ASTVผู้จัดการรายวัน - เงินบาทหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าปิดที่ 29.84 ค่ายกสิกรฯ เตือนผู้ประกอบการไม่ควรตื่นตระหนก แต่แนะนำให้ซื้อล่วงหน้าปิดความเสี่ยง สมาคมตราสารหนี้เผย 2 วันที่ผ่านมา นักลงทุนนอกแห่เก็งกำไรระยะสั้นในตลาดตราสารหนี้หลายพันล้านบาท ชี้เป็นเรื่องปกติในช่วงเงินบาทแข็ง นักลงทุนต่างชาติจะลงทุนสั้นๆ เพื่อเก็งกำไร 2 ต่อทั้งค่าเงินและดอกเบี้ย แต่ภาพรวมยืนยันต่างชาติยังนิยมลงทุนยาวมากกว่า
นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ (16 ม.ค.) ที่ระดับ 29.84/88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 29.98/30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นการแข็งค่าในรอบ 16 เดือน เนื่องจากมีเงินทุนไหลเข้าและผู้ส่งออกเทขายดอลลาร์ ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศที่สำคัญ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 88.08/13 เยน/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 88.25/29 เยน/ดอลลาร์ ขระที่เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3279/3282 ดอลลาร์/ยูโร อ่อนค่าเล็กน้อย
นายปรีดี ดาวฉาย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าจนหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์ ว่าเป็นผลมาจากมีเงินทุนไหลเข้ามาค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศไม่น่าจะมากนัก เนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค สำหรับผู้ประกอบการควรป้องกันความเสี่ยงด้วยการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เชื่อว่า ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนในระยะสั้นๆในช่วง 3 เดือนนี้ โดยมีค่าความผันผวนบวกลบ 0.50 บาท ซึ่งตามการคาดการณ์ของเครือกสิกรไทยวางกรอบค่าเงินบาทปีนี้ที่ 29-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในระยะปานกลางค่าเงินบาทไม่น่าจะผันผวนมากนัก เพราะคาดว่าจะมีเงินไหลออกมากกว่าที่จะไหลเข้ามา เนื่องจากตัวเลขการขยายตัวของการนำเข้าที่ระดับ 21% สูงกว่าการส่งออกที่คาดว่าจะเติบโต 16%
"เราอย่าดูเฉพาะค่าเงินบาทอย่างเดียว แต่จะต้องดูค่าเงินอื่นๆ ภูมิภาคด้วยว่า เราไม่ได้แข็งค่าไปมากขึ้นกว่า ซึ่งเชื่อว่าในเรื่องนี้ธปท.ก็คงจะดูแลอยู่ไม่ให้ค่าเงินมีความผันผวนมากเกินไป ขณะที่ผู้ประกอบการเองก็ไม่ควรตื่นตระหนก" นายทรงพลกล่าว.
***ต่างชาติเก็งกำไรตราสารหนี้
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ของไทยค่อนข้างมาก โดยเริ่มเข้ามาซื้อตั้งแต่กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้สัปดาห์ก่อนเข้ามาลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท และในช่วง 2 วันแรกของสัปดาห์นี้ต่างชาติยังคงเข้ามาอย่างต่อเนื่องหลายพันล้านบาท โดยเฉพาะตราสารหนี้อายุระยะสั้น เพราะช่วงนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งเงินบาทหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อช่วงเช้าวานนี้
“ในช่วงเวลาสั้นๆ 1-2 เดือนนี้ยังคงมีเงินทุนไหลเข้ามาอยู่ โดยทุกครั้งที่เงินบาทแข็ง ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น บ่งบอกให้เห็นว่าเข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน เพราะไม่มีผลเรื่อง Mark-to-market อีกทั้งผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยสูงกว่าสหรัฐ โดยดอกเบี้ยนโยบายไทยอยู่ที่ 2.75% ขณะที่สหรัฐ 0.25% ฉะนั้นอย่างน้อยเขาก็ได้ผลตอบแทบดอกเบี้ยที่ไม่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว เหลือเพียงเขาก็เข้ามาดูผลตอบแทนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อีก โดยหากบาทแข็งค่าขึ้น ถ้าเข้ามาลงทุนสั้นๆ เช่น ตราสารอายุ 1-2 เดือน ค่าบาทแข็งขึ้น 40 ส.ต.ถ้าคิดกลับเป็นกำไรจะถือว่าเป็นเปอร์เซ็นที่สูงมาก”
ทั้งนี้ ในภาพรวมตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่า ในระบบมียอดคงค้างทั้งสิ้น 7.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว 70%ของยอดคงค้างตราสารหนี้ทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้น 2.8 แสนล้านบาทเมื่อเทียบกับปี 55 กับปี 54 ส่วนในช่วงระยะยาวมองว่าในปี 56 ตัวเลขการถือครองตราสารหนี้ยังไม่มากเท่ากับปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์ในตลาดโลกเริ่มคลี่คลายทั้งปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE)ของสหรัฐ ทำให้ต่างชาติเข้าซื้อตราสารหนี้ในปีนี้มีโอกาสน้อยลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาการเข้ามาลงทุนในประเทศกลุ่มภูมิภาคนี้ เงินที่ไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ไทยจะใกล้เคียงกับตลาดตราสารหนี้มาเลเซีย โดยในขณะนี้ตลาดตราสารหนี้มาเลเซียมีสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนอยู่ประมาณ 20% ขณะที่สิ้นปี 2555 ตลาดตราสารหนี้ไทยมีสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติประมาณ 17% ซึ่งมองว่าต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและค่าเงินบาท โดยเฉพาะค่าเงินบาทที่เป็นตัวแปรช่วงสั้นๆ.
นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ (16 ม.ค.) ที่ระดับ 29.84/88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 29.98/30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นการแข็งค่าในรอบ 16 เดือน เนื่องจากมีเงินทุนไหลเข้าและผู้ส่งออกเทขายดอลลาร์ ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศที่สำคัญ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 88.08/13 เยน/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 88.25/29 เยน/ดอลลาร์ ขระที่เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3279/3282 ดอลลาร์/ยูโร อ่อนค่าเล็กน้อย
นายปรีดี ดาวฉาย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าจนหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์ ว่าเป็นผลมาจากมีเงินทุนไหลเข้ามาค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศไม่น่าจะมากนัก เนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค สำหรับผู้ประกอบการควรป้องกันความเสี่ยงด้วยการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เชื่อว่า ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนในระยะสั้นๆในช่วง 3 เดือนนี้ โดยมีค่าความผันผวนบวกลบ 0.50 บาท ซึ่งตามการคาดการณ์ของเครือกสิกรไทยวางกรอบค่าเงินบาทปีนี้ที่ 29-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในระยะปานกลางค่าเงินบาทไม่น่าจะผันผวนมากนัก เพราะคาดว่าจะมีเงินไหลออกมากกว่าที่จะไหลเข้ามา เนื่องจากตัวเลขการขยายตัวของการนำเข้าที่ระดับ 21% สูงกว่าการส่งออกที่คาดว่าจะเติบโต 16%
"เราอย่าดูเฉพาะค่าเงินบาทอย่างเดียว แต่จะต้องดูค่าเงินอื่นๆ ภูมิภาคด้วยว่า เราไม่ได้แข็งค่าไปมากขึ้นกว่า ซึ่งเชื่อว่าในเรื่องนี้ธปท.ก็คงจะดูแลอยู่ไม่ให้ค่าเงินมีความผันผวนมากเกินไป ขณะที่ผู้ประกอบการเองก็ไม่ควรตื่นตระหนก" นายทรงพลกล่าว.
***ต่างชาติเก็งกำไรตราสารหนี้
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ของไทยค่อนข้างมาก โดยเริ่มเข้ามาซื้อตั้งแต่กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้สัปดาห์ก่อนเข้ามาลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท และในช่วง 2 วันแรกของสัปดาห์นี้ต่างชาติยังคงเข้ามาอย่างต่อเนื่องหลายพันล้านบาท โดยเฉพาะตราสารหนี้อายุระยะสั้น เพราะช่วงนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งเงินบาทหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อช่วงเช้าวานนี้
“ในช่วงเวลาสั้นๆ 1-2 เดือนนี้ยังคงมีเงินทุนไหลเข้ามาอยู่ โดยทุกครั้งที่เงินบาทแข็ง ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น บ่งบอกให้เห็นว่าเข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน เพราะไม่มีผลเรื่อง Mark-to-market อีกทั้งผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยสูงกว่าสหรัฐ โดยดอกเบี้ยนโยบายไทยอยู่ที่ 2.75% ขณะที่สหรัฐ 0.25% ฉะนั้นอย่างน้อยเขาก็ได้ผลตอบแทบดอกเบี้ยที่ไม่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว เหลือเพียงเขาก็เข้ามาดูผลตอบแทนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อีก โดยหากบาทแข็งค่าขึ้น ถ้าเข้ามาลงทุนสั้นๆ เช่น ตราสารอายุ 1-2 เดือน ค่าบาทแข็งขึ้น 40 ส.ต.ถ้าคิดกลับเป็นกำไรจะถือว่าเป็นเปอร์เซ็นที่สูงมาก”
ทั้งนี้ ในภาพรวมตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่า ในระบบมียอดคงค้างทั้งสิ้น 7.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว 70%ของยอดคงค้างตราสารหนี้ทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้น 2.8 แสนล้านบาทเมื่อเทียบกับปี 55 กับปี 54 ส่วนในช่วงระยะยาวมองว่าในปี 56 ตัวเลขการถือครองตราสารหนี้ยังไม่มากเท่ากับปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์ในตลาดโลกเริ่มคลี่คลายทั้งปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE)ของสหรัฐ ทำให้ต่างชาติเข้าซื้อตราสารหนี้ในปีนี้มีโอกาสน้อยลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาการเข้ามาลงทุนในประเทศกลุ่มภูมิภาคนี้ เงินที่ไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ไทยจะใกล้เคียงกับตลาดตราสารหนี้มาเลเซีย โดยในขณะนี้ตลาดตราสารหนี้มาเลเซียมีสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนอยู่ประมาณ 20% ขณะที่สิ้นปี 2555 ตลาดตราสารหนี้ไทยมีสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติประมาณ 17% ซึ่งมองว่าต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและค่าเงินบาท โดยเฉพาะค่าเงินบาทที่เป็นตัวแปรช่วงสั้นๆ.