คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 ไม่น่าจะมีปัญหาให้ต้องเป็น Phra Wihan Cliff เสี่ยงจบอายุรัฐบาลก่อนวาระอันควรแต่ประการใดถ้ายึดหลักการต่อสู้ดังที่กระทรวงการต่างประเทศแถลงมาอย่างจริงจัง
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ หัวหน้าคณะนักกฎหมายฝ่ายไทยในการต่อสู้คดีในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ICJ ที่เรามักเรียกกันว่าศาลโลก บอกในรายการโทรทัศน์ช่อง 9 เมื่อปลายปี 2555 ว่าแนวทางการต่อสู้ของประเทศไทยมีอยู่ 3 ประเด็น
1. ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีที่กัมพูชายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 เพราะประเทศไทยไม่ได้ประกาศปฏิญญารับรองเขตอำนาจศาลมากว่า 50 ปีแล้ว
2. นี่ไม่ใช่การร้องขอเพื่อตีความคำพิพากษาคดีเดิมที่พิพากษาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ตามธรรมนูญศาลมาตรา 60 แต่เนื้อหาเสมือนเป็นคดีใหม่ หรืออุทธรณ์คดีเดิมที่สิ้นสุดไปแล้ว
3. ประเทศไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาคดีเดิมครบถ้วนแล้ว กัมพูชาก็รับทราบแล้ว และไม่เคยโต้แย้งมายาวนานเกือบ 50 ปีเต็ม
ผมไม่ได้จด แต่จำได้ชัดเจน แม้ข้อความอาจจะไม่ตรงทุกตัวอักษร
ก็ถ้ายึดหลักการต่อสู้ 3 ประเด็นดังที่ว่านี้ ในการแถลงด้วยวาจาในขั้นตอนสุดท้ายในศาลวันที่ 15 - 19 เมษายน 2556 ก็ไปแถลงไล่เรียงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไปตามนี้ แสดงให้เห็นชัดเจนโดยปราศจากข้อสงสัยว่าเป็นคำแถลงไม่ยอมรับอำนาจศาล ไม่ใช่แถลงต่อสู้คดี โดยประกาศต่อศาลให้หนักแน่นชัดเจนไปเลยว่าภายใต้เงื่อนไขทั้ง 3 ประการที่ต่อสู้มาแต่ต้น ราชอาณาจักรไทยจะไม่ยอมรับคำตัดสินใดๆ ที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนราชอาณาจักรไทยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และจะไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินนั้นๆ อย่างเด็ดขาด
ย้ำนะครับ – ไปศาลเพื่อใช้สิทธิประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาล!
แม้ว่าสายไปมากแล้ว เพราะประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ต่อสู้ปฏิเสธเขตอำนาจศาล อย่างจริงจัง เสมือนไปต่อสู้คดีโดยยกประเด็นเขตอำนาจศาลมาเป็นหนึ่งในข้อต่อสู้เท่านั้น แต่ก็ยังไม่สายเกินไปหรอก
โอกาสสุดท้ายคือการแถลงด้วยวาจาวันที่ 15 – 19 เมษายน 2556 นี้
ICJ ที่เราชอบเรียกกันว่าศาลโลก ไม่ใช่ศาลยุติธรรมหรือศาลอื่นใดของประเทศไทยที่คนไทยทุกคนเกิดมาแล้วต้องอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาล การเป็นสมาชิกสหประชาชาติก็ไม่ได้หมายความว่ายอมรับเข้าไปอยู่ในเขตอำนาจศาลโดยอัตโนมัติ
ต้องประกาศปฏิญญายอมรับเขตอำนาจศาลก่อนนะครับ
ปฏิญญาแต่ละครั้งมีอายุ 10 ปี ประเทศไทยประกาศปฏิญญาครั้งสุดท้ายมาเมื่อปี 2492 หมดอายุเมื่อปี 2502 หลังกัมพูชายื่นฟ้องคดีปราสาทพระวิหารภาค 1 ไม่กี่เดือน
ครั้งนั้นเราจำเป็นต้องต่อสู้คดี เพราะขณะถูกฟ้องเรายังยอมรับเขตอำนาจศาล
แต่ ณ ปี 2554 เราไม่ได้รับเขตอำนาจศาลมาแล้วกว่า 50 ปี เราจะเข้าไปเสี่ยงต่อสู้คดีและยอมรับผลของคำพิพากษาทำไม?
