ประเด็นที่คนไทยทุกคน รวมทั้งท่านผบ.ทบ. จะต้องเข้าใจให้ตรงกันก็คือเรื่องเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่าศาลโลก
ขอกล่าวโดยสรุปอีกครั้ง ณ ที่นี้ว่า ประเทศใดจะอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลโลก เกิดขึ้นได้ 3 ทาง คือ
หนึ่ง – เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดซึ่งกำหนดว่าหากมีปัญหาการตีความ ให้ศาลเป็นผู้พิจารณา
สอง – คู่กรณีตกลงกันยอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะกรณี
สาม – ทำประกาศปฏิญญาฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล
ในกรณีของประเทศไทยนั้น ไม่ใช่ทางที่ 1 และทางที่ 2 แน่ แต่เป็นทางที่ 3
ประเทศไทยทำประกาศปฏิญญาฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาลโลกมาทั้งหมดเพียง 3 ครั้งเท่านั้น โดย 2 ครั้งแรกเป็นการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าในยุคสันนิบาตชาติที่เรียกว่า PCIJ : Permanent Court of International Justice ครั้งสุดท้ายจึงเป็นการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกยุคสหประชาชาติปัจจุบันที่เรียกว่าว่า ICJ : International Court of Justice
ครั้งที่ 1 – เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2472 มีผลบังคับใช้วันที่ 7 พฤษภาคม 2473
ครั้งที่ 2 – เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2483 มีผลบังคับใช้วันที่ 9 พฤษภาคม 2483 เสมือนเป็นการต่ออายุประกาศครั้งที่ 1
ครั้งที่ 3 – เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2493 หลังประกาศฉบับที่ 2 หมดอายุลง 14 วัน มีผลบังคับใช้ย้อนไปตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2483
หลังจากนั้นประเทศไทยไม่เคยออกประกาศฝ่ายเดียวรับเขตอำนาจศาลอีกเลย การรับเขตอำนาจศาลของประเทศไทยจึงขาดอายุลงตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2503 เป็นต้นมา
โชคไม่ดีที่กัมพูชายื่นฟ้องประเทศไทยต่อศาลในวันที่ 6 ตุลาคม 2502 ก่อนอายุการรับเขตอำนาจศาลของเราจะขาดลงเพียง 8 เดือน 3 วัน เราจึงจำเป็นต้องต่อสู้คดี โดยในชั้นต้นเราต่อสู้ด้วยการตัดฟ้อง ขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นเรื่องเขตอำนาจศาล โดยเราต่อสู้ว่าประกาศปฏิญญาฝ่ายเดียวครั้งที่ 3 ของเรานั้นเป็นการต่ออายุการรับรองเขตอำนาจศาลโลกเก่า ไม่ใช่ศาลโลกใหม่ แต่ศาลชี้ขาดว่าศาลมีเขตอำนาจเหนือประเทศไทย เราจึงจำเป็นต้องเข้าต่อสู้คดีต่อไป ยอมรับผลแห่งคดีที่ตัดสินออกมาในวันที่ 15 มิถุนายน 2505
แต่กระนั้นก็ได้ตั้งข้อสงวนยื่นต่อสหประชาชาติไว้เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2505
กัมพูชาฟ้องยื่นคำร้องต่อศาลอีกครั้งในวันที่ 28 เมษายน 2554 หลังจากอายุการรับเขตอำนาจศาลของประเทศไทยขาดลงแล้วเกือบ 51 ปีเต็ม หรือถ้าจะนับวันสุดท้ายที่ประเทศไทยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับศาลเนื่องจากการต่อสู้คดีต่อเนื่องที่ฟ้องในสมัยประเทศไทยยังรับเขตอำนาจศาลก็เกือบ 49 ปีเต็ม
ประเทศไทยจึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องรับเขตอำนาจศาล
เราเสียโอกาส หรือใช้โอกาสต่อสู้ในประเด็นนี้ได้ไม่เต็มที่ มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกคือการต่อสู้คดีในวาระแรก แม้เราจะยกเขตอำนาจศาลขึ้นมาอ้าง แต่เสมือนเรายังขาดความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจปฏิเสธอำนาจศาลโดยตรง ข้ออ้างที่ยกขึ้นมาจึงคล้ายกับเป็นหนึ่งในข้อต่อสู้คดีเสียมากกว่า ครั้งต่อมาคือเมื่อศาลมีคำสั่งมาตรการชั่วคราวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 ที่กระทบอำนาจอธิปไตยเกินกว่าเขตพื้นที่พิพาท เรากลับมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554 ยอมรับว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งศาล รวมทั้งได้มีการปรับกำลังทหารบางส่วนออกมาเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555
โอกาสสุดท้ายครั้งแรกของเราคือการแถลงด้วยวาจา หรือ Oral Hearing ต่อศาลในวันที่ 15 – 19 เมษายน 2556 นี้ โดยฝ่ายไทยจะแถลง 2 รอบในวันที่ 17 และ 19 เมษายน กัมพูชาแถลงก่อนทั้ง 2 รอบในวันที่ 15 และ 18 เมษายน พัก 1 วันคือวันที่ 16 เมษายน
โอกาสสุดท้ายครั้งแรกของประเทศไทยจริงๆ คือวันที่ 19 เมษายน 2556
แม้จะสายไปมากแล้ว แม้จะเสมือนเสียโอกาสไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ยังไม่สายเกินไป และยังมีโอกาสเหลืออีก 1 ครั้ง พ้นจากนี้ถามว่าจะมีโอกาสอีกต่อไปหรือไม่
ก็เมื่อผมใช้คำว่าโอกาสสุดท้ายครั้งแรก ก็แปลว่าต้องมีโอกาสสุดท้ายครั้งต่อไปสิ
ใช่ครับ – มีโอกาสครั้งสุดท้ายอีกครั้งแน่
คือเมื่อศาลมีคำพิพากษาออกมาปลายปี 2556 เป็นผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย ประเทศไทยก็ไม่ต้องปฏิบัติตาม
แต่เราจะรอให้ถึงวันนั้นเชียวหรือ?
จริงอยู่ แม้มีนักกฎหมายไทยและนักกฎหมายชาวต่างชาติบางส่วนส่งความเห็นมายังผมว่า แม้ไทยจะไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลมา 51 ปีจริง เขาก็ยอมรับแต่เพียงว่าเราไม่ผูกพันกับศาลเฉพาะคดีอื่นเท่านั้น แต่คดีเดิมที่เกิดขึ้นขณะเราเขตอำนาจศาลอยู่ยังคงมีผลผูกพันเราตลอดมาและตลอดไปในอนาคตเฉพาะในประเด็นแห่งคดีเดิมและคำพิพากษาคดีเดิม เฉพาะในกรณีที่คู่ความของเราเขาใช้สิทธิร้องต่อศาลตามธรรมนูญศาลมาตรา 60
เพราะธรรมนูญศาลมาตรา 60 ไม่มีกำหนดระยะเวลา
คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 ที่กัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 เป็นกรณีตามมาตรา 60 ครับ
มาตรา 60 นี้ในภาษาอังกฤษเขาเขียนไว้ว่า...
“In the event of dispute as to the meaning or scope of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party. ”
คำแปลภาษาไทยอย่างไม่เป็นทางการอาจจะเป็นดังนี้...
