"คณิตศาสตร์ทางการเมือง" เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ !!!
ที่ต้องมาทบทวนกันเรื่อง "คณิตศาสตร์ทางการเมือง" กันอีกครั้ง ก็เพราะว่าอีกไม่นานข้างหน้านี้รัฐบาลก็เตรียมจัดให้มีการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ประกอบกับในอีกด้านหนึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านได้เขียนจดหมายเปิดผนึกจากใจถึงคนไทยทั้งประเทศลงในเวปไซต์เฟสบุ๊คของตัวเองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ด้วยการเชิญชวนประชาชนเพื่อ...
"ล้มการทำประชามติที่กำลังจะเกิดขึ้น” !!!
ก่อนที่จะมาไล่เรียงกันว่า จะมีความเป็นไปได้แค่ไหนที่รัฐบาลจะผ่านการทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือฝ่ายค้านจะล้มการทำประชามตินั้นจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดในทาง "คณิตศาสตร์ทางการเมือง"
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 165 วรรคหนึ่งและสอง ซึ่งระบุกรณี (1) การทำประชามติโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก็ดี หรือ (2) ตามกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติก็ดี ได้กำหนดเอาไว้ในมาตรา 165 วรรคสามว่า:
"การออกเสียงประชามติตาม (1) หรือ (2) อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หรือ เป็นการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ"
เฉพาะในเรื่องนี้ก็จะเห็นได้ว่าฝ่ายรัฐบาลสามารถดิ้นได้ว่าการทำประชามติครั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้จะต้องการ "ข้อยุติ" ที่มีข้อผูกพัน หรือต้องการเพียงแค่ "คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี"ที่ไม่ผูกพันใดๆก็ได้
จากรัฐธรรมนูญมาตรานี้เองหากรัฐบาลต้องการ "ข้อยุติ" ก็ต้องใช้เสียงข้างมากของ "ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ" ซึ่งหมายความว่าหากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศมีประมาณ 46.92 ล้านคน หากต้องการข้อยุติต้องใช้เสียงข้างมากกว่า 23.46 ล้านคน
จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้ให้ความสำคัญในเรื่องการทำประชามติเพื่อให้ได้ "ข้อยุติ" ต้องได้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่ใช่เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ์
แต่หากรัฐบาลเห็นว่ากรณีนี้อาจจะยากจนถึงหืดขึ้นคอ จึงเลี่ยงไปใช้เพียงแค่ "คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี" ซึ่งจะไม่มีผลใดๆทั้งสิ้นกับการทำประชามติ และกลายเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งในการเดินหน้าเพื่อสร้างความชอบธรรมของรัฐบาลต่อไป
ปัญหามีอยู่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาจากการทำประชามติของคนไทยทั้งประเทศ การจะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทั้งฉบับก็ควรจะขอ "ข้อยุติ" จากประชาชนชาวไทยที่ลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ใช่ขอ "คำปรึกษา"ให้กับคณะรัฐมนตรีแบบไม่ผูกพันเพื่อให้รัฐสภาไปฉีกรัฐธรรมนูญตามใจชอบในภายหลัง
แต่สมมุติว่ารัฐบาลคิดอยากจะได้แค่ "คำปรึกษา"จากการลงประชามติให้กับรัฐบาล เพื่อไปใช้อำนาจของสมาชิกรัฐสภา(ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน)ไปยกเลิกรัฐธรรมนูญ ก็คงต้องเสี่ยงถูกยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกรอบอยู่ดีแน่นอน
ทั้งนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 ในมาตร 9 ได้บัญญัติกติกาสำคัญดังนี้
"มาตรา 9 การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงในการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ
การออกเสียงตามที่มีกฎหมายบัญญัติตามมาตรา 165 (2) ของรัฐธรรมนูญให้ถือจำนวนคะแนนเสียงตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ แต่ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติจำนวนคะแนนเสียงไว้ให้นำความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
จะเห็นได้ว่าการลงประชามติเพื่อให้ "คำปรึกษา" แก่คณะรัฐมนตรี ให้ถือเสียงข้างมากของ "ผู้มาออกเสียง" โดยไม่ต้องสนใจว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิ์เกินครึ่งหนึ่งหรือไม่ เพราะถือว่า "คำปรึกษา" คณะรัฐมนตรีจะทำตามหรือไม่ก็ย่อมได้
ตรงกันข้ามกับการลงประชามติเพื่อ "มีข้อยุติ" นั้นจะต้องผ่านเกณฑ์ 2 ด่านดังนี้
