เขาว่ากัน(อีกแล้ว)ว่าหลังวันที่ 10 ธันวาคม 2555 บ้านเมืองจะวิกฤตหนักอีกครั้ง
นัยว่า “ราหูยก” หรืออย่างไรนี่แหละ
ปะเหมาะเคราะห์ร้ายตรงที่คณะทำงานศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤตการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจัดตั้งโดยพรรคร่วมรัฐบาลให้ข่าวว่าสนับสนุนให้เดินหน้าลงมติวาระ 3 ในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 เพื่อให้กำเนิดสภาร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับที่สะดุดหยุดลงเพราะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะใช้เวลารณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจสักเดือนสองเดือน โดยเริ่มนับ 1 ในวันรัฐธรรมนูญของปีนี้วันที่ 10 ธันวาคม 2555
โดยส่วนตัวผมเฉย ๆ ไม่ได้ตื่นเต้นอะไร เพราะมีจุดยืนต่อเรื่องนี้ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วย
และก็รู้ดีว่ายังไม่มีทางที่พรรคร่วมรัฐบาลจะเห็นด้วย
ในฐานะสมาชิกวุฒิสภาและในฐานะประชาชน ผมไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ในขณะนี้ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด ประเด็นไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบล้มทั้งฉบับแล้วตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเขียนใหม่ที่คารัฐสภารอลงมติวาระ 3 อยู่ ไม่ใช่เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ดีเลิศประเสริฐศรีแตะต้องไม่ได้ ไม่ใช่เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ทำให้ผมได้ประโยชน์ แต่เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ใช่ต้นเหตุของวิกฤตบ้านเมือง เป็นเพียงปลายเหตุ เป็นเพียงข้ออ้าง
แก้ไขหรือฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ยุติวิกฤติของบ้านเมืองไม่ได้ มีแต่จะโหมไฟวิกฤตให้รุนแรงขึ้น
การยุติวิกฤติของบ้านเมืองหรือการยับยั้งแนวโน้มสงครามกลางเมืองไม่อาจทำได้ด้วยวิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด ประเด็นไหน
รัฐธรรมนูญควรจะเป็นอย่างไรเป็นประเด็นที่จะต้องมาทีหลังหรือมาท้ายสุดด้วยซ้ำ
แล้วอะไรจะมาเป็นลำดับดับแรกสุด ?
พูดโดยภาพรวมแล้ว ลำดับแรกสุดจริง ๆ คือเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรจะต้องยอมรับความบกพร่องและความผิดพลาดของตัวเองด้วยเช่นกัน ไม่ใช่โยนทุกสิ่งทุกอย่างให้การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หมด
ยอมรับแล้วร่วมกับทุกฝ่ายแก้ไขความบกพร่องผิดพลาดของทั้ง 2 ส่วน
คือส่วนก่อน 19 กันยายน 2549 และหลัง 19 กันยายน 2549
นั่นแหละก้าวแรกของความปรองดอง !
ขอแทรกตรงนี้สักนิดนะครับว่า กลุ่ม 40 ส.ว.ไม่เคยสนทนากันลึก ๆ ในประเด็นนี้ การแถลงข่าวไม่ว่าในประเด็นนี้หรือประเด็นอื่นของส.ว.ที่ทำงานร่วมกลุ่มไม่ว่าท่านใด อันที่จริงไม่ว่าในประเด็นนี้หรือประเด็นอื่น เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว เพื่อนร่วมกลุ่มไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและเข้าร่วมการเคลื่อนไหว
อาจจะฟังดูแปลก แต่นี่แหละธรรมชาติของกลุ่มเรา
ถามว่าแล้วจะทำอย่างไรกันในเมื่อดูเหมือนทางเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรจะเดินหน้าเรื่องนี้แน่ ?
ตอบว่าสุดแต่บุญแต่กรรม
ไม่ใช่บุญหรือกรรมของประเทศเท่านั้น แต่เป็นบุญหรือกรรมของเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตร อันที่จริงในเรื่องนี้เป็นบุญหรือกรรมของเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรเป็นด้านหลักด้วยซ้ำ
เป็นเรื่องที่พวกเขาต้องคิดให้มาก คิดให้หนัก
ความเป็นจริงมีอยู่ว่าหากจะเดินหน้าลงมติโหวตร่างล่มรัฐธรรมนูญ 2550 วาระ 3 เรื่องเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภาไม่ใช่เรื่องยาก ง่ายมาก หมูมาก แต่ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและน้องสาวรวมทั้งเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรทั้งมวลจะต้องตัดสินใจก็คือขั้นตอนหลังจากนั้นต่างหาก
ว่าจะยอมเข้าสู่ killing zone หรือไม่ ?