“(การตัดสินเป็นที่สุดและไม่มีการอุทธรณ์) ในกรณีที่มีข้อพิพาทกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษาให้ตีความได้ตามความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง”
นักกฎหมายฝ่ายนี้เปรียบเทียบว่ามาตรา 60 นี้เปรียบเสมือนลำแสงเล็กๆ เลือนๆ ที่ส่องออกมาจากเมื่อ 50 ปีที่แล้วที่เราปิดประตูไม่รับเขตอำนาจศาลอีกต่อไป ลำแสงเล็กๆ เลือนๆ นี้ยังคงส่องมาถึงวันนี้ และจะส่องยาวต่อไปในอนาคตชั่วกัลปาวสาน
ผมไม่ปฏิเสธทฤษฎีนี้เสียทีเดียว แต่ได้เสนอข้อคิดเห็นในการต่อสู้กลับไปว่า
ในประการแรก กัมพูชาใช้สิทธิตามมาตรา 60 โดยไม่สุจริต โดยมีเจตนาแอบแฝงเพื่ออุทธรณ์คดีเดิมที่ถือเป็นที่สุดแล้วตามธรรมนูญศาล และไทยก็ปฏิบัติตามครบถ้วนมาตั้งแต่ปี 2505 แล้วโดยกัมพูชาไม่ปริปากคัดค้านมา 50 ปี
ในประการต่อมา หากศาลยังคงเป็นเหมือนเมื่อปี 2505 พิพากษาไปตามการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของกัมพูชา ซึ่งแม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่มากนัก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ก็เท่ากับศาลละเมิดธรรมนูญศาลเสียเอง คือใช้เขตอำนาจศาลออกนอกประเด็นแห่งคดีเดิม ออกนอกลำแสงเล็กๆ เลือนๆ มาบังคับประเทศไทย คำถามก็คือเราจำยังคงปฏิบัติตามหรือไม่
ก็ได้ฝากความคิดเห็นไปให้นักกฎหมายฝ่ายทฤษฎีลำแสงเล็กๆ ได้คิดให้หนัก
โดยเฉพาะในประเด็นหลังหากศาลพิพากษาเป็นผลลบต่อประเทศไทยชนิดออกนอกลำแสงเล็กๆ เลือนๆ
ถ้าประเทศไทยจะต้องรอไปตัดสินใจว่าจะปฏิบัติตามหรือไม่เมื่อถึงวินาทีนั้น โดยไม่ใช้โอกาสสุดท้ายครั้งแรกให้เต็มที่เสียก่อนในวันที่ 19 เมษายน 2556 นี้ จะขาดน้ำหนักในสาระสำคัญไปนะ
ขอกล่าวโดยสรุปอีกครั้ง ณ ที่นี้ว่า ประเทศใดจะอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลโลก เกิดขึ้นได้ 3 ทาง คือ
หนึ่ง – เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดซึ่งกำหนดว่าหากมีปัญหาการตีความ ให้ศาลเป็นผู้พิจารณา
สอง – คู่กรณีตกลงกันยอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะกรณี
สาม – ทำประกาศปฏิญญาฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล
ในกรณีของประเทศไทยนั้น ไม่ใช่ทางที่ 1 และทางที่ 2 แน่ แต่เป็นทางที่ 3
ประเทศไทยทำประกาศปฏิญญาฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาลโลกมาทั้งหมดเพียง 3 ครั้งเท่านั้น โดย 2 ครั้งแรกเป็นการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าในยุคสันนิบาตชาติที่เรียกว่า PCIJ : Permanent Court of International Justice ครั้งสุดท้ายจึงเป็นการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกยุคสหประชาชาติปัจจุบันที่เรียกว่าว่า ICJ : International Court of Justice
ครั้งที่ 1 – เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2472 มีผลบังคับใช้วันที่ 7 พฤษภาคม 2473
ครั้งที่ 2 – เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2483 มีผลบังคับใช้วันที่ 9 พฤษภาคม 2483 เสมือนเป็นการต่ออายุประกาศครั้งที่ 1
ครั้งที่ 3 – เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2493 หลังประกาศฉบับที่ 2 หมดอายุลง 14 วัน มีผลบังคับใช้ย้อนไปตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2483