นอกเหนือจากการแถลงด้วยวาจาต่อศาลในวันที่ 15 – 19 เมษายน 2556 แล้ว รัฐบาลโดยกระทรวงการต่างประเทศควรจะต้องแถลงต่อนานาอารยประเทศผ่านสหประชาชาติตามประเด็นดังกล่าวด้วย คือชี้แจงว่าประเทศไทยปฏิเสธอำนาจศาล จึงจะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาใดๆ ที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนราชอาณาจักรไทยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมอย่างเด็ดขาด
เช้าวันนี้ ผมจะใช้สิทธิหารือก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาตามนี้
และในการประชุมคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีท่านอาจารย์สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี เป็นประธาน ผมเป็นรองประธานคนที่ 1 ในวันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2556 ที่ห้อง 311 อาคารรัฐสภา 2 ก็มีวาระสำคัญพิจารณาเรื่องคดีปราสาทพระวิหารภาค 2 นี้ ผมก็จะเสนอให้เรียกร้องต่อรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศตามนี้
ในการประชุมอีก 3 วันข้างหน้า ได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาชี้แจงด้วย นอกจากนั้นยังได้เชิญ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล นักกฎหมายระหว่างประเทศอาวุโสและอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศผู้มีส่วนร่วมกับคดีปราสาทพระวิหารภาค 1 มาร่วมชี้แจงด้วย ท่านหลังได้ตอบรับด้วยวาจากับผมแล้ว
ท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลเห็นด้วยกับข้อหารือของผมตามแนวที่เขียนมาทั้งหมด
ท่านเองก็ได้เขียนไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2554 ว่า...
“การต่อสู้ครั้งนี้ ไทยจำเป็นต้องศึกษาจุดยืนของเราเองให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และแม่นยำ ยึดมั่นกับจุดยืนของตนโดยไม่หวั่นไหวกับคำให้การของคู่กรณีอันก่อให้เกิดความสับสนและสำคัญผิดในเนื้อหาและข้อเท็จจริง
“จุดสำคัญที่พึงกระทำในชั้นนี้คือ ไทยต้องคัดค้านอำนาจศาลในโอกาสแรกที่สามารถทำได้ การกล่าวแต่เพียงว่าเขตอำนาจของศาลไม่ครอบคลุมถึงคำขอของกัมพูชานั้นยังไม่เพียงพอ ไทยต้องยืนยันอย่างเป็นทางการว่าไทยคัดค้านอำนาจศาล เพราะไทยมิได้ยินยอมรับอำนาจศาลอีกเลยหลังจากขาดอายุไปแล้วเป็นเวลากว่า 50 ปี
“การไปปรากฏตัวที่ศาลแต่ละครั้ง ก็ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียวคือ คัดค้านอำนาจศาล มิใช่เพียงโต้แย้งว่าคำขอของกัมพูชาไม่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณา...”
ท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลจะตอบคำถามทุกประเด็นในวันนั้น
รวมทั้งประเด็นที่ว่าถ้าเราไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้วจะเกิดผลอย่างไร หรือไม่ และเราจะต้องเตรียมการรับมืออย่างไร
ข้ออ่อนอย่างยิ่งของประเทศไทยในการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารคือ เราดูเบาภูมิปัญญาบรรพบุรุษ เราไม่สานต่อและไม่ใช้การต่อสู้ของบรรพบุรุษในอดีตมาเป็นพื้นฐานของการต่อสู้วันนี้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับว่าเราไม่ใช้ข้อสงวนที่รัฐบาลไทยมีต่อคำพิพากษาศาลโลก 2505 ที่ยื่นต่อสหประชาชาติมาใช้ในการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 วันนี้เลย ไม่มีแม้แต่น้อย
ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผมศึกษาเรื่องนี้มาคำชี้แจงที่ได้รับฟังจากกระทรวงการต่างประเทศก็ดี นักกฎหมายใหญ่ที่กระทรวงการต่างประเทศวันนี้เชื่อถือก็ดี ส่วนใหญ่จะดูเบาข้อสงวนนี้ว่าไม่มีค่าทางกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะไม่มีธรรมนูญศาลโลกและ/หรือกฎบัตรสหประชาชาติข้อใดรองรับ อย่างมากก็เป็นได้แค่การแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองเท่านั้น นอกจากข้อสงวนแล้ว ความเห็นอื่นๆ ของ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุลส่วนใหญ่ รวมทั้งมุมมองต่อคำพิพากษาศาลโลก 2505 และยุทธวิธีการต่อสู้ในปัจจุบัน ก็ไม่ได้การเหลียวแลเท่าที่ควรเช่นกัน
ถ้าเรายืนยันเป็นมั่นเหมาะเสมือนท่องนะโมตัสสะไว้แต่แรกว่าเลยว่า ศาลโลกไม่อำนาจพิจารณาคดีนี้ ด้วยเหตุ 3 ประการที่นายวีรชัย พลาศรัยแถลงเองอย่างกล้าหาญ ไม่ลังเล แล้วใช้เอกสารข้อสงวนของบรรพบุรุษเมื่อปี 2505 ประกอบเสียตั้งแต่ปฐมบท ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ
ถึงมีปัญหาใด ประชาชนทั้งประเทศก็พร้อมที่จะร่วมกับรัฐบาลตั้งรับด้วยความสามัคคี
จนถึงบัดนี้แม้จะสายไปพอสมควร แต่ก็ยังไม่สายเกินไป ใช้ขั้นตอนแถลงด้วยวาจาแถลงในศาลเสียให้ชัดเจน และแถลงต่อสหประชาชาติโดยรัฐบาลควบคู่กันไป
แต่ที่รัฐบาลและนักการเมืองฝ่ายค้านจะไม่ทำ ก็เพราะไม่เชื่อ!
