ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.เชื่อประมูลสัญญา 3 สายสีแดงซื้อระบบรถไฟฟ้า 2.8 หมื่นล.ไม่เข้าข่ายฮั้ว เผยไจก้ายันไม่ผิดทีโออาร์ 2 บริษัทมีกรรมการอิสระซ้ำ ชี้ไม่มีส่วนร่วมบริหาร “ประภัสร์”คาดเดินหน้าเปิดซองเทคนิค สรุปผลใน 2 เดือน
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประประธานคณะกรรมการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สัญญาที่3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท เปิดเผยว่า จากกรณีที่ 2
กลุ่มบริษัทที่ยื่นประกวดราคามีกรรมการอิสระเหมือนกันนั้นและกังวลว่าจะเข้าข่ายการมีผลประโยชน์ร่วมกันและหมิ่นเหม่ว่าจะเข้าข่ายพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) นั้นล่าสุด ร.ฟ.ท.ได้สอบถามไปยังองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) ซึ่งเป็นผู้ให้เงินกู้
ซึ่งไจก้ายืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายประเทศญี่ปุ่น โดยชี้แจงว่า outside director ถือว่าเป็นกรรมการอิสระไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานแต่อย่างใดและ ร.ฟ.ท.จะยกเลิกการประกวดราคาไม่ได้
โดยเมื่อวันที่18 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการประกวดราคาฯ ได้เชิญผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 บริษัทที่มีกรรมการอิสระเหมือนกันมาชี้แจง ซึ่งทั้ง 2 บริษัท ได้ยืนยันว่าตามโครงสร้างของบริษัทแล้วผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระจะไม่มีส่วนได้เสียในการบริหารงาน ดังนั้น คณะกรรมการฯได้ให้ผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 ราย ทำหนังสือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรมายัง
ร.ฟ.ท.อีกครั้งโดยรับรองว่าหากการประกวดราคาโครงการนี้เกิดความเสียหายจากกรณีดังกล่าว ผู้ยื่นข้อเสนอต้องรับผิดชอบ
ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขเงินกู้ ร.ฟ.ท.ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ไจก้ากำหนด ขณะเดียวกันยังมีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)รองรับด้วยว่าการประกวดราคาโครงการนี้ไม่ต้องใช้หลักเกณฑ์การประกวดราคาของสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะใช้เงินกู้ต่างประเทศ ดังนั้นหากไจก้ายืนยันความชัดเจนเรื่องกรรมการอิสระ กรณีนี้ไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) โดย
หากภายในสัปดาห์นี้ผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 รายส่งหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการมาถึง ร.ฟ.ท. คณะกรรมการประกวดราคาฯ จะเร่งประชุมเพื่อสรุปผลการพิจารณาด้านคุณสมบัติ และเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิจารณา หากได้รับความเห็นชอบก็จะเดินหน้าเปิดซองด้านเทคนิค และซองข้อเสนอด้านราคา ต่อไป
โดยคาดว่าหากไม่มีข้อขัดแย้งใดๆเพิ่มเติมจะสามารถสรุปผลการประกวดราคาได้ภายใน 2 เดือน และเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติลงนามในสัญญากับผู้ชนะการประกวดราคาต่อไป
ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การพิจารณาสัญญา 3 สายสีแดง นั้นยังพอมีเวลาไม่จำเป็นต้องเร่งรัด เพราะสามารถเริ่มช้ากว่าการก่อสร้างงานโยธาสัญญา 1, 2 ได้ราว 8 เดือน ทำให้ยังไม่มีผลกระทบทำให้โครงการโดยรวมล่าช้าแต่อย่างใด นอกจากนี้ ต้องการให้ร.ฟ.ท.พิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบที่สุด
ส่วนนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้รอเพียง 2 บริษัททำหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการ เชื่อว่าไม่น่ามีปัญหาและไม่ต้องยกเลิกเปิดประกวดราคาใหม่ โดยสามารถเดินหน้าเปิดซองด้านเทคนิคได้ นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ได้เสนอเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอครม.ขออนุมัติจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา MAA Consortium เป็นที่ปรึกษาบริหารโครงการ (PMC) และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา TEAM
Association เป็นที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง (CSC) พร้อมปรับกรอบวงเงินตามขอบเขตงานเพิ่ม โดยระหว่างรอครม.เห็นชอบได้ขอความร่วมมือให้ PMC และ CSC เข้ามาทำงานก่อนเพื่อให้สอดคล้องกับการเริ่มงานของผู้รับเหมา
สำหรับสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 มีผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ราย คือ 1.กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัทSumitomo Corporation) 2.กลุ่มกิจการร่วมค้า SMCK Consortium (บริษัท SIEMENS Ak piengesellschaft บริษัท SIEMENS LIMITED บริษัท MITSUBISHI CORPORATION และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK) ซึ่งมีกรรมการทับซ้อนกัน และ3.กลุ่มกิจการร่วมค้า MIR Consortium (บริษัท Maru Beni coporation บริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนต์ จำกัด
(มหาชน) หรือ ITD และ บริษัท Hyundai Rotem Company) ส่วน 4.กลุ่มกิจการร่วมค้า SAMSUNG Consortium (บริษัท Samsung engineering LTD บริษัท Chr zhu zhou electronic locomotive ltd บริษัท Sojitz jitz corperation และบริษัท Samsung SDS Ltd)ได้ขอถอนตัวจากการประกวดราคา เพราะหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร (แบงค์การันตี) หมดอายุ
