ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าแบงก์ชาติชี้เงินบาทเริ่มกลับทิศอ่อนค่าตามภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศและตัวเลขส่งออกไทยที่ต่ำกว่าคาดการณ์ พร้อมเปิดทางให้ผู้ส่งออกขอนำเงินตราต่างประเทศเข้าไทยโดยไม่ต้องแปลงเงินบาทได้มากกว่าปัจจุบันที่ถือครองได้ 1 ปี ยันไม่ลดดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า ด้าน สศอ.วอนอย่าให้ผันผวนและไม่ให้แข็งค่ากว่าคู่แข่ง ระบุค่าเงินแข็ง 1 บาท ฉุดส่งออกวูบ 1.9 แสนล้าน
กรณีที่ช่วงเช้าวันที่ 28 ม.ค. เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 29.95-29.97 ก่อนปิดตลาดช่วงบ่ายที่ 29.98-30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นั้น นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทดังกล่าวเป็นการปรับตัวตามภาวะตลาด จากช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้เงินบาทแข็งค่าค่อนข้างเร็วไปในทิศทางเดียว อย่างไรก็ตาม เงินทุนไหลเข้าออกค่อนข้างเร็วเกิดจากช่วงนี้มีเหตุการณ์ต่างๆ หลายอย่างเกิดขึ้นในตลาดการเงินต่างประเทศ โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก จึงส่งผลให้ตลาดการเงินค่อนข้างผันผวน ซึ่ง ธปท.จะติดตามอย่างใกล้ชิดและดูแลให้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับสภาวะของตลาด
แม้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นมากกว่าเดิม แต่เป็นแค่เครื่องชี้อย่างหนึ่งที่ไม่มั่นใจว่าทิศทางเงินบาทแข็งค่าตลอด ซึ่งเป็นตามที่นักลงทุนคาดไว้ หากตลาดมีปฏิกิริยาไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเร็วหรือมากจนเกินไปก็จะมีการปรับตัว ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขการส่งออกล่าสุดเดือน ธ.ค.55 มีมูลค่า 1.81 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.45% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ถือว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น จากการติดตามซื้อขายเงินตราต่างประเทศ พบว่า ในปัจจุบันเงินทุนไหลเข้ามาในช่วงนี้ยังไม่ใช่การเก็งกำไรค่าเงิน
ต่อข้อซักถามที่ว่าเงินทุนไหลเข้าออกเร็ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้เงินบาทแข็งหรืออ่อนค่า ทำให้การโคตราคาของผู้ส่งออกยากลำบากขึ้นนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ถ้าเป็นไปได้คู่ค้าควรมีการตกลงสกุลเงินอื่นๆ ที่ไม่แกว่งตัวมากนัก หรือบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในระดับหนึ่ง ซึ่งระยะหลังธปท.ให้เสรีภาพในการบริหารรายรับ-รายจ่ายให้มีความคล่องตัวพอสมควร เช่นผู้ส่งออกมีรายได้เป็นรูปเงินตราต่างประเทศมาก็ยังไม่ต้องแปลงเป็นสกุลเงินบาท หรือสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า(ฟอร์เวิร์ด) เป็นต้น
“ปัจจุบันธปท.อนุญาตให้ผู้ส่งออก เมื่อมีรายได้เป็นรูปเงินตราต่างประเทศเข้ามาไทยยังไม่ต้องแลกเป็นเงินบาทได้ประมาณ 1 ปี แต่ถ้าเขาอยากได้มากขึ้น แบงก์ชาติก็ยินดีรับฟัง ซึ่งเพื่อนบ้านบางประเทศไม่บังคับเลยพบว่า ก็เสี่ยงเกินไป เราจึงดูวามพอดีอาจจะดูทีละขั้นทีละตอน”
ไม่ใช้ดอกเบี้ยคุมเงินทุนไหลเข้า
กรณีที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จะเสนอ 7 มาตรการ ให้ธปท.พิจารณาเมื่อมีการหารือร่วมกัน ซึ่งส่วนหนึ่งต้องการให้ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลอการไหลเข้านั้น ทางธปท.มีความยินดีในการรับฟัง แต่ทุกอย่างต้องขอคุยรายละเอียดก่อน โดยเรื่องดอกเบี้ย ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะต้องดูหลายด้านประกอบกัน ซึ่งไม่เฉพาะเงินทุนไหลเข้าด้านเดียว
แต่ต้องดูเรื่องเสถียรภาพระบบการเงินด้วย อีกทั้งดอกเบี้ยไม่ใช่ตัวเดียวที่ตัดสินเห็นตัวอย่างจากฮ่องกงมีดอกเบี้ยต่ำเท่ากับสหรัฐ แต่เงินไหลเข้าอยู่
ขณะเดียวกันเหตุผลที่ ธปท.ไม่ลดดอกเบี้ยไม่ใช่เกิดจากหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นและการออมได้ผลตอบแทนน้อย แต่ดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือนโยบายการเงินที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อไว้ดูแลเสถียรภาพ
สศอ.ชี้แข็ง 1 บาทฉุดส่งออกวูบ 1.9 แสนล.
