ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าการธปท.ยอมรับเงินบาทผันผวน เหตุต่างชาติไหลเข้ามาซื้อบอนด์และหุ้นระยะสั้นมาก เริ่มเห็นสัญญาณเก็งกำไรระยะสั้นในช่วงนี้ เผยจะนำเครื่องมือมาใช้เมื่อเห็นว่าส่งผลดีต่อประเทศ ชี้แนวโน้มตลอดปี 56 เงินทุนยังไหลเข้าไทยและเอเชียอยู่ เพราะเศรษฐกิจเอเชียดีกว่าชาติตะวันตก ด้าน"กิตติรัตน์"ส่งสัญญาณเตือนแบงก์ชาติดูแลเก็งกำไรค่าเงินผ่านตลาดตราสารหนี้ หวั่นกระทบส่งออก
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวยอมรับว่า ในช่วง 2 วันที่มีผ่านมานี้เงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในพันธบัตรและหลักทรัพย์ในไทยมาก และเป็นที่น่าสังเกตเห็นเป็นการลงทุนระยะสั้นค่อนข้างมาก จึงเริ่มมีสัญญาณการเก็งกำไรระยะสั้นพอสมควร
"ขณะนี้แบงก์ชาติมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งการเก็งกำไรในช่วงระยะสั้น หลักๆ ถ้าดูชื่อส่วนใหญ่เป็นบริษัทการเงินที่มีลูกค้าทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เรามีเครื่องมืออยู่ในมืออยู่แล้วและคงไม่ผูกมัดตัวเองว่าจะไม่ใช้ แต่เมื่อใดก็ตามเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อประเทศชาติ เราก็พร้อมที่จะนำเครื่องมือที่มีอยู่นำออกมาใช้"ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ทั้งนี้ ภาพรวมของค่าเงินบาทในขณะนี้ยังเห็นว่าเป็นการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นของประเทศในภูมิภาคนี้ แต่อาจจะมีการสลับกันบ้าง โดยปีก่อนเงินบาทของไทยแข็งค่าน้อยกว่าสกุลเงินอื่น แต่ในช่วง 2 วันนี้กลับแข็งค่าขึ้นกว่า ถือเป็นเรื่องธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม เงินบาทคงไม่ได้แข็งค่าทิศทางเดียวแบบนี้ตลอดไป เพียงแค่ช่วงนี้มีการลงทุนในลักษณะสั้นๆ มากขึ้น แสดงให้เห็นว่านักลงทุนเหล่านี้พร้อมจะปรับตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลาดการเงินอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรับความเสี่ยงจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนได้ ฉะนั้น สิ่งสำคัญในตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องระมัดระวัง
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า แนวโน้มตลอดทั้งปี 56 มองว่ามีโอกาสที่เงินทุนไหลเข้าสุทธิ เพราะเศรษฐกิจเอเชีย รวมถึงไทยมีอัตราการเติบโตสูงกว่าประเทศในแถบตะวันตก ขณะเดียวกันธปท.เปิดโอกาสให้คนไทยลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งปีก่อนภาคธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศเกือบ 1.9 หมื่นเหรียญสหรัฐ
ต่อข้อซักถามที่ว่า ตอนนี้ทางธปท.เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบางหรือไม่นั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ไม่อยากคอมเม้นท์เรื่องนี้ โดยมองว่าการแทรกแซงค่าเงินก็มีต้นทุน จึงพยายามจะพูดย้ำเสมอว่าให้เงินบาทเคลื่อนไหวตามพื้นฐานเศรษฐกิจหรือกลไกตลาดเท่าที่จะทำได้ ยกเว้นเฉพาะช่วงที่เงินบาทเคลื่อนไหวไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ
อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าช่วงนี้ก็มีภาคส่งออกหลากหลายกลุ่มออกมาแสดงความคิดเห็นทั้งกลุ่มที่ได้รับกำไรสุทธิค่อนข้างน้อย เพราะไม่มีอำนาจในการต่อรอง ขณะที่กลุ่มที่มีอำนาจต่อรองสูงก็อาจจะปรับตัวได้ หรือกลุ่มที่ใช้เงินตราต่างประเทศ อย่างช่วงเงินบาทแข็งในแง่การลงทุนและการนำเข้าจะได้รับประเทศ จึงยอมรับว่าเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจไทยพอสมควรในขณะนี้ ซึ่งธปท.พร้อมสดับรับฟังและมีการพูดคุยกับภาคธุรกิจเป็นระยะๆ
ลดขั้นตอนรายย่อยลงทุนนอก
รายงานข่าวจากธปท.แจ้งเพิ่มเติมว่า ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงินของธปท.ได้ออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเรื่องอนุญาตให้รายย่อยสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในต่างประเทศและอนุพันธ์ผ่านตัวแทนการลงทุนในประเทศอย่างบริษัทหลักทรัพย์หรือกองทุนส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขออนุญาตธปท.เป็นรายกรณีอย่างก่อนหน้านี้ แต่ยังคงต้องขออนุญาตผ่านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดสรรวงเงินลงทุนไม่เกินรายละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐเช่นเดิม รวมถึงคุณสมบัติของตราสารหนี้ที่ไปลงทุนยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิมที่ธปท.เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้อยู่