ด่านแรก คือต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง หมายความว่า สมมุติผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีทั้งสิ้น 46.92 ล้านคน ต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างน้อย 23.46 ล้านคนขึ้นไป
เมื่อผ่านด่านแรก แล้วจึงค่อยผ่านด่านต่อไป
ด่านที่สอง คือต้องมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียง
คราวนี้มาพิจารณาคณิตศาสตร์ทางการเมืองโดยอาศัยฐานการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พบตัวเลขที่น่าพิจารณาดังนี้
มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35.20 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 75.03 จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46.92 ล้านคน
ทีนี้ลองพิจารณาดูว่าพรรคการเมืองที่ประกาศอยากให้มีการเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้และมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่หมด ฝ่ายรัฐบาล ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (มีคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ 15.74 ล้านคะแนน), พรรคชาติไทยพัฒนา (0.91 ล้านคะแนน), พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (0.49 ล้านคะแนน), พรรคพลังชล (0.18 ล้านคะแนน), ดังนั้นหากฝ่ายรัฐบาลมีเอกภาพก็น่าจะมีเสียงในอยู่ในมือรวมทั้งสิ้น 17.22 ล้านคะแนน
ส่วนพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีแนวโน้มจะเทใจให้กับฝ่ายรัฐบาลประกอบไปด้วยพรรคภูมิใจไทย (1.28 ล้านคะแนน), พรรคมาตุภูมิ (0.25 ล้านคะแนน) รวม 2 พรรคการเมืองนี้ได้อีกประมาณ 1.53 ล้านคะแนน
ฝ่ายที่มีแนวโน้มต้องการฉีกรัฐธรรมนูญแล้วร่างใหม่หากรวมฐานเสียงจากสองกลุ่มข้างต้นนี้ก็รวมกันได้ทั้งสิ้น 18.75 ล้านคะแนน ก็ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่ต้องการคือ 23.46 ล้านคะแนน ยังขาดไปอีกประมาณ 4.71 ล้านคะแนน
คำถามคือฝ่ายที่อยากฉีกรัฐธรรมนูญจะหาคะแนนมาจากที่ไหน !?
1.วิธีแรกคือเชิญชวนให้พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีฐานเสียงจาก ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 11.43 ล้านคะแนน "ไปใช้สิทธิ์ลงประชามติ" แม้สมมุติประชาธิปัตย์จะ(แสดงออก)ไม่เห็นชอบกับการฉีกรัฐธรรมนูญ แต่จะทำให้มีผู้ไปใช้สิทธิ์รวมกันกับฝ่ายรัฐบาลที่มีอยู่ 18.75 ล้านคะแนน ให้กลายเป็น 30.18 ล้านคะแนน ซึ่งจะเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ต้องมาใช้สิทธิ์อย่างน้อย 23.46 ล้านคะแนน โดยทันที
ดังนั้นถ้าพรรคประชาธิปัตย์เชิญชวนประชาชนไปใช้สิทธิ์ลงประชามติต่อให้ไปลงคะแนนไม่เห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้ฝ่ายรัฐบาลได้ผ่านเกณฑ์ 2 ด่านได้พร้อมๆกันโดยปริยาย คือ 1. ได้มีผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเกินกว่า 23.46 ล้านคนขึ้นไป เกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง และ 2. ฝ่ายรัฐบาลมี 18.75 ล้านคะแนนชนะเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียง
หมายความว่าภายใต้กติกานี้ หากประชาธิปัตย์ร่วมวงไปกับการลงประชามติครั้งนี้ ก็เท่ากับเป็นการเสริมความชอบธรรมในการฉีกรัฐธรรมนูญไปโดยปริยาย หรืออีกนัยหนึ่งก็แปลว่าพรรคประชาธิปัตย์อาจเล็งเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นประโยชน์กับนักการเมืองทุกฝ่ายรวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ด้วย
2. ช่วงชิงคะแนนให้ได้ 4.71 ล้านคะแนนจากส่วนที่เหลือ อีก 5.02 ล้านคะแนนของผู้ที่เคยมาใช้สิทธิ์และไม่ได้อยู่กับประชาธิปัตย์หรือฝ่ายรัฐบาล ซึ่งประกอบไปด้วยฐานคะแนนที่สำคัญได้แก่ 1. พรรครักประเทศไทย (ชูวิทย์ ) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1 ล้านคะแนน 2. คนเคยโหวตโน ช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนซึ่งมีอยู่ประมาณ 0.96 ล้านคะแนน 3. คนที่เป็นคะแนนบัตรเสีย 1.73 ล้านคะแนน (ซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นพวกตั้งใจจะไปโหวตโนแต่ถูกนับว่าเป็นบัตรเสีย) 4. พวกที่เคยเลือกพรรคเล็กๆหลายพรรคแต่ไม่มีใครได้เป็น ส.ส.รวมอีกประมาณ 1.33 ล้านคะแนน
ดูจากองค์ประกอบหากพรรคประชาธิปัตย์มีเอกภาพและรณรงค์ให้คนไป "ไม่ใช้สิทธิ์"ลงประชามติแล้ว พรรคเพื่อไทยน่าจะดึงฐานเสียงส่วนนี้ได้ยากมากกว่าฝ่ายประชาธิปัตย์