พวกเขาเชื่อและพยายามมอมเมาให้คนไทยเชื่อผิดๆ แต่เพียงว่าองค์การระหว่างประเทศเป็นรัฐบาลโลก เราเป็นสมาชิกตัวน้อยๆ จึงต้องปฏิบัติตามสถานเดียว ไม่อย่างนั้นจะอยู่ไม่ได้ การมีท่าทีแข็งกร้าวไม่ว่าจงใจแข็งกร้าวจริงหรือเป็นยุทธวิธีล้วนเป็นเรื่องต้องห้าม และที่สำคัญที่สุดคือเราไม่แม้แต่จะรับฟังมุมมองของบรรพบุรุษ
ถ้านักการเมืองและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศวันนี้ยังไม่เลิกเชื่ออย่างนั้น เห็นทีประชาชนต้องร่วมกันถีบให้ตก Phra Wihan Cliff ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย
เว้นแต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังติดอยู่ในมายาคติที่ถูกมอมเมา – ก็เป็นกรรมรวมหมู่ของแผ่นดิน!!
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ หัวหน้าคณะนักกฎหมายฝ่ายไทยในการต่อสู้คดีในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ICJ ที่เรามักเรียกกันว่าศาลโลก บอกในรายการโทรทัศน์ช่อง 9 เมื่อปลายปี 2555 ว่าแนวทางการต่อสู้ของประเทศไทยมีอยู่ 3 ประเด็น
1. ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีที่กัมพูชายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 เพราะประเทศไทยไม่ได้ประกาศปฏิญญารับรองเขตอำนาจศาลมากว่า 50 ปีแล้ว
2. นี่ไม่ใช่การร้องขอเพื่อตีความคำพิพากษาคดีเดิมที่พิพากษาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ตามธรรมนูญศาลมาตรา 60 แต่เนื้อหาเสมือนเป็นคดีใหม่ หรืออุทธรณ์คดีเดิมที่สิ้นสุดไปแล้ว
3. ประเทศไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาคดีเดิมครบถ้วนแล้ว กัมพูชาก็รับทราบแล้ว และไม่เคยโต้แย้งมายาวนานเกือบ 50 ปีเต็ม
ผมไม่ได้จด แต่จำได้ชัดเจน แม้ข้อความอาจจะไม่ตรงทุกตัวอักษร
ก็ถ้ายึดหลักการต่อสู้ 3 ประเด็นดังที่ว่านี้ ในการแถลงด้วยวาจาในขั้นตอนสุดท้ายในศาลวันที่ 15 - 19 เมษายน 2556 ก็ไปแถลงไล่เรียงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไปตามนี้ แสดงให้เห็นชัดเจนโดยปราศจากข้อสงสัยว่าเป็นคำแถลงไม่ยอมรับอำนาจศาล ไม่ใช่แถลงต่อสู้คดี โดยประกาศต่อศาลให้หนักแน่นชัดเจนไปเลยว่าภายใต้เงื่อนไขทั้ง 3 ประการที่ต่อสู้มาแต่ต้น ราชอาณาจักรไทยจะไม่ยอมรับคำตัดสินใดๆ ที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนราชอาณาจักรไทยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และจะไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินนั้นๆ อย่างเด็ดขาด
ย้ำนะครับ – ไปศาลเพื่อใช้สิทธิประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาล!
