ร.ฟ.ท.ลงนามอิตาเลียนฯ รถไฟสีแดงสัญญา 2 เดินหน้าทุบตอม่อโฮปเวลล์ตลอดแนว หลังสำรวจใช้ได้แค่ 10% จากกว่า 500 ต้น เหตุตำแหน่งไม่ตรงกับแบบใหม่ “ชัชชาติ”สั่งเจรจาเร่งก่อสร้างสถานีวัดเสมียน,หลักหกพร้อมขยายแนวไปถึงนวนคร ด้านผู้รับเหมาโอดค่าแรง300 ทำต้นทุนเพิ่ม 8 %
เมื่อวันที่ 31 มกราคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานพิธีลงนามสัญญาจ้างผู้รับเหมาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) กับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD มูลค่า 21.235.4 ล้านบาทระยะทาง 21กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 1,440 วัน
นายชัชชาติเปิดเผยว่า ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งรัดและปรับปรุงรวม 5 ประเด็น คือ 1. เร่งขยายเส้นทางออกไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และศึกษาเพื่อขยายออกไปถึงนวนครที่มีการเติบโตของชุมชนสูง 2. เร่งก่อสร้างสถานีวัดเสมียนนารีและหลักหกซึ่งออกแบบไว้สำหรับอนาคตพร้อมกันไปเลยโดยไม่ต้องรอ 3.ระหว่างก่อสร้างต้องคำนึงถึงการให้บริการรถไฟเดิมและถนนโลคัลโรดเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนและ 4. ออกแบบระบบเชื่อมต่อการเดินทางเข้าออกสถานีให้สะดวกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ 5. ปรับรูปแบบการก่อสร้างให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-ดอนเมือง) เพื่อให้การใช้ประโยชน์เส้นทางสูงสุด ซึ่งจะต้องเพิ่มทางรถไฟจาก 3 ทางเป็น 4 ทาง
“การก่อสร้างอีก 2 สถานีไปพร้อมกันนั้นให้ร.ฟ.ท.เจรจากับอิตาเลี่ยนไทยฯ ซึ่งจะใช้ราคาต่อหน่วยฐานปี 2553 ต่อรองคาดว่าจะค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นไม่มากและจะเสนอครม.ขออนุมัติเพิ่มเติม ซึ่งจะถูกกว่าการเปิดประมูลใหม่แน่นอน เป็นการปรับปรุงทางเทคนิคที่คุยกันได้ ที่ต้องเร่งทำไปพร้อมกันเพราะแนวสีแดงเป็นเส้นทางหลักเข้า-ออก กทม.และมีชุมชนหนาแน่นซึ่งจะรับผู้โดยสารได้ 30,000-40,000 คนต่อชั่วโมง ดังนั้นต้องทำทางเข้าออกให้เชื่อมโยงและสะดวก เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้ระบบรางแทนรถส่วนตัว”
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้กำลังเร่งปรับปรุงแบบ เช่น เพิ่มทางรถไฟเป็น 4 คู่ จากเดิม 3 คู่ เพื่อแยกการเดินรถไฟฟ้ากับรถดีเซลออกจากกัน เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากรถไฟ 2 ระบบมีศักยภาพรวมถึงระยะเบรคที่ต่างกัน และเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงด้วย ซึ่งการก่อสร้างสัญญา 2 ค่อนข้างยากเพราะเขตทางจำกัดเนื่องจากก่อนหน้านี้นำพื้นที่ไปสร้างเป็นโรคัลโรดแล้วจึงต้องจัดรูปแบบใหม่ให้เหมาะสม โดยในสัปดาห์หน้าจะเชิญ กลุ่ม ลุ่มกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ยูนิคเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ ) ผู้รับเหมาสัญญาที่ 1 (งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและอาคารซ่อมบำรุง) และอิตาเลียนไทยฯ ผู้รับเหมาสีญญา 2 มาประชุมเพื่อวางกรอบการทำงานโดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จตามกำหนด
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทยฯกล่าวว่า เห็นด้วยกับการก่อสร้างสถานีวัดเสมียนและหลักหกไปพร้อมกัน ซึ่งค่าก่อสร้างเฉลี่ยสถานีละ 800 ล้านบาท ส่วนสถานีขนาดใหญ่ มีที่ ดอนเมืองและรังสิตแห่งละ2,000 ล้านบาท โดยมั่นใจว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จตามกำหนด