3. ช่วงชิงคะแนนจากฐานเสียงให้ได้ 4.71 ล้านคะแนน จาก “คนนอนหลับทับสิทธิ์” 11.72 ล้านคะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24.97 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง เมื่อมาดูสถิติย้อนหลังก็จะพบว่ายอดคนนอนหลับทับสิทธิ์ค่อนข้างคงที่และเปลี่ยนแปลงไม่มากในการเลือกตั้งทั่วไปในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาดังนี้
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 มีคนไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 12.85 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30.05 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 มีคนไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 12.23 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27.44 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง
การเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีคนไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 11.21 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 25.48 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง
จะเห็นได้ว่ากลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่คือไม่สนใจ ไม่มีเวลา หรือ ไม่สามารถจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งอยู่ในระดับ 11 – 13 ล้านคน จึงเป็นเรื่องยากถึงยากมากที่หวังว่าจะให้กลุ่มนี้มาใช้สิทธิ์ 4 – 5 ล้านคน เพื่อให้ลดคนกลุ่มนี้ให้เหลือประมาณ 7 – 8 ล้านคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่ใช่การเลือกตั้งแบบปกติ หรือ ไม่ใช่การเลือกตั้งทั่วไป แรงจูงใจของประชาชนที่ไปใช้สิทธิ์ก็จะน้อยลง การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การเสนอนโยบายประชานิยม และการแข่งขันเดิมพันแบบทุ่มสุดตัวของนักการเมืองก็น้อยลง ส่งผลทำให้คนที่ตัดสินใจไม่ไปใช้สิทธิ์จะเพิ่มสูงมากกว่านั้นอีก ดังนี้
การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2549 ที่พรรคฝ่ายค้านประท้วงด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ปรากฏว่ามีผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์สูงขึ้นเป็น 15.81 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 35.46 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง ยังไม่นับว่าในจำนวนคนที่ไปใช้สิทธิ์ก็มีคนไปใช้สิทธิ์กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน (โหวตโน) สูงถึง 8.39 ล้านคน และมีคนตั้งใจทำบัตรเสียสูงถึง 1.77 ล้านคน
การลงประชามติให้ความเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ปรากฏว่ามีผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสูงถึง 19.11 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 42.39 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
ด้วยเหตุผลนี้ดูเหมือนว่ากลุ่มทีต้องการให้มีการฉีกรัฐธรรมนูญและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของพรรคเพื่อไทยจะกังวลมากที่สุดที่พรรคประชาธิปัตย์จะรณรงค์ให้คน “ไม่ไปใช้สิทธิ์” เป็นอย่างมาก
ถึงขนาดมีการแถลงข่าวออกมาเป็นเรื่องเป็นราวเพื่อ “ขู่” ว่าการรณรงค์ให้ประชาชนไม่ไปใช้สิทธิ์เป็นความผิดทางกฎหมาย
ความจริงแล้วพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2552 “ไม่ได้มีข้อห้ามในการรณรงค์เพื่อให้คนไม่ต้องไปใช้สิทธิ์” อันเป็นสิทธิ์ของประชาชนที่จะสามารถแสดงสิทธิ์นั้นได้ตามกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่ “นับเป็นข้อยุติที่มีความหมายและกฎหมายได้บัญญัติรองรับเอาไว้ด้วย”
กฎหมายมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2552 จึงห้ามเฉพาะ การซื้อเสียง การหลอกลวง การบังคับ การขู่เข็ญ การใช้อิทธิพลคุกคาม การขัดขวาง เท่านั้น ไม่ได้มีข้อใดห้ามการรณรงค์เลยแม้แต่น้อย
คงเหลือแต่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ประกาศเชิญชวนประชาชนไปล้มหรือคว่ำการทำประชามตินั้น ยังไม่มีความชัดเจนและยังอ้อมแอ้มอยู่ว่าต้องการให้ประชาชนทำอะไร ระหว่างไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วกากบาทไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ต้องไปใช้สิทธิ์เพื่อประท้วงการทำประชามติที่กำลังจะเกิดขึ้น?
