วานนี้ (1พ.ย.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกแถลงการณ์ คัดค้านการก่อสร้างเตาเผาขยะหนองแขม ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยระบุว่า กทม.ได้งุบงิบลงนามในสัญญาก่อสร้างระบบเตาเผาขยะมูลฝอยขนาด 300 ตันต่อวัน วงเงิน 2,124.3 ล้านบาท โดยการว่าจ้างเอกชนให้เผาขยะตันละ 970 บาท สัญญาจ้าง 20 ปี ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม ถ.เพชรเกษม 104 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กับบริษัทซีแอนด์จี เอ็นไวรอนแมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 30 ต.ค.55 ที่ผ่านมา
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ขอคัดค้านการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่โปร่งใส ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สมบูรณ์ ซึ่งถือได้ว่ากระบวนการกำจัดขยะโดยวิธีการเผา เป็นกระบวนการการบริหารจัดการขยะที่ล้าสมัย และสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ อีกทั้งเป็นการสร้างมลพิษที่เป็นสารพิษที่ต้องห้ามในระดับสากลด้วย ในขณะที่ขยะของ กทม. ควรจะเป็นทรัพยากรที่สร้างรายได้ให้กับกทม. ด้วยการใช้เทคโนโลยี และวิธีการกำจัดที่ก้าวหน้า เหมาะสมกับยุคสมัย มิใช่วนอยู่แต่เทคโนโลยีการกำจัดที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษ
ทั้งนี้เทคโนโลยีการกำจัดขยะด้วยการเผาตามการกล่าวอ้างของกทม.นั้น จะก่อให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดออกซิน และสาร ฟิวแรน ต่อประชาชนในรัศมี 10 กม. เป็นอย่างต่ำ ซึ่ง ณ วันนี้เทคโนโลยีดังกล่าวทั่วโลกยังไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของสารพิษดังกล่าวได้ อีกทั้งสารพิษดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งในวงการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่า มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์กรรมพันธุ์ของประชาชน หรือผู้ที่ได้รับสารดังกล่าวเป็นประจำ ซึ่งทารกแรกเกิดอาจคลอดออกมาพิการ ร่างกายไม่สมประกอบ หรือครบถ้วนบริบูรณ์ได้
ขณะเดียวกันในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการกำจัดขยะที่สามารถสร้างรายได้หรือมูลค่าเพิ่มให้กับขยะได้มีมากมาย เช่น การนำขยะพลาสติกมาผลิตน้ำมัน การนำขยะเก่าไปทำปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ ซึ่ง กทม.ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินจ้างให้เอกชนมารับจ้างเผาเลย ตรงกันข้ามควรเปิดโอกาสให้เอกชนมาประมูลนำขยะของ กทม.ไปสร้างมูลค่าได้ ตามที่กล่าวแล้ว ซึ่งจะทำให้ กทม.มีรายได้เพิ่มขึ้นมามาก แทนที่ กทม.จะต้องจ่ายเงินให้เอกชนเป็นค่ากำจัดขยะไปเปล่า ๆ
นอกจากนั้น การดำเนินโครงการดังกล่าวของ กทม. เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ 2550 หลายมาตรา ทั้งมาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 67 มาตรา 78 มาตรา 85 มาตรา 87 รวมทั้งขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งต้องเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือกระทรวงการคลังพิจารณาและต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเสียก่อนด้วย
จึงขอเรียกร้องให้ กทม.ได้ทบทวนการดำเนินโครงการดังกล่าวเสีย หาก กทม. ไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้อง ทางสมาคมฯ จะได้ร่วมกับชาวบ้าน และผู้มีส่วนได้เสียในการนำเรื่องดังกล่าวฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อเพิกถอนโครงการดังกล่าวต่อไป
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ขอคัดค้านการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่โปร่งใส ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สมบูรณ์ ซึ่งถือได้ว่ากระบวนการกำจัดขยะโดยวิธีการเผา เป็นกระบวนการการบริหารจัดการขยะที่ล้าสมัย และสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ อีกทั้งเป็นการสร้างมลพิษที่เป็นสารพิษที่ต้องห้ามในระดับสากลด้วย ในขณะที่ขยะของ กทม. ควรจะเป็นทรัพยากรที่สร้างรายได้ให้กับกทม. ด้วยการใช้เทคโนโลยี และวิธีการกำจัดที่ก้าวหน้า เหมาะสมกับยุคสมัย มิใช่วนอยู่แต่เทคโนโลยีการกำจัดที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษ
ทั้งนี้เทคโนโลยีการกำจัดขยะด้วยการเผาตามการกล่าวอ้างของกทม.นั้น จะก่อให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดออกซิน และสาร ฟิวแรน ต่อประชาชนในรัศมี 10 กม. เป็นอย่างต่ำ ซึ่ง ณ วันนี้เทคโนโลยีดังกล่าวทั่วโลกยังไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของสารพิษดังกล่าวได้ อีกทั้งสารพิษดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งในวงการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่า มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์กรรมพันธุ์ของประชาชน หรือผู้ที่ได้รับสารดังกล่าวเป็นประจำ ซึ่งทารกแรกเกิดอาจคลอดออกมาพิการ ร่างกายไม่สมประกอบ หรือครบถ้วนบริบูรณ์ได้
ขณะเดียวกันในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการกำจัดขยะที่สามารถสร้างรายได้หรือมูลค่าเพิ่มให้กับขยะได้มีมากมาย เช่น การนำขยะพลาสติกมาผลิตน้ำมัน การนำขยะเก่าไปทำปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ ซึ่ง กทม.ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินจ้างให้เอกชนมารับจ้างเผาเลย ตรงกันข้ามควรเปิดโอกาสให้เอกชนมาประมูลนำขยะของ กทม.ไปสร้างมูลค่าได้ ตามที่กล่าวแล้ว ซึ่งจะทำให้ กทม.มีรายได้เพิ่มขึ้นมามาก แทนที่ กทม.จะต้องจ่ายเงินให้เอกชนเป็นค่ากำจัดขยะไปเปล่า ๆ
นอกจากนั้น การดำเนินโครงการดังกล่าวของ กทม. เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ 2550 หลายมาตรา ทั้งมาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 67 มาตรา 78 มาตรา 85 มาตรา 87 รวมทั้งขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งต้องเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือกระทรวงการคลังพิจารณาและต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเสียก่อนด้วย
จึงขอเรียกร้องให้ กทม.ได้ทบทวนการดำเนินโครงการดังกล่าวเสีย หาก กทม. ไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้อง ทางสมาคมฯ จะได้ร่วมกับชาวบ้าน และผู้มีส่วนได้เสียในการนำเรื่องดังกล่าวฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อเพิกถอนโครงการดังกล่าวต่อไป