จี้แบงก์ชาติดูแลค่าบาท
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า การแข็งค่าของเงินบาทขณะนี้ ถือเป็นระดับที่น่าเป็นห่วงและจะกระทบต่อผู้ส่งออก รวมถึงไม่สะท้อนความต้องการเงินบาทที่แท้จริง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่จะต้องดูแลความผันผวนระยะสั้น หรือการไหลเข้าออกของเงินทุนที่รวดเร็ว หรือ Hot money
"การแข็งขึ้นของบาทอย่างรวดเร็ว ก็ไม่ค่อยดีนักและไม่จําเป็น เพราะการที่บาทแข็งขึ้นมาทดสอบในระดับที่สําคัญคือหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์ เป็นระดับที่ผู้ส่งออกทํางานยาก ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานกํากับดูแลที่ต้องดูแลฮอตมันนี่เหล่านี้"นายกิตติรัตน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรัฐบาลจะเน้นเรื่องของการดูแลความต้องการเงินบาทและเงินดอลลาร์ ให้มีความสมดุล และจะไม่เข้าแทรกแซงให้บิดเบือนกลไกตลาด โดยจะใช้วิธีสนับสนุนให้เอกชนออกไปลงทุนในต่างประเทศ ควบคู่กับการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ รวมถึงการเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และการเดินหน้าประมูลโครงการน้ำ 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นตัวเร่งความต้องการเงินดอลลาร์ และลดแรงกดดันค่าบาทแข็งค่าลง โดยทิศทางเงินดุลการค้า และดุลบัญชีสะพัดมีแนวโน้มลดลงเหลือไม่เกิน 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้
ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่ปัจจุบันหลุดกรอบ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นหน้าที่ของทาง ธปท. จะเป็นผู้กำกับดูแล โดยเบื้องต้นเพื่อลดความผันผวนของผลกระทบแลค่าเงินบาทน่าจะมีมาตรการส่งเสริมให้เอกชน นำเงินออกไปลงทุนยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าจะเพิ่มเพดานเพื่ออนุมัติเงินลงทุนในต่างประเทศหรอืไม่ เพราะธปท. มีเพดานการลงทุนอยู่ในหลานยเฟสด้วยกัน
ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงการคลัง กำลังพิจารณาออกมาตรการยกเว้นภาษีให้กับเอกชนสำหรับผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในต่างประเทศ เช่นเดียวกับสิงคโปร์และมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ยังจะต้องมีการพิจารณาและนำเสนอให้แก่ รมว.คลัง เพื่อทำการตัดสินใจอีก เนื่องจากเกรงว่า จะเป็นการทำให้ภาพที่ออกมาเป็นเรื่องของการหลีกเลี่ยงภาษีและป้องกันไม่ให้เอกชนนำมาตรการนี้ไปใช้ในการหลีกเลี่ยงภาษีได้ค่าบาท
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวยอมรับว่า ในช่วง 2 วันที่มีผ่านมานี้เงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในพันธบัตรและหลักทรัพย์ในไทยมาก และเป็นที่น่าสังเกตเห็นเป็นการลงทุนระยะสั้นค่อนข้างมาก จึงเริ่มมีสัญญาณการเก็งกำไรระยะสั้นพอสมควร
"ขณะนี้แบงก์ชาติมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งการเก็งกำไรในช่วงระยะสั้น หลักๆ ถ้าดูชื่อส่วนใหญ่เป็นบริษัทการเงินที่มีลูกค้าทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เรามีเครื่องมืออยู่ในมืออยู่แล้วและคงไม่ผูกมัดตัวเองว่าจะไม่ใช้ แต่เมื่อใดก็ตามเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อประเทศชาติ เราก็พร้อมที่จะนำเครื่องมือที่มีอยู่นำออกมาใช้"ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ทั้งนี้ ภาพรวมของค่าเงินบาทในขณะนี้ยังเห็นว่าเป็นการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นของประเทศในภูมิภาคนี้ แต่อาจจะมีการสลับกันบ้าง โดยปีก่อนเงินบาทของไทยแข็งค่าน้อยกว่าสกุลเงินอื่น แต่ในช่วง 2 วันนี้กลับแข็งค่าขึ้นกว่า ถือเป็นเรื่องธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม เงินบาทคงไม่ได้แข็งค่าทิศทางเดียวแบบนี้ตลอดไป เพียงแค่ช่วงนี้มีการลงทุนในลักษณะสั้นๆ มากขึ้น แสดงให้เห็นว่านักลงทุนเหล่านี้พร้อมจะปรับตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลาดการเงินอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรับความเสี่ยงจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนได้ ฉะนั้น สิ่งสำคัญในตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องระมัดระวัง
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า แนวโน้มตลอดทั้งปี 56 มองว่ามีโอกาสที่เงินทุนไหลเข้าสุทธิ เพราะเศรษฐกิจเอเชีย รวมถึงไทยมีอัตราการเติบโตสูงกว่าประเทศในแถบตะวันตก ขณะเดียวกันธปท.เปิดโอกาสให้คนไทยลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งปีก่อนภาคธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศเกือบ 1.9 หมื่นเหรียญสหรัฐ