เพราะถ้ายิ่งคลุมเครือฐานเสียงของประชาชนจะแตกเป็นหลายกลุ่มยิ่งกว่าเดิม และจะยิ่งสร้างความชอบธรรมให้การลงประชามติเห็นชอบให้ฉีกรัฐธรรมนูญนำโดยพรรคเพื่อไทยให้คะแนนทิ้งห่างมากขึ้นไปอีก หรือแม้แต่เชิญชวนประชาชนให้ไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนล้มรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังเป็นการสร้างความชอบธรรมในผลลัพธ์ของการลงประชามติเช่นกัน
สรุปว่าการขัดขวางการล้มรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วร่างฉบับใหม่จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแปรที่สำคัญ หากคำนวณตามคณิตศาสตร์ทางการเมืองแล้วการรณรงค์ให้ประชาชน “ไม่ไปใช้สิทธิ์” มีโอกาสขัดขวางการฉีกรัฐธรรมนูญได้มากกว่าวิธีอื่น
เว้นเสียแต่ว่า...ลึกๆ แล้วพรรคประชาธิปัตย์อยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนกัน เพราะเล็งเห็นว่านักการเมืองที่เป็นพวกตัวเองจะได้ประโยชน์ไปด้วย ก็เชิญเล่นละครชวนประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วกากบาทในช่อง “ไม่เห็นชอบ” กันให้มากๆ ก็แล้วกัน!!!!
ที่ต้องมาทบทวนกันเรื่อง "คณิตศาสตร์ทางการเมือง" กันอีกครั้ง ก็เพราะว่าอีกไม่นานข้างหน้านี้รัฐบาลก็เตรียมจัดให้มีการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ประกอบกับในอีกด้านหนึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านได้เขียนจดหมายเปิดผนึกจากใจถึงคนไทยทั้งประเทศลงในเวปไซต์เฟสบุ๊คของตัวเองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ด้วยการเชิญชวนประชาชนเพื่อ...
"ล้มการทำประชามติที่กำลังจะเกิดขึ้น” !!!
ก่อนที่จะมาไล่เรียงกันว่า จะมีความเป็นไปได้แค่ไหนที่รัฐบาลจะผ่านการทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือฝ่ายค้านจะล้มการทำประชามตินั้นจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดในทาง "คณิตศาสตร์ทางการเมือง"
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 165 วรรคหนึ่งและสอง ซึ่งระบุกรณี (1) การทำประชามติโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก็ดี หรือ (2) ตามกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติก็ดี ได้กำหนดเอาไว้ในมาตรา 165 วรรคสามว่า:
"การออกเสียงประชามติตาม (1) หรือ (2) อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หรือ เป็นการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ"
เฉพาะในเรื่องนี้ก็จะเห็นได้ว่าฝ่ายรัฐบาลสามารถดิ้นได้ว่าการทำประชามติครั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้จะต้องการ "ข้อยุติ" ที่มีข้อผูกพัน หรือต้องการเพียงแค่ "คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี"ที่ไม่ผูกพันใดๆก็ได้
จากรัฐธรรมนูญมาตรานี้เองหากรัฐบาลต้องการ "ข้อยุติ" ก็ต้องใช้เสียงข้างมากของ "ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ" ซึ่งหมายความว่าหากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศมีประมาณ 46.92 ล้านคน หากต้องการข้อยุติต้องใช้เสียงข้างมากกว่า 23.46 ล้านคน
จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้ให้ความสำคัญในเรื่องการทำประชามติเพื่อให้ได้ "ข้อยุติ" ต้องได้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่ใช่เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ์
แต่หากรัฐบาลเห็นว่ากรณีนี้อาจจะยากจนถึงหืดขึ้นคอ จึงเลี่ยงไปใช้เพียงแค่ "คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี" ซึ่งจะไม่มีผลใดๆทั้งสิ้นกับการทำประชามติ และกลายเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งในการเดินหน้าเพื่อสร้างความชอบธรรมของรัฐบาลต่อไป