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ปี 2556 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจของยุโรปและสหรัฐอเมริกา ผลกระทบจากค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันและภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าโดยหากค่าเงินบาทตลอดทั้งปีแข็งค่าขึ้น 1 บาทหรือแข็งค่าขึ้น 3.26% มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งปีจะลดลง 197,618 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ที่ 6 ล้านล้านบาททำให้การส่งออกรวมลดลง 2.8% และส่งผลให้จีดีพีภาคอุตสาหกรรมลดลง 1%
ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบริหารค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนและสะท้อนไปทิศทางที่สอดคล้องกับประเทศคู่แข่งทางการค้า ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการลงทุนไปยังต่างประเทศ
“หากดูรายละเอียดจะพบว่าแม้บาทจะแข็งค่าแต่ก็ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการขยายตัวการส่งออกมากนักโดยการส่งออกยังมีทิศทางที่โตขึ้นแต่ความผันผวนจะทำให้การบริหารยากและลดขีดความสามารถทางการแข็งขันหากไทยแข็งกว่าเพื่อนบ้านและสำคัญจะกระทบตรงต่อมูลค่าส่งออกเป็นสำคัญซึ่งเฉลี่ย 2 ม.ค.-22 ม.ค.56 ค่าเงินบาทแข็งค่าแล้ว 2.53% โดยส่วนของผลกระทบค่าแรงนั้นวันที่ 29 ม.ค.นี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะแถลง 5 มาตรการเร่งด่วนและ 2 มาตรการระยะกลางช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและย่อม ”นายณัฐพลกล่าว
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม 3 กลุ่ม คือ การส่งออกมาก และการนำเข้าน้อยเช่น ยาง เฟอร์นิเจอร์ กลุ่มการส่งออกมาก และการนำเข้ามากได้แก่ อุปกรณ์การแพทย์ อัญมณี เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มการส่งออกน้อย และการนำเข้ามาก ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก ฯลฯ ดังนั้นรัฐบาลควรจะมาดูสินค้าส่งออกของไทยเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่แข่งเหล่านั้นว่าไทยแข็งค่ากว่ามากน้อยเพียงใด
"จากการพิจารณาค่าเงินช่วง 2 -22 ม.ค.56 พบว่า ประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่งกลับมีค่าเงินที่อ่อนค่าลงทั้ง ญี่ปุ่น บรูไน กัมพูชา ลาว ขณะที่ประเทศอื่นๆ ก็พบว่าแข็งค่าในอัตราที่ต่ำกว่าไทย ทั้ง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสศอ.คาดการณ์ภาคอุตสาหกรรมปี 2556 จะขยายตัว 4.0 - 5.0% ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index - MPI) จะขยายตัว 3.5 - 4.5% ซึ่งอัตราดังกล่าวอิงค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีที่ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐโดยหากแข็งค่าขึ้นจากนี้ก็จะกระทบการขยายตัวให้ลดลง" นายณัฐพลกล่าว.
กรณีที่ช่วงเช้าวันที่ 28 ม.ค. เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 29.95-29.97 ก่อนปิดตลาดช่วงบ่ายที่ 29.98-30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นั้น นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทดังกล่าวเป็นการปรับตัวตามภาวะตลาด จากช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้เงินบาทแข็งค่าค่อนข้างเร็วไปในทิศทางเดียว อย่างไรก็ตาม เงินทุนไหลเข้าออกค่อนข้างเร็วเกิดจากช่วงนี้มีเหตุการณ์ต่างๆ หลายอย่างเกิดขึ้นในตลาดการเงินต่างประเทศ โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก จึงส่งผลให้ตลาดการเงินค่อนข้างผันผวน ซึ่ง ธปท.จะติดตามอย่างใกล้ชิดและดูแลให้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับสภาวะของตลาด
แม้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นมากกว่าเดิม แต่เป็นแค่เครื่องชี้อย่างหนึ่งที่ไม่มั่นใจว่าทิศทางเงินบาทแข็งค่าตลอด ซึ่งเป็นตามที่นักลงทุนคาดไว้ หากตลาดมีปฏิกิริยาไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเร็วหรือมากจนเกินไปก็จะมีการปรับตัว ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขการส่งออกล่าสุดเดือน ธ.ค.55 มีมูลค่า 1.81 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.45% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ถือว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น จากการติดตามซื้อขายเงินตราต่างประเทศ พบว่า ในปัจจุบันเงินทุนไหลเข้ามาในช่วงนี้ยังไม่ใช่การเก็งกำไรค่าเงิน