ด้านนายวิทวัส คุณาพงศ์ศิริ ผู้อำนวยการโครงการ บ.อิตาเลียนไทยฯ กล่าวว่า จากการสำรวจฐานรากตอมอเสาโครงการโฮปเวลล์ส่วนใหญ่ต้องทุบทิ้ง โดยจะเหลือใช้ได้ประมาณ 10 % จากทั้งหมดกว่า 500 ต้น เนื่องจากตำแหน่งไม่ตรงกับแบบสายสีแดง โดยจะใช้ค่ารื้อและขนย้ายกว่า 200 ล้านบาท ส่วนการเข้าพื้นที่ก่อสร้างจะเริ่มทันทีในทุกจุดที่มีความพร้อม แบบปูพรมซึ่งเฉพาะตัวสถานีจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2.5-3 ปี นอกจากนี้บริษัทยังได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงจาก 215 บาทเป็น 300 ต่อวันและค่าวัสดุเครื่องจักรที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนโครงการเพิ่มขึ้นประมาณ 8% หรือ 800-900 ล้านบาท
***เปิดประมูลเอกชนและท้องถิ่นลงทุนสถานีรถไฟความเร็วสูง
นายชัชชาติกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงว่า ขณะนี้มีแนวคิดที่จะเปิดให้เอกชนในแต่ละจังหวัดตลอดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เข้าร่วมประมูลลงทุนก่อสร้างและพัฒนาส่วนของสถานี เป็นเชิงพาณิชย์โดยจัดสรรพื้นที่เป็นส่วนบริการการเดินรถและพัฒนาเป็นโรงแรม,ศูนย์การค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าและทำให้แต่ละสถานีมีเอกลักษณ์ของตัวเองในแต่ละจังหวัด โดยนายกรัฐมนตรีรับทราบแนวคิดนี้แล้ว เพราะจะเปิดโอกาสให้เอกชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนา โดยอยู่ระหว่างกำหนดรายละเอียดเพราะจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะดูแลเฉพาะการเดินรถและกำกับอัตราค่าโดยสารเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี
เมื่อวันที่ 31 มกราคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานพิธีลงนามสัญญาจ้างผู้รับเหมาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) กับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD มูลค่า 21.235.4 ล้านบาทระยะทาง 21กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 1,440 วัน
นายชัชชาติเปิดเผยว่า ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งรัดและปรับปรุงรวม 5 ประเด็น คือ 1. เร่งขยายเส้นทางออกไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และศึกษาเพื่อขยายออกไปถึงนวนครที่มีการเติบโตของชุมชนสูง 2. เร่งก่อสร้างสถานีวัดเสมียนนารีและหลักหกซึ่งออกแบบไว้สำหรับอนาคตพร้อมกันไปเลยโดยไม่ต้องรอ 3.ระหว่างก่อสร้างต้องคำนึงถึงการให้บริการรถไฟเดิมและถนนโลคัลโรดเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนและ 4. ออกแบบระบบเชื่อมต่อการเดินทางเข้าออกสถานีให้สะดวกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ 5. ปรับรูปแบบการก่อสร้างให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-ดอนเมือง) เพื่อให้การใช้ประโยชน์เส้นทางสูงสุด ซึ่งจะต้องเพิ่มทางรถไฟจาก 3 ทางเป็น 4 ทาง