แม้ว่าสายไปมากแล้ว เพราะประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ต่อสู้ปฏิเสธเขตอำนาจศาล อย่างจริงจัง เสมือนไปต่อสู้คดีโดยยกประเด็นเขตอำนาจศาลมาเป็นหนึ่งในข้อต่อสู้เท่านั้น แต่ก็ยังไม่สายเกินไปหรอก
โอกาสสุดท้ายคือการแถลงด้วยวาจาวันที่ 15 – 19 เมษายน 2556 นี้
ICJ ที่เราชอบเรียกกันว่าศาลโลก ไม่ใช่ศาลยุติธรรมหรือศาลอื่นใดของประเทศไทยที่คนไทยทุกคนเกิดมาแล้วต้องอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาล การเป็นสมาชิกสหประชาชาติก็ไม่ได้หมายความว่ายอมรับเข้าไปอยู่ในเขตอำนาจศาลโดยอัตโนมัติ
ต้องประกาศปฏิญญายอมรับเขตอำนาจศาลก่อนนะครับ
ปฏิญญาแต่ละครั้งมีอายุ 10 ปี ประเทศไทยประกาศปฏิญญาครั้งสุดท้ายมาเมื่อปี 2492 หมดอายุเมื่อปี 2502 หลังกัมพูชายื่นฟ้องคดีปราสาทพระวิหารภาค 1 ไม่กี่เดือน
ครั้งนั้นเราจำเป็นต้องต่อสู้คดี เพราะขณะถูกฟ้องเรายังยอมรับเขตอำนาจศาล
แต่ ณ ปี 2554 เราไม่ได้รับเขตอำนาจศาลมาแล้วกว่า 50 ปี เราจะเข้าไปเสี่ยงต่อสู้คดีและยอมรับผลของคำพิพากษาทำไม?
นอกเหนือจากการแถลงด้วยวาจาต่อศาลในวันที่ 15 – 19 เมษายน 2556 แล้ว รัฐบาลโดยกระทรวงการต่างประเทศควรจะต้องแถลงต่อนานาอารยประเทศผ่านสหประชาชาติตามประเด็นดังกล่าวด้วย คือชี้แจงว่าประเทศไทยปฏิเสธอำนาจศาล จึงจะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาใดๆ ที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนราชอาณาจักรไทยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมอย่างเด็ดขาด
เช้าวันนี้ ผมจะใช้สิทธิหารือก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาตามนี้
และในการประชุมคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีท่านอาจารย์สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี เป็นประธาน ผมเป็นรองประธานคนที่ 1 ในวันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2556 ที่ห้อง 311 อาคารรัฐสภา 2 ก็มีวาระสำคัญพิจารณาเรื่องคดีปราสาทพระวิหารภาค 2 นี้ ผมก็จะเสนอให้เรียกร้องต่อรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศตามนี้
ในการประชุมอีก 3 วันข้างหน้า ได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาชี้แจงด้วย นอกจากนั้นยังได้เชิญ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล นักกฎหมายระหว่างประเทศอาวุโสและอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศผู้มีส่วนร่วมกับคดีปราสาทพระวิหารภาค 1 มาร่วมชี้แจงด้วย ท่านหลังได้ตอบรับด้วยวาจากับผมแล้ว
ท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลเห็นด้วยกับข้อหารือของผมตามแนวที่เขียนมาทั้งหมด
ท่านเองก็ได้เขียนไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2554 ว่า...
“การต่อสู้ครั้งนี้ ไทยจำเป็นต้องศึกษาจุดยืนของเราเองให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และแม่นยำ ยึดมั่นกับจุดยืนของตนโดยไม่หวั่นไหวกับคำให้การของคู่กรณีอันก่อให้เกิดความสับสนและสำคัญผิดในเนื้อหาและข้อเท็จจริง
“จุดสำคัญที่พึงกระทำในชั้นนี้คือ ไทยต้องคัดค้านอำนาจศาลในโอกาสแรกที่สามารถทำได้ การกล่าวแต่เพียงว่าเขตอำนาจของศาลไม่ครอบคลุมถึงคำขอของกัมพูชานั้นยังไม่เพียงพอ ไทยต้องยืนยันอย่างเป็นทางการว่าไทยคัดค้านอำนาจศาล เพราะไทยมิได้ยินยอมรับอำนาจศาลอีกเลยหลังจากขาดอายุไปแล้วเป็นเวลากว่า 50 ปี
“การไปปรากฏตัวที่ศาลแต่ละครั้ง ก็ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียวคือ คัดค้านอำนาจศาล มิใช่เพียงโต้แย้งว่าคำขอของกัมพูชาไม่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณา...”