ต่อข้อซักถามที่ว่าเงินทุนไหลเข้าออกเร็ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้เงินบาทแข็งหรืออ่อนค่า ทำให้การโคตราคาของผู้ส่งออกยากลำบากขึ้นนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ถ้าเป็นไปได้คู่ค้าควรมีการตกลงสกุลเงินอื่นๆ ที่ไม่แกว่งตัวมากนัก หรือบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในระดับหนึ่ง ซึ่งระยะหลังธปท.ให้เสรีภาพในการบริหารรายรับ-รายจ่ายให้มีความคล่องตัวพอสมควร เช่นผู้ส่งออกมีรายได้เป็นรูปเงินตราต่างประเทศมาก็ยังไม่ต้องแปลงเป็นสกุลเงินบาท หรือสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า(ฟอร์เวิร์ด) เป็นต้น
“ปัจจุบันธปท.อนุญาตให้ผู้ส่งออก เมื่อมีรายได้เป็นรูปเงินตราต่างประเทศเข้ามาไทยยังไม่ต้องแลกเป็นเงินบาทได้ประมาณ 1 ปี แต่ถ้าเขาอยากได้มากขึ้น แบงก์ชาติก็ยินดีรับฟัง ซึ่งเพื่อนบ้านบางประเทศไม่บังคับเลยพบว่า ก็เสี่ยงเกินไป เราจึงดูวามพอดีอาจจะดูทีละขั้นทีละตอน”
ไม่ใช้ดอกเบี้ยคุมเงินทุนไหลเข้า
กรณีที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จะเสนอ 7 มาตรการ ให้ธปท.พิจารณาเมื่อมีการหารือร่วมกัน ซึ่งส่วนหนึ่งต้องการให้ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลอการไหลเข้านั้น ทางธปท.มีความยินดีในการรับฟัง แต่ทุกอย่างต้องขอคุยรายละเอียดก่อน โดยเรื่องดอกเบี้ย ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะต้องดูหลายด้านประกอบกัน ซึ่งไม่เฉพาะเงินทุนไหลเข้าด้านเดียว
แต่ต้องดูเรื่องเสถียรภาพระบบการเงินด้วย อีกทั้งดอกเบี้ยไม่ใช่ตัวเดียวที่ตัดสินเห็นตัวอย่างจากฮ่องกงมีดอกเบี้ยต่ำเท่ากับสหรัฐ แต่เงินไหลเข้าอยู่
ขณะเดียวกันเหตุผลที่ ธปท.ไม่ลดดอกเบี้ยไม่ใช่เกิดจากหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นและการออมได้ผลตอบแทนน้อย แต่ดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือนโยบายการเงินที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อไว้ดูแลเสถียรภาพ
สศอ.ชี้แข็ง 1 บาทฉุดส่งออกวูบ 1.9 แสนล.
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ปี 2556 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจของยุโรปและสหรัฐอเมริกา ผลกระทบจากค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันและภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าโดยหากค่าเงินบาทตลอดทั้งปีแข็งค่าขึ้น 1 บาทหรือแข็งค่าขึ้น 3.26% มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งปีจะลดลง 197,618 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ที่ 6 ล้านล้านบาททำให้การส่งออกรวมลดลง 2.8% และส่งผลให้จีดีพีภาคอุตสาหกรรมลดลง 1%
ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบริหารค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนและสะท้อนไปทิศทางที่สอดคล้องกับประเทศคู่แข่งทางการค้า ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการลงทุนไปยังต่างประเทศ
“หากดูรายละเอียดจะพบว่าแม้บาทจะแข็งค่าแต่ก็ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการขยายตัวการส่งออกมากนักโดยการส่งออกยังมีทิศทางที่โตขึ้นแต่ความผันผวนจะทำให้การบริหารยากและลดขีดความสามารถทางการแข็งขันหากไทยแข็งกว่าเพื่อนบ้านและสำคัญจะกระทบตรงต่อมูลค่าส่งออกเป็นสำคัญซึ่งเฉลี่ย 2 ม.ค.-22 ม.ค.56 ค่าเงินบาทแข็งค่าแล้ว 2.53% โดยส่วนของผลกระทบค่าแรงนั้นวันที่ 29 ม.ค.นี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะแถลง 5 มาตรการเร่งด่วนและ 2 มาตรการระยะกลางช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและย่อม ”นายณัฐพลกล่าว
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม 3 กลุ่ม คือ การส่งออกมาก และการนำเข้าน้อยเช่น ยาง เฟอร์นิเจอร์ กลุ่มการส่งออกมาก และการนำเข้ามากได้แก่ อุปกรณ์การแพทย์ อัญมณี เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มการส่งออกน้อย และการนำเข้ามาก ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก ฯลฯ ดังนั้นรัฐบาลควรจะมาดูสินค้าส่งออกของไทยเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่แข่งเหล่านั้นว่าไทยแข็งค่ากว่ามากน้อยเพียงใด
"จากการพิจารณาค่าเงินช่วง 2 -22 ม.ค.56 พบว่า ประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่งกลับมีค่าเงินที่อ่อนค่าลงทั้ง ญี่ปุ่น บรูไน กัมพูชา ลาว ขณะที่ประเทศอื่นๆ ก็พบว่าแข็งค่าในอัตราที่ต่ำกว่าไทย ทั้ง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสศอ.คาดการณ์ภาคอุตสาหกรรมปี 2556 จะขยายตัว 4.0 - 5.0% ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index - MPI) จะขยายตัว 3.5 - 4.5% ซึ่งอัตราดังกล่าวอิงค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีที่ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐโดยหากแข็งค่าขึ้นจากนี้ก็จะกระทบการขยายตัวให้ลดลง" นายณัฐพลกล่าว.