“การก่อสร้างอีก 2 สถานีไปพร้อมกันนั้นให้ร.ฟ.ท.เจรจากับอิตาเลี่ยนไทยฯ ซึ่งจะใช้ราคาต่อหน่วยฐานปี 2553 ต่อรองคาดว่าจะค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นไม่มากและจะเสนอครม.ขออนุมัติเพิ่มเติม ซึ่งจะถูกกว่าการเปิดประมูลใหม่แน่นอน เป็นการปรับปรุงทางเทคนิคที่คุยกันได้ ที่ต้องเร่งทำไปพร้อมกันเพราะแนวสีแดงเป็นเส้นทางหลักเข้า-ออก กทม.และมีชุมชนหนาแน่นซึ่งจะรับผู้โดยสารได้ 30,000-40,000 คนต่อชั่วโมง ดังนั้นต้องทำทางเข้าออกให้เชื่อมโยงและสะดวก เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้ระบบรางแทนรถส่วนตัว”
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้กำลังเร่งปรับปรุงแบบ เช่น เพิ่มทางรถไฟเป็น 4 คู่ จากเดิม 3 คู่ เพื่อแยกการเดินรถไฟฟ้ากับรถดีเซลออกจากกัน เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากรถไฟ 2 ระบบมีศักยภาพรวมถึงระยะเบรคที่ต่างกัน และเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงด้วย ซึ่งการก่อสร้างสัญญา 2 ค่อนข้างยากเพราะเขตทางจำกัดเนื่องจากก่อนหน้านี้นำพื้นที่ไปสร้างเป็นโรคัลโรดแล้วจึงต้องจัดรูปแบบใหม่ให้เหมาะสม โดยในสัปดาห์หน้าจะเชิญ กลุ่ม ลุ่มกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ยูนิคเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ ) ผู้รับเหมาสัญญาที่ 1 (งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและอาคารซ่อมบำรุง) และอิตาเลียนไทยฯ ผู้รับเหมาสีญญา 2 มาประชุมเพื่อวางกรอบการทำงานโดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จตามกำหนด
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทยฯกล่าวว่า เห็นด้วยกับการก่อสร้างสถานีวัดเสมียนและหลักหกไปพร้อมกัน ซึ่งค่าก่อสร้างเฉลี่ยสถานีละ 800 ล้านบาท ส่วนสถานีขนาดใหญ่ มีที่ ดอนเมืองและรังสิตแห่งละ2,000 ล้านบาท โดยมั่นใจว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จตามกำหนด
ด้านนายวิทวัส คุณาพงศ์ศิริ ผู้อำนวยการโครงการ บ.อิตาเลียนไทยฯ กล่าวว่า จากการสำรวจฐานรากตอมอเสาโครงการโฮปเวลล์ส่วนใหญ่ต้องทุบทิ้ง โดยจะเหลือใช้ได้ประมาณ 10 % จากทั้งหมดกว่า 500 ต้น เนื่องจากตำแหน่งไม่ตรงกับแบบสายสีแดง โดยจะใช้ค่ารื้อและขนย้ายกว่า 200 ล้านบาท ส่วนการเข้าพื้นที่ก่อสร้างจะเริ่มทันทีในทุกจุดที่มีความพร้อม แบบปูพรมซึ่งเฉพาะตัวสถานีจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2.5-3 ปี นอกจากนี้บริษัทยังได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงจาก 215 บาทเป็น 300 ต่อวันและค่าวัสดุเครื่องจักรที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนโครงการเพิ่มขึ้นประมาณ 8% หรือ 800-900 ล้านบาท
***เปิดประมูลเอกชนและท้องถิ่นลงทุนสถานีรถไฟความเร็วสูง
นายชัชชาติกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงว่า ขณะนี้มีแนวคิดที่จะเปิดให้เอกชนในแต่ละจังหวัดตลอดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เข้าร่วมประมูลลงทุนก่อสร้างและพัฒนาส่วนของสถานี เป็นเชิงพาณิชย์โดยจัดสรรพื้นที่เป็นส่วนบริการการเดินรถและพัฒนาเป็นโรงแรม,ศูนย์การค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าและทำให้แต่ละสถานีมีเอกลักษณ์ของตัวเองในแต่ละจังหวัด โดยนายกรัฐมนตรีรับทราบแนวคิดนี้แล้ว เพราะจะเปิดโอกาสให้เอกชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนา โดยอยู่ระหว่างกำหนดรายละเอียดเพราะจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะดูแลเฉพาะการเดินรถและกำกับอัตราค่าโดยสารเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี