ASTVผู้จัดการรายวัน - ชาวนาโล่ง กองทุนภัยพิบัติเคาะเบี้ยประกันภัยข้าวเท่าเดิม 120 บาทต่อไร จ่อขยายความคุ้มครอง รวมข้าวนาปรังป้องกันความเสี่ยงจากภัยแล้ง คาดได้ข้อสรุปก่อนเดือนพฤษภาคมนี้ ธ.ก.ส. ตั้งเป้าชาวนาร่วมโครงการแตะ 2 ล้านราย
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทุนฯอยู่ระหว่างการนำเสนอเรื่องการคุ้มครองข้าวนาปี และขยายคุ้มครองข้าวนาปรัง ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้รมว.คลังนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติเป็นลำดับต่อไป โดยจะเร่งดำเนินการเสนอให้ครม.อนุมัติให้ทันฤดูกาลเพาะปลูกในพ.ค.นี้ ส่วนจะขยายความคุ้มครองไปยังพืชอื่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ณ ขณะนี้ให้น้ำหนักกับประกันข้าวเป็นหลัก
ทั้งนี้เนื้อหาสาระที่ได้นำเสนอคือ ให้คงอัตราเบี้ยประกันภัยข้าวของแต่ละรอบไว้ที่อัตราเดิมคือ 120 บาทต่อไร่ ซึ่งเท่ากับปีที่ผ่านมา ในจำนวนเบี้ยดังกล่าวเกษตรกรจ่ายเบี้ยเพียง50 บาทต่อไร่ในกรณีที่เป็นลูกค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) หากไม่เป็นลูกค้าธนาคารเกษตรกรต้องจ่ายเบี้ย 60 บาทต่อไร่ ส่วนที่เหลืออีก 60 บาทรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเบี้ยให้พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 9 บาท รวมเบ็ดเสร็จ 1 ไร่ เบี้ย 129 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการจ่ายเบี้ยประกันนั้นเกษตรกร ต้องจ่ายตามฤดูกาลผลิต หากทำข้าวนาปี และนาปรัง ก็ต้องจ่ายเบี้ย 2 ครั้ง
สำหรับความคุ้มครองนั้น ยังให้ความคุ้มครอง 7 ภัยเหมือนเดิม ประกอบด้วย ลมพายุ,ลูกเห็บ,ภัยแล้ง,อากาศหนาว,ฝนทิ้งช่วง,ศัตรูพืช และ โรคระบาด ในกรณีที่ค่าสินไหมนั้นหากเป็นภัยที่เกิดจากภันธรรมชาติ จะได้รับค่าสินไหม 1,111 บาทต่อไร่ หากเกิดจากศัตรูพืชและโรคระบาด จะได้รับค่าสินไหม 555 บาท ต่อไร่
ด้านนายศิลปชัย ศิริสมรรถการ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ประกันภัยวิวัฒน์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า อัตราเบี้ยดังกล่าวถือว่ายอมรับได้ เพราะกองทุนฯรับความเสี่ยงเอาไว้90% อีก10% บริษัทประกันเป็นผู้รับความเสี่ยง ณ ขณะนี้บริษัทยังเป็นผู้รับประกันเหมือนเดิม
ขณะที่นายเกตโกมล ไพรทวีพวศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เปิดเผยว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายการรับประกันภัยนาข้าวปี 2556 ที่ 258 ล้านบาท หรือประมาณ 2 ล้านไร่ทั่วประเทศ จากช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรให้ความสนใจในการกระจายความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติมากขึ้นหลังจากที่ภาครัฐได้ให้กองทุนภัยพิบัติฯขยายความคุ้มครองไปถึงข้าวนาปีเมื่อช่วงปี 2555
ดังนั้น แนวโน้มการเข้าร่วมโครงการรับประกันนาข้าวของลูกค้าธกส.ในปีนี้ เชื่อว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงปีที่ผ่านมาแน่นอน ล่าสุด กระทรวงการคลังมีแผนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาการเปิดรับประกันภัยข้าวนาปีและข้าวนาปรังประจำปี 2556 ภายในเร็ว ๆ นี้
ทั้งนี้ หากมีการเห็นชอบอย่างเป็นทางการ โอกาสที่เกษตรกรหันมาซื้อความคุ้มครองข้าวมากขึ้นมีแน่ เพราะภาครัฐมีการเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนของค่าเบี้ยที่เรียกเก็บด้วย โดยคงอัตราเบี้ยเดิมที่ 129.47 บาทต่อไร่ โดยภาครัฐจะแบกรับภาระค่าเบี้ยประมาณ 69.47 บาทต่อไร่ส่วนที่เหลืออีก 60 บาทต่อไร่เกษตรกรจะเป็นผู้แบกรับภาระ
"ผลการรับประกันนาข้าวช่วงปีที่ผ่านมา มียอดเบี้ยประมาณ 112.48 ล้านบาท คิดเป็น 872,365 ไร่ หรือ 45,718 ราย โดยมียอดเคลมสินไหมประมาณ 64 ล้านบาทหรือคิดเป็น 6.7%ของเนื้อที่ที่เข้ารับประกัน ส่วนสินเชื่อรวมในปัจจุบันมีประมาณ 800,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเขื่อเกษตรกรนาข้าวประมาณ 147,000 ล้านบาท และสินเชื่อเกษตรข้าวโพดประมาณ 19,000 ล้านบาท