ว่าจะยอมเสี่ยงแลกทุกอย่างที่มีและยังมีอยู่เพื่อฉีกรัฐธรรมนูญเก่าทิ้งเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยวิธีการที่ก็ยังไม่รู้ว่าจะคุมเกมได้เต็มร้อยหรือไม่ ?
เพราะในขั้นตอนนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วันตามมาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 หลังรับเรื่องจากประธานรัฐสภาแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะใช้กระบวนท่าลอยตัวเหนือปัญหาลอยหน้าบอกว่าเป็นเรื่องของรัฐสภาไม่ได้แล้ว เพราะเป็นเรื่องของท่านโดยตรง
สถานการณ์ชัดเจนอยู่ว่าหลังวันลงมติในสภาจะต้องมีใครคนใดคนหนึ่งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงตามมาตรา 68 แน่นอน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้แล้วว่าเป็นอำนาจโดยตรงของท่าน
แม้ในคำวินิจฉัยเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาตามมาตรา 291 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็ได้ให้ "คำแนะนำ" ไว้ 2 ประการ ประการหนึ่งแนะว่าควรแก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราไม่ใช่จัดทำใหม่ทั้งฉบับ อีกประการหนึ่งแนะนำในทำนองว่าถ้าจะจัดทำใหม่ทั้งฉบับให้ลงประชามติก่อน
เมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนไป รัฐสภาเดินหน้าลงมติวาระ 3 คำวินิจฉัยคดีใหม่จะเป็นอย่างไร ?
ยากจะคาดการณ์ได้ !
เอาแค่ประเด็นแรกก่อนก็ได้ว่าคำวินิจฉัยจะออกมาทันภายในกำหนด 20 วันของมาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 หรือไม่
ถ้าทันแล้วเป็นคุณ - ก็แล้วไป
แต่ถ้าทันแล้วไม่เป็นคุณ หรือไม่ทัน – นายกรัฐมนตรีจะต้องตัดสินใจว่าจะนำขึ้นทูลเกล้าฯภายในกำหนดหรือไม่
แค่นี้ก็จะเผชิญแรงกดดันทางสังคมมหาศาลแล้ว ว่าไม่สมควรนำเรื่องที่ยังมีปัญหา ยังไม่ชัดเจน ขึ้นทูลเกล้าฯ
ถ้านำขึ้นทูลเกล้าฯตามกำหนด ก็จะเป็นพระราชอำนาจตามมาตรา 151 ซึ่งรวมถึงพระราชอำนาจในการไม่ทรงเห็นด้วยและพระราชทานคืนลงมา หรือพระราชอำนาจในการยังไม่พระราชทานคืนลงมาภายใน 90 วัน แม้รัฐสภาจะมีอำนาจปรึกษาและยืนยันมติเดิมด้วยเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 และให้นายกฯนำขึ้นทูลเกล้าฯอีกครั้งซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายในเมื่อพ้นกำหนด 30 วันตามมาตรานี้เช่นกันก็ตาม แต่การณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ในสถานการณ์ปัจจุบันของเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรถือว่าเป็นเรื่องเสี่ยงอย่างยิ่ง
ผลลัพธ์ระยะกลางระยะยาวจะเป็นอย่างไรยากคาดการณ์ แต่ระยะสั้นไม่ใช่เรื่องโสภาของพี่น้องและวงศ์วานว่านเครือแน่นอน
สถานการณ์วันนี้จึงเป็นเรื่องของความขัดแย้งในเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตร
ฝ่ายหนึ่งเห็นควรให้เดินหน้าต่อ เพราะปล่อยไว้นานวันจะเป็นเภทภัย
ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าขณะนี้การงานเดินหน้าไปด้วยดี ทำไมจะต้องหาเรื่องเสี่ยงด้วย เพราะพื้นที่ของมาตรา 291 (7), 150 และ 151 จะไม่ใช่เรื่องของรัฐธรรมนูญล้วน ๆ เท่านั้นแล้ว
ฝ่ายหนึ่งมีแกนนำนปช.เป็นกองทัพหลัก
ก็เป็นเรื่องที่สองศรีพี่น้องชินวัตรต้องตัดสินใจว่าจะเดินหน้าเข้าสู่พื้นที่ที่เป็นเสมือน killing zone ของมาตรา 291 (7), 150, และ 151 รวมทั้งเงื่อนเวลาและเนื้อหาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดีใหม่ที่มีพื้นฐานมาจากคดีเดิม หรือไม่ ? อย่างไร ??
...และจะชี้แจงกับมวลชนเสื้อแดงคนแจวเรือพามาขึ้นฝั่งขึ้นเขาอย่างไร ???
