ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกฯ วอนอย่าตระหนกค่าเงินบาทแข็ง ไม่มีสัญญาณอันตราย สั่งคลังศึกษาผลกระทบ "กิตติรัตน์" ยันคลัง-รัฐบาลไม่แทรกแซงการทำงานของ ธปท.หลังเงินบาทยังแข็งค่าระดับเดียวกับภูมิภาค ดัชนีหุ้นผันผวนจัดหวั่นตลท. -แบงก์ชาติคุม ด้านส.อ.ท.ถกรับมือบาทหวั่นส่งออกวูบ
น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมร่วมกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อช่วงเช้าวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า เป็นการประชุมภายในเพื่อติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้น จากผลพวงที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ดำเนินการนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ โดยมอบให้กระทรวงการคลังบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาผลกระทบ และขอให้ทุกฝ่ายอย่างพึ่งตกใจเพราะจนถึงขนาดนี้ยังไม่มีสัญญาณใดที่จะเป็นอันตรายกับระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งรัฐบาลจะดูแลไม่ให้กระทบต่อภาคการส่งออก และจะเพิ่มเรื่องการลงทุน เพื่อให้การดูแลภาคเอกชน โดยเฉพาะเอสเอ็มอี และเพิ่มทางเลือก เช่น การลงทุนในประเทศกลุ่มอาเซียน
***คลังแจงให้ ธปท.ดูแลบาทแข็งค่า
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจในปีนี้ยังคงมีความท้าทายจากปัญหาเศรษฐกิจ เพราะประเทศในกลุ่มสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ซึ่งแนวทางดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการปรับขึ้นค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาค
การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น กลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์คือผู้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และน้ำมัน แต่เงินบาทที่แข็งค่าก็กระทบต่อกลุ่มผู้ส่งออกโดยตรงเช่นเดียวกัน ซึ่งระยะสั้น ธปท.จะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวน ส่วนระยะยาวจะต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเพิ่มการลงทุน โดยเฉพาะในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเร่งการนำเข้าวัตถุดิบ เพิ่มความต้องการเงินดอลลาร์ ซึ่งหากทำควบคู่กันไป แนวโน้มค่าเงินบาทคงไม่แข็งค่ามากนัก
"สถานการณ์เงินบาทปรับตัวแข็งค่าน่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ เท่านั้น และฝ่ายการเมืองคงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว คงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะดูแลให้เกิดความสมดุล อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านบวกและด้านลบ โดยในด้านบวกจะเป็นผลดีต่อผู้นำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าหมวดพลังงาน ขณะเดียวกันในด้านลบจะส่งผลเสียต่อผู้ส่งออกและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศ" นายกิตติรัตน์กล่าว
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย กล่าวถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นว่า มาจากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามามากในเอเชียและไทย จากมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ ผู้ส่งออกต้องมีการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนให้ดี อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ธปท.มีความสามารถดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนได้
***เงินบาทปิดทรงตัวที่ 29.74/78
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยการเคลื่อนไหวของเงินบาทวานนี้ (23 ม.ค.) ว่า ค่อนข้างผันผวนมาก ส่งผลให้ระหว่างวันเงินบาททดสอบระดับต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 29.73 บาท/ดอลลาร์ สูงสุดอยู่ที่ระดับ 29.85 บาท/ดอลลาร์ ก่อนจะปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 29.74/78 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 29.73/75 บาท/ดอลลาร์ โดยประเมินการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ (24 ม.ค.) ไว้ในกรอบระหว่าง 29.70-29.85 บาท/ดอลลาร์.