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทุนฯอยู่ระหว่างการนำเสนอเรื่องการคุ้มครองข้าวนาปี และขยายคุ้มครองข้าวนาปรัง ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้รมว.คลังนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติเป็นลำดับต่อไป โดยจะเร่งดำเนินการเสนอให้ครม.อนุมัติให้ทันฤดูกาลเพาะปลูกในพ.ค.นี้ ส่วนจะขยายความคุ้มครองไปยังพืชอื่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ณ ขณะนี้ให้น้ำหนักกับประกันข้าวเป็นหลัก
ทั้งนี้เนื้อหาสาระที่ได้นำเสนอคือ ให้คงอัตราเบี้ยประกันภัยข้าวของแต่ละรอบไว้ที่อัตราเดิมคือ 120 บาทต่อไร่ ซึ่งเท่ากับปีที่ผ่านมา ในจำนวนเบี้ยดังกล่าวเกษตรกรจ่ายเบี้ยเพียง50 บาทต่อไร่ในกรณีที่เป็นลูกค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) หากไม่เป็นลูกค้าธนาคารเกษตรกรต้องจ่ายเบี้ย 60 บาทต่อไร่ ส่วนที่เหลืออีก 60 บาทรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเบี้ยให้พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 9 บาท รวมเบ็ดเสร็จ 1 ไร่ เบี้ย 129 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการจ่ายเบี้ยประกันนั้นเกษตรกร ต้องจ่ายตามฤดูกาลผลิต หากทำข้าวนาปี และนาปรัง ก็ต้องจ่ายเบี้ย 2 ครั้ง
สำหรับความคุ้มครองนั้น ยังให้ความคุ้มครอง 7 ภัยเหมือนเดิม ประกอบด้วย ลมพายุ,ลูกเห็บ,ภัยแล้ง,อากาศหนาว,ฝนทิ้งช่วง,ศัตรูพืช และ โรคระบาด ในกรณีที่ค่าสินไหมนั้นหากเป็นภัยที่เกิดจากภันธรรมชาติ จะได้รับค่าสินไหม 1,111 บาทต่อไร่ หากเกิดจากศัตรูพืชและโรคระบาด จะได้รับค่าสินไหม 555 บาท ต่อไร่
ด้านนายศิลปชัย ศิริสมรรถการ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ประกันภัยวิวัฒน์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า อัตราเบี้ยดังกล่าวถือว่ายอมรับได้ เพราะกองทุนฯรับความเสี่ยงเอาไว้90% อีก10% บริษัทประกันเป็นผู้รับความเสี่ยง ณ ขณะนี้บริษัทยังเป็นผู้รับประกันเหมือนเดิม
ขณะที่นายเกตโกมล ไพรทวีพวศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เปิดเผยว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายการรับประกันภัยนาข้าวปี 2556 ที่ 258 ล้านบาท หรือประมาณ 2 ล้านไร่ทั่วประเทศ จากช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรให้ความสนใจในการกระจายความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติมากขึ้นหลังจากที่ภาครัฐได้ให้กองทุนภัยพิบัติฯขยายความคุ้มครองไปถึงข้าวนาปีเมื่อช่วงปี 2555
ดังนั้น แนวโน้มการเข้าร่วมโครงการรับประกันนาข้าวของลูกค้าธกส.ในปีนี้ เชื่อว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงปีที่ผ่านมาแน่นอน ล่าสุด กระทรวงการคลังมีแผนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาการเปิดรับประกันภัยข้าวนาปีและข้าวนาปรังประจำปี 2556 ภายในเร็ว ๆ นี้
ทั้งนี้ หากมีการเห็นชอบอย่างเป็นทางการ โอกาสที่เกษตรกรหันมาซื้อความคุ้มครองข้าวมากขึ้นมีแน่ เพราะภาครัฐมีการเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนของค่าเบี้ยที่เรียกเก็บด้วย โดยคงอัตราเบี้ยเดิมที่ 129.47 บาทต่อไร่ โดยภาครัฐจะแบกรับภาระค่าเบี้ยประมาณ 69.47 บาทต่อไร่ส่วนที่เหลืออีก 60 บาทต่อไร่เกษตรกรจะเป็นผู้แบกรับภาระ
"ผลการรับประกันนาข้าวช่วงปีที่ผ่านมา มียอดเบี้ยประมาณ 112.48 ล้านบาท คิดเป็น 872,365 ไร่ หรือ 45,718 ราย โดยมียอดเคลมสินไหมประมาณ 64 ล้านบาทหรือคิดเป็น 6.7%ของเนื้อที่ที่เข้ารับประกัน ส่วนสินเชื่อรวมในปัจจุบันมีประมาณ 800,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเขื่อเกษตรกรนาข้าวประมาณ 147,000 ล้านบาท และสินเชื่อเกษตรข้าวโพดประมาณ 19,000 ล้านบาท