นัยว่า “ราหูยก” หรืออย่างไรนี่แหละ
ปะเหมาะเคราะห์ร้ายตรงที่คณะทำงานศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤตการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจัดตั้งโดยพรรคร่วมรัฐบาลให้ข่าวว่าสนับสนุนให้เดินหน้าลงมติวาระ 3 ในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 เพื่อให้กำเนิดสภาร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับที่สะดุดหยุดลงเพราะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะใช้เวลารณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจสักเดือนสองเดือน โดยเริ่มนับ 1 ในวันรัฐธรรมนูญของปีนี้วันที่ 10 ธันวาคม 2555
โดยส่วนตัวผมเฉย ๆ ไม่ได้ตื่นเต้นอะไร เพราะมีจุดยืนต่อเรื่องนี้ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วย
และก็รู้ดีว่ายังไม่มีทางที่พรรคร่วมรัฐบาลจะเห็นด้วย
ในฐานะสมาชิกวุฒิสภาและในฐานะประชาชน ผมไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ในขณะนี้ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด ประเด็นไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบล้มทั้งฉบับแล้วตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเขียนใหม่ที่คารัฐสภารอลงมติวาระ 3 อยู่ ไม่ใช่เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ดีเลิศประเสริฐศรีแตะต้องไม่ได้ ไม่ใช่เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ทำให้ผมได้ประโยชน์ แต่เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ใช่ต้นเหตุของวิกฤตบ้านเมือง เป็นเพียงปลายเหตุ เป็นเพียงข้ออ้าง
แก้ไขหรือฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ยุติวิกฤติของบ้านเมืองไม่ได้ มีแต่จะโหมไฟวิกฤตให้รุนแรงขึ้น
การยุติวิกฤติของบ้านเมืองหรือการยับยั้งแนวโน้มสงครามกลางเมืองไม่อาจทำได้ด้วยวิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด ประเด็นไหน
รัฐธรรมนูญควรจะเป็นอย่างไรเป็นประเด็นที่จะต้องมาทีหลังหรือมาท้ายสุดด้วยซ้ำ
แล้วอะไรจะมาเป็นลำดับดับแรกสุด ?
พูดโดยภาพรวมแล้ว ลำดับแรกสุดจริง ๆ คือเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรจะต้องยอมรับความบกพร่องและความผิดพลาดของตัวเองด้วยเช่นกัน ไม่ใช่โยนทุกสิ่งทุกอย่างให้การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หมด
ยอมรับแล้วร่วมกับทุกฝ่ายแก้ไขความบกพร่องผิดพลาดของทั้ง 2 ส่วน
คือส่วนก่อน 19 กันยายน 2549 และหลัง 19 กันยายน 2549
นั่นแหละก้าวแรกของความปรองดอง !
ขอแทรกตรงนี้สักนิดนะครับว่า กลุ่ม 40 ส.ว.ไม่เคยสนทนากันลึก ๆ ในประเด็นนี้ การแถลงข่าวไม่ว่าในประเด็นนี้หรือประเด็นอื่นของส.ว.ที่ทำงานร่วมกลุ่มไม่ว่าท่านใด อันที่จริงไม่ว่าในประเด็นนี้หรือประเด็นอื่น เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว เพื่อนร่วมกลุ่มไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและเข้าร่วมการเคลื่อนไหว
อาจจะฟังดูแปลก แต่นี่แหละธรรมชาติของกลุ่มเรา
ถามว่าแล้วจะทำอย่างไรกันในเมื่อดูเหมือนทางเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรจะเดินหน้าเรื่องนี้แน่ ?
ตอบว่าสุดแต่บุญแต่กรรม
ไม่ใช่บุญหรือกรรมของประเทศเท่านั้น แต่เป็นบุญหรือกรรมของเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตร อันที่จริงในเรื่องนี้เป็นบุญหรือกรรมของเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรเป็นด้านหลักด้วยซ้ำ
เป็นเรื่องที่พวกเขาต้องคิดให้มาก คิดให้หนัก
ความเป็นจริงมีอยู่ว่าหากจะเดินหน้าลงมติโหวตร่างล่มรัฐธรรมนูญ 2550 วาระ 3 เรื่องเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภาไม่ใช่เรื่องยาก ง่ายมาก หมูมาก แต่ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและน้องสาวรวมทั้งเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรทั้งมวลจะต้องตัดสินใจก็คือขั้นตอนหลังจากนั้นต่างหาก
ว่าจะยอมเข้าสู่ killing zone หรือไม่ ?