***หุ้นผันผวนจัดหวั่นตลท. -แบงก์ชาติคุม
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้(23ม.ค.) ตลาดหุ้นไทยปรับตัวผันผวนจัด โดยเฉพาะการซื้อขายในช่วงบ่ายดัชนีปรับลดลงไปกว่า 10 จุด จากความกังวลมาตรการดูแลค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเทขายหุ้นออกมาเพื่อลดความเสี่ยง ประกอบกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มเข้ามาตรวจสอบการซื้อขายหุ้นเก็งกำไรอย่างเข้มงวดขึ้น แต่ในช่วงท้ายมีแรงซื้อกลับเข้ามา ทำให้ภาพรวมกลับมาปิดตลาดที่ระดับ 1,439.20 จุด เพิ่มขึ้น 5.11 จุด หรือ0.36% มูลค่าการซื้อขาย 54,399.26 ล้านบาท
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปีนี้ ดัชนีหุ้นได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากสิ้นปี 2555 ที่ระดับ 1,392 จุด ทะลุ 1,400 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน เพิ่มขึ้นจากระดับ 30,000 ล้านบาท เป็นกว่า 50,000 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71 โดยหลายหลักทรัพย์มีการซื้อขายในลักษณะการเก็งกำไรสูงมาก จึงเตือนให้ผู้ลงทุนศึกษาและติดตามข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด และควรใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมีการเก็งกำไร เนื่องจากสภาพการซื้อขายในหลักทรัพย์ดังกล่าว อาจไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัท โดยผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบข้อมูลหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายดังกล่าวได้ที่ Website www.set.or.th
น.ส.จิตรา อมรธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ผันผวนมาก ขณะที่ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่จะอ่อนตัวลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจาก Sell on fact จากเรื่องที่ BOJ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ(QE)ออกมาแล้ว แต่ตลาดทั่วไปดูอ่อนลงเพราะมองเห็นว่ากว่าที่จะทำก็ไปต้นปี2557
ขณะที่ในประเทศ ภายหลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯเข้าตรวจสอบการซื้อขายหุ้นขนาดเล็กที่มีการเล่นเก็งกำไรกันหนาแน่น ส่งผลให้นักลงทุนตื่นตระหนกและขายทำกำไรออกมาก่อน
*** ส.อ.ท.ถกรับมือบาทหวั่นส่งออกวูบ
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า วันที่ 25 ม.ค.นี้คณะทำงานฝ่ายเศรษฐกิจส.อ.ท.จะหารือถึงผลกระทบค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเพื่อนำเสนอแนวทางให้กับภาครัฐบาลในการหามาตรการรับมือเพราะขณะนี้ผู้ส่งออกกำลังได้รับความเดือดร้อนแล้วในการรับคำสั่งซื้อสินค้า(ออร์เดอร์)ในไตรมาส 2 ที่ไม่สามารถเสนอราคาที่จะไปแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ทั้งนี้ค่าเงินบาทของไทยช่วงปลายปีเฉลี่ยที่ 30.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกาแต่ขณะนี้อยู่ที่ 29.73 บาทต่อเหรียญฯถือเป็นการแข็งค่า 2.69% เป็นการแข็งค่ามากสุดในประเทศคู่แข่งทางการค้ารองลงมาอินเดียที่แข็งค่า 1.48% ที่เหลืออย่างเวียดนาม กัมพูชากลับติดลบด้วยซ้ำ และเมื่อธุรกิจไทยยังต้องเจอกับต้นทุนค่าแรง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศก็ยิ่งทำให้ขีดความสามารถการแข่งขันลำบากมากขึ้นท่วมกลางภาวะที่ตลาดโลกยังไม่ฟื้นตัว
น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมร่วมกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อช่วงเช้าวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า เป็นการประชุมภายในเพื่อติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้น จากผลพวงที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ดำเนินการนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ โดยมอบให้กระทรวงการคลังบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาผลกระทบ และขอให้ทุกฝ่ายอย่างพึ่งตกใจเพราะจนถึงขนาดนี้ยังไม่มีสัญญาณใดที่จะเป็นอันตรายกับระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งรัฐบาลจะดูแลไม่ให้กระทบต่อภาคการส่งออก และจะเพิ่มเรื่องการลงทุน เพื่อให้การดูแลภาคเอกชน โดยเฉพาะเอสเอ็มอี และเพิ่มทางเลือก เช่น การลงทุนในประเทศกลุ่มอาเซียน
***คลังแจงให้ ธปท.ดูแลบาทแข็งค่า
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจในปีนี้ยังคงมีความท้าทายจากปัญหาเศรษฐกิจ เพราะประเทศในกลุ่มสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ซึ่งแนวทางดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการปรับขึ้นค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาค
การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น กลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์คือผู้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และน้ำมัน แต่เงินบาทที่แข็งค่าก็กระทบต่อกลุ่มผู้ส่งออกโดยตรงเช่นเดียวกัน ซึ่งระยะสั้น ธปท.จะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวน ส่วนระยะยาวจะต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเพิ่มการลงทุน โดยเฉพาะในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเร่งการนำเข้าวัตถุดิบ เพิ่มความต้องการเงินดอลลาร์ ซึ่งหากทำควบคู่กันไป แนวโน้มค่าเงินบาทคงไม่แข็งค่ามากนัก
"สถานการณ์เงินบาทปรับตัวแข็งค่าน่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ เท่านั้น และฝ่ายการเมืองคงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว คงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะดูแลให้เกิดความสมดุล อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านบวกและด้านลบ โดยในด้านบวกจะเป็นผลดีต่อผู้นำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าหมวดพลังงาน ขณะเดียวกันในด้านลบจะส่งผลเสียต่อผู้ส่งออกและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศ" นายกิตติรัตน์กล่าว
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย กล่าวถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นว่า มาจากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามามากในเอเชียและไทย จากมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ ผู้ส่งออกต้องมีการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนให้ดี อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ธปท.มีความสามารถดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนได้
***เงินบาทปิดทรงตัวที่ 29.74/78
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยการเคลื่อนไหวของเงินบาทวานนี้ (23 ม.ค.) ว่า ค่อนข้างผันผวนมาก ส่งผลให้ระหว่างวันเงินบาททดสอบระดับต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 29.73 บาท/ดอลลาร์ สูงสุดอยู่ที่ระดับ 29.85 บาท/ดอลลาร์ ก่อนจะปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 29.74/78 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 29.73/75 บาท/ดอลลาร์ โดยประเมินการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ (24 ม.ค.) ไว้ในกรอบระหว่าง 29.70-29.85 บาท/ดอลลาร์.
***หุ้นผันผวนจัดหวั่นตลท. -แบงก์ชาติคุม
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้(23ม.ค.) ตลาดหุ้นไทยปรับตัวผันผวนจัด โดยเฉพาะการซื้อขายในช่วงบ่ายดัชนีปรับลดลงไปกว่า 10 จุด จากความกังวลมาตรการดูแลค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเทขายหุ้นออกมาเพื่อลดความเสี่ยง ประกอบกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มเข้ามาตรวจสอบการซื้อขายหุ้นเก็งกำไรอย่างเข้มงวดขึ้น แต่ในช่วงท้ายมีแรงซื้อกลับเข้ามา ทำให้ภาพรวมกลับมาปิดตลาดที่ระดับ 1,439.20 จุด เพิ่มขึ้น 5.11 จุด หรือ0.36% มูลค่าการซื้อขาย 54,399.26 ล้านบาท
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปีนี้ ดัชนีหุ้นได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากสิ้นปี 2555 ที่ระดับ 1,392 จุด ทะลุ 1,400 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน เพิ่มขึ้นจากระดับ 30,000 ล้านบาท เป็นกว่า 50,000 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71 โดยหลายหลักทรัพย์มีการซื้อขายในลักษณะการเก็งกำไรสูงมาก จึงเตือนให้ผู้ลงทุนศึกษาและติดตามข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด และควรใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมีการเก็งกำไร เนื่องจากสภาพการซื้อขายในหลักทรัพย์ดังกล่าว อาจไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัท โดยผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบข้อมูลหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายดังกล่าวได้ที่ Website www.set.or.th
น.ส.จิตรา อมรธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ผันผวนมาก ขณะที่ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่จะอ่อนตัวลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจาก Sell on fact จากเรื่องที่ BOJ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ(QE)ออกมาแล้ว แต่ตลาดทั่วไปดูอ่อนลงเพราะมองเห็นว่ากว่าที่จะทำก็ไปต้นปี2557
ขณะที่ในประเทศ ภายหลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯเข้าตรวจสอบการซื้อขายหุ้นขนาดเล็กที่มีการเล่นเก็งกำไรกันหนาแน่น ส่งผลให้นักลงทุนตื่นตระหนกและขายทำกำไรออกมาก่อน
*** ส.อ.ท.ถกรับมือบาทหวั่นส่งออกวูบ
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า วันที่ 25 ม.ค.นี้คณะทำงานฝ่ายเศรษฐกิจส.อ.ท.จะหารือถึงผลกระทบค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเพื่อนำเสนอแนวทางให้กับภาครัฐบาลในการหามาตรการรับมือเพราะขณะนี้ผู้ส่งออกกำลังได้รับความเดือดร้อนแล้วในการรับคำสั่งซื้อสินค้า(ออร์เดอร์)ในไตรมาส 2 ที่ไม่สามารถเสนอราคาที่จะไปแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ทั้งนี้ค่าเงินบาทของไทยช่วงปลายปีเฉลี่ยที่ 30.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกาแต่ขณะนี้อยู่ที่ 29.73 บาทต่อเหรียญฯถือเป็นการแข็งค่า 2.69% เป็นการแข็งค่ามากสุดในประเทศคู่แข่งทางการค้ารองลงมาอินเดียที่แข็งค่า 1.48% ที่เหลืออย่างเวียดนาม กัมพูชากลับติดลบด้วยซ้ำ และเมื่อธุรกิจไทยยังต้องเจอกับต้นทุนค่าแรง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศก็ยิ่งทำให้ขีดความสามารถการแข่งขันลำบากมากขึ้นท่วมกลางภาวะที่ตลาดโลกยังไม่ฟื้นตัว