ข้อเสนอล่าสุดของผมต่อรัฐบาลผ่านการหารือ 2 นาทีในวุฒิสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือขอให้ตั้งที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารเพิ่มขึ้นอีก 1 คนจากที่มีอยู่แล้ว 3 คน คือ ศ.เจมส์ ครอว์ฟอร์ด ชาวออสเตรเลีย, ศ.โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์ ชาวแคนาดา-นิวซีแลนด์ และศ.อลัง เปลเล่ต์ ชาวฝรั่งเศส
ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศอีก 1 คนที่ผมให้รัฐบาลตั้งเป็นคนไทย
ศ.สมปอง สุจริตกุล
คงไม่ต้องบรรยายประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาทางกฎหมายระหว่างประเทศ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของท่านผู้นี้ให้มากความ คนที่มีความรู้เกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหารจะรู้ดีว่าท่านเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงเพราะหนึ่งในคณะทนายความของฝ่ายไทยในช่วงปี 2502 – 2505 และเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับคดีนี้ต่อสาธารณะมาไม่ต่ำกว่า 5 ปีย้อนหลังไปจากปัจจุบัน จะถือว่าท่านเป็นนักวิชาการภาคประชาชนก็ว่าได้ ถ้าจะมีอีกท่านหนึ่งในกรณีนี้ก็คือศ.อดุลย์ วิเชียรเจริญ
ประเทศไทยรู้ตัวล่วงหน้ามาเป็นสิบปีแล้วว่าคดีปราสาทพระวิหารอาจจะมีภาค 2 และได้เตรียมการอย่างเป็นรูปธรรมมาประมาณ 5 ปี
ประการสำคัญที่สุดคือโยกย้ายท่านทูตวีรชัย พลาศรัย หนึ่งในผู้มีความรู้เรื่องนี้ดีที่สุดของกระทรวงการต่างประเทศ ไปประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) เพื่อดำเนินการเตรียมคดีทั้งในศาลและนอกศาล รวมทั้งเป็นหัวหน้าคณะทนายความ
อีกประการหนึ่งคือจ้างที่ปรึกษากฎหมายชาวต่างชาติ 3 ท่าน
การตัดสินใจวางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี รวมทั้งการวางรูปคดีและแนวทางการต่อสู้คดีในทุกขั้นตอนจะอยู่ที่ 4 ท่านนี้เป็นหลัก
ผมไม่ปฏิเสธความรู้ความสามารถของทั้ง 4 ท่าน แต่มองไม่เห็นข้อเสียใดเลยที่จะเพิ่มเข้าไปอีก 1 ท่าน มีแต่ข้อดี
กว่าคนไทยสักคนจะมีความรู้ความสามารถถึงพร้อมในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ได้รับปริญญาจากทั้ง 3 ภาคพื้นคือฝรั่งเศส, อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เป็นเอกอัครราชทูตหลายประเทศ แถมมีประสบการณ์ตรงในคดี แม้จะสูงวัยถึง 81 ปี แต่ก็ยังแข็งแรง และพร้อมที่จะรับใช้ชาติบ้านเมือง เราจะละเลยท่านไปทำไม
แม้จะมีความคิดเห็นที่อาจจะสวนทางกับกระทรวงการต่างประเทศบ้าง แต่นั่นกลับเป็นข้อดี ที่จะทำให้องค์คณะการตัดสินมีความรอบด้านขึ้น
ขอแถมคือรัฐบาลจะได้ภาพว่ารับฟังความคิดเห็นและทำตามข้อเสนอของภาคประชาชน
ความคิดเห็นที่อาจจะสวนทางกับแนวทางหลักในการต่อสู้คดีของท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลไม่ได้เพิ่งมีในช่วงสี่ซ้าห้าปีมานี้ แต่มีมาตั้งแต่ปี 2502 ในคดีปราสาทพระวิหารภาคแรกแล้ว และประวัติศาสตร์ก็พิสูจน์มาแล้วว่าท่านไม่ผิด แนวทางของท่านในยุคนั้นแม้ไม่ทำให้ศาลเชื่อและเห็นตามได้ แต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่าท่านไม่ได้ยอมจำนนตั้งแต่เริ่มแรก
เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาระหว่างปี 2502 - 2505 ท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลคนนี้อยู่ในวัย 30 ต้น ๆ เป็นทนายความผู้ประสานงานในคณะทำงานต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาคแรกที่กัมพูชายื่นฟ้องไทยต่อศาลเมื่อ 6 ตุลาคม 2502 ท่านเสนอยุทธวิธีต่อสู้คดีขั้นแรกให้ฝ่ายไทยยื่น "ตัดฟ้อง" ของกัมพูชาก่อนเป็นปฐมว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณา เพราะประกาศปฏิญญารับรองเขตอำนาจศาลของไทยฉบับสุดท้ายเมื่อ 20 พฤษภาคม 2493 นั้นเป็นการต่ออายุปฏิญญารับรองเขตอำนาจศาลโลกเก่า (PCIJ) ตามประกาศปฏิญญาฉบับที่ 2 เมื่อ 3 พฤษภาคม 2483 จึงไม่ใช่การรับรองเขตอำนาจศาลโลกใหม่ (ICJ) แต่ประการใด
ปรากฏว่านักกฎหมายใหญ่หัวหน้าคณะต่อสู้คดีฝ่ายไทยโกรธมาก ไม่เห็นด้วย ถึงกับพูดและมีบันทึกเป็นหลักฐานให้อ้างอิงได้ในทำนองว่า...
คนที่เสนออย่างนี้น่าให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มีคำสั่งตามมาตรา 17 ให้ประหารชีวิต !
เพราะท่านเชื่อว่าคดีนั้นไทยชนะแน่นอน 300 เปอร์เซนต์ เตรียมแห่รอบสนามหลวงได้เลย
ความเป็นนักกฎหมายใหญ่ การศึกษาสูง ชาติตระกูลสูง หน้าที่การงานเป็นถึงอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา เป็นอดีตเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา และ ฯลฯ มีน้ำหนักทำให้รัฐบาลในขณะนั้นรับฟังและเชื่อถือทั้งหมด
ในวันนั้นก็เถียงกันและเชื่อกันเหมือนวันนี้แหละ
เรารับเขตอำนาจศาลแล้วจะปฏิเสธได้อย่างไร ถ้าเราปฏิเสธเราจะอยู่กับประชาคมโลกได้อย่างไร ไม่ต้องห่วงหรอกโอกาสที่เราจะชนะคดีมีสูงมาก
ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเสมอ
วันนี้คนที่เสนอให้ไทยปฏิเสธอำนาจศาลอย่างชัดเจน เด็ดขาด ในคดีที่กัมพูชาเจ้าเก่าฟ้องเมื่อ 28 เมษายน 2554 ก็ถูกสังคมไทยส่วนหนึ่งตราหน้าว่าเป็นคนหน้าเดิม เป็นพวกคลั่งชาติ เป็นพวกไม่ยอมรับกติกาโลก โชคดีกว่าเมื่อ 50 ปีก่อนหน่อยที่ยังไม่มีใครเสนอให้ประหารชีวิต
แม้วันนี้ไม่มีใครพูดชัดเหมือนม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเมื่อ 50 ปีก่อนว่าชนะคดีแน่ 300 เปอร์เซนต์ แต่ผมก็แอบได้ยินแว่ว ๆ ว่าคนสำคัญวงในบอกรัฐบาลว่าคดีที่จะตัดสินภายในสิ้นปี 2556 นี้...
โอกาสที่ไทยจะแพ้มีแค่ 0.00001 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องด่วนไปปฏิเสธอำนาจศาลอย่างเด็ดขาด แต่ควรสร้าง "บรรยากาศภายในประเทศ" ไม่ให้กระทบกระเทือนความรู้สึกของคณะตุลาการศาล
ณ นาทีนี้รัฐบาลและฝ่ายค้านจึงไม่มีแนวทางอาศัยพลังมวลชนมาเป็นฐานรองรับในการปฏิเสธอำนาจศาลอย่างเด็ดขาด
ถ้าปะเหมาะเคราะห์ร้าย โอกาส 0.00001 เปอร์เซนต์เกิดขึ้น ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านเป็นนักการเมือง ก็จะไม่ยอมรับความผิดพลาดหรอก แต่จะ...
1. โยนความผิดให้กันและกัน
2. โยนความผิดให้คณะทนายความต่อสู้คดี
และ..ที่สำคัญที่สุดคือ...
3. โยนความผิดให้ภาคประชาชนทุกกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเสนอแนะ โทษฐาน "สร้างบรรยากาศภายในประเทศให้คณะตุลาการ ICJ เสียความรู้สึก"
เชื่อผมเถอะ เขียนบทพูดล่วงหน้าให้แต่ละคนไว้ได้เลย
วันนี้ในข้อ 1 ก็เห็นกันแล้วใช่มั้ยว่านักการเมือง 2 พรรคเขาซ้อมการโยนความผิดให้กันและกันอยู่ ส่วนข้อ 3 นั้นก็พูดกันเป็นสูตรสำเร็จแบบคนพูดรู้บ้างไม่รู้บ้าง
แต่แม้จะรู้ว่าที่สุดแล้วมันจะเป็นอย่างนี้ ก็ยังจะต้องเสนอความเห็นที่เราเชื่อว่าถูกว่าควรของเราต่อไป
เหมือนเช่นที่ผมเสนอตั้งศ.สมปอง สุจริตกุลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่แหละ รู้อยู่ รู้ว่ารัฐบาลและฝ่ายค้านไม่ฟังหรอก แต่ก็ต้องเสนอ
เพื่อบันทึกไว้ว่าพวกเราในฐานะคนไทยคนหนึ่งได้ทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้แล้ว
แต่รัฐบาลและฝ่ายค้านล่ะ ?
ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศอีก 1 คนที่ผมให้รัฐบาลตั้งเป็นคนไทย
ศ.สมปอง สุจริตกุล
คงไม่ต้องบรรยายประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาทางกฎหมายระหว่างประเทศ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของท่านผู้นี้ให้มากความ คนที่มีความรู้เกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหารจะรู้ดีว่าท่านเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงเพราะหนึ่งในคณะทนายความของฝ่ายไทยในช่วงปี 2502 – 2505 และเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับคดีนี้ต่อสาธารณะมาไม่ต่ำกว่า 5 ปีย้อนหลังไปจากปัจจุบัน จะถือว่าท่านเป็นนักวิชาการภาคประชาชนก็ว่าได้ ถ้าจะมีอีกท่านหนึ่งในกรณีนี้ก็คือศ.อดุลย์ วิเชียรเจริญ
ประเทศไทยรู้ตัวล่วงหน้ามาเป็นสิบปีแล้วว่าคดีปราสาทพระวิหารอาจจะมีภาค 2 และได้เตรียมการอย่างเป็นรูปธรรมมาประมาณ 5 ปี
ประการสำคัญที่สุดคือโยกย้ายท่านทูตวีรชัย พลาศรัย หนึ่งในผู้มีความรู้เรื่องนี้ดีที่สุดของกระทรวงการต่างประเทศ ไปประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) เพื่อดำเนินการเตรียมคดีทั้งในศาลและนอกศาล รวมทั้งเป็นหัวหน้าคณะทนายความ
อีกประการหนึ่งคือจ้างที่ปรึกษากฎหมายชาวต่างชาติ 3 ท่าน
การตัดสินใจวางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี รวมทั้งการวางรูปคดีและแนวทางการต่อสู้คดีในทุกขั้นตอนจะอยู่ที่ 4 ท่านนี้เป็นหลัก
ผมไม่ปฏิเสธความรู้ความสามารถของทั้ง 4 ท่าน แต่มองไม่เห็นข้อเสียใดเลยที่จะเพิ่มเข้าไปอีก 1 ท่าน มีแต่ข้อดี
กว่าคนไทยสักคนจะมีความรู้ความสามารถถึงพร้อมในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ได้รับปริญญาจากทั้ง 3 ภาคพื้นคือฝรั่งเศส, อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เป็นเอกอัครราชทูตหลายประเทศ แถมมีประสบการณ์ตรงในคดี แม้จะสูงวัยถึง 81 ปี แต่ก็ยังแข็งแรง และพร้อมที่จะรับใช้ชาติบ้านเมือง เราจะละเลยท่านไปทำไม
แม้จะมีความคิดเห็นที่อาจจะสวนทางกับกระทรวงการต่างประเทศบ้าง แต่นั่นกลับเป็นข้อดี ที่จะทำให้องค์คณะการตัดสินมีความรอบด้านขึ้น
ขอแถมคือรัฐบาลจะได้ภาพว่ารับฟังความคิดเห็นและทำตามข้อเสนอของภาคประชาชน
ความคิดเห็นที่อาจจะสวนทางกับแนวทางหลักในการต่อสู้คดีของท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลไม่ได้เพิ่งมีในช่วงสี่ซ้าห้าปีมานี้ แต่มีมาตั้งแต่ปี 2502 ในคดีปราสาทพระวิหารภาคแรกแล้ว และประวัติศาสตร์ก็พิสูจน์มาแล้วว่าท่านไม่ผิด แนวทางของท่านในยุคนั้นแม้ไม่ทำให้ศาลเชื่อและเห็นตามได้ แต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่าท่านไม่ได้ยอมจำนนตั้งแต่เริ่มแรก
เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาระหว่างปี 2502 - 2505 ท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลคนนี้อยู่ในวัย 30 ต้น ๆ เป็นทนายความผู้ประสานงานในคณะทำงานต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาคแรกที่กัมพูชายื่นฟ้องไทยต่อศาลเมื่อ 6 ตุลาคม 2502 ท่านเสนอยุทธวิธีต่อสู้คดีขั้นแรกให้ฝ่ายไทยยื่น "ตัดฟ้อง" ของกัมพูชาก่อนเป็นปฐมว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณา เพราะประกาศปฏิญญารับรองเขตอำนาจศาลของไทยฉบับสุดท้ายเมื่อ 20 พฤษภาคม 2493 นั้นเป็นการต่ออายุปฏิญญารับรองเขตอำนาจศาลโลกเก่า (PCIJ) ตามประกาศปฏิญญาฉบับที่ 2 เมื่อ 3 พฤษภาคม 2483 จึงไม่ใช่การรับรองเขตอำนาจศาลโลกใหม่ (ICJ) แต่ประการใด
ปรากฏว่านักกฎหมายใหญ่หัวหน้าคณะต่อสู้คดีฝ่ายไทยโกรธมาก ไม่เห็นด้วย ถึงกับพูดและมีบันทึกเป็นหลักฐานให้อ้างอิงได้ในทำนองว่า...
คนที่เสนออย่างนี้น่าให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มีคำสั่งตามมาตรา 17 ให้ประหารชีวิต !
เพราะท่านเชื่อว่าคดีนั้นไทยชนะแน่นอน 300 เปอร์เซนต์ เตรียมแห่รอบสนามหลวงได้เลย
ความเป็นนักกฎหมายใหญ่ การศึกษาสูง ชาติตระกูลสูง หน้าที่การงานเป็นถึงอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา เป็นอดีตเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา และ ฯลฯ มีน้ำหนักทำให้รัฐบาลในขณะนั้นรับฟังและเชื่อถือทั้งหมด
ในวันนั้นก็เถียงกันและเชื่อกันเหมือนวันนี้แหละ
เรารับเขตอำนาจศาลแล้วจะปฏิเสธได้อย่างไร ถ้าเราปฏิเสธเราจะอยู่กับประชาคมโลกได้อย่างไร ไม่ต้องห่วงหรอกโอกาสที่เราจะชนะคดีมีสูงมาก
ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเสมอ
วันนี้คนที่เสนอให้ไทยปฏิเสธอำนาจศาลอย่างชัดเจน เด็ดขาด ในคดีที่กัมพูชาเจ้าเก่าฟ้องเมื่อ 28 เมษายน 2554 ก็ถูกสังคมไทยส่วนหนึ่งตราหน้าว่าเป็นคนหน้าเดิม เป็นพวกคลั่งชาติ เป็นพวกไม่ยอมรับกติกาโลก โชคดีกว่าเมื่อ 50 ปีก่อนหน่อยที่ยังไม่มีใครเสนอให้ประหารชีวิต
แม้วันนี้ไม่มีใครพูดชัดเหมือนม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเมื่อ 50 ปีก่อนว่าชนะคดีแน่ 300 เปอร์เซนต์ แต่ผมก็แอบได้ยินแว่ว ๆ ว่าคนสำคัญวงในบอกรัฐบาลว่าคดีที่จะตัดสินภายในสิ้นปี 2556 นี้...
โอกาสที่ไทยจะแพ้มีแค่ 0.00001 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องด่วนไปปฏิเสธอำนาจศาลอย่างเด็ดขาด แต่ควรสร้าง "บรรยากาศภายในประเทศ" ไม่ให้กระทบกระเทือนความรู้สึกของคณะตุลาการศาล
ณ นาทีนี้รัฐบาลและฝ่ายค้านจึงไม่มีแนวทางอาศัยพลังมวลชนมาเป็นฐานรองรับในการปฏิเสธอำนาจศาลอย่างเด็ดขาด
ถ้าปะเหมาะเคราะห์ร้าย โอกาส 0.00001 เปอร์เซนต์เกิดขึ้น ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านเป็นนักการเมือง ก็จะไม่ยอมรับความผิดพลาดหรอก แต่จะ...
1. โยนความผิดให้กันและกัน
2. โยนความผิดให้คณะทนายความต่อสู้คดี
และ..ที่สำคัญที่สุดคือ...
3. โยนความผิดให้ภาคประชาชนทุกกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเสนอแนะ โทษฐาน "สร้างบรรยากาศภายในประเทศให้คณะตุลาการ ICJ เสียความรู้สึก"
เชื่อผมเถอะ เขียนบทพูดล่วงหน้าให้แต่ละคนไว้ได้เลย
วันนี้ในข้อ 1 ก็เห็นกันแล้วใช่มั้ยว่านักการเมือง 2 พรรคเขาซ้อมการโยนความผิดให้กันและกันอยู่ ส่วนข้อ 3 นั้นก็พูดกันเป็นสูตรสำเร็จแบบคนพูดรู้บ้างไม่รู้บ้าง
แต่แม้จะรู้ว่าที่สุดแล้วมันจะเป็นอย่างนี้ ก็ยังจะต้องเสนอความเห็นที่เราเชื่อว่าถูกว่าควรของเราต่อไป
เหมือนเช่นที่ผมเสนอตั้งศ.สมปอง สุจริตกุลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่แหละ รู้อยู่ รู้ว่ารัฐบาลและฝ่ายค้านไม่ฟังหรอก แต่ก็ต้องเสนอ
เพื่อบันทึกไว้ว่าพวกเราในฐานะคนไทยคนหนึ่งได้ทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้แล้ว
แต่รัฐบาลและฝ่ายค้านล่ะ ?