่จะช่วยยันเขมรไว้ที่หน้าผา กัมพูชาอ้างรายงานนี้เพื่อยันในข้อปลีกย่อย แต่หาได้คิดไม่ว่าเอกสารจะเป็นประโยชน์แก่ไทยในข้อใหญ่)
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ กูรู ได้อธิบายว่า "ที่ตรงนี้ เส้นเขตแดนเผอิญลงรอยกับภูมิศาสตร์อย่างอัศจรรย์และง่ายดาย ภูเขาดงรักเป็นเขาลาดหินทรายลาดลงไปทางเหนือททางเดียวสู่ลำน้ำมูล มีหน้าผาสูงชันกันกัมพูชาอยู่เบื้องล่าง ดังแสดงภาพตัดไว้ในให้เห็นข้างบนนี้ ยอดภูเขาเทือกนี้สูงไม่น้อย (580 เมตร, 530 เมตร, 581 เมตร, 525 เมตร) สูงสุด (761 เมตร) ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเขตแดนลาว ทางใต้มีหน้าผาสูงชัดตัดลงไปสู่ที่ราบกัมพูชาต่ำลงไปตั้งแต่ 200 ถึง 400 เมตร ที่ลาดหน้าผาทางใต้ เป็นที่ตั้งโบราณสถานเปรี๊ยะวิเฮียร์อันวิจิตรตระการตา ลาดเขาดงรักนี้เองที่ลาดไปสู่สันปันน้ำแบ่งน้ำลงสู่ทะเลสาบทางทิศใต้ทางหนึ่ง กับแม่น้ำมูลทางทิศเหนืออีกทางหนึ่ง ไม่มีอัศจรรย์ทางภูมิศาสตร์ไหนอีกแล้ว ที่จะนำมาใช้เป็นเส้นเขตแดนได้ดีกว่านี้ เส้นสันเขาอันเห็นได้ง่ายดาย ตัดปัญหาได้หมดทั้งสิ้นเพราะไม่มีทางสงสัยได้เลยว่า เส้นเขตแดนที่นี่ตั้งอยู่ตรงไหน"
นอกจากนี้ในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 2505 ยังปรากฏคำติงของราชอาณาจักรไทยลำดับที่ 49 ด้วย ที่กล่าวถึงรายงานกรรมการประนีประนอมฝรั่งเศสไทยแห่งกรุงวอชิงตัน ปี ค.ศ. 1947 เมื่อผู้แทนฝรั่งเศสคัดค้านว่า ไม่ควรคืนพระตะบองให้กับไทย ผู้แทนฝรั่งเศสกล่าวว่า
"ยอดภูเขาดงรักซึ่งขณะนี้เป็นเส้นเขตแดน ตลอดจนป่าไม้ซึ่งปกคลุมอยู่ตรงหน้าผาตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเขตแดนตามธรรมชาติ (ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวเท่านั้น) ระหว่างอาณาเขตตะวันตกซึ่งพลเมืองส่วนมากเป็นคนไทย กับอาณาเขตตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้อันเป็นที่อยู่ของกัมพูชา"
นี่คือเหตุผลที่ทำไมกี่ยุคกี่สมัย บริเวณปราสาทพระวิหารจึงไม่เคยมีการวางหลักศิลา หรือแท่งคอนกรีต ที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ก็เพราะทุกคนต่างเห็นด้วยตาว่าบริเวณนี้มีขอบหน้าผาเป็นสันปันน้ำซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามองเห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก ไม่จำเป็นต้องสร้างสัญลักษณ์ใดๆขึ้นมาเป็นเส้นเขตแบ่งเขตแดนอีก
การต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาคแรก บรรพบุรุษไทยได้หาหลักฐานที่ไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างชัดเจนว่าบริเวณปราสาทพระวิหารอยู่บนขอบหน้าผาที่มีการสำรวจเสร็จสิ้นแล้วและมีความชัดเจนว่าบริเวณดังกล่าวนี้สันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา
แต่การต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 กระทรวงการต่างประเทศในยุคนี้กลับระบุว่าสันปันน้ำอาจไม่ใช่หน้าผา และบริเวณปราสาทพระวิหารยังไม่เคยมีการสำรวจภูมิประเทศจริง !!!?
เพียงเท่านี้ก็ย่อมทำให้ผู้ที่ได้เห็นข้อมูลดังกล่าวก็ย่อมเกิดคำถามที่เคลือบแคลงความสงสัยว่าเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศชุดนี้อธิบายเผยแพร่ในทางสาธารณะที่แสดงความเป็นเท็จเช่นนี้ เพื่ออะไร?
เพื่อหลอกคนไทยว่าเราไม่เคยรู้ว่าเส้นเขตแดนไทยอยู่ที่ไหน ทุกคนจะได้ไม่ต้องไปปกป้องอธิปไตยของชาติ และให้ยอมรับอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใช่หรือไม่?
ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบที่น่าอับอายขายหน้า และอัปยศที่สุดของกระทรวงการต่างประเทศเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ชาติไทย จริงหรือไม่?
ถ้าเป็นเช่นนั้น เอกสารอัปยศของกระทรวงการต่างประเทศชิ้นนี้ก็คือการประจาน "สันปันน้ำ" ที่พ่อแม่มันไม่เคยสั่งสอนนั่นเอง!!!?