ว่าจะยอมเสี่ยงแลกทุกอย่างที่มีและยังมีอยู่เพื่อฉีกรัฐธรรมนูญเก่าทิ้งเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยวิธีการที่ก็ยังไม่รู้ว่าจะคุมเกมได้เต็มร้อยหรือไม่ ?
เพราะในขั้นตอนนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วันตามมาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 หลังรับเรื่องจากประธานรัฐสภาแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะใช้กระบวนท่าลอยตัวเหนือปัญหาลอยหน้าบอกว่าเป็นเรื่องของรัฐสภาไม่ได้แล้ว เพราะเป็นเรื่องของท่านโดยตรง
สถานการณ์ชัดเจนอยู่ว่าหลังวันลงมติในสภาจะต้องมีใครคนใดคนหนึ่งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงตามมาตรา 68 แน่นอน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้แล้วว่าเป็นอำนาจโดยตรงของท่าน
แม้ในคำวินิจฉัยเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาตามมาตรา 291 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็ได้ให้ "คำแนะนำ" ไว้ 2 ประการ ประการหนึ่งแนะว่าควรแก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราไม่ใช่จัดทำใหม่ทั้งฉบับ อีกประการหนึ่งแนะนำในทำนองว่าถ้าจะจัดทำใหม่ทั้งฉบับให้ลงประชามติก่อน
เมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนไป รัฐสภาเดินหน้าลงมติวาระ 3 คำวินิจฉัยคดีใหม่จะเป็นอย่างไร ?
ยากจะคาดการณ์ได้ !
เอาแค่ประเด็นแรกก่อนก็ได้ว่าคำวินิจฉัยจะออกมาทันภายในกำหนด 20 วันของมาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 หรือไม่
ถ้าทันแล้วเป็นคุณ - ก็แล้วไป
แต่ถ้าทันแล้วไม่เป็นคุณ หรือไม่ทัน – นายกรัฐมนตรีจะต้องตัดสินใจว่าจะนำขึ้นทูลเกล้าฯภายในกำหนดหรือไม่
แค่นี้ก็จะเผชิญแรงกดดันทางสังคมมหาศาลแล้ว ว่าไม่สมควรนำเรื่องที่ยังมีปัญหา ยังไม่ชัดเจน ขึ้นทูลเกล้าฯ
ถ้านำขึ้นทูลเกล้าฯตามกำหนด ก็จะเป็นพระราชอำนาจตามมาตรา 151 ซึ่งรวมถึงพระราชอำนาจในการไม่ทรงเห็นด้วยและพระราชทานคืนลงมา หรือพระราชอำนาจในการยังไม่พระราชทานคืนลงมาภายใน 90 วัน แม้รัฐสภาจะมีอำนาจปรึกษาและยืนยันมติเดิมด้วยเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 และให้นายกฯนำขึ้นทูลเกล้าฯอีกครั้งซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายในเมื่อพ้นกำหนด 30 วันตามมาตรานี้เช่นกันก็ตาม แต่การณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ในสถานการณ์ปัจจุบันของเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตรถือว่าเป็นเรื่องเสี่ยงอย่างยิ่ง
ผลลัพธ์ระยะกลางระยะยาวจะเป็นอย่างไรยากคาดการณ์ แต่ระยะสั้นไม่ใช่เรื่องโสภาของพี่น้องและวงศ์วานว่านเครือแน่นอน
สถานการณ์วันนี้จึงเป็นเรื่องของความขัดแย้งในเครือข่ายการเมืองตระกูลชินวัตร
ฝ่ายหนึ่งเห็นควรให้เดินหน้าต่อ เพราะปล่อยไว้นานวันจะเป็นเภทภัย
ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าขณะนี้การงานเดินหน้าไปด้วยดี ทำไมจะต้องหาเรื่องเสี่ยงด้วย เพราะพื้นที่ของมาตรา 291 (7), 150 และ 151 จะไม่ใช่เรื่องของรัฐธรรมนูญล้วน ๆ เท่านั้นแล้ว
ฝ่ายหนึ่งมีแกนนำนปช.เป็นกองทัพหลัก
ก็เป็นเรื่องที่สองศรีพี่น้องชินวัตรต้องตัดสินใจว่าจะเดินหน้าเข้าสู่พื้นที่ที่เป็นเสมือน killing zone ของมาตรา 291 (7), 150, และ 151 รวมทั้งเงื่อนเวลาและเนื้อหาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดีใหม่ที่มีพื้นฐานมาจากคดีเดิม หรือไม่ ? อย่างไร ??
...และจะชี้แจงกับมวลชนเสื้อแดงคนแจวเรือพามาขึ้นฝั่งขึ้นเขาอย่างไร ???