หลังจากนั้นประเทศไทยไม่เคยออกประกาศฝ่ายเดียวรับเขตอำนาจศาลอีกเลย การรับเขตอำนาจศาลของประเทศไทยจึงขาดอายุลงตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2503 เป็นต้นมา
โชคไม่ดีที่กัมพูชายื่นฟ้องประเทศไทยต่อศาลในวันที่ 6 ตุลาคม 2502 ก่อนอายุการรับเขตอำนาจศาลของเราจะขาดลงเพียง 8 เดือน 3 วัน เราจึงจำเป็นต้องต่อสู้คดี โดยในชั้นต้นเราต่อสู้ด้วยการตัดฟ้อง ขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นเรื่องเขตอำนาจศาล โดยเราต่อสู้ว่าประกาศปฏิญญาฝ่ายเดียวครั้งที่ 3 ของเรานั้นเป็นการต่ออายุการรับรองเขตอำนาจศาลโลกเก่า ไม่ใช่ศาลโลกใหม่ แต่ศาลชี้ขาดว่าศาลมีเขตอำนาจเหนือประเทศไทย เราจึงจำเป็นต้องเข้าต่อสู้คดีต่อไป ยอมรับผลแห่งคดีที่ตัดสินออกมาในวันที่ 15 มิถุนายน 2505
แต่กระนั้นก็ได้ตั้งข้อสงวนยื่นต่อสหประชาชาติไว้เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2505
กัมพูชาฟ้องยื่นคำร้องต่อศาลอีกครั้งในวันที่ 28 เมษายน 2554 หลังจากอายุการรับเขตอำนาจศาลของประเทศไทยขาดลงแล้วเกือบ 51 ปีเต็ม หรือถ้าจะนับวันสุดท้ายที่ประเทศไทยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับศาลเนื่องจากการต่อสู้คดีต่อเนื่องที่ฟ้องในสมัยประเทศไทยยังรับเขตอำนาจศาลก็เกือบ 49 ปีเต็ม
ประเทศไทยจึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องรับเขตอำนาจศาล
เราเสียโอกาส หรือใช้โอกาสต่อสู้ในประเด็นนี้ได้ไม่เต็มที่ มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกคือการต่อสู้คดีในวาระแรก แม้เราจะยกเขตอำนาจศาลขึ้นมาอ้าง แต่เสมือนเรายังขาดความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจปฏิเสธอำนาจศาลโดยตรง ข้ออ้างที่ยกขึ้นมาจึงคล้ายกับเป็นหนึ่งในข้อต่อสู้คดีเสียมากกว่า ครั้งต่อมาคือเมื่อศาลมีคำสั่งมาตรการชั่วคราวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 ที่กระทบอำนาจอธิปไตยเกินกว่าเขตพื้นที่พิพาท เรากลับมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554 ยอมรับว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งศาล รวมทั้งได้มีการปรับกำลังทหารบางส่วนออกมาเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555
โอกาสสุดท้ายครั้งแรกของเราคือการแถลงด้วยวาจา หรือ Oral Hearing ต่อศาลในวันที่ 15 – 19 เมษายน 2556 นี้ โดยฝ่ายไทยจะแถลง 2 รอบในวันที่ 17 และ 19 เมษายน กัมพูชาแถลงก่อนทั้ง 2 รอบในวันที่ 15 และ 18 เมษายน พัก 1 วันคือวันที่ 16 เมษายน
โอกาสสุดท้ายครั้งแรกของประเทศไทยจริงๆ คือวันที่ 19 เมษายน 2556
แม้จะสายไปมากแล้ว แม้จะเสมือนเสียโอกาสไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ยังไม่สายเกินไป และยังมีโอกาสเหลืออีก 1 ครั้ง พ้นจากนี้ถามว่าจะมีโอกาสอีกต่อไปหรือไม่
ก็เมื่อผมใช้คำว่าโอกาสสุดท้ายครั้งแรก ก็แปลว่าต้องมีโอกาสสุดท้ายครั้งต่อไปสิ
ใช่ครับ – มีโอกาสครั้งสุดท้ายอีกครั้งแน่
คือเมื่อศาลมีคำพิพากษาออกมาปลายปี 2556 เป็นผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย ประเทศไทยก็ไม่ต้องปฏิบัติตาม
แต่เราจะรอให้ถึงวันนั้นเชียวหรือ?
จริงอยู่ แม้มีนักกฎหมายไทยและนักกฎหมายชาวต่างชาติบางส่วนส่งความเห็นมายังผมว่า แม้ไทยจะไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลมา 51 ปีจริง เขาก็ยอมรับแต่เพียงว่าเราไม่ผูกพันกับศาลเฉพาะคดีอื่นเท่านั้น แต่คดีเดิมที่เกิดขึ้นขณะเราเขตอำนาจศาลอยู่ยังคงมีผลผูกพันเราตลอดมาและตลอดไปในอนาคตเฉพาะในประเด็นแห่งคดีเดิมและคำพิพากษาคดีเดิม เฉพาะในกรณีที่คู่ความของเราเขาใช้สิทธิร้องต่อศาลตามธรรมนูญศาลมาตรา 60
เพราะธรรมนูญศาลมาตรา 60 ไม่มีกำหนดระยะเวลา
คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 ที่กัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 เป็นกรณีตามมาตรา 60 ครับ
มาตรา 60 นี้ในภาษาอังกฤษเขาเขียนไว้ว่า...
“In the event of dispute as to the meaning or scope of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party. ”
คำแปลภาษาไทยอย่างไม่เป็นทางการอาจจะเป็นดังนี้...
“(การตัดสินเป็นที่สุดและไม่มีการอุทธรณ์) ในกรณีที่มีข้อพิพาทกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษาให้ตีความได้ตามความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง”
นักกฎหมายฝ่ายนี้เปรียบเทียบว่ามาตรา 60 นี้เปรียบเสมือนลำแสงเล็กๆ เลือนๆ ที่ส่องออกมาจากเมื่อ 50 ปีที่แล้วที่เราปิดประตูไม่รับเขตอำนาจศาลอีกต่อไป ลำแสงเล็กๆ เลือนๆ นี้ยังคงส่องมาถึงวันนี้ และจะส่องยาวต่อไปในอนาคตชั่วกัลปาวสาน
ผมไม่ปฏิเสธทฤษฎีนี้เสียทีเดียว แต่ได้เสนอข้อคิดเห็นในการต่อสู้กลับไปว่า
ในประการแรก กัมพูชาใช้สิทธิตามมาตรา 60 โดยไม่สุจริต โดยมีเจตนาแอบแฝงเพื่ออุทธรณ์คดีเดิมที่ถือเป็นที่สุดแล้วตามธรรมนูญศาล และไทยก็ปฏิบัติตามครบถ้วนมาตั้งแต่ปี 2505 แล้วโดยกัมพูชาไม่ปริปากคัดค้านมา 50 ปี
ในประการต่อมา หากศาลยังคงเป็นเหมือนเมื่อปี 2505 พิพากษาไปตามการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของกัมพูชา ซึ่งแม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่มากนัก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ก็เท่ากับศาลละเมิดธรรมนูญศาลเสียเอง คือใช้เขตอำนาจศาลออกนอกประเด็นแห่งคดีเดิม ออกนอกลำแสงเล็กๆ เลือนๆ มาบังคับประเทศไทย คำถามก็คือเราจำยังคงปฏิบัติตามหรือไม่
ก็ได้ฝากความคิดเห็นไปให้นักกฎหมายฝ่ายทฤษฎีลำแสงเล็กๆ ได้คิดให้หนัก
โดยเฉพาะในประเด็นหลังหากศาลพิพากษาเป็นผลลบต่อประเทศไทยชนิดออกนอกลำแสงเล็กๆ เลือนๆ
ถ้าประเทศไทยจะต้องรอไปตัดสินใจว่าจะปฏิบัติตามหรือไม่เมื่อถึงวินาทีนั้น โดยไม่ใช้โอกาสสุดท้ายครั้งแรกให้เต็มที่เสียก่อนในวันที่ 19 เมษายน 2556 นี้ จะขาดน้ำหนักในสาระสำคัญไปนะ