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประประธานคณะกรรมการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สัญญาที่3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท เปิดเผยว่า จากกรณีที่ 2
กลุ่มบริษัทที่ยื่นประกวดราคามีกรรมการอิสระเหมือนกันนั้นและกังวลว่าจะเข้าข่ายการมีผลประโยชน์ร่วมกันและหมิ่นเหม่ว่าจะเข้าข่ายพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) นั้นล่าสุด ร.ฟ.ท.ได้สอบถามไปยังองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) ซึ่งเป็นผู้ให้เงินกู้
ซึ่งไจก้ายืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายประเทศญี่ปุ่น โดยชี้แจงว่า outside director ถือว่าเป็นกรรมการอิสระไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานแต่อย่างใดและ ร.ฟ.ท.จะยกเลิกการประกวดราคาไม่ได้
โดยเมื่อวันที่18 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการประกวดราคาฯ ได้เชิญผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 บริษัทที่มีกรรมการอิสระเหมือนกันมาชี้แจง ซึ่งทั้ง 2 บริษัท ได้ยืนยันว่าตามโครงสร้างของบริษัทแล้วผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระจะไม่มีส่วนได้เสียในการบริหารงาน ดังนั้น คณะกรรมการฯได้ให้ผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 ราย ทำหนังสือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรมายัง
ร.ฟ.ท.อีกครั้งโดยรับรองว่าหากการประกวดราคาโครงการนี้เกิดความเสียหายจากกรณีดังกล่าว ผู้ยื่นข้อเสนอต้องรับผิดชอบ
ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขเงินกู้ ร.ฟ.ท.ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ไจก้ากำหนด ขณะเดียวกันยังมีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)รองรับด้วยว่าการประกวดราคาโครงการนี้ไม่ต้องใช้หลักเกณฑ์การประกวดราคาของสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะใช้เงินกู้ต่างประเทศ ดังนั้นหากไจก้ายืนยันความชัดเจนเรื่องกรรมการอิสระ กรณีนี้ไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) โดย
หากภายในสัปดาห์นี้ผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 รายส่งหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการมาถึง ร.ฟ.ท. คณะกรรมการประกวดราคาฯ จะเร่งประชุมเพื่อสรุปผลการพิจารณาด้านคุณสมบัติ และเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิจารณา หากได้รับความเห็นชอบก็จะเดินหน้าเปิดซองด้านเทคนิค และซองข้อเสนอด้านราคา ต่อไป
โดยคาดว่าหากไม่มีข้อขัดแย้งใดๆเพิ่มเติมจะสามารถสรุปผลการประกวดราคาได้ภายใน 2 เดือน และเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติลงนามในสัญญากับผู้ชนะการประกวดราคาต่อไป
ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การพิจารณาสัญญา 3 สายสีแดง นั้นยังพอมีเวลาไม่จำเป็นต้องเร่งรัด เพราะสามารถเริ่มช้ากว่าการก่อสร้างงานโยธาสัญญา 1, 2 ได้ราว 8 เดือน ทำให้ยังไม่มีผลกระทบทำให้โครงการโดยรวมล่าช้าแต่อย่างใด นอกจากนี้ ต้องการให้ร.ฟ.ท.พิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบที่สุด
ส่วนนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้รอเพียง 2 บริษัททำหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการ เชื่อว่าไม่น่ามีปัญหาและไม่ต้องยกเลิกเปิดประกวดราคาใหม่ โดยสามารถเดินหน้าเปิดซองด้านเทคนิคได้ นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ได้เสนอเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอครม.ขออนุมัติจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา MAA Consortium เป็นที่ปรึกษาบริหารโครงการ (PMC) และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา TEAM
Association เป็นที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง (CSC) พร้อมปรับกรอบวงเงินตามขอบเขตงานเพิ่ม โดยระหว่างรอครม.เห็นชอบได้ขอความร่วมมือให้ PMC และ CSC เข้ามาทำงานก่อนเพื่อให้สอดคล้องกับการเริ่มงานของผู้รับเหมา
สำหรับสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 มีผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ราย คือ 1.กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัทSumitomo Corporation) 2.กลุ่มกิจการร่วมค้า SMCK Consortium (บริษัท SIEMENS Ak piengesellschaft บริษัท SIEMENS LIMITED บริษัท MITSUBISHI CORPORATION และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK) ซึ่งมีกรรมการทับซ้อนกัน และ3.กลุ่มกิจการร่วมค้า MIR Consortium (บริษัท Maru Beni coporation บริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนต์ จำกัด
(มหาชน) หรือ ITD และ บริษัท Hyundai Rotem Company) ส่วน 4.กลุ่มกิจการร่วมค้า SAMSUNG Consortium (บริษัท Samsung engineering LTD บริษัท Chr zhu zhou electronic locomotive ltd บริษัท Sojitz jitz corperation และบริษัท Samsung SDS Ltd)ได้ขอถอนตัวจากการประกวดราคา เพราะหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร (แบงค์การันตี) หมดอายุ