ปัญหามีอยู่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาจากการทำประชามติของคนไทยทั้งประเทศ การจะยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทั้งฉบับก็ควรจะขอ "ข้อยุติ" จากประชาชนชาวไทยที่ลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ใช่ขอ "คำปรึกษา"ให้กับคณะรัฐมนตรีแบบไม่ผูกพันเพื่อให้รัฐสภาไปฉีกรัฐธรรมนูญตามใจชอบในภายหลัง
แต่สมมุติว่ารัฐบาลคิดอยากจะได้แค่ "คำปรึกษา"จากการลงประชามติให้กับรัฐบาล เพื่อไปใช้อำนาจของสมาชิกรัฐสภา(ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน)ไปยกเลิกรัฐธรรมนูญ ก็คงต้องเสี่ยงถูกยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกรอบอยู่ดีแน่นอน
ทั้งนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 ในมาตร 9 ได้บัญญัติกติกาสำคัญดังนี้
"มาตรา 9 การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงในการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ
การออกเสียงตามที่มีกฎหมายบัญญัติตามมาตรา 165 (2) ของรัฐธรรมนูญให้ถือจำนวนคะแนนเสียงตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ แต่ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติจำนวนคะแนนเสียงไว้ให้นำความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
จะเห็นได้ว่าการลงประชามติเพื่อให้ "คำปรึกษา" แก่คณะรัฐมนตรี ให้ถือเสียงข้างมากของ "ผู้มาออกเสียง" โดยไม่ต้องสนใจว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิ์เกินครึ่งหนึ่งหรือไม่ เพราะถือว่า "คำปรึกษา" คณะรัฐมนตรีจะทำตามหรือไม่ก็ย่อมได้
ตรงกันข้ามกับการลงประชามติเพื่อ "มีข้อยุติ" นั้นจะต้องผ่านเกณฑ์ 2 ด่านดังนี้
ด่านแรก คือต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง หมายความว่า สมมุติผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีทั้งสิ้น 46.92 ล้านคน ต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างน้อย 23.46 ล้านคนขึ้นไป
เมื่อผ่านด่านแรก แล้วจึงค่อยผ่านด่านต่อไป
ด่านที่สอง คือต้องมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียง
คราวนี้มาพิจารณาคณิตศาสตร์ทางการเมืองโดยอาศัยฐานการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พบตัวเลขที่น่าพิจารณาดังนี้
มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35.20 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 75.03 จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46.92 ล้านคน
ทีนี้ลองพิจารณาดูว่าพรรคการเมืองที่ประกาศอยากให้มีการเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้และมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่หมด ฝ่ายรัฐบาล ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (มีคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ 15.74 ล้านคะแนน), พรรคชาติไทยพัฒนา (0.91 ล้านคะแนน), พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (0.49 ล้านคะแนน), พรรคพลังชล (0.18 ล้านคะแนน), ดังนั้นหากฝ่ายรัฐบาลมีเอกภาพก็น่าจะมีเสียงในอยู่ในมือรวมทั้งสิ้น 17.22 ล้านคะแนน
ส่วนพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีแนวโน้มจะเทใจให้กับฝ่ายรัฐบาลประกอบไปด้วยพรรคภูมิใจไทย (1.28 ล้านคะแนน), พรรคมาตุภูมิ (0.25 ล้านคะแนน) รวม 2 พรรคการเมืองนี้ได้อีกประมาณ 1.53 ล้านคะแนน
ฝ่ายที่มีแนวโน้มต้องการฉีกรัฐธรรมนูญแล้วร่างใหม่หากรวมฐานเสียงจากสองกลุ่มข้างต้นนี้ก็รวมกันได้ทั้งสิ้น 18.75 ล้านคะแนน ก็ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่ต้องการคือ 23.46 ล้านคะแนน ยังขาดไปอีกประมาณ 4.71 ล้านคะแนน
คำถามคือฝ่ายที่อยากฉีกรัฐธรรมนูญจะหาคะแนนมาจากที่ไหน !?