ท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลจะตอบคำถามทุกประเด็นในวันนั้น
รวมทั้งประเด็นที่ว่าถ้าเราไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้วจะเกิดผลอย่างไร หรือไม่ และเราจะต้องเตรียมการรับมืออย่างไร
ข้ออ่อนอย่างยิ่งของประเทศไทยในการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารคือ เราดูเบาภูมิปัญญาบรรพบุรุษ เราไม่สานต่อและไม่ใช้การต่อสู้ของบรรพบุรุษในอดีตมาเป็นพื้นฐานของการต่อสู้วันนี้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับว่าเราไม่ใช้ข้อสงวนที่รัฐบาลไทยมีต่อคำพิพากษาศาลโลก 2505 ที่ยื่นต่อสหประชาชาติมาใช้ในการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 วันนี้เลย ไม่มีแม้แต่น้อย
ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผมศึกษาเรื่องนี้มาคำชี้แจงที่ได้รับฟังจากกระทรวงการต่างประเทศก็ดี นักกฎหมายใหญ่ที่กระทรวงการต่างประเทศวันนี้เชื่อถือก็ดี ส่วนใหญ่จะดูเบาข้อสงวนนี้ว่าไม่มีค่าทางกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะไม่มีธรรมนูญศาลโลกและ/หรือกฎบัตรสหประชาชาติข้อใดรองรับ อย่างมากก็เป็นได้แค่การแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองเท่านั้น นอกจากข้อสงวนแล้ว ความเห็นอื่นๆ ของ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุลส่วนใหญ่ รวมทั้งมุมมองต่อคำพิพากษาศาลโลก 2505 และยุทธวิธีการต่อสู้ในปัจจุบัน ก็ไม่ได้การเหลียวแลเท่าที่ควรเช่นกัน
ถ้าเรายืนยันเป็นมั่นเหมาะเสมือนท่องนะโมตัสสะไว้แต่แรกว่าเลยว่า ศาลโลกไม่อำนาจพิจารณาคดีนี้ ด้วยเหตุ 3 ประการที่นายวีรชัย พลาศรัยแถลงเองอย่างกล้าหาญ ไม่ลังเล แล้วใช้เอกสารข้อสงวนของบรรพบุรุษเมื่อปี 2505 ประกอบเสียตั้งแต่ปฐมบท ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ
ถึงมีปัญหาใด ประชาชนทั้งประเทศก็พร้อมที่จะร่วมกับรัฐบาลตั้งรับด้วยความสามัคคี
จนถึงบัดนี้แม้จะสายไปพอสมควร แต่ก็ยังไม่สายเกินไป ใช้ขั้นตอนแถลงด้วยวาจาแถลงในศาลเสียให้ชัดเจน และแถลงต่อสหประชาชาติโดยรัฐบาลควบคู่กันไป
แต่ที่รัฐบาลและนักการเมืองฝ่ายค้านจะไม่ทำ ก็เพราะไม่เชื่อ!
พวกเขาเชื่อและพยายามมอมเมาให้คนไทยเชื่อผิดๆ แต่เพียงว่าองค์การระหว่างประเทศเป็นรัฐบาลโลก เราเป็นสมาชิกตัวน้อยๆ จึงต้องปฏิบัติตามสถานเดียว ไม่อย่างนั้นจะอยู่ไม่ได้ การมีท่าทีแข็งกร้าวไม่ว่าจงใจแข็งกร้าวจริงหรือเป็นยุทธวิธีล้วนเป็นเรื่องต้องห้าม และที่สำคัญที่สุดคือเราไม่แม้แต่จะรับฟังมุมมองของบรรพบุรุษ
ถ้านักการเมืองและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศวันนี้ยังไม่เลิกเชื่ออย่างนั้น เห็นทีประชาชนต้องร่วมกันถีบให้ตก Phra Wihan Cliff ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย
เว้นแต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังติดอยู่ในมายาคติที่ถูกมอมเมา – ก็เป็นกรรมรวมหมู่ของแผ่นดิน!!