ต่อข้อซักถามที่ว่า ตอนนี้ทางธปท.เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบางหรือไม่นั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ไม่อยากคอมเม้นท์เรื่องนี้ โดยมองว่าการแทรกแซงค่าเงินก็มีต้นทุน จึงพยายามจะพูดย้ำเสมอว่าให้เงินบาทเคลื่อนไหวตามพื้นฐานเศรษฐกิจหรือกลไกตลาดเท่าที่จะทำได้ ยกเว้นเฉพาะช่วงที่เงินบาทเคลื่อนไหวไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ
อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าช่วงนี้ก็มีภาคส่งออกหลากหลายกลุ่มออกมาแสดงความคิดเห็นทั้งกลุ่มที่ได้รับกำไรสุทธิค่อนข้างน้อย เพราะไม่มีอำนาจในการต่อรอง ขณะที่กลุ่มที่มีอำนาจต่อรองสูงก็อาจจะปรับตัวได้ หรือกลุ่มที่ใช้เงินตราต่างประเทศ อย่างช่วงเงินบาทแข็งในแง่การลงทุนและการนำเข้าจะได้รับประเทศ จึงยอมรับว่าเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจไทยพอสมควรในขณะนี้ ซึ่งธปท.พร้อมสดับรับฟังและมีการพูดคุยกับภาคธุรกิจเป็นระยะๆ
ลดขั้นตอนรายย่อยลงทุนนอก
รายงานข่าวจากธปท.แจ้งเพิ่มเติมว่า ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงินของธปท.ได้ออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเรื่องอนุญาตให้รายย่อยสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในต่างประเทศและอนุพันธ์ผ่านตัวแทนการลงทุนในประเทศอย่างบริษัทหลักทรัพย์หรือกองทุนส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขออนุญาตธปท.เป็นรายกรณีอย่างก่อนหน้านี้ แต่ยังคงต้องขออนุญาตผ่านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดสรรวงเงินลงทุนไม่เกินรายละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐเช่นเดิม รวมถึงคุณสมบัติของตราสารหนี้ที่ไปลงทุนยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิมที่ธปท.เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้อยู่
จี้แบงก์ชาติดูแลค่าบาท
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า การแข็งค่าของเงินบาทขณะนี้ ถือเป็นระดับที่น่าเป็นห่วงและจะกระทบต่อผู้ส่งออก รวมถึงไม่สะท้อนความต้องการเงินบาทที่แท้จริง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่จะต้องดูแลความผันผวนระยะสั้น หรือการไหลเข้าออกของเงินทุนที่รวดเร็ว หรือ Hot money
"การแข็งขึ้นของบาทอย่างรวดเร็ว ก็ไม่ค่อยดีนักและไม่จําเป็น เพราะการที่บาทแข็งขึ้นมาทดสอบในระดับที่สําคัญคือหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์ เป็นระดับที่ผู้ส่งออกทํางานยาก ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานกํากับดูแลที่ต้องดูแลฮอตมันนี่เหล่านี้"นายกิตติรัตน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรัฐบาลจะเน้นเรื่องของการดูแลความต้องการเงินบาทและเงินดอลลาร์ ให้มีความสมดุล และจะไม่เข้าแทรกแซงให้บิดเบือนกลไกตลาด โดยจะใช้วิธีสนับสนุนให้เอกชนออกไปลงทุนในต่างประเทศ ควบคู่กับการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ รวมถึงการเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และการเดินหน้าประมูลโครงการน้ำ 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นตัวเร่งความต้องการเงินดอลลาร์ และลดแรงกดดันค่าบาทแข็งค่าลง โดยทิศทางเงินดุลการค้า และดุลบัญชีสะพัดมีแนวโน้มลดลงเหลือไม่เกิน 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้
ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่ปัจจุบันหลุดกรอบ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นหน้าที่ของทาง ธปท. จะเป็นผู้กำกับดูแล โดยเบื้องต้นเพื่อลดความผันผวนของผลกระทบแลค่าเงินบาทน่าจะมีมาตรการส่งเสริมให้เอกชน นำเงินออกไปลงทุนยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าจะเพิ่มเพดานเพื่ออนุมัติเงินลงทุนในต่างประเทศหรอืไม่ เพราะธปท. มีเพดานการลงทุนอยู่ในหลานยเฟสด้วยกัน
ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงการคลัง กำลังพิจารณาออกมาตรการยกเว้นภาษีให้กับเอกชนสำหรับผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในต่างประเทศ เช่นเดียวกับสิงคโปร์และมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ยังจะต้องมีการพิจารณาและนำเสนอให้แก่ รมว.คลัง เพื่อทำการตัดสินใจอีก เนื่องจากเกรงว่า จะเป็นการทำให้ภาพที่ออกมาเป็นเรื่องของการหลีกเลี่ยงภาษีและป้องกันไม่ให้เอกชนนำมาตรการนี้ไปใช้ในการหลีกเลี่ยงภาษีได้ค่าบาท