1.วิธีแรกคือเชิญชวนให้พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีฐานเสียงจาก ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 11.43 ล้านคะแนน "ไปใช้สิทธิ์ลงประชามติ" แม้สมมุติประชาธิปัตย์จะ(แสดงออก)ไม่เห็นชอบกับการฉีกรัฐธรรมนูญ แต่จะทำให้มีผู้ไปใช้สิทธิ์รวมกันกับฝ่ายรัฐบาลที่มีอยู่ 18.75 ล้านคะแนน ให้กลายเป็น 30.18 ล้านคะแนน ซึ่งจะเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ต้องมาใช้สิทธิ์อย่างน้อย 23.46 ล้านคะแนน โดยทันที
ดังนั้นถ้าพรรคประชาธิปัตย์เชิญชวนประชาชนไปใช้สิทธิ์ลงประชามติต่อให้ไปลงคะแนนไม่เห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้ฝ่ายรัฐบาลได้ผ่านเกณฑ์ 2 ด่านได้พร้อมๆกันโดยปริยาย คือ 1. ได้มีผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเกินกว่า 23.46 ล้านคนขึ้นไป เกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง และ 2. ฝ่ายรัฐบาลมี 18.75 ล้านคะแนนชนะเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียง
หมายความว่าภายใต้กติกานี้ หากประชาธิปัตย์ร่วมวงไปกับการลงประชามติครั้งนี้ ก็เท่ากับเป็นการเสริมความชอบธรรมในการฉีกรัฐธรรมนูญไปโดยปริยาย หรืออีกนัยหนึ่งก็แปลว่าพรรคประชาธิปัตย์อาจเล็งเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นประโยชน์กับนักการเมืองทุกฝ่ายรวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ด้วย
2. ช่วงชิงคะแนนให้ได้ 4.71 ล้านคะแนนจากส่วนที่เหลือ อีก 5.02 ล้านคะแนนของผู้ที่เคยมาใช้สิทธิ์และไม่ได้อยู่กับประชาธิปัตย์หรือฝ่ายรัฐบาล ซึ่งประกอบไปด้วยฐานคะแนนที่สำคัญได้แก่ 1. พรรครักประเทศไทย (ชูวิทย์ ) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1 ล้านคะแนน 2. คนเคยโหวตโน ช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนซึ่งมีอยู่ประมาณ 0.96 ล้านคะแนน 3. คนที่เป็นคะแนนบัตรเสีย 1.73 ล้านคะแนน (ซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นพวกตั้งใจจะไปโหวตโนแต่ถูกนับว่าเป็นบัตรเสีย) 4. พวกที่เคยเลือกพรรคเล็กๆหลายพรรคแต่ไม่มีใครได้เป็น ส.ส.รวมอีกประมาณ 1.33 ล้านคะแนน
ดูจากองค์ประกอบหากพรรคประชาธิปัตย์มีเอกภาพและรณรงค์ให้คนไป "ไม่ใช้สิทธิ์"ลงประชามติแล้ว พรรคเพื่อไทยน่าจะดึงฐานเสียงส่วนนี้ได้ยากมากกว่าฝ่ายประชาธิปัตย์
3. ช่วงชิงคะแนนจากฐานเสียงให้ได้ 4.71 ล้านคะแนน จาก “คนนอนหลับทับสิทธิ์” 11.72 ล้านคะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24.97 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง เมื่อมาดูสถิติย้อนหลังก็จะพบว่ายอดคนนอนหลับทับสิทธิ์ค่อนข้างคงที่และเปลี่ยนแปลงไม่มากในการเลือกตั้งทั่วไปในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาดังนี้
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 มีคนไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 12.85 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30.05 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 มีคนไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 12.23 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27.44 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง
การเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีคนไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 11.21 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 25.48 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง
จะเห็นได้ว่ากลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่คือไม่สนใจ ไม่มีเวลา หรือ ไม่สามารถจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งอยู่ในระดับ 11 – 13 ล้านคน จึงเป็นเรื่องยากถึงยากมากที่หวังว่าจะให้กลุ่มนี้มาใช้สิทธิ์ 4 – 5 ล้านคน เพื่อให้ลดคนกลุ่มนี้ให้เหลือประมาณ 7 – 8 ล้านคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่ใช่การเลือกตั้งแบบปกติ หรือ ไม่ใช่การเลือกตั้งทั่วไป แรงจูงใจของประชาชนที่ไปใช้สิทธิ์ก็จะน้อยลง การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การเสนอนโยบายประชานิยม และการแข่งขันเดิมพันแบบทุ่มสุดตัวของนักการเมืองก็น้อยลง ส่งผลทำให้คนที่ตัดสินใจไม่ไปใช้สิทธิ์จะเพิ่มสูงมากกว่านั้นอีก ดังนี้
การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2549 ที่พรรคฝ่ายค้านประท้วงด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ปรากฏว่ามีผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์สูงขึ้นเป็น 15.81 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 35.46 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง ยังไม่นับว่าในจำนวนคนที่ไปใช้สิทธิ์ก็มีคนไปใช้สิทธิ์กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน (โหวตโน) สูงถึง 8.39 ล้านคน และมีคนตั้งใจทำบัตรเสียสูงถึง 1.77 ล้านคน
การลงประชามติให้ความเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ปรากฏว่ามีผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสูงถึง 19.11 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 42.39 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
ด้วยเหตุผลนี้ดูเหมือนว่ากลุ่มทีต้องการให้มีการฉีกรัฐธรรมนูญและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของพรรคเพื่อไทยจะกังวลมากที่สุดที่พรรคประชาธิปัตย์จะรณรงค์ให้คน “ไม่ไปใช้สิทธิ์” เป็นอย่างมาก
ถึงขนาดมีการแถลงข่าวออกมาเป็นเรื่องเป็นราวเพื่อ “ขู่” ว่าการรณรงค์ให้ประชาชนไม่ไปใช้สิทธิ์เป็นความผิดทางกฎหมาย
ความจริงแล้วพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2552 “ไม่ได้มีข้อห้ามในการรณรงค์เพื่อให้คนไม่ต้องไปใช้สิทธิ์” อันเป็นสิทธิ์ของประชาชนที่จะสามารถแสดงสิทธิ์นั้นได้ตามกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่ “นับเป็นข้อยุติที่มีความหมายและกฎหมายได้บัญญัติรองรับเอาไว้ด้วย”
กฎหมายมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2552 จึงห้ามเฉพาะ การซื้อเสียง การหลอกลวง การบังคับ การขู่เข็ญ การใช้อิทธิพลคุกคาม การขัดขวาง เท่านั้น ไม่ได้มีข้อใดห้ามการรณรงค์เลยแม้แต่น้อย
คงเหลือแต่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ประกาศเชิญชวนประชาชนไปล้มหรือคว่ำการทำประชามตินั้น ยังไม่มีความชัดเจนและยังอ้อมแอ้มอยู่ว่าต้องการให้ประชาชนทำอะไร ระหว่างไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วกากบาทไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ต้องไปใช้สิทธิ์เพื่อประท้วงการทำประชามติที่กำลังจะเกิดขึ้น?
เพราะถ้ายิ่งคลุมเครือฐานเสียงของประชาชนจะแตกเป็นหลายกลุ่มยิ่งกว่าเดิม และจะยิ่งสร้างความชอบธรรมให้การลงประชามติเห็นชอบให้ฉีกรัฐธรรมนูญนำโดยพรรคเพื่อไทยให้คะแนนทิ้งห่างมากขึ้นไปอีก หรือแม้แต่เชิญชวนประชาชนให้ไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนล้มรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังเป็นการสร้างความชอบธรรมในผลลัพธ์ของการลงประชามติเช่นกัน
สรุปว่าการขัดขวางการล้มรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วร่างฉบับใหม่จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแปรที่สำคัญ หากคำนวณตามคณิตศาสตร์ทางการเมืองแล้วการรณรงค์ให้ประชาชน “ไม่ไปใช้สิทธิ์” มีโอกาสขัดขวางการฉีกรัฐธรรมนูญได้มากกว่าวิธีอื่น
เว้นเสียแต่ว่า...ลึกๆ แล้วพรรคประชาธิปัตย์อยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนกัน เพราะเล็งเห็นว่านักการเมืองที่เป็นพวกตัวเองจะได้ประโยชน์ไปด้วย ก็เชิญเล่นละครชวนประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วกากบาทในช่อง “ไม่เห็นชอบ” กันให้มากๆ ก็แล้วกัน!!!!